พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ในงานพิธีสมโภช เปิดวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ณ วัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์ฯ ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี ในวัดพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2551 เวลา 17.00 น. จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน
เฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมแสดงความจงรักภักดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวเนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเชิญร่วมงานสมโภชสวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล
รวม 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 20-26 มีนาคม 2551
การเดินทางไปเยี่ยมชม
วัดแห่งนี้สามารถไปได้หลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางตลิ่งชัน- สุพรรณบุรี แล้วยูเทิร์นกลับมาใช้เส้นทาง
เข้าสู่ตลาดบางบัวทอง วัดจะอยู่ด้านขวามือเมื่อเลยตลาดมาไม่มากนัก เข้าซอยไปประมาณ 150 เมตร
หากจะไปทางถนนรัตนาธิเบศร์ก็รวดเร็วสะดวกสบาย เมื่อถึงแยกบางบัวทองก็เลี้ยวขวามุ่งสู่ตลาดบางบัวทอง
เลยหมู่บ้านชลลดา และไปรษณีย์บางบัวทองไปประมาณ 500 เมตร ข้ามสะพานเล็กๆ จะสังเกตุซอยแยกด้าน
ซ้ายมือ เลี้ยวเข้าซอยนั้นได้ทันที ที่จอดรถสะดวกสบายนับ 100 คัน ธูปเทียนดอกไม้หรือน้ำมันทางวัดจะ
เตรียมให้อย่างพร้อมสรรพ
เมื่อวันที่ 29.3.51 ได้มีโอกาสพาคุณแม่ไปไหว้พระที่วัดนี้

โดยมีน้องชายตามไปดูแลอำนวยความสะดวกคุณแม่

ย่าติดกล้องเพื่อจะไปเก็บรายละเอียดของวัดนี้ด้วยค่ะ
ภาพอาจจะไม่ได้มุมสวยอลังการ เพราะผู้ถ่ายฝีมือไม่ถึง
ประกอบกับมีเวลาไม่มากนักสำหรับการถ่ายครั้งนี้
หากต้องการเป็นความงามจริงๆคงต้องไปชมด้วยตัวเองแล้วค่ะ อิอิ

หินอ่อนรอบบริเวณอุโบสถ เป็นรูปสตางค์โบราณ
วัดบรมราชาฯ อลังการสไตล์พุทธศิลป์จีน
นับจากวันที่ 20 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป พื้นที่ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
น่าจะคึกคักขึ้นทันตาเมื่อถึงวันเปิดอย่างเป็นทางการสำหรับ" วัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์"
วัดสไตล์จีนที่ก่อสร้างอย่างสวยเด่นเป็นสง่าไม่น้อยไปกว่า วัดมังกรกมลาวาส หรืออีกชื่อหนึ่งที่ผู้
คนชาวจีนนิยมเรียกว่า วัดเล่งเน่ยยี่ ที่ตั้งอยู่ย่านเยาวราช ตลอดจนวัดจีนอื่นๆ ที่หลายคนได้ไป
สักการะและท่องเที่ยวมาแล้ว

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯแห่งนี้มีความยิ่งใหญ่อลังการโดยได้รับการบอกเล่าจาก
หลวงจีน วินัยธรวิศิษฎ์ ครูใหญ่ โรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย ที่ดูแลควบคุมการก่อ
สร้างวัดแห่งนี้มาตั้งแต่ต้นว่า เดิมเป็นเพียงโรงเจขนาดเล็ก มีพื้นที่ขณะนั้นประมาณ 2 ไร่เศษ
การเกิดขึ้นเป็นวัดที่ยิ่งใหญ่เช่นทุกวันนี้ได้โดยการนำของพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์
(ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่ง
เนยยี่) ที่มีปณิธานจะพัฒนาที่ดินส่นนี้ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระ
หม่อมถวายเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชมบัติครบ 50 ปี โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัต
เป็นประธานที่ปรึกษา

นับเป็นเวลานานกว่า 10 ปีสำหรับการก่อสร้างซื่อเริ่มต้นด้วยการร่วมแรงร่วมใจของพุทธบริษัทไทย-จีน
บนเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่เศษ โดยนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง เป็นผู้ดำเนิน
การขออนุญาตสร้างวัด ขอตั้งวัด และทูลเกล้าทูลกระหม่อมขอพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามวัดว่า"วัดบรมราชากาญจนาภิเษ
อนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปิติของเหล่าพสกนิกรชาวไทยเชื้อสายจีน
และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อคณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์มาโดยตลอด ต่อมาสมเด็จ
พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2539 ซึ่งการก่อสร้างทั้งหมดได้ใช้โครงสร้างแบบศิลปะจีนล้วนๆ โดยเฉพาะพุทธศิลป์ราชวงศ์หมิง-ชิง
ท้าวธตรัฐมหาราช

