Beauty In Bloom โดย พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก






Beauty in Bloom โดย พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก 12 - 29 พ.ย. 2552 ชั้น 3-4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 10 am- 9 pm ยกเว้นวันจันทร์

เมื่อวันที่ 12.พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมามีงานเปิดตัวนิทรรศการภาพเขียนสีน้ำฝีมือ

“พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก” ที่ชั้น 3-4 หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร

ในเวลา 16.00 น


ย่านั่งรถไฟฟ้า BTSไปลง สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ นัดพบกับน้องชายที่

หน้างานชั้น 4 ก่อนเวลาเปิดงานเล็กน้อย





งานจัดได้กิ๊บเก๋ดีทีเดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลาเปล่า ย่าเดินเก็บไอเดียการจัดดอกไม้

รอบๆงานมาฝาก





ติดใจดอกบานไม่รู้โรย ทำได้เหมือนมาก น่าจะเป็นทำพิมพ์สำเหร็จแล้วผลิตออกมา

แบบmass มากกว่า ถ้าจะต้องมานั่งตัดกลีบดอกทีละดอกคงไม่ไหว อย่างไรก็แล้วแต่

ตามสายตาย่าแล้วได้คะแนนเต็ม10 ไปเลย





กระเช้ากุหลาบสีชมพู สีสด หวานแหว๋ว





เชิงเทียนประดับตกแต่งด้วยบัวสัตตบงกชแซมด้วยมะลิหอมประดิษฐ์ประดอยเป็น

ตัวกระแตเกาะที่ใบจั๋งขลิบให้ได้ขนาด งดงามเหลือหลาย





ถ่ายเจาะกุหลาบดอกสวย





อีกมุมหนึ่งของความงาม





ใกล้เวลาเปิดงานแล้ว





ถ่ายชั้น3 ซึ่งเป็นโซนที่มีผู้เข้าชมบ้างแล้ว





อ.พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก รับช่อดอกไม้จากบรรดาแฟนผู้ชื่นชอบผลงาน

เพื่อเป็นการเติมเต็มข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ ขอนำข้อมูล ของคุณ พนิดา สงวนเสรีวานิช

ซึ่งเขียนลงไว้ในมติชน ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

-----


"Beauty in Bloom" แซยิดพันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก เนรมิตหอศิลปฯ เป็นสวนสีน้ำ


โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช

ในบรรดาศิลปินสีน้ำ ถ้าเป็นภาพดอกไม้ เขาคนนี้นับเป็นศิลปินแถวหน้าเมืองไทย


ด้วยฝีมือการรังสรรค์เส้นสีที่อ่อนพลิ้ว ราวกับเก็บทุกอารมณ์ในธรรมชาติของไม้ดอกนั้นมารวมอยู่ที่ปลายพู่กัน

แล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษ


"พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก" เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปินสีน้ำจากการเขียนภาพดอกไม้ประกอบในนิตยสารพลอย

แกมเพชร ตั้งแต่เมื่อ 17 ปีก่อน


แม้จะมีผู้ที่ชื่นชอบผลงานภาพเขียนอยู่มากมาย แต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่งานเหล่านั้นจะนำมาจัดแสดงเป็น

นิทรรศการ เพราะหลายต่อหลายภาพที่เขียนยังไม่เสร็จดี สียังหมาดๆ ด้วยซ้ำ ก็ถูกจับจองเสียแล้ว


บ่อยครั้งลูกค้าก็จะทำทีเปรยว่า ชอบดอกไม้สีม่วง หรือเขียนดอกบัวเสร็จเมื่อไหร่บอกนะคะ


ผลงานภาพเขียนของเขาส่วนใหญ่จึงมักเข้าไปอยู่ในคอลเล็กชั่นส่วนตัว บางภาพก็อยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ


ความที่เอาหัวใจเข้าไปจับ ใส่ใจในทุกรายละเอียดของดอกไม้ กระทั่งหนามของดอกกุหลาบทุกหนาม

