นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปลูกพืชผักเพื่อขายจำเป็นต้องใช้ปัจจัยเสริมเพิ่มผผลิต (2)



ปลูกพืชผักเพื่อขายจำเป็นต้องใช้ปัจจัยเสริมเพิ่มผผลิต (2)

คำว่า “ผลผลิตที่เราต้องการ” นี้สำคัญนะครับเพราะแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน บางคนทำเกษตรกรรมแบบพออยู่พอกิน บางคนทำเป็นธุรกิจ ทำเพื่อขายนำรายได้มาเกื้อหนุนจุนเจือสมาชิกในครอบครัว ใช้หนี้ใช้สิน ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่พร่างพรูอยู่ตลอดทุกเมื่อเชื่อวัน ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องที่สำคัญคือเรื่องทำอย่างไรให้ผลผลิตเพียงพอกับความต้องการ

ถ้าท่านผู้อ่านเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่กำลังมีแนวคิดแบบนี้ ก็ต้องค่อยๆเรียนรู้นะครับว่าการใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่หมักกันเพียงสองสามเดือนแล้วจะให้พืชที่เราปลูกอยู่ได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งธาตุหลักอย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุเสริม เหล็ก ทองแดง แมงกานีสสังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิ้ล ไทเทเนียม ซิลิก้า ไคโตซาน ฯลฯก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะระยะเวลาการในการหมัก การย่อยสลายนั้นน้อยเกินไป

ดังนั้นจึงมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องสารปรับปรุงบำรุงดินเยอะแยะมากมายออกมารับใช้พี่น้องเกษตรกรให้เลือกใช้ซึ่งท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรก็จำเป็นที่จะต้องทราบก่อนนะครับว่าดินของเรานั้นมีปัญหาในด้านใด ถ้าเป็นปัญหาทางด้านดินเป็นกรด ดินเปรี้ยวอันนี้ก็ต้องใช้สารปรับปรุงดินที่เป็นกลุ่มของปูน อย่าง ปูนมาร์ล ปูนเปลือกหอย ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต และถ้าดินของเราเป็นด่างก็ต้องแก้ด้วยกลุ่มของอินทรียวัตถุ (อาศัยกรดอินทรีย์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์),ยิปซั่ม และ ภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง แต่ถ้าดินที่ขาดแคลนแร่ธาตุสารอาหาร ขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์อันนี้ก็จำเป็นต้องเสริมกลุ่มของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพแต่ดังที่ได้ทราบว่าปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์นั้นไม่สามารถที่จะตอบสนองเรื่องสารอาหารให้เพียงพอต่อการเพิ่มผลผลิตในแบบทันทีทันใดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาวัสดุที่พร้อมต่อการแตกตัวย่อยสลาย อย่างเช่นกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ

หินแร่ภูเขาไฟในโลกนี้มีมากมายหลายชนิดบ้างก็นำไปใช้ในการกลบฝังกากกัมมันตภาพรังสี บ้างก็นำไปใช้ในการกรองน้ำเสีย ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟบ้างก็นำไปใช้ในการจับกลิ่นเหม็นในตึก อาคาร เครื่องกรองอากาศบ้างก็นำไปเคลือบกับปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้าที่ญี่ปุ่นทำขายเยอะแยะมากมายบ้างก็นำไปใช้จับก๊าซพิษของเสียในบ่อกุ้งบ่อปลาจับกลิ่นเหม็นป้องกันแมลงวันในคอกสัตว์เล้าไก่ ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าหินแร่ภูเขาไฟที่อยู่ใต้เปลือกโลกเรียกว่า “แมกมา”มีความร้อยเป็นร้อยเป็นพันองศาเซลเซียส พอระเบิดเกิดขึ้นมาเป็น “ลาวา”หลุดพ้นจากแรงอัดมหาศาลใต้เปลือกโลก เจอบรรยากาศที่บางเบาจึงพองตัว ก๊าซและไอน้ำระเหยออก บวมพองเหมือนข้าวโพดคั่ว(Popcorn) มีรูพรุนมหาศาล ผ่านกาลเวลาเป็นสิบเป็นร้อยล้านปี กลายเป็นหินแร่ที่พร้อมต่อการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยเป็นอาหารให้แก่พืช จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ มีแร่ธาตุและสารอาหารทั้ง ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่มและที่สำคัญมีซิลิก้า (Sio2 àH4Sio4) ที่ละลายน้ำแตกตัวเป็นซิลิสิค แอซิดได้อีกกว่า 70 % ซึ่งช่วยให้เซลล์พืชที่ได้รับเข้าไปสะสมอย่างเพียงพอสามารถที่จะยับยั้งป้องกั้นโรคแมลงเพลี้ยหนอนรา ไร ไม่ให้รบกวนได้

