เที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืน เรียนรู้ประวัติและความเป็นมาของงานถือศีลกินผักจ.ตรัง ตอนที่ 4
หลังจากที่เรือของเราแวะชมหมู่บ้านย่านซื่อแล้ว ก็แล่นสู่
ท้องทะเลอันกว้างไกล เพื่อชมวิถีริมน้ำและท่าเรือกันตัง

เพลิดเพลินกับท้องฟ้า,ผืนน้ำ และเหล่าเรือน้อยใหญ่

อำเภอกันตัง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง คำว่า "กันตัง" สันนิษฐานว่าเป็นคำในภาษามาเลย์

เห็นเก่าๆโทรมๆอย่างงี้เป็นแหล่งทำเงินนะจะบอกให้

ชมเพลินเหล่าเรือน้อยใหญ่ที่แล่นเข้าออกขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกันตัง
เห็นตึกทรงกล่องสี่เหลี่ยมทางด้านขวามือไหมคะ เป็นตึกเก่าที่เจ้า
ของปล่อยให้เป็นที่อยู่ของนกนางแอ่น นกเหล่านี้สร้างรังสร้างรายได้
อันมหาศาลให้กับเจ้าของตึก

นำประวัติของกันตัง และท่าเรือกันตังมาฝากค่ะ
---------
ตัวอำเภอกันตัง ซึ่งเป็นท่าที่ใช้ขนถ่ายสินค้าไปต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณ
กันตัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรัง ห่างจากตัวเมืองตรัง
เพียง 24 กิโลเมตร ในอดีตกันตังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำสำคัญมาแต่โบราณ เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ
มหิศรภักดีมารับตำแหน่งใน พ.ศ. 2433 ได้ดำเนินการพัฒนาเมืองตรัง (กันตัง) ทุกด้าน
โดยมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เป็นเมืองค้าขาย เริ่มจากการย้ายเมืองจากตำบลควนธานี
ไปตั้งที่ตำบลกันตัง และสร้างความเจริญแก่เมืองตรัง (กันตัง) อย่างมาก การพัฒนา
ในสมัยพระยารัษฎาฯ ที่จะนำไปสู่ความเป็นเมืองท่าค้าขายมีอยู่หลายด้าน เริ่มจาก
การแก้ปัญหาความไม่สงบเรื่องโจรผู้ร้ายและการส่งเสริมอาชีพพื้นฐานคือการเกษตร
เริ่มต้นจากเกษตรยังชีพในครัวเรือน และขยายเป็นเกษตรเพื่อการค้า โดยใช้กุศโล
บายต่าง ๆ และระบบกลไกของรัฐ เช่น การยกเว้นเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์
แรงงานแก่ผู้บุกเบิกทำนา จนสามารถส่งข้าวขายปีนังได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ชาวเมือง
ขาดแคลนข้าว ต้องซื้อจากปีนังอยู่เสมอ การสร้างถนนและสะพานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะ
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในท้องถิ่น และส่งขายต่างประเทศทางท่าเรือกันตัง
พระยารัษฎาฯ ส่งเสริมบริษัทตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ท่าเรือกันตัง สินค้าสำคัญในสมัย
นั้น ได้แก่ เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ พริกไทย ข้าว ตับจาก ไม้เคี่ยม ไม้โปรง เป็นต้น

การพัฒนาของพระยารัษฎาฯ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในส่วนกลางที่พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบราชการ และนำพาชาติเข้าสู่การพัฒนา
ให้เทียบทันอารยประเทศ การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ที่กำหนดให้มีทางแยกจากทุ่งสง
มุ่งสู่ท่าเรือกันตังเริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ส่วนในสายแยกตั้งแต่ทุ่งสงถึงกันตัง เปิดการ
โดยสารระหว่างกันตัง-ห้วยยอด วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 และต่อมา เปิดการโดย
สารระหว่างห้วยยอด-ทุ่งสง ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 (นับปีแบบเก่า ขึ้นศักราช
ใหม่เดือนเมษายน เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ 10 ของปี) เส้นทางรถไฟนี้ส่งเสริมนโยบาย
เมืองท่าค้าขายของพระยารัษฎาฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระยารัษฎาฯ ยังได้มอง
การณ์ไกล ที่จะทำให้กันตังเป็นท่าเรือค้ากับต่างประเทศได้เต็มศักยภาพ โดยเสนอทาง
รัฐบาลจัดสร้างท่าเรือน้ำลึก แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนใน พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นปีที่สถาปนา
กระทรวงมหาดไทย และเริ่มการปกครองระบบมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรก หัวเมืองฝ่ายทะเล
ตะวันตกเดิมเปลี่ยนเป็นมณฑลภูเก็ต เมืองตรังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูเก็ต