ขนของใบทุกเส้น ฯลฯ ทำให้ภาพดอกไม้ของเขาแตกต่างจากศิลปินสีน้ำคนอื่นๆ


เหนืออื่นใดคือ การเขียนสด ไม่มีการร่างก่อน ทำให้ดอกไม้ทุกดอกมีความนุ่มนวล อ่อนโยน เต็มไป

ด้วยความงดงามในแบบธรรมชาติ


สถาบันฮันต์ แหล่งรวบรวมภาพประเภทดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้

เมลลอน ที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งทุก 3 ปีสถาบันแห่งนี้จะรวบรวมภาพดอกไม้จากศิลปินดังๆ

ทั่วโลก จัดแสดงคอลเล็กชั่นภาพดอกไม้ไปทั่วสหรัฐอเมริกา จึงทาบทามให้เขาส่งภาพดอกไม้เข้าไปร่วมแสดงงาน

ปีแล้วปีเล่า...จนกระทั่ง


วันนี้ในวัยแซยิด พันธุ์ศักดิ์ เตรียมส่งงานสีน้ำไปจัดแสดงที่สถาบันฮันต์ รวมทั้งสิ้น 20 ภาพ


แต่ก่อนที่ภาพสีน้ำผลงานของเขาทั้ง 20 ภาพนี้จะไปแสดงให้กับชาวเมืองลุงแซมได้ชื่นชม ภาพชุดนี้จะจัดแสดง

อวดสายตาชาวไทย ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ 76 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ในฐานะศิษย์เก่าสถาปัตย์ จุฬาฯ รุ่น 2511


ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรม จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า

(บน) พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก (ล่าง) ขั้นตอนการ "วาดสด" ไม่มีการร่างภาพไว้ก่อน


คณะสถาปัตย์มีหน้าที่ผลิตสถาปนิก แต่ก็มีศิษย์เก่าที่ทำงานด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่วงการแสดงและประสบความสำเร็จ

มากมาย จึงตั้งใจที่จะทำโครงการเชิดชูผลงานนิสิตเก่า เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงแต่อยู่ในแวดวงของเขา

เช่น ทินนาถ นิสาลักษณ์ (ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ) มือดีไซน์ที่จิม ทอมป์สัน, ดลชัย บุณยะรัตเวช

นักโฆษณามือหนึ่ง ฯลฯ


ประจวบกับที่ พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก กำลังเตรียมงานชุดนี้เพื่อส่งไปแสดงที่สหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคมนี้พอดี

จึงมีการทาบทามเข้าโครงการนี้เป็นคนแรก


ขณะเดียวกันก็นับเป็นครั้งแรกของการแสดงนิทรรศการผลงานภาพเขียนชิ้นเด่นๆ ตลอดช่วงชีวิต 10 ปีของ

การทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้นกว่า 70 ภาพ ใน นิทรรศการภาพสีน้ำ ชุด "Beauty in Bloom"

จัดแสดงวันที่ 12-29 พฤศจิกายน 2552 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (ปิดวันจันทร์)


พันธุ์ศักดิ์ เล่าถึงเส้นทางก่อนจะประสบความสำเร็จในฐานะศิลปินสีน้ำวันนี้ว่า...เป็นคนจังหวัดชลบุรี

บ้านอยู่ศรีราชา ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นก็ตั้งความหวังไว้ว่าจะต้องเข้าเรียนจุฬาฯ ให้ได้


"ผมมาจากศรีราชา ตอนนั้นมุ่งแต่จะเข้าจุฬาฯ อย่างเดียว เพราะเรียนสายวิทย์มา และรู้แต่ว่ามีที่สถาปัตย์

จุฬาฯ ที่เดียวมีสอนวาดเขียน เพิ่งมาทราบตอนหลังว่าที่ศิลปากรก็มีสอนเหมือนกัน" เขาเล่าพร้อมกับ

หัวเราะกับความไม่รู้ของตนเอง


แล้วเขาก็ได้เป็นลูกพระเกี้ยวสมใจ แต่...