แร่ธาตุและสารอาหารที่มีความหลากหลายมากกว่าปุ๋ยเคมีที่มีแต่เพียงธาตุหลัก 3 ตัว คือ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P)โพแทสเซียม(K) เท่านั้น ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมของเกษตรกรในการนำมาใส่เสริมเพิ่มเข้าไปพร้อมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพเพื่อเติมเต็มแร่ธาตุและสารอาหารให้พืชได้รับอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และเพียงพอต่อการให้ผลผลิตที่ตนเองต้องการ อาจจะนำไปคลุกผสมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 1: 5 ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเคมีเหล่านี้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้าพืชค่อยดูดกินไปที่ละนิดตามต้องการ (ปุ๋ยละลายช้า มิได้หมายความว่าละลายยากนะครับ)เปรียบเสมือนเป็นตู้เย็นให้กับรากพืช ช่วยให้การใส่เสริมเพิ่มปุ๋ยเคมีเข้ามาในระบบการทำเกษตรแบบมืออาชีพก็ประหยัด ใช้ปุ๋ยน้อยลงเป็นการเติมอาหารพืชในลักษณะที่เป็นเกษตรอินทรีย์ (ในกรณีที่ไม่อยากใช้ปุ๋ยเคมี) ถูกใจเกษตรกรแนวเกษตรอินทรีย์ชีวภาพได้อย่างลงตัว

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:09:01 น.   
Counter : 513 Pageviews.  

ปลูกพืชผักเพื่อขายจำเป็นต้องใช้ปัจจัยเสริมเพิ่มผผลิต (1)



ปลูกพืชผักเพื่อขายจำเป็นต้องใช้ปัจจัยเสริมเพิ่มผผลิต (1)

ในห้วงช่วงนี้ได้มีโอกาสไปบรรยายโรงเรียนชาวนาจังหวัดอ่างทองบ่อยหน่อย เพราะท่านอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภาอาจารย์ใหญ่ผู้บุกเบิกการปฏิวัติทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญาให้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาให้ได้รู้ได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้วิธีการปลูกข้าวแบบใช้เมล็ดพันธุ์น้อยใช้เพียงครึ่งถังหรือ 5 กิโลกรัมต่อไร่ รวมถึงเทคนิคการใช้สมุนไพรและจุลินทรีย์ชีวภาพในการป้องกันกำจัดโรคแมลงทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยเราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นแสนล้านบาท ท่านได้มอบหมายให้กระผมไปรับใช้ให้เกษตรกรได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องการใช้หินแร่ภูเขาไฟในการเกษตร

จึงได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับลุงป้าน้าอาเกี่ยวกับเรื่องของการใช้ปัจจัยการผลิตที่นอกเหนือจากปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและวัสดุที่หาได้ง่ายๆใกล้ตัว เพราะมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการที่ว่าเราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องซื้อปุ๋ยเคมี หรือวัสดุปรับปรุงบำรุงดินต่างๆเข้ามาเสริมเติมให้เสียเงินเสียทองเพิ่มมากขึ้นไปอีก

