Group Blog
เมษายน 2556

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มอนเตสซอรี่- เมื่อมีโอกาสได้ไปร่วมอบรมการดูแลเด็กสำหรับผู้ช่วย/พี่เลี้ยงดูแลเด็กวัย 0-3 ปี

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ได้มีโอกาสไปฟังการอบรมหลักสูตรการดูแลเด็กวัย 0-3 ปีสำหรับพี่เลี้ยง จัดโดยสมาคสมอนเตสเชอรี่แห่งประเทศไทย ขอบคุณอาจารย์กรรณิการ์ บัต ครูตู่ ผู้ที่ทำให้ได้รับข่าวว่ามีการอบรมและได้ีโอกาสไปร่วม เนื่องจากเวลาในการอบรมไม่มากผู้สอน อาจารย์มาเรีย เทเรซ่า ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านนี้(หนึ่งในห้าของโลก ได้ยินมาแบบนี้น่ะค่ะ) ท่านบอกว่าคงแบ่งปันได้ไม่ลึกนักเพราะเรียนจริงๆอย่างน้อยหกเดือน นี่มีโอกาสเพียงสิบกว่าวัน แต่ก็ได้อะไรดีๆแยะๆ จะขอนำมาแบ่งปันกันน่ะค่ะ

เด็กวัยก่อนอนุบาลจะเป็นเด็กที่พร้อมเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อพัฒนาตัวของเขาให้โตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อาจารย์มาเรียได้บอกว่า ในทฤษฎีมอนเตสเชอรี่ จะมีลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-6 ปี ว่าแบ่งเป็นสองช่วง
ช่วงแรก 0-3 ปี เป็นการเรียนรู้แบบรับเข้ามาหมดทุกอย่างเปรียบเหมือนฟองน้ำที่จะดูดน้ำ ไม่เลือกว่าอันนี้เอาอันนั้นไม่เอา ท่านเรียกว่า จิตซึมซับ (Aborbent Mind) คือบันทึกเข้ามาหมดเหมือนถ่ายรูปแล้วไปเก็บไว้ในสมองและนำมาพัฒนาตัวเอง เป็นการรับรู้แบบไม่รู้ตัว (unconcious)
ต่อมาเป็นวัย 3-6 ปีเด็กก็ยังมีจิตซึมซับก็ซึมซับเข้ามาเหมือนกัน แต่รู้ตัวว่ากำลังรับรู้อะไรอยู่
จิตซึมซับ เป็นภาวะที่เด็กเรียนรู้โดยการรับรู้ทุกอย่างเข้ามาหมด ไม่เลือกว่าจะรับเรื่องนี้ ไม่รับเรื่องนั้น และจะบันทึกเข้าไปเพื่อการเตรียมตัวที่จะมีชีวิตที่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การซึมซับของเด็กจะทำให้เกิดการพัฒนาตัวตนของเด็กเองทั้งภายนอกภายในในการที่จะเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ต่อไปในอนาคต ตัวอย่างเช่น เราจะพบว่า เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นที่ตนเองอยู่อาศัยโดยไม่ต้องเข้าโรงเรียนเพื่อเรียนพูด นี่ก็คือจิตซึมซับ
การเรียนรู้ไว (Sensitive period .....) ดร.มาเรีย มอนเตสชอรี่ ได้ค้นพบว่า ในพัฒนาการของเด็กนั้น เด็กจะมีแต่ละช่วงของชีวิต ไม่เกินหกขวบโดยประมาณ ที่จะมีช่วงเวลาของการเรียนรู้ในบางสิ่งบางอย่างและเป็นการเรียนรู้ด้วยสมาธิที่จดจ่อ ไม่ยอมหยุด เหมือนการลุ่มหลงอยู่กับสิ่งนั้น และจะสามารถรับรู้ได้ดีที่สุดของเขา ซึ่งผู้ใหญ่ไม่ควรไปหยุดกลางคันเพราะจะทำให้การเรียนรู้เรื่องนั้นจะไม่สมบูรณ์และเมื่อผ่านไปแล้ว เมื่อโตขึ้นเด็กกลับมาเรียนสิ่งนั้นใหม่ก็จะไม่ได้ดีเท่าขณะของการเรียนรู้ตอนนั้นและเป็นช่วงของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นและเมื่อผ่านช่วงนี้ไปแล้วก็จะไม่มีการหวนคืนกลับมาอีก
ผู้ใหญ่ที่อยู่ดูแลเด็กมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตุให้ออกว่า เด็กกำลังมีช่วงของการเรียนรู้อะไร ก็ควรเสริมสิ่งนั้นเข้าไปเช่น ตอนนี้เด็กสนใจด้านดนตรี การเล่นเปียนโน ถ้าได้ให้เรียนในช่วงนี้เด็กจะเรียนได้ดีมากที่สุด หรือกำลังทดลองต่อเลโก้เป็นอะไรสักอย่างและก็ทำแล้วทำอีกทำอยู่นั่นไม่หยุด ไม่วาง เหมือนลุ่มหลงอยู่นั่น ลองปล่อยให้เด็กค่อยๆคิด ค่อยทำไปจนกว่าจะพอใจแล้วหยุดด้วยตัวของเด็กเอง ไม่ต้องกลัวลูกเครียดน่ะค่ะ เพราะเมื่อเขาเสร็จสิ้นงานชิ้นนั้นเขาประสบความสำเร็จ เด็กจะรู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียดค่ะ แต่ถ้าคุณไปหยุดตอนนั้น เด็กอาจไม่ยอมอาละวาด(ในเด็กบางคน)ไปเลย