"ผมเรียนถาปัตย์ พอได้อนุปริญญาแล้วถึงรู้ว่า มันไม่ใช่ ไม่ชอบ เลยย้ายไปอยู่ออกแบบอุตสาหกรรม

(Industrial Design) เพราะมีสอนเพ้นติ้งด้วย


"เรียน 4 ปี คะแนนก็ใช้ได้ สนุกกับงานกิจกรรม แต่ไม่เคยใช้วิชาการที่เรียนมาออกแบบอาคาร


นอกจาก "บอกแบบ" คือบ้านที่อยู่เอง ซึ่งเป็นบ้านเก่าๆ ที่แม่ปลูกไว้ที่ศรีราชา"


...บ้านหลังที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสถานที่อบรมบ่มเพาะความเป็นตัวตนทั้งหลายทั้งปวงของศิลปินสีน้ำคนนี้


พันธุ์ศักดิ์ ย้อนอดีตให้ฟังถึงความผูกพันกับไม้ดอกนานาพันธุ์ว่า มีจุดเริ่มมาจากคุณย่า


"สมัยเด็กคุณย่าจะให้เก็บดอกไม้ถวายพระเป็นประจำ ใช้ให้พับดอกบัว ร้อยมะลิด้วยก้านไม้กวาด

จำได้ว่าคุณย่าจะปลูกดอกมะลิไว้ที่ลานหลังบ้านที่ศรีราชา และใช้น้ำล้างปลารดต้นมะลิ ต้นมะลิของย่า

จึงออกดอกสะพรั่งจนต้องเก็บมาถวายพระอยู่บ่อยๆ"

ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดีสถาปัตย์ จุฬาฯ


สิ่งเหล่านี้เป็นความเคยชินที่ค่อยๆ กลายเป็นผูกพัน...


ความทรงจำของพันธุ์ศักดิ์หมุนกลับไปสมัยเด็กอีกครั้ง ตอนนั้นเขาเรียนอยู่ชั้นประถม 5-6 ที่โรงเรียน

อัสสัมชัญศรีราชา ในวิชาวาดเขียน คุณครูให้เขียนภาพมาส่ง เด็กชายพันธุ์ศักดิ์เลือกเขียนภาพดอก

แพงพวยฝรั่ง "จำได้เลยว่าเป็น แพงพวยฝรั่ง 2 ดอก มีก้านดอกและใบประดับอีก 3 ใบ"


ปรากฏว่าเขาได้คะแนนเต็มสิบ จากคุณครูที่ไม่เคยให้คะแนนเต็มกับเด็กนักเรียนคนไหนมาก่อน


นั่นเป็นครั้งแรกของการเขียนภาพสีน้ำและได้รับคำชื่นชม แต่เขาก็ไม่ได้ติดใจอะไร ภาพนั้นก็ไม่ได้

เก็บไว้ด้วยซ้ำ


วันเวลาล่วงผ่าน กระทั่งเรียนจบแล้ว เขาเข้าทำงานในแวดวงโฆษณาอยู่ 2 ปี จึงมีโอกาสได้ไปช่วยงาน

ที่บ้านอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ทำตุ๊กตาพอร์ซเลน


พันธุ์ศักดิ์บอกว่า เวลาที่ใส่งานพอร์ซเลนเข้าไปในเตาเผา ทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากนั่งเฝ้าอยู่หน้าเตา

เขาจึงใช้เวลาว่างระหว่างนั้นเขียนรูปดอกไม้ช่อเล็กช่อน้อยไปตามเรื่อง ตามคำแนะนำของอาจารย์จักรพันธุ์ที่ว่า

อย่าอยู่เฉยๆ


และกลายเป็นช่วงเวลาของการฝึกปรือฝีมือการเขียนภาพของเขาโดยไม่รู้ตัว


"ตอนคุณแม่เสีย ผมไปอเมริกา ซึ่งปกติผมเป็นสมาชิกที่ "แคลิฟอร์เนีย วอเตอร์คัลเลอร์ แอสโซซิเอชั่น"

(CWA) อยู่แล้ว แต่พอดีปีนั้นที่ซานฟรานซิสโกมีงานแสดง ฟลาวเวอร์ โชว์ ซึ่งบรรดาสมาชิกจะนำรูป

ไปแสดง ได้เห็นรูปที่เขียนในแนวพฤกษศาสตร์ จึงรู้ว่าแบบนี้สิคือวิถีที่เราอยากเขียน พอดีที่นั่นมีเปิด

