นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ฝนกำลังจะมา....กลางเดือนพฤษภา...ตระเตรียมสระน้ำประจำฟาร์มส่วนตัว



ฝนกำลังจะมา....กลางเดือนพฤษภา...ตระเตรียมสระน้ำประจำฟาร์มส่วนตัว

ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้กิจกรรมการเพาะปลูกของไทยเราซบเซาลงไปไม่ใช่น้อยแต่ถ้าจะพูดแบบปลอบใจตนเองก็ต้องคิดเสียว่า...ไช่จะมีแต่เพียงเราที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งนี้ประเทศเดียวนะครับทั้งอินเดีย จีน ยุโรป อเมริกา ก็โดนด้วยเช่นกันเพียงแต่ว่าจะมากหรือน้อยกว่าเท่านั้นเอง

แว่วๆว่า จะมีปรากฎการณ์ลาณีญา ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ตรงข้ามกับเอลณีโญ (ภัยแล้ง) จะเกิดขึ้นกลางเดือนพฤษภาคมนี้ของบ้านเรานะครับก็ภาวนาให้การพยากรณ์ของนักวิทยาศาสตร์เขาแม่นๆหน่อยเท๊อะ....อิอิ! เพราะ “น้ำท่วม เขาว่าดีกว่าฝนแล้ง”ดังที่คุณศรคีรี ศรีประจวบ ได้ร้องไว้ในอดีต

แต่สิ่งที่พวกเราชาวเกษตรปลอดสารพิษจะต้องตระเตรียมกันก็คือการตระเตรียมแหล่งกักเก็บน้ำประจำฟาร์มของตนเองกันนะครับไปสำรวจตรวจตราแก้ปัญหาการรั่ว การซึม ดูซิว่า...บ่อ สระ ของเรานั้นมีขยะมูลฝอยตื้นเขินไปมากน้อยเพียงใด ทำการขุด ลอก ถาก ถาง ให้สะอาด

ถ้าเป็นพื้นที่ดินทราย การกักเก็บน้ำไม่อยู่ ให้รีบไปหา สารอุดบ่อ กับสเม็คไทต์ มาใส่ไล้ลูบให้ทั่วพื้นบ่อเมื่อฝนตกลงมาพื้นบ่อเค้าจะได้มีความพร้อมในการรองรับ กักเก็บน้ำฝนนะครับ

หลังจากนั้นถ้าอยากจะให้มีเมือกจากธรรมชาติมาช่วยเสริมอีกแรง ก็ใช้มูลสัตว์หว่านกระจายหลังจากที่มีน้ำในบ่อเรียบร้อยหรือจะใส่กระสอบป่าน ห่อผ้ามุ้งเขียว มุ้งตาข่ายผูกมัดกับเสาเหลักปักไว้ตามจุดต่างๆ พอน้ำเริ่มเขียว ๆ ก็ยกขึ้นจากบ่อเพราะถ้าปล่อยไว้เดี๋ยวจะเน่านั่นเองครับ.....เมื่อน้ำเริ่มเขียวแสดงว่าการสร้างตะไคร่น้ำ เมือกธรรมชาติ เริ่มทำงานแล้วก็จะไปเสริมกับเจ้าสารอุดบ่อด้านล่าง ทำให้เรามีบ่อหรือสระหน้ำประจำไร่นาต้นทุนต่ำกว่า การปูด้วยแผ่นพลาสติกมากว่าหลายเท่าตัวเหมาะกับอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องการทำแบบพอเพียง ฝนชนฝนหรือบางครั้งถ้าไม่ปล่อยให้น้ำแห้ง ก็ฝน ชน กับหลายฝน......ฝากคุณๆลองไปทำกันดูนะครับ จะได้มีน้ำไว้ปลูกผักตักหญ้ากันได้ทั้งปี ทั้งฤดูฝน

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:33:25 น.   
Counter : 1091 Pageviews.  