คุณแม่ที่หน้าพระสุกันท์
มีผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมมากมาย
โดยภายในวัดได้มีการจารึกความสัมพันธ์ไทย-จีน ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนถึงพุทธศาสนา
มหายานจีนนิกาย เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ด้วยศิลปะจีนอันงดงาม ควรแก่การศึกษาทั้งด้านศาสนา
และประวัติศาสตร์ไทย-จีน โดยทางวัดได้เชิญคณะช่างฝีมือชั้นครูจากเมืองจีนมาดำเนินงานการก่อสร้าง
โดยตรง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมายังได้ประกอบพิธีเททองหล่อพระประธาน 3 องศ์เสร็จ
เรียบร้อยแล้วโดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโน) วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จ
พระสังฆราช เป็นประธานในพิธี

ลวดลายมังกร ตรงทางขึ้น
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นภายในวัดจะแสดงในรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคหมิง-ชิง นั่นคือมีลักษณะ
ความสวยงามเป็นสง่า ประณีต ภายในพระอารามแบ่งสัดส่วนตามแบบวัดหลวง โดยมีวิหารจตุโลก
บาลเป็นวิหารแรก ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหน้าเมื่อก้าวสู่ประตูใหญ่ ภายในประดิษฐานพระโพธิสัตว์
และธรรมบาล ภาษาจีนเรียกว่า ฮูฮวบ หมายถึงปกปักพิทักษ์พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระศรีอริยเมต
ไตรยโพธิสัตว์ พระสกันทโพธิสัตว์ และท้าวจตุโลกบาล รวมเทพต่างๆ จำนวน 8 องค์ ด้านนอกวิหาร
จะขนาบซ้ายด้วยหอกลองใบใหญ่ ด้านขวามือเป็นหอระฆัง ที่ภายในตกแต่อย่างอลังการ

ตุ้ยเลี้ยง คือ เสาขนาดใหญ่ จำนวน ๔ ต้น อยู่ทางด้านข้างของพระประธานทั้งสองด้านเสาด้านละ
๒ ต้น เป็นแผ่นไม้สัก ครึ่งวงกลมขนาดความสูงประมาณ ๘ เมตร เสาแต่ละต้นมีกลอนอักษรจีน
จำนวนเสาละ ๑๕ ตัวอักษร แกะสลักปิดทองอย่างงดงามอักษรจีนนี้ เป็นลายสือศิลป์ของท่านเทพ
อักษรจีน หวังซีจือ 晉王義之นำมาขยายใหญ่ กลอนจีนทั้งหมดนี้
ประพันธ์โดย อาจารย์ หลินหวินเฟิง林 雲峰 นักแต่งกลอนที่มีชื่อเสียงจาก
ประเทศสิงคโปร์ แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์ นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล ประพันธ์โคลงโดย
ธรรมนูญ จรัสวัฒน์ และคณะ เสาคู่ใน ใกล้องค์พระประธานมีคำกลอนจีน ๑๕ ตัวอักษร
เริ่มต้นด้านขวาคือ คำว่า 大 ด้านซ้าย คำว่า 雄 (大 雄 )
หมายถึง พระประธาน ๓ องค์ ที่ประดิษฐานในพระอุโบสถ
แปลเป็นร้อยแก้วว่า บัลลังก์แห่งธรรมจักรพระมหายูไล หมุนเครื่องเปล่งรัศมีเรืองรองหมื่นลี้
พระอุโบสถศักดิ์สิทธิ์อลังการงานสร้าง เทพอารามเด่นสง่าประทีปธรรมกลิ่นกระจายหอมสืบ
ชั่วกาลนาน