คอร์สสอนพอดี และคนที่สอนก็เป็นประธานของ "อเมริกัน โซไซตี้ ออฟ โบตานีเคิล อาร์ติสต์" (ASBA)

ก็เลยสมัครเข้าไปเรียนทั้ง 5 คอร์ส คอร์สละ 1 อาทิตย์ หมดคอร์สปั๊บก็ได้เวลากลับกรุงเทพฯ พอดี"

นอกจากจะได้เรียนรู้การเขียนดอกไม้ในแนวพฤกษศาสตร์สมใจ สิ่งที่ได้ตามมาคือ การที่พันธุ์ศักดิ์

ได้สร้างความประทับใจในฝีมือการเขียนภาพแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ ที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่งของเขา

ให้กับทางสมาคมได้ประจักษ์ และเป็นที่มาของการทาบทามขอภาพไปจัดแสดงในครั้งนี้


"ผมเขียนแต่สีน้ำอย่างเดียว เก็บรายละเอียดทั้งหมด แต่เน้นความงามตามธรรมชาติ ไม่ได้เน้นด้าน

วิทยาศาสตร์ ทำมามากจนสามารถเอาชนะทางด้านเทคนิค สามารถถ่ายทอดความเป็น 3 มิติ ลงบน 2

มิติของสีน้ำได้


อย่างกุหลาบเพิ่งมากล้าเขียน 2 ปีนี่เอง หลังจากฝึกมาสิบกว่าปี เพราะมันมีความซับซ้อน และอีกอย่าง

คือ วิธีการของผม "ไม่ได้ร่างก่อน" ลงสดเลย


ผมใช้สีน้ำเป็นเครื่องมือบอกเล่าถึงสิ่งที่ผมชอบ เขียนดอกไม้ใกล้ตัว ดอกที่ชอบ ส่วนมากเป็นดอกไม้ที่บ้าน

ศรีราชา ดอกไม้ที่บ้านอาจารย์จักรพันธุ์ เป็นการใช้เวลาของผมที่มีความสุข ไม่ได้ต้องการบันทึกอะไรทั้งนั้น

พอเขียนเสร็จก็ให้อาจารย์จักรพันธุ์เป็นคนติชมแนะนำ"

ศิลปินสีน้ำคนนี้ เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้จากการเขียนภาพจากภาพถ่าย กับการเขียนภาพจากตัวแบบจริงว่า

ต่างกันมาก


"วาดจากของจริงสนุกกว่ากันมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นผิวของผลไม้แต่ละชนิด ขนของใบไม้แต่ละประเภท

ทำให้เราต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่ใช่ช่อไหนก็เขียนได้ มันอยู่ที่เรามององค์ประกอบ แน่นเกินไป

ก็ไม่สวย อย่างพวงคราม ผมเขียนเยอะ เพราะชอบ แต่การเลือกช่อมาเขียนก็ต้องเลือก รวมทั้งจังหวะของ

ดอกด้วย


อย่างบัวตูมมันมีความแข็งกว่าทิวลิป แต่เวลาเขียนออกมา ยังไงก็ไม่แข็ง มันอยู่ที่ความรู้สึกของเราที่มีต่อ

ดอกไม้และถ่ายทอดออกมา อย่างความด่างของธรรมชาติที่แต่ละดอกแต่ละช่อมีไม่ซ้ำกัน รวมทั้งกลีบ ใบ

ที่กำลังจะทิ้งขั้วไม่ทิ้งขั้วเพราะมันแห้ง บังเอิญผมไปจับมาเขียน ผมถึงบอกว่ารูปของผมจับใจคนที่เสน่ห์

ของธรรมชาติ


แต่ตอนหลังพอกลับมาเขียนภาพจากรูปถ่ายมันจะสนุกแล้วทีนี้ เพราะเราเขียนจากของจริงมา 10 กว่าปี

แล้ว รู้จักการแทนค่าสี เพื่อเป็นการผลักระยะให้เกิดมิติของภาพ"


เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานและสม่ำเสมอ


ถ้าอยากจะเขียนภาพดอกไม้ให้ได้สวย พันธุ์ศักดิ์แนะว่า กฎเหล็กข้อหนึ่งคือ ต้องเขียนให้เยอะๆ

