Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
27 กค 54 "ข้อปฏิบัติไม่ผิด" - อปัณณกปฏิปทา

ย่อความ เทศน์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท แก่ภิกษุสามเณรเนื่องในโอกาสเข้าพรรษา
"....อปัณณกปฏิปทา 3 ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด
       1. อินทรียสังวร สำรวมในอินทรีย์ทั้งหก ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ให้ตั้งอยู่ในจริยวัตรอันดีงาม  อินทรีย์ หมายถึง เครื่องเป็นใหญ่ในกิจของมัน  สังวรณ์สำรวมไม่ปล่อยไปตามอารมณ์  ถ้าเราไม่สังวรณ์สำรวมไม่เห็นโทษของสิ่งต่างๆเหล่านั้น ใจจะเพลินไปตามอารมณ์ เกิดความไม่สงบ  รวมทั้งรู้จักธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่จิต  โดยอาศัยปัจจุบันหรืออดีตก็ตาม ให้ทันจิตของเจ้าของว่าจิตมันรับรู้อะไรมา เกิดความชอบใจไม่ชอบใจเพราะอะไรเป็นเหตุ  ทั้งหมดให้รวมลงว่า  รูป เสียงกลิ่นรสโผสทัพพะ ธรรมารมณ์ทั้งหมด ไม่พ้นจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น  มองให้ชัดในตัวเอง  สุขหรือ ทุกข์ ล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป มีเท่านั้น มีแต่ความรู้สึกเท่านั้น ไม่มีอะไรเกินไปกว่านั้น   เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นจริง ก็จะเกิดปัญญา และเกิดปัญญาขึ้นที่จิตใจ  ทำปัญญาให้เกิดที่จิต  เห็นโทษ ในรูปเสียงกลิ่นรสผัสสะ ธรรมารมณ์ และเกิดความไม่ยินดียินร้าย  จิตจะมีความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น 
       2. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร ไม่ให้มากไม่ให้น้อย  ให้รู้จักความเหมาะสม ความพอดี  จิตใจยึดสุขทุกข์ เพราะไม่รู้จักความพอดี  ความพอดี คือสัมมาปฏิปทา  ไม่ยึดสุขไม่ยึดทุกข์  ข้อนี้ท่านสอนเพื่อให้รู้จักความพอดี  อานิสงค์ยังช่วยให้ไม่ปวดท้อง ไม่เป็นไข้ ได้อีกด้วย  ผู้พิจารณาอาหาร มักไม่ค่อยมีโรค
       3. ชาคริยานุโยค  การหมั่นประกอบความเพียร ไม่เห็นแก่นอนมากนัก  ความเพียรหมายถึงความเพียรทางจิต  ความเพียรทางนอกหมายถึงการเดินจงกรม  การนั่งสมาธิ   ข้อนี้เพื่อมุ่งหมายให้เป็นสัมมาปฏิปทา การนอนมากทำให้จิตใจเศร้าหมอง  ท่านกล่าวไว้ว่า  ในวันหนึ่ง 24 ชม ให้มีการตื่นทำความเพียร 20 ชม มีการนอน 4 ชม  จิตของเราให้มีสติอยู่รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหลาย ที่จะมาครอบงำให้เป็นไปตามกิเลสทั้งหลาย  จิตนี้ที่จริงมันก็ไม่มีอะไร  จะให้ชี้อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้  มันรู้อยู่ตรงไหนก็เรียกว่าจิต เป็นแต่ความรู้สึกเป็นแต่อาการเท่านั้น ตัวจิตจริงๆไม่มี เป็นอาการอยู่เท่านั้น  อาการรับรู้นั้นมีอยู่ทุกท่านแต่ตัวจิตจริงๆนั้นไม่มี  พุทธศาสนาเป็นการปฏิบัติทางจิต จะอยู่ที่ไหนทำอะไรให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ   ให้รู้อยู่เห็นอยู่ว่ามันเป็นอย่างไร มีอารมณ์อะไรแทรกซึมอยู่  เมื่อมีความรู้สึกขึ้นมา ให้ทิ้งลงในสามสิ่ง คือเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา  อย่าไปยึดมั่นถือมั่น       เรียกว่า ไม่นอนใจปฏิบัติทางจิตอยู่ตลอดเวลา  ในส่วนร่างกายนั้นก็พักผ่อนไปตามปกติ ถ้าเราฝึกมันก็ทนทานมีกำลัง 
               ข้อวัตรที่เราตั้งไว้ ก็พยายามที่สุดให้มันทันข้อวัตรต่างๆ  เมื่อจะนอนก็ตั้งสติว่าเราจะไม่เอาความสุขในการนอน เมื่อตื่นขึ้นเราก็จะทำความเพียรเสมอไป...  การนอนนั้นถ้าเราสังเกตจริงๆจะเห็นว่า นอนก็ตื่นอยู่รู้อยู่  นอนก็เหมือนกับไม่นอน  ไม่นอนก็เหมือนกับนอน ผู้ทำจิตได้ดีแล้วจะรู้สึกอยู่ทุกขณะ...ท่านเรียกว่าหลับอยู่ในตื่น ตื่นอยู่ในหลับ ...นั่งสมาธิอยู่ถ้าง่วงนอนก็หลับตาทำสมาธิชั่วครู่...จิตกับลมจะอยู่ด้วยกันตลอด..ถ้าเรารู้จักอารมณ์เราก็รู้จักคน   อย่ามองเพ่งโทษผู้อื่นไม่ใช่หน้าที่ของเรา   เราทำหน้าที่ของเราก็พอแล้ว  ...ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้พร้อมให้เราศึกษาตลอดเวลา มีสิ่งที่ให้เราละให้เราบำเพ็ญ ในครั้งแรกพระพุทธเจ้าสอนให้เรายึด  ยึดอาณาปาณสติให้มั่น ให้ดี  บางครั้งท่านให้ปล่อย  ถ้ามีปัญญาก็จะรู้ว่าถูกทั้งสองอย่าง  ถ้าวิมุตติมีก็มีสมมุติ ถ้าสมมติมีก็มีวิมุตติ ให้ท่านมั่นใน ศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้ว่าปฏิบัติดีก็ได้ดี  ...ความไม่ยึดนั่นถูกแล้ว





Create Date : 27 กรกฎาคม 2554
Last Update : 27 กรกฎาคม 2554 11:10:08 น. 3 comments
Counter : 2506 Pageviews.

 
สติเกิด ปัญญาเกิด ....


โดย: chanchac วันที่: 27 กรกฎาคม 2554 เวลา:7:19:09 น.  

 
อรุณสวัสดิ์เช้าวันพุธค่ะ


โดย: sangjai วันที่: 27 กรกฎาคม 2554 เวลา:9:28:33 น.  

 
แวะมาราตรีสวัสดิ์ค่ะ


โดย: ภูผา กะ วาริน วันที่: 3 สิงหาคม 2554 เวลา:23:38:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mcayenne94
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




Bangkok

Kyoto

Sydney

Mcayenne94's Diary มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการ จัดจำหน่าย ต้นไม้ดอกไม้ หรือสิ่งใด อนุญาตให้นำภาพถ่าย พร้อมชื่อMcayenneผู้ถ่ายภาพไปใช้ประโยชน์ได้ และสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำภาพถ่าย Mcayenne ไปใช้ โดยการดัดแปลงตัดต่อหรือลบชื่อภายในภาพ
Friends' blogs
[Add mcayenne94's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.