สูตรอาหารจานด่วน โด๊ปมะนาวให้ฟื้นตัวง่าย ค่าใช้จ่ายลด



สูตรอาหารจานด่วน โด๊ปมะนาวให้ฟื้นตัวง่าย ค่าใช้จ่ายลด

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีมะนาวก็ยังเป็นพืชที่พี่น้องเกษตรกรหลายท่านให้ความสนใจเพราะเป็นพืชสวนครัวที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน จะกินจะใช้ในทางอุปโภคบริโภคก็ต้องอาศัยมะนาวทั้งนั้น

สวนมะนาวที่โด่งดังมากในอดีตก็น่าจะเป็นจังหวัดเพชรบุรี อำเภอท่ายางแต่ความจริงมะนาวก็เป็นพืชที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตกและอีสาน แต่ก็ค่อยๆ ลดจำนวน อันตรธานหายไปจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและโรคแมลงในรูปแบบที่เป็นพิษทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งดี และ ไม่ดีให้ล้มหายตายจากไปพร้อมกันในคราวเดียว............จึงเหลือแต่ดินและอนินทรีย์สารที่ว่างเปล่าปราศจากชีวิตคอยค้ำจุน

เมื่อ “ดินที่เคยมีชีวิต........กลายเป็นดินตาย” กิจกรรมหรือกระบวนการผลิตและเปลี่ยนสารอาหารก็“หยุดกิจกรรม” ทำให้ดินนั้นไม่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ...เมื่อนำพืชหรือมะนาวมาปลูกก็จะไม่เจริญงอกงามเหมือนกับดินที่อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร.....ต้องคอยอาศัยแต่ปุ๋ยหรืออาหารจากน้ำมือมนุษย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น........ซึ่งนั่นก็หมายถึง“เงิน” หรือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

สวนมะนาว สวนส้มหรือแปลงพืชผักผลไม้หลายๆชนิดจึงค่อยๆ ล้มหายตายจากอพยพโยกย้ายไปภูมิภาคอื่นๆ ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตกและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ......เพราะเกษตรกรต้องการหาพื้นที่ดินดี....มีความอุดมสมบูรณ์ ความจริงสิ่งที่ค้นหาก็อยู่กับตัวเองนั่นแหละ.........เพียงแต่หยุดการใช้“สารเคมีที่เป็นพิษ” สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติก็จะกลับมา

พืชหรือมะนาวกำลัง ชำรุดทรุดโทรม ต้นอ่อนแอ กำลังถูกโรค แมลงเข้าทำลายหรือผ่านการใช้สารเคมี ทรมาน ทรกรรมมาอย่างโชกโชนไร้ซึ่งแรงกำลังจะทำให้เจ้าของพอใจ เปรียบดังถูกโขกสับใช้ตามกำลังของยาฆ่าแมลงสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนหลากหลายชนิด พืชก็ตอบสนองไปแบบ...”งั้นๆ...อย่างเสียมิได้” เปรียบเหมือน ช้าง ม้าที่ให้กิน “ยาบ้า” เพื่อใช้แรงงาน สังขารก็จะไม่ไหว

ลองหันมาล้างสารพิษในดิน ให้กินอาหารที่ส่งตรงถึงหัวใจแบบรวดเร็วทันใจกันดูบ้างนะครับ เผื่อว่าสติปัญญาจะเกิดเห็นสัจธรรมกับการทำอาชีพเกษตรกรรมว่าปล่อยให้เป็นไปในรูปแบบที่เป็นธรรมชาติ...ค่อยสอด เสริม เพิ่ม เติมอย่างละนิดละหน่อย โดยการใช้แนวทางที่เป็นธรรมชาติ เป็นชีวภาพกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว......หยุดการใช้สิ่ง...”แปลกปลอม” ที่ไม่ยั่งยืน

อาหารจานด่วน ที่ประกอบไปด้วย น้ำ 20 ลิตร,ไข่ไก่สด 1 ฟอง, โพแทสเซียม ฮิวเมท 10กรัม,ยูเรีย (46-0-0) 20 กรัม, ไคโตซานMt 10 ซี.ซี. กวนละลายให้เข้ากันฉีดพ่นให้เปียกชุ่มโชกทั้งกิ่ง ก้าน ใบ และลำต้นให้เหมือนอาบน้ำ ให้เหมือนกับฝนตก แร่ธาตุและสารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าไปทุกอณูของต้นไม้ ช่วยทำให้ฟื้นตัว สมบูรณ์เร็ว....