//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra02121152§ionid=0131&day=2009-11-12





ผู้ร่วมงานเยอะแยะมากมาย ขอจังหวะดีๆถ่ายมาให้น้องชาย กับอ.อั๋นสักหนึ่งภาพแล้วรีบสลาย

ตัวเปิดโอกาสผู้อื่นบ้าง





รอเวลาหน่อยนะตรงชั้นนี้รอเวลาเปิดอยู่





พวงมาลัยสุดสวยจัดเตรียมไว้มอบให้ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต

ได้ทราบมาว่า อาจารย์ พันธุ์ศักดิ์ ประดิษฐ์ประดอยด้วยตัวเองทีเดียว





มาแล้วค่ะ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต





เก็บภาพ





กล่าวเปิดงาน





ช่อดอกไม้ที่บรรดาแฟนๆของ อาจารย์ พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก นำมามอบให้





โบเก้ช่อนี้อยู่ในมือของเจ้าตัว คงรอจังหวะมอบอยู่ค่ะ





จ๊ะเอ๋กับ อาจารย์ พรเลิศ ทักทายพูดคุยกันเพราะไม่ได้พบกันซะนาน

นี่แอบไปเป็นศิษย์ อ.พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ด้วยนะ ไม่เบาเลย





อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต กล่าวชื่นชม อาจารย์ พันธุ์ศักดิ์ ศิษย์เอก





หลังจากนั้นก็ตัดริบบิ้นเปิดงาน ภาพตอนตัดริบบิ้นถ่ายไม่ได้ค่ะ เพราะช่างภาพรุมล้อมแน่นไปหมด





นอกจากจะพบ อ.พรเลิศแล้ว ยังพบกับป้าจาย(ป้าดาวกระจาย ห้องต้นไม้,หมาแมว)

เธอกระซิบบอกย่าว่า เธอจะออกหนังสืออีกเล่มแล้วนะ ดูเหมือนจะชื่อ การเดินทางของ

เมล็ดน้อย อะไรประมาณนี้แหล่ะค่ะ เมื่อไหร่เปิดตัวหนังสือแล้วคงได้ทราบกัน





นำภาพตัวอย่างที่เป็นงานพริ้นท์มาให้ชม เพราะภาพที่โชว์อยู่เป็นภาพต้นแบบที่มีเจ้าของแล้วทั้งนั้น

และห้ามถ่ายภาพค่ะ หากมีเวลา จากวันนี้ถึงวันที่29 พฤศจิกายน 2552 นี้ หาโอกาสไปชมให้

ได้นะคะ เพราะภาพต้นแบบสวยงามมากจริงๆ คิดดูซิคะขนาดแค่รายละเอียด หนามกุหลาบแต่

ละหนามยังมีการไล่โทนสีจนดูเป็นภาพสามมิติได้เลยค่ะ หากใครพลาดงานนี้บอกได้เลยว่า

น่าเสียดายมากๆ


ย่าว่าจะหาโอกาสไปชมอีกสักครั้ง





หลังจากชมภาพทั้งหมดอย่างละเลียดแล้ว ก็แวะเติมพลังกับอาหารและขนมที่ทางทีมงานได้เตรียมไว้ให้

ปั้นขลิบ เลิศรส





ขนมมันและขนมใส่ใส้แสนอร่อย





ลูกชุบก็น่าทาน





ซาลาเปาเจ อร่อยสุดๆ ตามมาด้วยขนมจีบ อร่อยไม่แพ้กัน





อาหารและน้ำเสริฟไม่อั้น เด็กๆในภาพน่าจะเป็นเด็กแถวนั้น มาร่วมแจมด้วย

ย่าถ่ายตอนคนน้อยแล้วค่ะ เพราะตอนคนเยอะ ไม่ทราบจะถ่ายยังไงให้เห็นทั้งโต๊ะ





ในงานนี้มีpostcard ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ให้ได้ซื้อหา ภาพสวยมากอย่าลืมไป

