Group Blog
กุมภาพันธ์ 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเรียนรู้และสมองของเด็กอนุบาล (ต่อ) ตอน ๒
๑๑.ไม่มีสมองเด็กคนไหนที่เกิดมาแล้วโง่ ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจของเด็ก ส่วนมากไม่ได้เกิดมาจากความโง่ ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจของเด็ก เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ที่บกพร่องของเด็ก เช่นครูพูดเร็วเกินไป อาจสอนเร็วเกิไป เด็กยังฝึกไม่เพียงพอแต่ข้ามไปบทใหม่ หรือขณะเรียนนั้นเด็กไม่มีความตั้งใจ ดังนั้นการรับรู้จึงผิดพลาดหรือไม่ได้เกิดขึ้นเลยเมื่อมีความเข้าใจเช่นนี้ว่า กระบวนการเรียนรู้อาจเป็นที่มาของปัญหาดังนั้นพ่อแม่ควรมีต้องใช้ความอดทนเมื่อสอนสิ่งใดลูก 4-5 ประโยคแล้ว ต้องคอยถามตนเองว่าเด็กเข้าใจในสิ่งที่เราพูดจริงไหม คนเราไม่เข้าใจสิ่งใดเพียงเพราะได้ยินอย่างเดียว สมองต้องการมองเห็นภาพ ต้องการสัมผัส และอื่นๆ สมองจึงจะเรียนรู้ได้ดี

๑๒. การเรียนรู้ต้องมีบรรยากาศช่วยกระตุ้น แต่การขู่เข็ญ บังคับ กดดัน ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ บรรยากาศ(atemosphere)การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ในสถานการณ์ที่ถูก ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดดัน ไม่สามารถทำให้การเรียนรู้ของเด็กดีขึ้นได้ สมองของเด็กจะยิ่งแย่ลงไปเพราะภาวะความเครียดที่เกิดจากความกลัว(fear) โดยเฉพาะสมองส่วนอะมิกดาลา(amygdara) ถูกกระตุ้น ในทางลบ ยิ่งเด็กกลัวหรือเครียดมากเท่าไหร่ ความสามารถในการจำหรือการเรียนรู้ก็ยิ่งน้อยลง ทำให้ผลของการการเรียนรู้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร (เพราะสมองของเด็กจะเครียด ทำให้การเรียนรู้แย่ลง

๑๓.  สมองจะเรียนรู้ถ้ามีความสนใจ สมองจะสนใจถ้าสามารถเข้าใจ และหาความหมายในการเรียนรู้นั้นได้ ต้องกระตุ้นความสนใจและให้ความสนใจเกิดขึ้นเป็นขั้นๆ : ต้องหาทางหลายทางมากระตุ้นให้สมองเรียนรู้ เช่นหาอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่จำเป็นมาช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายขึ้น แม้นว่าเนื้อหาที่จะสอนมีมาก ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะยัดเยียดความรู้ลงไปในสมองของเด็ก ต้องใจเย็นค่อยๆสอนทีละประเด็น ถ้าประเด็นแรกทำให้เด็กเกิดความเข้าใจได้  เขาก็จะสนใจที่จะเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป เมื่อมีความเข้าใจ พอใจแล้วก็จะเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไป เพราะเกิดความพอใจว่าตนเองมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้เหมือนคนอื่น  ในที่สุดบทต่อไป หรือประเด็นต่อไปก็ไม่จำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลืออีก   การสอนเด็กสำคัญที่ว่าเด็กเพิ่มความมั่นใจ และึกเหิมหรือเปล่า  ถ้ายิ่งสอน เด็กก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดีเลย การสอนก็ยิ่งไม่มีประโยชน์ เพราะเด็กจะไม่ใช้ความพยายามของตัวเองเพื่อความก้าวหน้าอีกต่อไป

๑๔.ขณะสอนต้องคำนึงว่า การใช้สมองหลายส่วน ในการเรียนรู้  :การสอนเด็กมีข้อสำคัญคือ ต้องให้เด็กได้ใช้สมองหลายส่วนให้สมองของเด็กได้เข้าร่วมในการเรียนรู้หลายส่วน  เช่น  ส่วนรับภาพ ส่วนรับกลิ่น ส่วนรับสัมผัส ส่วนรับรส เป็นต้น ยิ่งสมองหลายส่วนร่วมในการเรียนรู้  สมองยิ่งเรียนรู้ได้เร็วขึ้น  ถ้าสอนเรื่องเศษส่วน ให้เด็กลองพับกระดาษ ผ่าแตงโม  ลองเทน้ำออกจากแก้ว แล้วอธิบายให้เด็กฟัง ให้เด็กอธิบายสิ่งที่ลองทำ เพื่อให้สมองส่วนรับภาพ ส่วนรับสำผัส ส่วนเปล่งเสียง  ถูกกระตุ้นให้ทำงาน การสอนโดยการอธิบายเพียงอย่างเดียว แสดงว่ายังไม่ได้ใช้ความเข้าใจสมองของเด็กเป็นหลักในการเรียนรู้(Brain Based Learing)