ผืนดินที่ผ่านการใช้งานมานาน อาบชโลมด้วยสารพิษ ทั้งยาคุมฆ่าหญ้ายาฆ่าหนอน แมลง ฯลฯ สะสมตกค้างมาเป็นเวลานาน.....สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีผลข้างเคียงกับพืชหลักปัจจุบันที่เราปลูกด้วยเช่นเดียวกัน...ทำให้ อานแคระแกร็น โตช้า แก้ไขด้วยการจับสารพิษในดิน ล้างดินเสียบ้าง โดยการนำหินแร่ภูเขาไฟ “พูมิช Pumish” ใส่ในอัตรา 2-3กำมือต่อต้นหรือ 20- 40 กิโลกรัมต่อไร่ “พูมิช Pumish” เป็นหินแร่ภูเขาไฟธรรมชาติผ่านความร้อนเป็นร้อยเป็นพันองศา มีโครงสร้างที่เป็นรูพรุน มีความละมุนแตกตัวย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยเป็นแร่ธาตุคืนสู่ดิน(เป็นอาหารให้พืช) ไม่มีสารตกค้างและที่สำคัญทำหน้าที่เป็นตัวจับสารพิษในดินได้เป็นอย่างดี (Toxin Binder)

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:28:24 น.   
Counter : 631 Pageviews.  

ภัยแล้ง หายนะแห่งสงครามการแย่งน้ำ รับมือด้วยการเตรียมโอ่งรองรับน้ำฝนกันเถอะ



ภัยแล้งหายนะแห่งสงครามการแย่งน้ำ รับมือด้วยการเตรียมโอ่งรองรับน้ำฝนกันเถอะ

นับวันปัญหาภัยแล้งเริ่มคืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นทุกขณะล่าสุดทางรัฐบาลได้มีการเฝ้าจับตาราคาของน้ำดื่มตามห้างสรรพสินค้าต่างๆอย่างใกล้ชิดเพื่อปกป้องมิให้ประชาชนเดือดร้อนจากรากคาน้ำดื่มที่อาจจะมีการเพิ่มราคาขึ้นมาอันเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง

ขณะนี้ก็มีรายงานจากเพื่อนสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษว่าน้ำเค็มได้ขึ้นไปสูงถึงสะพานนวลฉวี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีซึ่งถือว่าระดับน้ำเค็มได้คืบคลานขึ้นไปสูงและเร็วกว่าทุกๆปี ประกอบกับน้ำในเขื่อนต่างๆ ทีลดน้อยลงทุกวันจนไม่สามารถปล่อยน้ำมาหล่อเลี้ยงระบบนิเวศน์และยันกับน้ำเค็มได้เพียงพอ

สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ชวนให้คิดเหมือนกันนะครับว่าต่อไปราคาน้ำดื่มก็อาจจะแพงน้ำที่ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมก็จำเป็นต้องซื้อหรืออาจจะมีการจ่ายเงินได้ในอนาคตเราๆ ท่านๆ นี้ก็อาจจะตกอยู่ในความเสี่ยงในเรื่องของน้ำ ภายใต้สถานการณ์ภัยแล้งที่มีสาเหตุมากมายก่ายกอง ไม่ว่าจะเรื่อง เอลณีโญ, โลกร้อน,อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง, เขื่อนในพื้นที่เหมาะสมที่ไม่เพียงพอ, ทรัพยากรป่าไม้ ฯลฯ

การช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น แบบสูงสุดคืนสู่สามัญด้วยการเตรียมโอ่งไว้รองรับน้ำในช่วงฤดูฝนหรือฤดูกาลที่มีฝนตก ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีในการลดต้นทุนการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรในชนบท ไม่ต้องรอคอยแต่น้ำประปาหรือน้ำดื่มที่เป็นขวดจากนายทุนแต่เพียงอย่างเดียว ตระเตรียมไว้ให้พร้อมด้วยตนเองก็ช่วยให้เราไม่ตกอยู่ในความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งนี้ และถ้าจะให้ดีนะครับการสร้างสระน้ำประจำฟาร์มส่วนตัวของตนเอง เพื่อการเกษตรก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมที่จำเป็นต้องใช้ “น้ำ” ในการเพาะปลูก

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:01:46 น.   
Counter : 360 Pageviews.  

จะทำอะไรดี น้ำก็ไม่มี ฝนก็ไม่ตก เศรษฐกิจก็แย่



จะทำอะไรดี น้ำก็ไม่มี ฝนก็ไม่ตก เศรษฐกิจก็แย่

หลายครั้งหลายคราที่คำถามนี้ผุดขึ้นในหัวและเชื่อว่าท่านผู้อ่านอีกหลายท่านที่กำลังตีบตันกันความหวังที่ริบหรี่จากธรรมชาติฝนฟ้า และรวมไปถึงการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ยังดูไม่มีทีท่าว่าจะช่วยให้พี่น้องประชาชนคนรากแก้วรากหญ้าได้กลับมาลืมตาอ้าปากได้เสียที