และขอสรุปคร่าวๆ ช่วงการเรียนรู้ไวของเด็ก น่ะค่ะ
แรกเกิด - ตลอดชีวิต ภาษา
แรกเกิด - สามขวบ ประสบการณ์ด้านระบบประสาทสัมผัส
แรกเกิด - ๑ขวบครึ่ง เรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว
๑ ขวบครึ่ง - ๓ ขวบ พัฒนาการด้านภาษาพูด
๑ ขวบครึ่ง - ๔ ขวบ พัฒนาการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อ
๒ - ๔ ขวบ เอาใจใส่สิ่งแวดล้อมและกิจวัตรประจำวัน
๒ - ๖ ขวบ ด้านดนตรี
๒ ขวบครึ่ง - ๖ ขวบ ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน พัฒนามารยาทสังคม
๓ - ๖ ขวบ ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน ต่อการกระทำของผู้ใหญ่
๓ ขวบครึ่ง - ๔ ขวบครึ่ง การเขียน
๔ ขวบ- ๔ ขวบครึ่ง รับรู้ต่อการสัมผัส
๔ ขวบครึ่ง -๕ ขวบครึ่ง การอ่าน

มีอีกหลายๆอย่างที่อาจารย์มาเรีย ได้พูดแต่มันแยะจนไม่รู้จะมาแบ่งปันไง เดี๋ยวจะเบื่อไปเสียก่อน ขอแบ่งปันเรื่องการแต่งตัวเองของเด็กน่ะค่ะ อาจารย์มาเรีย เทเรซ่า ท่านบอกว่า
- ในห้องน้ำถ้าเด็กต่ำกว่าสามขวบควรมีเก้าอี้เตี้ยๆที่มั่นคงวางไว้สักตัวเพื่อให้เด็กๆได้นั่งลงเพื่อที่จะถอดกางเกงออกจากตัว เพราะ เด็กวัยนี้ถ้าต่ำกว่าหัวเข่าจะยืนได้ไม่มั่นคงนัก คือเวลาเด็กถอดกางเกงจะเป็นขายาว ขาสั้นหรือกางเกงในก็ตามเมื่อดึงลงมาถึงเข่า ควรมีเก้าอี้วางเพื่อให้ เด็กนั่งลงแล้วถอดกางเกงออกจากตัวได้เอง แล้วไปทำธุระ เมื่อเสร็จก็จะมานั่งที่เก้าอี้เพื่อสวมเข้าไปแล้วค่อยลุกขึ้นเพื่อดึงกางเกงขึ้นมา นึกภาพออกใช่ไหมค่ะ ครูมดเคยอ่านหนังสือฝรั่งเล่มหนึ่งเค้าเขียนเรื่องการนุ่งกางเกงของเด็กโดยเด็กนอนลงไปแล้วยกก้นขึ้นเพื่อจะดึงกางเกงขึ้นมาที่เอว ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรดูไปอ่านไป แต่เมื่อมาอบรมที่นี่และเข้าใจในเหตุผลของสรีระเด็กจึงอยากนำมาแบ่งปันกันในนี้น่ะค่ะ
ขอนำภาพประกอบจากที่เคยถ่ายเก็บไว้ จากหนังสือ คู่มือเลี้ยงเด็กเล็ก (the toddler owner's manual) ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ เพราะภาพเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากมายแก่เด็กเล็กๆค่ะ
ดูรายละเอียดที่ .//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jewelmoda&group=19

