กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
กันยายน 2567
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
17 กันยายน 2567
space
space
space

อริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท จบ



- ต่อ จบตอน

     ส่วนแง่ที่ปฏิจจสมุปบาท กับ อริยสัจ  พิเศษหรือแปลกจากกัน  พอสรุปได้  ดังนี้

        ๑. หลักธรรมทั้งสอง  เป็นการแสดงความจริงในรูปแบบที่ต่างกัน  ด้วยวัตถุประสงค์คนละอย่าง

          - ปฏิจจสมุปบาท  แสดงความจริง   ตามกระบวนการของมันเอง ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติล้วนๆ

          - อริยสัจ   เป็นหลักความจริง   ในรูปแบบที่เสนอตัวต่อปัญญามนุษย์ ในการที่จะสืบสวนค้นคว้า และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

     โดยนัยนี้ อริยสัจ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงโดยสอดคล้องกับประวัติการแสวงหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่การเผชิญความทุกข์ ที่ปรากฏเป็นปัญหา แล้วสืบสาวหาสาเหตุ พบว่ามีทางแก้ไข ไม่หมดหวัง จึงกำหนดรายละเอียด หรือจุดที่ต้องแก้ไข และกำหนดเป้าหมายใช้ชัด แล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการนั้น

     แล้วโดยนัยเดียวกัน จึงเป็นหลักธรรมที่ยกขึ้นมาใช้ในการสั่งสอน เพื่อให้ผู้รับคำสอนทำความเข้าใจอย่างมีระเบียบ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จทั้งการสั่งสอนของผู้สอน และการประพฤติปฏิบัติของผู้รับคำสอน

     ส่วน  ปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวกระบวนธรรมแกนกลางของอริยสัจ และเป็นเนื้อหาทางวิชาการ ที่จะต้องศึกษา ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจให้ชัดเจนถึงที่สุด จึงเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทบทวนหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆ

        ๒. ข้อที่แปลก หรือพิเศษกว่ากันอย่างสำคัญ   อยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ซึ่งตรงกับอริยสัจ ข้อที่ ๓ และ ๔ (นิโรธ และ มรรค) กล่าวคือ

          ก. เมื่อเทียบกับอริยสัจ ข้อ ๓  (นิโรธ)  จะเห็นว่า

     ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร   กล่าวถึงนิโรธด้วยก็จริง   แต่มุ่งแสดงเพียงกระบวนการเข้าถึงนิโรธ ไม่ได้มุ่งแสดงสภาวะของตัวนิโรธ หรือ นิพพานเอง  ด้วยเหตุนี้  ในพุทธดำริ  เมื่อจะทรงประกาศธรรม จึงแยกธรรมที่ทรงพิจารณาเป็น ๒ ตอน คือ

        - ตอนแรก กล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท อย่างข้างต้น

        - ต่อจากนั้น  มีพุทธดำริต่อไปอีกว่า  "แม้อันนี้  ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก  กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง  ความสลัดอุปธิทั้งปวง  ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน"

     นี้แสดงว่า  ทรงแยกธรรมที่ตรัสรู้เป็น ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท กับ นิโรธ นิพพาน

     ส่วน อริยสัจ ข้อที่ ๓ คือ นิโรธ มุ่งแสดงตัวสภาวะของนิโรธเป็นสำคัญ แต่มีความหมายเล็งไปถึงกระบวนการเข้าถึงนิโรธแฝงอยู่ด้วย

        ข. แม้ว่า ปฏิจจสมุปบาท  ฝ่ายนิโรธวาร  จะกินความรวมถึงอริยสัจ ข้อ ๔ คือ มรรค ด้วย แต่ก็ยังไม่ให้ผลในทางปฏิบัติชัดเจน เพราะ