ก็ถือว่าเป็นคำถามที่ดีและน่าสนใจมากๆ นะครับ ว่า..อืห์ม.....จริงๆแล้วนั้น!!! เราจำเป็นต้องใส่เสริมเพิ่มเติมปุ๋ย ยาฮอร์โมนอีกหรือไม่ ถ้าดินในบริเวณนั้นใช้หลักของการใส่เสริมเพิ่มอินทรียวัตถุและปุ๋ยชีวภาพอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ขออนุญาตนำเอาคำตอบมาเล่าในที่นี้ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันอีกครั้งนะครับ

ก่อนอื่น เราต้องทราบความเป็นไปในธรรมชาติเสียก่อนนะครับว่าต้นไม้ตามป่าเขาลำเนาไพร ที่เขาสามารถเจริญเติบโตไม่ต้องมีมนุษย์คนใดคอยดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยนั้น และยังสามารถผลิดอกออกผลเป็นอาหารเป็นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ป่านานาชนิดได้ตราบนานเท่านานถ้าไม่มีมนุษย์โลภมากเห็นแก่ตัวไปตัดไม้ทำลายป่าเสียจนป่าเหลือน้อยดังที่เห็นดังเช่นปัจจุบัน

ผลที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มาจากเหตุที่ป่าทั้งป่าอยู่กันแบบพึ่งพิงอิงอาศัย เศษกิ่ง ก้าน ใบที่ค่อยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนร่วงหล่นลงมาที่ผืนดิน มีไส้เดือน จุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีท มัยคอร์รัยซ่า ตุ่น เต่า กิ้งก่า ฯลฯคอยทำหน้าที่ย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ย เป็นอาหารแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอย่างไม่มีวันจบสิ้นทำให้ระบบนิเวศน์มีความสมบูรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน

กลับมาที่แปลงเกษตรกรของเรา การที่เราจะใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอยู่เป็นประจำฉีดพ่นปุ๋ยชีวภาพอยู่สม่ำเสมอ ก็ใช่ว่าจะได้รับแร่ธาตุและสารอาหารได้ครบถ้วนครบโภชนาการเหมือนกับแร่ธาตุและสารอาหารเหมือนกับป่าเขาลำเนาไพรที่ผ่านการหมักสลายมาเป็นร้อยเป็นพันปีนั้นคงจะไม่ได้แต่เบื้องต้นพื้นฐานเรื่องดินก็จะดีขึ้นเรื่อย แต่อาจจะไม่เพียงพอ...กับผลผลิตที่เราต้องการ

คำว่า “ผลผลิตที่เราต้องการ” นี้สำคัญนะครับ.....เอาไว้ผมจะเขียนให้ท่านอ่านต่อในวันถัดไปนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:07:23 น.   
Counter : 247 Pageviews.  

แตงกวากับปัญหาดอกหลุดร่วงง่าย

ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่หฤโหดไม่แพ้ปีที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องน้ำเรื่องท่าเพราะภาครัฐก็ค่อนข้างเข้มงวดตรวจตราไม่ให้น้ำนั้นถูกนำไปใช้ในระหว่างที่มีมาตรการประหยัดน้ำท่ามกลางภาวะความแห้งแล้งที่หนักสุดในรอบ5 ปี ปีนี้ดูแล้วหนักกว่าปีที่แล้วอีกนะครับ น้ำในเขื่อนหลักๆของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน ภูมิพล เขื่อนสิริกิตต์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธรณ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เขื่อนขุนด่านปราการชล ฯลฯ ต่างก็มีน้ำสำรองไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์จึงเป็นปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรส่วนหนึ่งต้องหันไปพึ่งพิงพืชชนิดอื่นๆแทนการปลูกข้าวทำนา

หนึ่งในพืชอื่นๆ ก็มีแตงกวาโดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางนั้นก็จะปลูกกันอยู่มากนะครับปลูกแล้วก็อดจะมีปัญหามาถามไถ่ให้เจ้าหน้าที่ชมรมฯ ได้เข้าไปช่วยดูแลแก้ไข โดยเฉพาะในเรื่องของการติดดอกออกผลแล้วมีปัญหาดอกและผลหลุดร่วงหล่นลงมาง่ายไม่ยอมติดทำให้ต้องเสียโอกาสในการที่จะนำผลผลิตออกไปขายหรือจำหน่ายให้พ่อค้าในท้องที่