มีอีกอย่างที่น่าสนใจคืออาจารย์มาเรียได้พูดถึง ระบบระเบียบ (Order) ชีวิตคนเราต้องมีระเบียบแม้นแต่ธรรมชาติก็ต้องมีระเบียบของมันอยู่ถ้าพระอาทิตย์ไปขึ้นทางทิศตะวันตกคงวุ่นวายแน่ๆเพราะพระจันทร์จะไปตกที่ไหนดี เด็กเช่นกัน ถ้าผู้ใหญ่สอนให้เด็กมีระเบียบวินัยตั้งแต่เด็ก ก็จะทำให้เด็กโตขึ้นมามีระเบียบวินัยในชีวิตทำงานทำการก็เรียบร้อยดี แต่ก็มีในช่วงก่อนวัยรุ่นไปจนถึงโตจะมีช่วงที่เด็กบางคนำตัวไม่มีวินัย ทิ้งอะไรต่ออะไรเละเทะ ให้เราหาข้อตกลงกันน่ะค่ะ อย่าไปดุว่าเพราะเป็นช่วงที่เด็กกำลังจัดระเบียบภายใน ทำให้ละเลยระเบียบภายนอกไป คุณพ่อคุณแม่อาจตกลงให้คุณลูกเละๆเขระขระในห้องของเค้า แต่นอกห้องต้องเรียบร้อย ก็อาจเป็นข้อตกลงที่ดีน่ะค่ะ

แต่สิ่งที่ครูมดรู้สึกว่า สำคัญที่สุดที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ คือ อาจารย์มาเรีย เทเรซ่า ได้กล่าวไว้ว่า บทบาทของผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก (ครู ก็ใช่่น่ะค่ะ) สิ่งที่นอกเหนือจากการมีบุคคลิกที่ดูดี เรียบร้อย สะอาด และสุภาพแล้ว ก็คือ ต้องมีใจให้อภัย ปล่อยวางและทุ่มเทที่จะดูแลเด็กอันนำไปสู่การเลี้ยงดูที่ได้คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก เพราะถ้าเราไม่มีใจให้อภัย เราจะรักเด็กคนที่ไม่น่ารักไม่ได้ การดูแลเด็กย่อมมีเด็กที่ดื้อ ก้าวร้าว ถ้าเราไม่ให้อภัยสิ่งที่เด็กได้ก้าวร้าวต่อเราแล้ว ใจที่รัก การทุ่มเทต่อเด็กคนนั้นก็จะไม่มีนั่นเอง ซึ่งครูมดชอบมากๆเลยค่ะ การอยู่กับเด็กๆอาจมีเด็กที่ร้องไห้มากมายจนคุณครูรำคาญ ทำให้ไม่น่ารัก เด็กอาจอาเจียนใส่ งอแง ดื้อ ทุบตี ถองเตาะ ถีบ คุณครูด้วยความงอแง อาจอึ ฉี่ราด ทำให้ต้องพาไปทำความสะอาด ก็อาจทำให้ไม่น่ารักในวันนั้น แต่ถ้าในวันถัดไปเราลืมความไม่พอใจที่มีต่อเด็กได้ เราก็จะมีความรักอย่างเต็มเปี่ยมอันนำไปสู่การดุแลที่ดีที่สุดด้วยความเต็มใจ จากใจ นั่นคือความหมายหนึ่งของหัวข้อนี้ที่อาจารย์มาเรีย เทเรซ่า ย้ำค่ะ