หนึ่งใน3 องค์พระประธาน

พระพุทธรูปด้านหน้าองค์พระประธาน 3องค์

ถ่ายให้เห็นเพดานด้านบนสวยงามมาก

เห็นโคมไฟตรงกลางเพดาน

ลวดลายตรงฐานพระพุทธรูป

จากคห.12 ลองแนวนอนบ้าง เที่ยวนี้เน้นให้แสงอันเดอร์หน่อย

หินอ่อนสลักลายเป็นรูปสิงห์ตรงเหนือพื้นโดยรอบ

อีกภาพ

พระประธาน 3 พระองค์คือพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า เป็น พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
พระอมิตาภพุทธเจ้า และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าในอดีต
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นี้เป็น พระประธานในพระอุโบสถ
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ พระประธาน ๓ พระองค์นี้เปรียบ เสมือนเป็น
ศูนย์กลาง ของพุทธจักรวาล ที่กว้างใหญ่ไพศาลมีเหล่าพระโพธิสัตว์พระอรหันต์
และเทพธรรมบาลรายล้อมอยู่เป็นจำนวนอเนกอนันต์ใน
พุทธจักรวาลแห่งนี้
องค์พระประธานแต่ละองค์ ความสูงจากวัชรบัลลังก์ถึงยอดพระเกศา ๔ เมตร ๓๐ เซนติเมตร
กว้าง ๓ เมตร ๔ เซนติเมตร พระประธาน ๓ องค์ จำลองมาจากพระประธานในพระอุโบสถ
วัดมังกรกมลาวาส ( เล่งเน่ยยี่ ) พระประธาน ๓ องค์ ที่วัดบรมราชากาญจนาภิเษกฯ แห่งนี้
เป็นพระประธานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นพุทธศิลป์จีนที่มีพุทธลักษณ์งดงาม
พระพักตร์มีลักษณะมหาเมตตา มหากรุณา องค์พระมีพุทธลักษณะที่เด่นเป็นสง่าและงดงามอย่างยิ่ง

ถ่ายด้านหน้า

พื้นหินอ่อนสลักลาย เป็นกอบัว และกบ

หลังคาพระอุโบสถ มีตราวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี

วิหารด้านข้าง

รอบตัวอุโบสถ จะเป็นหินอ่อนสลักลายสวยงาม

โคมไฟใกล้ๆ ได้ทราบข่าวว่าเฉพาะโคมไฟนี้มีมูลค่าเป็น10 ล้านเลยทีเดียว

ห้อยอยู่หว่างกลางเพดานหน้าองค์พระประธาน

ลายดอกบัวสีทองที่ตุ้ยเลี้ยง

ลวดลายวิจิตรด้านหลังองค์พระประธาน

รอบๆ ผนัง ด้านในพระอุโบสถ ประกอบด้วย แผ่นไม้สัก แกะสลัก พระพุทธเจ้า
ในอดีต ๗ พระองค์ ๘ มหาโพธิสัตว์ ๕๐๐ พระอรหันต์ ๒๔ ธรรมบาล และ
จตุมหาบรรพต แห่งประเทศจีน ซึ่งแผ่นไม้สักเหล่านี้นำมาจากประเทศจีน
แกะสลักจากช่างที่มีฝีมือดีเยี่ยมของจีน

รูปแกะสลักอริยาบทต่างๆ ดูมีชีวิตชีวา
ตั้งประดับอยู่ด้านบนลิ้นชักสำหรับหยอดเงินทำบุญ
สืบเนื่องมาจากภาพชุดด้านล่างนี้
มามะมาทำบุญเสริมโชคลาภกันเถอะ 
close up ลวดลายดอกโบตั๋นหินอ่อนรอบอุโบสถมาให้ชมชัดๆสักภาพ


การเดินทางไปเยี่ยมชม
วัดแห่งนี้สามารถไปได้หลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางตลิ่งชัน- สุพรรณบุรี แล้วยูเทิร์นกลับมาใช้เส้นทาง
เข้าสู่ตลาดบางบัวทอง วัดจะอยู่ด้านขวามือเมื่อเลยตลาดมาไม่มากนัก เข้าซอยไปประมาณ 150 เมตร
หากจะไปทางถนนรัตนาธิเบศร์ก็รวดเร็วสะดวกสบาย เมื่อถึงแยกบางบัวทองก็เลี้ยวขวามุ่งสู่ตลาดบางบัวทอง
เลยหมู่บ้านชลลดา และไปรษณีย์บางบัวทองไปประมาณ 500 เมตร ข้ามสะพานเล็กๆ จะสังเกตุซอยแยกด้าน
ซ้ายมือ เลี้ยวเข้าซอยนั้นได้ทันที ที่จอดรถสะดวกสบายนันบ 100 คัน ธูปเทียนดอกไม้หรือน้ำมันทางวัดจะ
เตรียมให้อย่างพร้อมสรรพ
ขอบคุณแผนที่จาก เวบ//watboromracha.org
และข้อมูล การเดินทางจากSTYLE โดย Voyage วันที่ 2-5 มีนาคม 2551ต่อบล๊อกสองแล้วกันนะคะ จะได้ไม่โหลดนานเกินไป
ตอนที่แล้ว
ดอยอินทนนท์,ดอยหลวง(อ่างกา)
ผมถ่ายรูปเอาไปอวดเพื่อน หลอกมันจนมันเชื่อว่าผมไปเที่ยวเมืองจีนอะครับ