สาเหตุส่วนหนึ่งของแตงกวาที่มักจะมีดอกที่หลุดร่วงง่ายผิดปรกตินั้นก็อาจจะมีสาเหตุมาจากดินที่ผ่านการใช้งานมานานหลายสิบปีและมีแต่การใช้ปุ๋ยธาตุหลักเพียงอย่างเดียวจึงทำให้การสะสมแร่ธาตุสารอาหารในกลุ่มธาตุรองธาตุเสริมนั้นไม่เพียงพอ อีกอย่างหนึ่งก็ในเรื่องของน้ำถ้าน้ำไม่เพียงพอก็มีปัญหาเรื่องดอกและผลอ่อนหลุดร่วงง่ายเช่นเดียวกัน

วิธีการดูแลแก้ไขในเบื้องต้น ควรนำหินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (PumishSulpher) ไปหว่านโรยรอบทรงพุ่มหรือโคนต้นเพิ่มเติมเสริมธาตุรองธาตุเสริมให้แก่แตงกวาให้เพียงพอให้รากของเขาสามารถที่จะดูดกินได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อต้องการและควรกระตุ้นด้วยการใช้ ซิลิโคเทรซ (ธาตุอาหารเสริมทางใบ) ในอัตรา 5 กรัมร่วมกับไคโตซานMT 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุกๆ 7 วันก็จะสามารถช่วยลดการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อนของแตงกวาไม่เสียหายจนมากเกินไปได้ในส่วนของเรื่องน้ำที่ต้องคอยดูแลอย่าให้ขาดด้วยเช่นกัน ก็ควรใช้สารอุ้มน้ำ“โพลิเมอร์” ในอัตรา 1 กิโลกรัม แล้วนำไปแช่น้ำสะอาด อีก 200 ลิตรทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืน รุ่งเช้าก็นำมากลบฝังข้างหลุมปลูกก็จะช่วยแก้ไขแตงกวาขาดนขาดน้ำได้และวิธีเดียวกันนี้ก็ยังสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับพืชอื่นๆได้เช่นเดียวกันนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 17:39:10 น.   
Counter : 391 Pageviews.  

กายภาพของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกอ้อย

ข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องอ้อยในห้วงช่วงนี้ดูท่าจะดีและโดดเด่นค่อนข้างมากครับเนื่องด้วยนโยบายที่มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นจากเดิม 10 ล้านไร่ เป็น 16ล้านไร่ โดยอาศัยการลดพื้นที่ปลูกข้าวที่อยู่ในเขตที่ไม่เหมาะสมให้ลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย จึงทำให้ในอนาคตอันใกล้นี้ปริมาณผลผลิตข้าวจะลดลงไปประมาณ10 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ราคาข้าวจะค่อยดีขึ้นและเหมาะสมกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่วนอ้อยนั้นราคาจะดีขึ้นหรือเปล่าจะซ้ำรอยเหมือนการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเหมือนห้วงช่วงสิบกว่าปีที่แล้วอีกหรือไม่อันนี้ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับ

จะอย่างไรก็ตามด้วยความคิดเห็นส่วนตัวราคาอ้อยนั้นน่าจะไม่ตกด้วยอาศัยการสังเกตจากสถานการณ์หลายๆอย่าง ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่เก่าแก่มากกว่า 30 ปี จากการตกลงกันระหว่าง ผู้บริโภคเกษตรกร โรงงานและภาครัฐการอนุญาตให้นำน้ำอ้อยดิบมาผลิตเป็นเอทานอลเพื่อทดแทนหรือชดเชยการส่งออกในช่วงที่ตลาดภายนอกอิ่มตัวก็จะทำให้น้ำอ้อยดิบนั้นมีที่ระบายมีที่จำหน่ายช่วยให้ซัพพลายไม่ล้นจนมากเกินไปที่สำคัญราคาก็จะไม่ตกต่ำ อีกทั้งตอนนี้ทั้งจีน ญี่ปุ่น และรัสเซียก็สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเยี่ยมเยืยนพี่ไทยเรากันบ่อยเสียเหลือเกินหวังว่าวิกฤติระหว่าง ยุโรป อเมริกา กับรัสเซีย และจีนกับเวียดนามก็น่าจะช่วยให้ไทยเรามีสถานการณ์ทีดีขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย

