Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
13 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

13 มิย 53 ขันติธรรม

จากวันที่ฟังเทศน์หลวงปู่ก้าน  ถึงวันนี้ เกือบสี่เดือนแล้ว
อะไร คือความอดทน จะทำให้มีขึ้นได้อย่างไร


link //www.bloggang.com/mainblog.php?id=mcayenne94&month=27-02-2010&group=7&gblog=133

มงคลที่ 27 ขันติความอดทน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญขันติธรรมว่าเป็นเลิศ
พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า
"ยกเว้นปัญญาแล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า ขันติเป็นเลิศ"


มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๔ - หน้าที่ 196


     [๔๒๘]   เรื่องเคยมีมาแล้ว 
สงครามระหว่างอสูรและเทพดาได้มีแล้ว. 
พวกเทพดาชนะแล้ว  จึงมัดจอมอสูรชื่อเวปจิตติ
   
นำมาสู่สำนักของท้าวสักกะ.  
ท้าวเวปจิตตินั้นด่าท้าวสักกะผู้เป็นจอมของเทพดา
ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้ว่า 
"ท่านเป็นโจร  ท่านเป็นคนพาล  ท่านเป็นคนหลง 
ท่านเป็นโค  ท่านเป็นลา   ท่านเป็นอูฐ 
ท่านเป็นสัตว์นรก  ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน 
สุคติของท่านไม่มี  ทุคติเท่านั้นเป็นที่หวังของท่าน" 
และบริภาษด้วยคำเป็นต้นว่า 
" แนะท้าวสักกะแก่  ท่านจักไม่ชนะตลอดกาลทั้งปวงดอก,
เมื่อใด    ความชนะจักมีแก่พวกอสูร,  
เมื่อนั้น   เราจักมัดแม้ซึ่งท่านอย่างนี้  
ให้นอนที่ประตูแห่งภพของพวกอสูรแล้ว จักโบย"   


    ท้าวสักกะผู้มีชัยชนะแล้ว  มิได้ทรงใส่ใจถึงคำนั้น 
เพราะความที่พระองค์เป็นผู้มีพระอัธยาศัยตั้งมั่น
ในขันติและโสรัจจะตลอดกาลนาน.
    ลำดับนั้น   มาตลิเทพบุตร     คิดว่า  
"ท้าวสักกะนี่      ย่อมอดกลั้นคำหยาบเหล่านี้เพราะทรงกลัว  
หรือว่าเพราะความที่พระองค์ทรงประกอบด้วยอธิวาสนขันติ"    
จึงทูลถามเนื้อความนั้น.


   [๔๒๙]   ทีนั้น  ท้าวสักกะ  ตรัสว่า  
"เราหาได้อดทน ( ถ้อยคำ )ของท้าวเวปจิตติเพราะความกลัวไม่  
เพราะความอ่อนกำลัง   ก็หามิได้"   แล้วตรัสว่า
"ประโยชน์ทั้งหลาย    มีประโยชน์ของตน เป็นอย่างยิ่ง,
 ( ประโยชน์อะไร )  ยิ่งกว่าขันติไป   ย่อมไม่มี,  
ผู้ใดแลเป็นผู้มีกำลัง ย่อมอดกลั้น(ถ้อยคำ) ของผู้อ่อนกำลังได้,


บัณฑิตทั้งหลาย   กล่าวขันตินั้น   ของบุคคลนั้นว่า ยิ่ง,
เพราะคนอ่อนกำลัง   ย่อมรุกรานได้เป็นนิตย์"
//www.dhammahome.com/


  ๒. สรภังคชาดก
ท่านสรภังคฤาษีผู้เรืองตบะนี้
เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิดมา
เป็นบุตรของปุโรหิตาจารย์
ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
ท่านจักพยากรณ์ปัญหา
ของพระราชา


ท้าวมฆวาฬสักกเทวราชปุรินททะ ทรงเห็นประโยชน์ ได้
ตรัสตามปัญหาอันเป็นปฐม ดังที่พระทัยปรารถนาว่า
บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิจึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ
ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละอะไร
บุคคลพึงอดทนคำหยาบที่ใครๆ ในโลกนี้กล่าวแล้ว
ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด?


[๒๔๕๘] บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ
ฤาษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่
บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวงกล่าว
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด.


[๒๔๕๙] บุคคลอาจจะอดทนถ้อยคำของคนทั้ง ๒ พวกได้
คือ คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑
จะอดทนถ้อยคำของคนเลวกว่าได้อย่างไรหนอ
ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด?
[๒๔๖๐] บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้
เพราะความกลัว
พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ
ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด.


[๒๔๖๑] ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน
หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมี
สภาพอันอิริยาบถทั้ง ๔ ปกปิดไว้
เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปด้วยสภาพของคนชั่วได้
เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทนถ้อยคำของคนทั้งปวง.


[๒๔๖๒] สัตบุรุษผู้มีความอดทน
พึงได้ผลคือความไม่มีการกระทบกระทั่ง
เพราะการสงบระงับเวร เสนาแม้มากพร้อมด้วยพระราชาเมื่อรบอยู่
จะพึงได้ผลนั้นก็หามิได้ เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยกำลังแห่งขันติ.


[๒๔๖๕] บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล
เรียกคนเช่นไรว่ามีปัญญา
เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ
ศิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ?


[๒๔๖๖] ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ
ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆไม่พูดพร่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล.
ผู้ใดคิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ
ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้
ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีปัญญา.
ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา
มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง
ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ.

ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้ คือ
เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์
ศิริย่อมไม่ละคนเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.


[๒๔๖๗] นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล ศิริ ธรรม ของสัตบุรุษ
และปัญญา ว่าข้อไหนประเสริฐกว่ากัน?
[๒๔๖๘] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวว่า
ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด
ดุจพระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย
ฉะนั้น ศีล ศิริ และธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา.


[๒๔๖๙] บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบายอย่างไร
ประพฤติอะไร เสพอะไร จึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอก
ปฏิปทาแห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีปัญญา?


[๒๔๗๐] บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดละออ
เป็นพหูสูต พึงเป็นทั้งนักเรียน และไต่ถาม
พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ
นรชนทำอย่างนี้จึงจะเป็นผู้มีปัญญา.
ผู้มีปัญญานั้นย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค
ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ย่อมละความพอใจในกามทั้งหลายอันเป็นทุกข์
มีภัยอันใหญ่หลวงเสียได้.
ผู้นั้นปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้
พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ
งดอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนพรหม.


[๒๔๗๕] ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในฌาน
มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้
เป็นคุณชาติประเสริฐสุดของบรรพชิต.





 

Create Date : 13 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 17:00:53 น.
Counter : 1362 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.