          - ปฏิจจสมุปบาท   แสดงแต่ตัวกระบวนการล้วนๆ ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติเท่านั้น มิได้ระบุลงไปให้ชัดเจนว่า สิ่งที่จะต้องทำมีรายละเอียดอะไรบ้าง จะต้องทำอย่างไร กระบวนการอย่างนั้นจึงจะเกิดขึ้น มีลำดับขั้นการปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะกลวิธีต่างๆ ในการกระทำ คือ ไม่ได้จัดวางระบบวิธีการไว้โดยเฉพาะ เพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผล เหมือนแพทย์รู้วิธีแก้ไขโรค แต่ไม่ได้สั่งยาและวิธีปฏิบัติในการรักษาไว้ให้

          - ส่วนในอริยสัจ  มีหลักข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งจัดขึ้นไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติของมนุษย์โดยเฉพาะ  ให้เป็นสัจจะข้อหนึ่งต่างหาก    ในฐานะข้อปฏิบัติที่พิสูจน์แล้ว  ยืนยันได้ว่านำไปสู่จุดหมายได้แน่นอน

     อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค นี้ แสดงหลักความประพฤติปฏิบัติไว้อย่างละเอียดกว้างขวางพิสดาร   ถือว่าเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติ หรือ ระบบจริยธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง หรือ ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ

     เมื่อเทียบหลักอริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท ถือว่า

        - ปฏิจจสมุปบาท เป็น มัชเฌนธรรมเทศนา คือ หลักธรรมที่แสดงเป็นกลางๆ หรือ ธรรมสายกลาง ตามที่ธรรมชาติเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน  ครอบคลุมอริยสัจ ๓ ข้อแรก

        - ส่วน อริยสัจ ข้อที่ ๔ มรรค เป็น มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง สำหรับมนุษย์ที่จะปฏิบัติ เพื่อให้ผลเกิดขึ้นแก่ตนโดยเป็นไปตามธรรมดา นั้น เป็นเรื่องส่วนพิเศษ ซึ่งท่านจัดแถมให้

     รวมความว่า   ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้   พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้  ที่เป็นหลักใหญ่มี ๒ นัย คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน กับ อริยสัจ ๔ ทั้งสองนัยว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ

        ๑. ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน   ตรัสในคราวปรารภที่จะทรงเริ่ม ประกาศธรรมว่า สิ่งที่ตรัสรู้ลึกซึ้ง ยากยิ่งนักที่สัตว์ทั้งหลายจะเข้าใจ การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นส่วนเนื้อหาสาระของการตรัสรู้ หรือพูดให้สัมพันธ์กับนัยที่สองว่า เป็นส่วนแก่นแท้ของอริยสัจ เป็นด้านธรรมชาติและธรรมดาของมัน เป็นตัวแท้ๆ ล้วนๆ ของธรรม ซึ่งเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง

        ๒. อริยสัจ ๔  ตรัสในคราวทรงเล่าลำดับแห่งการปฏิบัติจนตรัสรู้ของพระองค์เอง และในคราวทรงแสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่น เริ่มแต่ในปฐมเทศนา การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า อริยสัจ ๔ คือ ธรรมที่ได้ตรัสรู้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะที่จัดเข้าลำดับเป็นกระบวนการขั้นตอน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะเข้าใจ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อมุ่งให้สอนเข้าใจง่าย และปฏิบัติได้ผล

     พูดอีกอย่างหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นแต่ธรรมล้วนๆตามธรรมชาติ ส่วนอริยสัจ ๔ คือ ธรรมในรูปที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือ ที่นำเสนอในเชิงที่เอื้อต่อความเข้าใจ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

     พร้อมนั้นก็พูดได้ว่า อริยสัจ ๔ คือธรรมทั้งหมด  มีจุด ซึ่งเป็นแก่นแท้เข้าใจยากที่สุดอยู่ที่ปฏิจจสมุปบาท และนิพพานเท่านั้น

     ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน แล้ว  ก็เป็นอันเข้าใจพุทธธรรมทั้งหมด  (คือ รวมทั้งอริยสัจ ๔ ด้วย)
 




 

Create Date : 17 กันยายน 2567
0 comments
Last Update : 17 กันยายน 2567 9:06:20 น.
Counter : 247 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space