จะอย่างไรก็ตามครับการปลูกอ้อยนั้นก็ควรให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนบ้าง เพราะจัดว่าเป็นพืชที่ต้องการอินทรียวัตถุและแร่ธาตุและสารอาหารในดินที่มากพอสมควรหน้าดินตามหลักทฤษฎีวิชาการนั้นจะต้องมีหน้าดินที่ลึกมากถึง 1 เมตร และระดับน้ำใต้ผิวดินต้องลึกลงไปถึง1.6 เมตรเพราะฉะนั้นถ้าปลูกกันแบบตาสีตาสาก็จะทำให้ต้องสิ้นเปลืองปุ๋ยเคมีที่ต้องใช้เงินซื้อเข้ามาเพิ่มอย่างไม่จบสิ้นทำให้ต้นทุนสูง แต่กำไรต่ำ ทำมาเท่าไรก็หมดไปกับค่าปุ๋ยค่ายา ทั้งๆที่ไม่แน่ที่ใต้พื้นผิวดินนั้นอาจจะมีปุ๋ยผ่านการใส่จากน้ำมือของเราสะสมไว้เป็นจำนวนมากก็ได้แต่เนื่องด้วยว่าถูกล็อค ถูกตรึงจากค่าความเป็นกรดที่ตกค้างจากปุ่ยเคมีเป็นจำนวนมากแต่ขาดการดูแลตรวจวัดทำให้การตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยทำได้ไม่ดีนัก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกอ้อยนั้นถ้าไม่หนาวหรือชื้นแฉะจนเกินไปนักก็เรียกว่าแทบจะปลูกได้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยทีเดียวเชียวละครับเพียงแต่เราจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการตรวจวัดค่าความเป็นกรดและด่างของดินและปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมคือ 5.8 – 6.3 คือจะต้องเป็นกรดอ่อนๆทีนี้พอจะใส่อาหารอะไรลงไปรากอ้อยก็สามารถที่จะตอบสนองได้หมดพยายามทำหรือสร้างธนาคารปุ๋ยหมักเพื่อสำรองอินทรียวัตถุลงไปสู่แปลงนาให้มากๆเข้าไว้(อย่าลืมต้องนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่หมักได้ที่แล้วเท่านั้นนะครับโดยใช้จุลินทรีย์ขี้ควาย,ขี้วัวหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยฉีดพ่นกระตุ้นให้เปื่อยยุ่ยเร็วด้วยนะครับ)

การดูแลบำรุงรักษาต้องพยายามให้อ้อยนั้นกินอาหารให้ครบห้าหมู่หรือครบโภชนาการนะครับมิฉะนั้นอ้อยอาจจะโตแบบขาดคุณภาพโดยเฉพาะเรื่องความหวานนั้น ถ้าค่าความหวาน (CCS)ไม่ถึงก็อาจจะถูกตัดราคาจากโรงงานและในทางกลับกันถ้าค่าความหวานได้ตรงตามมาตรฐานหรือดีกว่าก็จะมีราคาที่บวกเพิ่มขึ้นมาให้อีกด้วยนะครับการที่จะทำให้อ้อยได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นถ้าปลูกอยู่บนพื้นที่คุณภาพแย่ เป็นดินทราย ดินขี้เป็ดหรือดินที่มีการกำเนิดเกิดปฏิกริยากับเนื้อดินต่ำคือถูกกระบวนการทางธรรมชาติทำให้เปื่อยผุพังอย่างรวดเร็วสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนจนแทบจะไม่เหลือแร่ธาตุและสารอาหารที่กลับคืนมาได้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนั้นถ้าจำเป็นที่ต้องการให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์อย่างเร่งด่วนแล้วการใช้แต่เพียงอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่พอควรจะต้องอาศัยคุณสมบัติจากหินแร่ภูเขาไฟที่มีแหล่งกำเนิดการเกิดปฏิกิริยาของเนื้อดินสูงมีแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆมากมายที่พร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชและอ้อย จะช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพได้ไม่มากก็น้อยครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2557   
Last Update : 2 ธันวาคม 2557 19:09:21 น.   
Counter : 407 Pageviews.  