๑๕. พยายามกระตุ้นสมองส่วนรับภาพ อย่าใช้วิธีการบรรยายล้วนๆในเรื่องการเรียนรู้ที่ยุ่งยาก : เช่นถ้าสอนเรื่องพลังงาน หรือเรื่องแม่เหล็ก  อย่าอธิบายด้วยวาจาหรือขีดเขียนอธิบายมากมาย เพราะสิ่งที่เราเข้าใจเด็กอาจไม่เข้าใจ  จำเป็นที่ต้องอธิบายด้วยของจริง ภาพจริง  ภาพเคลื่อนไหว  เหตุการจริง หลังจากนั้นจึงค่อยสรุปอธิบายด้วยวาจา  ถ้าอธิบายด้วยวาจาอย่างเดียว เด็กจะเรียนรู้ได้น้อยมาก

๑๖.เด็กเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของตนเอง :อย่าเร่งความเร็วในการสอน หรือเร่งจังหวะในการพูด เพราะการพูดของคนสอน เร็วตามความเข้าใจของคนสอนเอง(your own speed) แต่เด็กจะเข้าใจได้แค่ไหน ขึ้นกับความสามารถในการเข้าใจในถ้อยคำที่ได้ยินนั้น เด็กจะต้องเรียนรู้ด้วยจังหวะ (rhythm)  และด้วยความเร็วของสมองของตนเอง(child's own speed) ต้องสอนด้วยความช้าพอสมควรในเรื่องที่เรียนรู้ได้ยาก  เพราะเด็กต้องทำความเข้าใจทีละประเด็น ทีละขั้น เมื่อถึงตอนที่สรุป อย่าถามว่า ทั้งหมดที่สอนนี้เข้าใจไหม แต่ควรพูดว่า ลองอธิบายดูสิว่าลูกเข้าใจอย่างไร , ลองให้เด็กอธิบาย , ลองทำดูสิ, ลองเขียนดูสิ, ลองอ่านให้ฟังดูสิ, อ่านประโยคนี้เข้าใจว่าอย่างไร
 

๑๗.ทำให้เด็กมีความหวัง มีความมั่นใจในตนเอง ในการต่อสู้ในระบบการเรียนการสอน : โลกของเด็กส่วนหนึ่งคือ ระบบการเรียนการสอนที่เด็กต้องต่อสู้ และถูกทดสอบด้วยการวัดผลด้วยวิธีต่างๆ ลองหาหนังสือแบบทดสอบต่างๆที่นอกเหนือจากที่เด็กใช้ในโรงเรียน รวมทั้งเนื้อหา กิจกรรมแบบอื่นๆในเว็บไซด์ ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ดีขึ้น อาจกำหนดให้เด็กทำในวันหยุดหรือประกอบการทบทวนกับหนังสือที่ใช้ในโรงเรียน ถ้าแบบฝึกหรือหนังสือเสริมนั้นสนุก ไม่ยากที่จะเรียนรู้ เด็กจะสนุกและชอบที่จะทำ เพราะเด็กทุกคนไม่มีใครอยากอยู่รั้งท้ายในห้องแน่นอน

๑๘.สมองต้องการความรู้สึกปลอดภัยขณะการเรียนรู้ : ขณะคุณพ่อคุณแม่สอนลูก ต้องให้ลูกรู้สึกปลอดภัย หมายความว่า ไม่ว่าจะสอนด้วยอารมณ์แบบไหน ต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ดีที่สุด อย่าให้เด็กรู้สึกหวั่นไหว ไม่สบายใจ กังวล การที่เด็กไม่เข้าใจบทเรียน แสดงว่าบทเรียนยากเกินไปสำหรับเขาหรือเกิดการพลาดไปแล้ว คนที่ทำพลาดย่อมรู้ว่าตนเองย่อมรู้ว่าตนเองบกพร่อง มีความไม่สบายใจ หวาดหวั่น เป็นทุนอยู่แล้ว เด็กจึงต้องการกำลังใจ  ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจขึ้น พ่อแม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ขณะเดียวกันต้องทำให้เด็กเห็นว่าความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี ต้องร่วมชื่นชมกับลูก ชี้ให้เด็กเห็นว่า เขาก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนคนอื่น  