การที่จะประกอบอาชีพอะไรที่ไม่มีความเสี่ยงเลยนั้นดูเหมือนจะไม่มี เพียงแต่ว่ามันจะมากจะน้อยแตกต่างกันไปบ้างก็เท่านั้น ผู้ที่อยู่ในสาขาอาชีพเกษตรสิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงในช่วงภาวะที่เรียกว่าวิกฤตนั้นก็ควรจะเป็นเรื่องของการ ”กระจายความเสี่ยง”

แหม! พูดเหมือนกับนักเล่นหุ้นเลยนะ.... ฮ่าๆ แต่ก็เป็นเรื่องจริงนะครับการกระจายความเสี่ยงแบบนักเกษตรกรรมก็คือการปลูกพืชที่ผ่านการคิด วิเคราะห์มาให้ดีมิใช่จะปลูกอะไรก็ปลูกเลย ปลูกตามๆ กันไป อย่างนั้นก็มีโอกาสที่จะล้มละลายและอยู่ในความเสี่ยงที่สูง แต่ถ้าเราคิด วิเคราะห์ ตรึกตรอง ให้ดีเสี่ยก่อนว่าในพื้นที่ของเรามีพืชอะไรอยู่บ้าง และสิ่งใดที่ยังไม่มี เพียงแค่คิดเล็กๆ น้อยๆเพียงเท่านี้ก็อาจจะช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากกรอบของความเสี่ยงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย

การแบ่งพื้นที่เป็นโซนพอเพียงโซนที่ปลอดภัยถือว่าเป็นเรื่องสำคัญนะครับในยุคนี้ไม่ว่าท่านจะมีพื้นที่เป็นร้อยไร่ พันไร่แต่อยากจะขอให้ท่านแบ่งพื้นที่มาทำโซนพอเพียง โซนพออยู่พอกินสักหนึ่งไร่ปลูกในสิ่งที่กินกินในสิ่งที่ปลูก ทำสระน้ำประจำไร่นา ปลูกข้าวไว้กินกันเองสร้างที่อยู่อาศัยที่พอเหมาะพอดี ปลูกพืชแซมทั้งใต้ดิน บนดิน ระดับล่าง ระดับกลาง ระดับบนควบคู่ไปกับป่าสามอย่างประโยขน์สี่อย่าง หาประสบการณ์จากโซนพอเพียงที่หาความสุขได้โดยไม่ต้องใช้เงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เมื่อมีประสบการณ์มากพอ ก็จะออกไปทำเกษตรเชิงเดี่ยวเกษตรเชิงธุรกิจก็ไม่มีใครว่า ผิดพลั้งพลาดท่าก็พยายามซมซานกลับมาอยู่ในโซนพอเพียงให้ได้นะครับเพราะโซนนี้ดำรงชีวิตในทุกนาทีที่มีลมหายใจโดยไม่ต้องใช้เงิน หิวก็กินข้าว กินผักกินปลา กินไข่ กินทุกสิ่งที่อยู่ในโซนนี้ โดยไม่ต้องซื้อ

กลับมาที่การกระจายความเสี่ยงกันอีกสักหน่อยนั่นก็คือเรื่องของการปลูกพืชให้มีความหลากหลายปลูกพืชที่ผ่านการคิดและวางแผนจากส่วนสมองของเราเสียก่อนจึงค่อยปลูกโดยเฉพาะในห้วงช่วงนี้บริษัทเครื่องดืมยักษ์ใหญ่อย่างโคคาโคล่าที่เริ่มหันมาขายน้ำผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมเพื่อนำไปส่งออกทั่วโลก (แสดงว่าโค้กก็มีสัญชาตญาณหรือวิสัยทัศน์ที่เร็วไม่เบาเหมือนกันนะครับว่ายุคนี้ผู้คนชนรุ่นใหม่เขาไม่ดื่มน้ำตาลผสมสีกันแล้วเขาดื่มของดีมีประโยชน์แก่สุขภาพกันมากกว่า)จึงส่งผลให้ตอนนี้มะพร้าวน้ำหอมเรียกว่าจะขาดตลาดกันเลยทีเดียว และรวมไปถึงมะพร้าวกะทิที่ใช้ประกอบอาหารก็หายากและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ผู้ที่กำลังมองหาว่าจะเพาะ จะปลูกอะไรดี มะพร้าวน้ำหอมในห้วงช่วงนี้ก็ถือว่ามีอนาคตไม่เบาเลยครับ หรือจะเสริมจะเพิ่มพืชอื่นๆ แซมเข้ามาก็อยากแนะนำพวก มะละกอง พันธุ์ ฮอนแลนด์ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม พริกไท ฯลฯปลูกแซมๆกันไปก็น่าจะช่วยเพิ่มรายได้ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวประกอบกับพืชหลักๆ ที่เราปลูกอยู่ในปัจจุบันก็ดีไม่น้อยนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 14:57:02 น.   
Counter : 399 Pageviews.  

สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ไม่เหมาะกับดินเหนียว



สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ไม่เหมาะกับดินเหนียว

ประโยชน์ของสารอุ้มน้ำ “โพลิเมอร์” นับว่ามีประโยชน์ต่อภาคการเกษตรโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง จากคุณสมบัติที่สามารถดูดน้ำเข้าไปกักเก็บได้มากถึง 200-400 เท่าทำให้เป็นประโยชน์เมื่อชาวบ้านหรือเกษตกรนำไปใช้ในการปลูกข้าว ปลูกอ้อย ปาล์มยางพารา ยางนา ตะแบก เหียง (โครงการปลูกป่า ปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร)หรือไว้สำหรับรองก้นหลุมปลูกพืชชนิดต่างๆ เพื่อให้ต้นกล้าได้รับน้ำอย่างต่อเนื่องช่วยให้ต้นกล้ารอดตายกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ หรือในพืชตระกูลไม้ดอก ไม้ประดับไม้กระถางทั่วไปก็ช่วยประหยัดเวลาในการรดน้ำ อินทรียวัตถุไม่ถูกชะล้างไปกับน้ำตามรูที่เจาะอยู่ด้านล่าง ดินก็ไม่แน่นไม่แข็ง เสื่อมสภาพไปอย่างรวดเร็ว

แต่คุณสมบัติของสารอุ้มน้ำ “โพลิเมอร์” นั้นจะไม่เกิดประโยชน์หรือไม่เหมาะสมเลยเมื่อเราจะนำมาใช้กับดินเหนียว ที่มีคุณสมบัติในการดูด อุ้มกักเก็บน้ำได้ดีอยู่แล้ว เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความสิ้นเปลืองและความเสียหายจากการระบายถ่ายเทน้ำได้ยากของดินเหนียวดินเหนียวส่วนใหญ่บางทีก็เกิดจากการทับถมของดินตะกอนปากแม่น้ำ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นดินเปรี้ยวดินกรด ควรจะแก้ความเปรี้ยวของเขาเสียก่อน ด้วยกลุ่มของวัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล,ปูนเปลือกหอย, ปูนเผา, ปูนขาว, โดโลไมท์และฟอสเฟตให้ดินมีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ (พีเอช5.8-6.3) เสียก่อน และจะให้ดีควรใช้หินแร่ภูเขาไฟ “พูมิชซัลเฟอร์” รองก้นหลุม หรือคลุกผสมกับวัสดุปลูกในอัตราดินปลูก10 ส่วนต่อพูมิชซัลเฟอร์ 2 ส่วน ก็จะแก้ไขในเรื่องการระบายถ่ายเทน้ำของดินเหนียวได้ดี เพราะหินแร่ภูเขาไฟ “พูมิชซัลเฟอร์”จะช่วยทำให้เนื้อดินเหนียว คลายตัว โปร่ง ฟู ร่วนซุย ระบายถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี

สรุปสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์มีประโยชน์ก็ต่อเมื่อพี่น้องเกษตรกรอยู่ในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำ เขตชลประทาน เป็นพื้นที่ดินทรายดินร่วน มีส่วนผสมของอินทรีย์วัตถุน้อย ไม่อุ้มน้ำ อยู่ในฤดูที่แห้งแล้งจึงควรใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ เมื่อจะเพาะปลูกในไปรองก้นหลุมประมาณหลุมละครึ่งหรือหนึ่งลิตร หรือคลุกกับดินปลูกในอัตราดินปลูก 5 ส่วน สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ 2 ส่วน ก็จะช่วยทำให้ดินมีความชุ่มชื้นพืชเจริญเติบโตได้รับน้ำอย่างต่อเนื่องต้นกล้าไม่เสียหายล้มตายทำให้ต้องเสียเวลามาซ่อมแซมปลูกใหม่ สนใจในส่วนของสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ติดต่อสอบถามไปยังชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02986 1680 – 2 หรือฝ่ายบริการฮอทไลน์ สายด่วน Call Center 084 555 4205 - 9ดูนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 14:52:49 น.   
Counter : 631 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]