ภาพใหญ่คืออาจารย์มาเรีย เทเรซ่า ค่ะ คนแปลชื่อน้องนุ่น

ศิลปะ อาจารย์อีกหนึ่งท่านได้แบ่งปัน จำชื่อไม่ได้ขอเป็นภาพแทนน่ะค่ะ.... ท่านได้กล่าวว่า เมื่อเด็กเริ่มที่จะถือดินสอเด็กจะเริ่มการวาดรูปจริง แทนที่จะขีดเส้นเส้นยุ่งเหยิง แม้นว่าภาพที่เห็นนั้นเราอาจมองไม่ออกว่าเป็นภาพอะไร ในการเริ่มต้นวาดเด็กมักจะเริ่มจากการวาด วงกลมที่ปลายเปิด ก็จะคล้ายๆภาพของเส้นโค้ง ต่อมาก็จะจับปลายของสองด้านมาชนกันเป็นวงกลม (การเริ่มต้นวาดรูปของเด็กมักเริ่มจากภาพคน มีศีรษะ และค่อยประกอบออกมาเป็น แขน ขา และรูปร่างคนในที่สุด เมื่อย่างเข้าสี่ขวบก็จะมีรายละเอียดมากขึ้น เมื่อย่างเข้าวัยห้าขวบเด็กก็จะสามารถเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆเข้าไปได้ เช่น ท้องฟ้า ในวัยนี้เด็กสามารถวาดรูปให้อยู่ในกรอบได้-เพิ่มเติม) แล้วก็จะพัฒนา วาดวงกลมเล็กสองวงในวงใหญ่เพื่อวาดเป็นตา วาดเส้นโค้งๆเป็นปาก ต่อมาภายหลังก็จะวาดรูปร่างค่ะ

วันนี้ขอฝากข้อพระธรรมใน พระธรรมยากอบ บทที่ ๑ ข้อ ๒๗ ความว่า "ธัมมะที่บริสุทธิ์ไร้มลทินต่อพระพักตร์พระเจ้าและพระบิดานั้น คือการเยี่ยมเยียนเด็กกำพร้าและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ร้อน และการรักษาตัวให้พ้นจากราคีของโลก"

ถ้าเด็กได้รับการดูแลที่ดี ได้รับความรักจากผู้ใหญ่ เด็กก็จะรู้ว่า ความรัก ความเมตตาเป็นอย่างไร เมื่อเขาโตขึ้น เขาก็จะเรียนรู้ที่จะให้ความรัก ความเมตตา นั้นต่อไปยังเด็กรุ่นอื่นๆต่อไป เรามาให้ความรัก ความเมตตากับเด็กๆรอบตัวเรากันน่ะค่ะ เพื่อช่วยกันสร้างสังคมที่ดีในประเทศไทยในรุ่นต่อๆไปกันค่ะ
สำหรับวันนี้ ขอพระเจ้าอวยพระพรค่ะ สวัสดีค่ะ




Create Date : 18 เมษายน 2556
Last Update : 21 มกราคม 2557 18:07:18 น.
Counter : 3381 Pageviews.

11 comments
  
สวัสดียามเย็นค่ะพี่มด

ฟ้าแวะมาเยี่ยมพี่ด้วยความคิดถึงค่ะและนำผลไม้มาฝากให้พี่ทานยามเย็นด้วย

พี่อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
ฟ้าคิดถึงพี่มดเสมอค่ะ

โดย: พิรุณร่ำ วันที่: 18 เมษายน 2556 เวลา:18:45:18 น.
  
ขอบคุณค่ะพี่มด
นาน ๆ ได้ถ่ายรูปตอนกลางวัน ได้แสงธรรมชาติช่วยเยอะเลยค่ะพี่มด
ทำให้ภาพดูชัดเจนดีนะคะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 18 เมษายน 2556 เวลา:22:58:51 น.
  
