 |
|
|
|
 |
|
สรุป พุทธธรรม ลงในอริยสัจ |
|
สรุป “พุทธธรรม” ลงในอริยสัจ เนื้อความ และโครงเรื่อง ของหนังสือพุทธธรรม นี้ แม้จะดูเหมือนแปลกไปจากคัมภีร์และตำราต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ ในหลายส่วน และหลายลักษณะ แต่ความจริงแล้ว ก็ดำเนินอยู่ในหลักการเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ คือ อริยสัจ ๔ นั่นเอง มิได้ผิดแปลกไปแต่ประการใด เพื่อให้เห็นชัด จึงขอจัดโครงเรื่องของหนังสือ ลงในหลักอริยสัจ ๔ ดังนี้ ภาค ๑ มัชเฌนธรรมเทศนา
หมวด ๑ ทุกข์
บทที่ ๑ ชีวิต คืออะไร ? ขันธ์ ๕ บทที่ ๒ ชีวิต คืออะไร ? อายตนะ ๖ บทที่ ๓ ชีวิต เป็นอย่างไร ? ไตรลักษณ์
หมวด ๒ สมุทัย
บทที่ ๔ ชีวิต เป็นไปอย่างไร ? ปฏิจจสมุปบาท บทที่ ๕ ชีวิต เป็นไปอย่างไร ? กรรม
หมวด ๓ นิโรธ
บทที่ ๖ ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ? นิพพาน บทที่ ๗ ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ? ประเภทและระดับแห่งนิพพานและผู้บรรลุนิพพาน บทที่ ๘ ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ? ข้อควรทราบเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ บทที่ ๙ ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ? หลักการสำคัญของการบรรลุนิพพาน บทที่ ๑๐ ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร ? บทสรุป
ภาค ๒ มัชฌิมาปฏิปทา
หมวด ๔ มรรค
บทที่ ๑๑ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร ? บทนำของมัชฌิมาปฏิปทา บทที่ ๑๒ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร ? บุพภาคของการศึกษา ๑ ปรโตโฆสะ - กัลยาณมิตร บทที่ ๑๓ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร ? บุพภาคของการศึกษา ๒ โยนิโสมนสิการ บทที่ ๑๔ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร ? องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๑ หมวดปัญญา บทที่ ๑๕ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร ? องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๒ หมวดศีล บทที่ ๑๖ ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร ? องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๓ หมวดสมาธิ บทที่ ๑๗ บทสรุป อริยสัจ ๔
ภาค ๓ บทความประกอบ (ตัวอย่างแสดง: อารยธรรมวิถี - ชีวิตที่ดี เป็นอย่างไร ?)
บทที่ ๑๘ บทความประกอบที่ ๑ ชีวิตและคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน บทที่ ๑๙ บทความประกอบที่ ๒ ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม บทที่ ๒๐ บทความประกอบที่ ๓ เรื่องเหนือสามัญวิสัย บทที่ ๒๑ บทความประกอบที่ ๔ ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ บทที่ ๒๒ บทความประกอบที่ ๕ ความสุข ๑ ฉบับแบบแผน บทที่ ๒๓ บทความประกอบที่ ๖ ความสุข ๒ ฉบับประมวลความ ส่วนเนื้อความที่ดูแปลกไป โดยเฉพาะข้อความที่มีชื่อไม่ค่อยคุ้นหู เช่น ปรโตโฆสะ กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ เป็นต้น พร้อมทั้งแง่ด้านที่ไม่ชินตาของหลักธรรมต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว มีหลายอย่างที่ได้นำมาอธิบายเป็นพิเศษในหนังสือนี้ ทั้งที่ในหนังสือทางธรรมทั่วไปไม่ค่อยมีการกล่าวถึง พึงเข้าใจว่า ข้อธรรม และแง่แห่งความหมายเหล่านั้น แท้จริง เป็นสิ่งที่ท่านกล่าวถึงบ่อย ๆ ในพระไตรปิฎก แต่อาจเป็นไปได้ว่า ในบางยุคบางสมัย ไม่มีเหตุที่ท่านจะต้องยกขึ้นเน้นย้ำ หรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ จึงเหินห่างเลือนรางไป การมีเนื้อความเช่นนั้น มาปรากฏอย่างแปลกตาในหนังสือนี้ พึงเข้าใจว่า เกิดจากการพิจารณาเห็นว่า บัดนี้ ถึงเวลาที่ควรสนใจข้อความ และแง่ความหมายเหล่านั้น ให้มากเป็นพิเศษ หรืออย่างน้อย มากขึ้นกว่าเดิม ในทำนองเดียวกัน บางท่านก็อาจสังเกตเห็นว่า คำสอนบางอย่าง บางแง่ ที่เคยเน้นย้ำขยายความโดยพิสดารในบางสมัย ก็มิได้เป็นจุดเด่นที่เน้นย้ำในหนังสือนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนหนังสือนี้ มีความมั่นใจพอสมควรว่า อัตราส่วนแห่งเนื้อความเกี่ยวกับข้อธรรมและแง่ความหมายของหลักคำสอนต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในหนังสือนี้ ใกล้เคียงมากกับอัตราส่วนที่เป็นจริง ในพระบาลี คือ พระไตรปิฎก ที่เป็นแหล่งคำสอนหลักแต่ดั้งเดิม.
- พระสงฆ์ไทยรุ่นก่อนๆ บวชเพื่อศึกษาและอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาจนวันตาย
Create Date : 21 กันยายน 2567 |
Last Update : 21 กันยายน 2567 13:42:08 น. |
|
0 comments
|
Counter : 137 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|