ปลูกเผือกเลือกไว้นวล สงวนการใช้สารพิษ

อาชีพปลูกเผือกทดแทนการปลูกข้าวก็ถือว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่พี่น้องเกษตรกรมักจะเลือกมาใช้เสมอโดยเฉพาะพี่น้องแถวอ่างทอง สิงห์บุรี อยุธยา สังเกตุได้เมื่อขับรถเลี่ยงหลบลงไปจากถนนใหญ่สายเอเชียก็จะเห็นไร่เผือกที่ชาวบ้านปลูกกันอยู่มากมายดาษดื่นทั้งบางปะหัน โพธิ์ทอง ดอนพุด ฯลฯ ยิ่งราคาข้าวถูกไร่เผือกก็เหมือนจะเพิ่มขึ้นไปอีกมากมายหลายจังหวัดสงสัยน่าจะสร้างรายได้เสริมให้พี่น้องได้ไม่มากก็น้อย บางคนก็ทำเป็นอาชีพไปเลยก็มากมาย

แต่การปลูกเผือกนั้นต้องพยายามรักษานวลไว้ให้คงอยู่กับลำต้น กิ่งก้าน ใบไว้ให้ยาวนานที่สุดนะครับเพราะว่านวลของเผือกนั้นถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อเผือกในการปกป้องโรคแมลงกำจัดศัตรูที่จะเข้ามาทำลายเผือกและเกษตรกรบางท่านที่ไม่ทราบก็มักจะทำลายนวลของเผือกอย่างไม่ตั้งใจด้วยการใช้สารจับใบโดยหวังจะให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยยาฮอร์โมนให้เกาะติดจับตตรึงใบพืชให้มากและยาวนานที่สุดแต่ความจริงยิ่งใช้สารจับใบก็ยิ่งทำลายภูมิคุ้มกันเผือกทำให้อ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคแมลงเพลี้ยหนอนราไร ฉะนั้นจึงไม่ควรใช้สารจับใบในเผือกเป็นอย่างยิ่งนะครับโดยเฉพาะในโรคตากบตาเสือที่มีแผลฉ่ำน้ำเป็นจุดจ้ำๆการไม่ใช้สารจับใบร่วมกับจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าหรือบีเอสพลายแก้วในการรักษาก็จัทำให้สปอร์สัมผัสกับแผลที่เปียกได้ง่ายเป็นการรักษาเฉพาะจุดแบบเฉพาะเจาะจง และช่วยรักษานวลของเผือกส่วนที่เหลือไปด้วย

อีกทั้งการใช้หินแร่ภูเขาไฟโดยการใช้พูมิชซัลเฟอร์กับอินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจะช่วยทำให้เผือกได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์และยังได้รับแร่ธาตุซิลิก้าที่สามารถละลายน้ำได้ท่อน้ำท่ออาหารสามารถนำพาไปเลี้ยงส่วนต่างๆของเผือกได้อย่างทั่วถึงทำให้เผือกแข็งแรงจากภายใน โรคตากบตาเสือหรือโรคอื่นๆก็ทำลายได้ยากเพราะฉะนั้นจึงอยากให้พี่น้องเกษตกรหันมาให้ความสนใจในการปลูกเผือกแบบไว้นวลและสงวนการใช้สารพิษเข้ามาทำลายระบบนิเวศน์กันดูบ้างนะครับ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2557   
Last Update : 2 ธันวาคม 2557 18:46:31 น.   
Counter : 428 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]