สวัสดีตอนบ่ายค่ะพี่มด
แม่หมูแวะมาเยี่ยมค่าาา
ชื่นชมในกิจกรรมของพี่มดจังเลย ไลค์ค่ะ
โดย: jamaica วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:15:11:59 น.
  
สวัสดีค่ะ คุณครูมด ยินดีที่ได้รู้จัก
ขอบคุณมากที่แวะไปทักทาย
โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:23:44:22 น.
  
ชื่นชมพี่มดจริงๆค่ะ
เป็นครูเต็มตัวจริงๆ

มาชวนไปนั่งรถบัสเที่ยวจ๊า

โดย: schnuggy วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:1:24:41 น.
  
สวัสดียามสายค่ะพี่มด..

ช่วงนี้พี่มดได้หยุดพักบ้างยังค่ะ อย่างไงก็อย่าทำงานหักโหมมากไป
อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ฟ้าแวะมาเยี่ยมค่ะ..ขอให้วันนี้เป็นอีกวันที่พี่มดมีความสุขมากๆ นะคะ

โดย: พิรุณร่ำ วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:11:10:43 น.
  
สวัสดีในวันที่อากาศร้อนๆค่ะครูมด
ชื่นชมกับกิจกรรมดีดีค่ะครูมด
โดย: phunsud วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:15:06:24 น.
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:19:37:04 น.
  
ครั้งต่อไปมีเมื่อไรช่วยส่งข่าวได้ไหมคะ
ขอพระเจ้าอวยพรค่ะ
E-mail: puipuiloveGod@gmail.com
โดย: puippui IP: 124.120.139.214 วันที่: 26 มิถุนายน 2557 เวลา:12:28:49 น.
  
https://www.facebook.com/150131858376733/posts/3674267702629780/
โดย: jewelmoda วันที่: 20 พฤศจิกายน 2563 เวลา:16:22:23 น.
  