อุดหนุนนะคะ


ส่วนในภาพนี้เป็นหน้าปกหนังสือ ที่รวบรวมผลงานภาพวาดของอาจารย์ พันธุ์ศักดิ์

เล่มที่สอง หากสนใจซื้อเก็บไว้ก็ซื้อได้จากที่งานนี้เลยค่ะ


อย่าลืมไปชมนะคะ พวกเราได้มีโอกาสชมก่อนที่ผลงานเหล่านี้จะบินลัดฟ้าไปโชว์ที่อเมริกาค่ะ





โชว์พวงมาลัยหนึ่งเดียวกันให้เห็นชัดๆ สวยงามจนย่าอดที่จะขอถ่ายเจาะเก็บไว้

เป็นหนึ่งในไอเดียการร้อยมาลัยสวยงาม และนำภาพมาฝากเพื่อนๆด้วยค่ะ

ดอกไม้สีขาวที่อยู่ตรงกลางใช้กลีบของดอกกล้วยไม้หวายสีขาวค่ะ







Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 14 พฤษภาคม 2559 5:40:15 น.
Counter : 6281 Pageviews.

8 comments
  
มีดอกไม้สวยๆ มาฝากค่ะ ขอให้มีความสุขมากๆ นะคะ

Elbereth

โดย: Elbereth วันที่: 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:16:46 น.
  
โห ย่าดาเก็บภาพและเรื่องราวมาละเอียดมากเลยค่ะ
อ่านแล้วเหมือนได้ตามก้นย่าดาเลยเพราะว่า
เดินไปทางไหนก็เก็บภาพได้สวยงามสมกับเป็น
ย่าดาตลอดเลยค๊า ...
โดย: JewNid วันที่: 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:28:52 น.
  
ต้องใจรักและมีพรสวรรค์นะคะเนี่ย ถึงจะทำได้อย่างนี้น่ะ ฝนคงได้แค่มองและชื่นชม ฮี่ๆๆ

ภาพแจ่มๆ ทุกภาพเลยค่ะย่าดา

หนูกับครอบครัวอยู่ไทยค่ะ มาพักผ่อนสองเดือน
ตอนนี้อยู่ได้สามอาทิตย์แล้วค่ะ
โดย: CeciLia_MaLee วันที่: 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:41:24 น.
  
โอ๊ยยยยย อยากไปงานนี้มาก ๆ เลยค่ะย่าดา

ชอบผลงานอาจารย์มากๆ
โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:22:47 น.
  
มาที่นี่ค่อยอ่านได้ ขอบคุณ
โดย: kul IP: 125.25.245.123 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:47:23 น.
  
เข้ามาชมบรรยากาศ และภาพสวย ๆ ครับ
โดย: คนหลังภาพ วันที่: 14 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:48:38 น.
  
ที่บ้านแม่เลี้ยงบัวไว้เหมือนกันครับ เป็นบัวหลวง มีความงามเฉพาะตัวของเค้าสำหรับไม้น้ำพันธุ์นี้ นอกจากนี้ยังเป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาของเราอย่างใกล้ชิดทำให้เราได้ทบทวนรักษาธรรมในจิตอยู่ตลอดเวลา

สำหรับน้องๆที่รักการเรียนสถาปัตย์ อยากเป็นสถาปนิกครับ

แนะแนวการสอบ CU-TEP เพื่อใช้เป็นคะแนนยื่น หลักสูตรอินเตอร์ สามารถยื่นคะแนนกับทางคณะ INDA, Commde, BALAC ของทางจุฬา หรืออื่นๆ โดย PA

CU-TEP (Chulalongkorn University Test Of English Proficiency) คือ แบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมาก แบบทดสอบ CU-TEP จัดทำโดยสถาบันภาษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าเทคนิคการสอบ CU-TEP วิเคราะห์ข้อสอบแต่ละพาร์ทไว้อย่างน่าสนใจ โดย Pornpan Academy
โดย: izephyr888 วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:10:56:41 น.
  
อ.พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก
โดย: ภาพเขียนสีน้ำฝีมืออ.พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก IP: 110.164.177.81 วันที่: 27 ธันวาคม 2556 เวลา:12:02:49 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dada.BlogGang.com

ดา ดา
Location :
1  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]

บทความทั้งหมด