๑๙.ฝึกเด็กให้รู้จักใช้ประโยชน์จากโลกเทคโนโลยี : การใช้เทคโนโลยีเช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต  อาจมีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในปัจจุบัน เพราะช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่ผู้ปกครองควรอยู่ดูแลและช่วยแนะนำ ปัจจุบันการค้นคว้าจากกูเกิ้ลเป็นวิธีที่ง่าย แต่เด็กเล็กอาจใช้ไม่ได้ง่ายนัก เช่นการค้นคว้าเรื่องระบบสุริยะ ถ้าเข้าที่องค์การนาซ่าจะได้ข้อมูลได้ถุกต้อง ชัดเจน ได้มากกว่า

๒๐.เด็กต้องใช้กลยุทธ์ต่างๆในการเรียนรู้ให้เป็น :สอนให้เด็กรู้จักการบันทึก จดโน๊ต ย่อสรุป รู้จักใช้ ปากกาไฮไลน์เน้นข้อความ ใช้การเว้นวรรค เว้นบรรทัดให้เป็นประโยชน์ ช่วยให้การอ่าน การทบทวนทำได้ง่ายขึ้นลองให้เด็กอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ว่าเข้าใจอะไรบ้าง ลองสรุปเนื้อหาว่าทำได้ไหม เข้าถึงเนื้อหาไหม เด็กมีไม่น้อยที่เรียนโดยการฟังคำบรรยายแล้วแต่เข้าไม่ถึงตัวความรู้จริงๆ และยังไม่สามารถสรุปได้

๒๑.ต้องมีช่วงเรียน ช่วงพัก ไม่ควรสอนเด็กต่อเนื่องใช้เวลานานเกินไป    การใช้เวลานานเป็นชั่วโมงๆ ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียน ควรใช้เวลาเป็นช่วงๆ เรียน  พัก  มีเวลาทำกิจกรรม อื่นๆคั่นเวลา (break) เพื่อเตรียมพร้อมจะเรียนรู้อีกครั้ง มีการวิจัยทางสมองพบว่า แม้นเวลาที่เรียนราวสี่สิบนาที ก็ยังมีช่วงเวลาที่เป็นนาทีทองprime time  ช่วงขาลงdowntime   ในช่วงสิบถึงยี่สิบนาทีแรกเป็นช่วงการเรียนรู้ที่ดีที่ของสมอง  หลงจากนั้นสิบนาทีที่สองจะเป็นช่วงตกลงมา อีกสิบนาทีหลังสมองจะกลับมาเรียนรู้ได้ดีอีกครั้งถือเป็นช่วงนาทีทองที่สอง  ความรู้จากการวิจัยนี้อาจนำมาใช้ได้ในห้องเรียน แต่ต้องดูตัวแปรอื่นด้วย

 

 ๒๒.

 

๒๓.  การนอนหลับมีผลสำคัญต่อสมอง   อย่ากดดันให้เด็กทำการบ้านจนดึกจนดื่น เพราะการนอนหลับเป็นการพักผ่อนของสมอง จำเป็นสำหรับการพัฒนาความจำ ยิ่งนอนน้อยสมองก็ยิ่งจำแย่   ในตอนกลางคืนสมองยังทำงานอยู่โดยเฉพาะส่วนฮิปโปแคมปัส  ซึ่งจะทำงานส่วนย้ำข้อมูลที่ได้บันทึกตอนกลางวันให้เป็นความจำที่ถาวร(long term memory) ถ้าเด็กนอนไม่พอความจำจะแย่ลง ให้สังเกตุว่าช่วงที่เด็กที่นอนไม่พอ ความจำจะแย่ลง การเรียนจะไม่ดี ไม่มีสมาธิในการเรียน  เด็กควรนอนวันละ ๙-๑๐ ช.ม.  จึงจะเพียงพอ

ขอบคุณข้อมูลจาก Brain Base Learning Thailand
ขอฝากข้อพระธรรมปัญญาจารย์ บทที่   ข้อที่   ความว่า  ฟังคำตำหนิของคนที่มีสติปัญญา
ยังดีกว่าฟังเพลงของคนเขลา

สำหรับวันนี้  ขอพระเจ้าอวยพระพรค่ะ




Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 20 พฤษภาคม 2566 10:37:57 น.
Counter : 1123 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]