"เมื่อเด็กทะเลาะกันเพื่อแย่งของกัน"
.
วิธีการรับมือ แบ่งออกเป็น 2 กรณี
.
กรณีที่ 1 “เด็กๆ มีความสามารถมากพอ และสามารถไกล่เกลี่ยกันได้”
ในกรณีนี้ เราแค่เพียงเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากเด็กๆ สามารถไกล่เกลี่ย ประนีประนอมกันได้
.
ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุมากกว่า 4-5 ปีขึ้นไป เพราะเด็กในวัยนี้เริ่มเรียนรู้การเล่นแบบร่วมมือ หรือ “Coorporative play” เด็กๆ เริ่มสนใจเล่นกับเด็กคนอื่น (ที่วัยใกล้เคียงกับพวกเขา) พวกเขาอยากทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กๆ จะเริ่มเรียนรู้การตอบโต้พูดคุยกับเด็กคนอื่น การผลัดกันเล่น การแบ่งหน้าที่กันทำงาน และการแบ่งปันกันในช่วงนี้ ถ้าพวกเขาอยากเล่นด้วยกันพวกเขาจะต้องฝึกการประนีประนอม
.
ดังนั้นเด็กๆ ที่ได้เล่นกับเด็กคนอื่นจะเรียนรู้ ‘การให้ (เพื่อจะได้เล่นด้วยกัน)’ ‘การอดทนรอคอย (ให้ถึงตาตัวเอง)’ และ ‘การต่อรอง (เพื่อจะได้เล่นที่ตนและผู้อื่นอยากเล่นด้วย)’ ทักษะทางสังคมจึงถูกพัฒนาอย่างมากในวัยดังกล่าว ถ้าหากผู้ใหญ่สนับสนุนให้เด็กได้เล่นกับเด็กคนอื่น
.
***
.
กรณีที่ 2 “เด็กๆ ไม่สามารถไกล่เกลียกันได้ และการทะเลาะนำไปสู่การทำร้ายทางร่างกายกัน ซึ่งมักเกิดในเด็กเล็ก”
ในกรณีนี้ผู้ใหญ่ต้องเข้าไปเป็นกรรมการ ย้ำว่าเป็นกรรมการ ไม่ใช่เข้าไปตัดสินใครทันที
.
ขั้นที่ 1 ให้เราดูว่าของชิ้นนั้นเป็นของส่วนตัวหรือของส่วนรวม
หากเป็นของส่วนตัวแล้วเด็กผู้ที่เป็นเจ้าของนั้นไม่พร้อมที่จะแบ่งบัน นั่นเป็นสิทธิ์ของเขาที่จะไม่แบ่งปัน
.
แต่หากของชิ้นนั้นเป็นของส่วนรวมที่มีไว้สำหรับใช้ด้วยกัน ให้สิทธิ์ผู้ที่หยิบของชิ้นนั้นมาก่อนได้มีสิทธิ์ใช้ก่อนเพียงช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ให้เด็กคนที่หยิบมาก่อนใช้/เล่นได้ 1 นาที ถ้าครบ 1 นาทีแล้วต้องแบ่งให้อีกคนนะ หรือ ในเด็กที่เล็กมากๆ ให้ผู้ใหญ่นับ 1-10 แล้วให้เด็กผลัดกันเล่นหรือดูในเวลา 10 วินาที
.
ขั้นที่ 2 ถ้าหากเป็นของส่วนรวมแล้ว เด็กไม่ยอมผลัดกันเล่น อาละวาด และทำร้ายผู้อื่น
เราควรพาเด็กคนดังกล่าว ออกมาจากบริเวณนั้นก่อน พาไปนั่งสงบด้วยกัน บอกเขาชัดเจนว่า “หนูไม่พอใจได้ แต่เราไม่ตีไม่ทำร้ายคนอื่น”
.
ขั้นที่ 3 หากการทะเลาะกัน นำไปสู่การทำร้ายที่ร้ายแรง หรือ การคุมอารมณ์ไม่อยู่
ก่อนจะเกิดเหตุการณ์เราควรสอนเด็กๆ ให้จัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม เช่น
(1) สอนให้เด็กรู้จักอารมณ์ต่างๆ
(2) สอนให้เด็กขอเวลานอก
(3) ผู้ใหญ่รอบตัวเขาควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการอาณ์
.
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้ว ให้เราแยกเด็กที่ทำร้ายผู้อื่น ออกมาก่อน พามาสงบด้วยกัน จับมือเขาหากเขาจะยังทำร้ายอยู่ บอกชัดเจนและหนักแน่นว่า “ไม่ทำ” รอสงบ แล้วสอนอีกครั้ง ย้ำเรื่องเดิม และสอนวิธีการจัดการอารมณ์ให้ตามที่แนะนำไปข้างต้น ทดลองทำวิธีการระบายอารมณ์ต่างๆ ทำไปพร้อมลูก เพื่อที่เขาจะได้รู้ว่า นี่ไม่ใช่การลงโทษนะ แต่เราต้องการจะช่วยเหลือเขาอยู่
.
ขั้นที่ 4 เมื่อการทะเลาะกันสิ้นสุดลง ควรจบลงที่การ “ขอโทษ” แล้วจึงให้เล่นต่อเสมอ
.
การทะเลาะกันของเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่อย่างใด ผู้ใหญ่ควรเรียนรู้การปล่อยวาง และปล่อยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง ทั้งนี้อย่าลืมสอนสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ กฎ 3 ข้อ ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำลายข้าวของ การสื่อสาร และทักษะการช่วยเหลือตัวเองตามวัย ให้กับเด็กๆ เพื่อที่เขาจะได้เรียนรู้ที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
.
ด้วยรักจากใจ
เม
เพจตามใจนักจิตวิทยา
.
อ่านบทความฉบับเต็มได้ทาง
https://www.thaipbskids.com/contents/5fb255a6483c17c5264d3caa
โดย: jewelmoda วันที่: 20 พฤศจิกายน 2563 เวลา:16:23:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]