ในปี พ.ศ. 2434 ทางการได้ยุบเมืองปะเหลียนรวมกับเมืองตรัง ต่อมามีประกาศข้อบังคับ
ลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) แบ่งท้องที่การปกครองเป็นอำเภอ
จังหวัดตรังมี 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอบางรัก อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด)
อำเภอสิเกา และอำเภอปะเหลียน มีตำบลรวม 109 ตำบล

ต่อมา พ.ศ. 2444 พระยารัษฎาฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
มีผู้ว่าราชการเมืองตรังต่อจากพระยารัษฎาฯ 5 คน พอถึง พ.ศ. 2458 สมัยที่พระยา
รัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (สิน เทพหัสดินฯ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง มหาอำมาตย์โท
พระยาสุรินทรราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ฯ) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นว่า
เมืองที่กันตังอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม เนื่องจากตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 เรือดำน้ำของ
เยอรมันชื่อเอ็มเด็น ได้ลอยลำยิงถล่มปีนัง หากมีสงครามเกิดขึ้นอีก เมืองตรังอาจจะ
ถูกยิงเช่นปีนัง รวมทั้งพื้นที่ลุ่ม และมีโรคระบาด หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เมืองตรัง พ.ศ. 2458 แล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ย้ายเมืองไปตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458

เข้ามาดูบ้านนกนางแอ่นใกล้ๆ จะเห็นนกบินว่อนอยู่รอบๆ เลนส์ย่าถ่ายได้แค่นี้แหละค่ะ
เห็นตัวนกเป็นจุดๆ อิอิ

สายพานชักรอกตัวสินค้าขึ้นเรือ(จุดดำนกนางแอ่น)

ภายใต้หลังคาสังกะสีอันผุพังใครเลยจะรู้ว่าเม็ดเงินสะพัดขนาดไหน

เรือcruise-ก็มีนะแต่ไม่มากเท่าเรือสินค้า

เครนยักษ์สำหรับขนถ่ายสินค้า

ปัจจุบันกันตังยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดตรัง โดยมีการส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์
ผ่านท่าเทียบเรือกันตังโดยใช้เรือลากจูง ให้บริการระหว่างเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละ
2 เที่ยว โดยสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือกันตังจะเป็นยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูป นอกจากนี้แล้ว
ยังมีสินค้าเทกองประเภทแร่ยิปซัมและถ่านหิน
หมายเหตุ ได้ทราบมาว่า ยิปซัมและถ่านหินเดี๋ยวนี้ก็ไม่มีเหลือแล้วไม่ทราบจริง
เท็จประการใด ใครทราบข้อมูลที่ถูกต้องช่วยแชร์ข้อมูลหน่อยนะคะ-ย่าดา
ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอกันตังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อ
กับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสิเกาและอำเภอเมืองตรัง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองตรัง อำเภอย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน
ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลอันดามัน (อำเภอหาดสำราญ)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามันและอำเภอสิเกา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก.wikipedia.หากสนใจอ่านต่อคลิ๊กค่ะ 
ประภาคารและเรือข้ามฟากที่เห็นเป็นจุดดำๆคือนกนางแอ่น

ประภาคารclose up ถ้าได้ขึ้นไปถ่ายด้านบนวิวคงสวยไม่น้อย

ความเป็นอยู่อย่างพอเพียงริมฝั่งน้ำเห็นเค้าเมฆฝนมารำไร

พาหนะ และการสื่อสาร

เรือดับเพลิงของเทศบาลเมืองกันตัง ถึงอยู่ใกล้น้ำก็ต้องไม่ประมาท

เล็กใหญ่ไม่เกี่ยงไซด์

สะพานเรือเตรียมเทียบฝั่ง เดิมทีพวกเราจะต้องเดินผ่านสะพานเรือนี้ขึ้นฝั่ง
แต่เนื่องจากท่าไม่ว่างเราจึงต้องขึ้นฝั่งโดยข้ามผ่านลำเรือที่จอดชิดอยู่กับฝั่งแทน

ถึงแล้วท่าเรือกันตังเราจะแวะมากินอาหารที่ร้านโกเกี้ยกันค่ะ ท้องร้องแล้ว
ขอต่อกระทู้หน้านะคะ
เพื่อนๆย่าเขาลงไปจนจบทริปแล้ว ย่าเพิ่งจะลงไปไม่กี่ตอน คนแก่เดินช้าหน่ะ
ไหนจะโดนอีเวนท์อย่างอื่นแทรงคิวเข้าอีก ชมได้ช้าหน่อยก็คงไม่ว่ากันนะคะ
สุขสันต์วันสุดสัปดาห์นะคะ บายค่ะ
