นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ไม่รู้จะแล้งมั๊ย?!? ฝนนี้

ท่านผู้อ่านและแฟนคลับสมาชิกเกษตรปลอดสารพิษอาจจจะงงๆสักหน่อยกับชื่อบทความของกระผมเพราะว่าใกล้จะฤดูฝนอยู่รอมร่อแล้วยังจะมาสงสัยอะไรกันนักหนากับปัญหาภัยแล้งจัดเป็นพวกองุ่นเปรี้ยวหรือยาหมดอายุหรือเปล่า ความจริงก็ไม่มีอะไรหรอกดอกนะครับเพียงแต่กังวลและสงสัยจริงๆในเรื่องที่จะเกิดกับประเทศไทยเราในห้วงช่วงอีกสองสามเดือนข้างหน้า

ต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องของงานบ้านการเมืองแต่ท่านผู้อ่านที่ติดตามข่าวสารอยู่บ้างอาจจะทราบเหมือนกระผมเกี่ยวกับเรื่องปรากฎการณ์เอลนิลโญ่ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะเกิดในห้องช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกรกฎาคมซึ่งความจริงก็เป็นช่วงฤดูฝนของบ้านเราในสภาวะปรกติ

แต่ถ้าไม่ปรกตินั่นก็ย่อมแสดงว่าอาจจะมีปัญหาหรือไม่มีฝนตกในห้วงช่วงเวลาดังกล่าวนั่นคือสิ่งที่กังวลของจริงเพราะถ้าไม่มีฝนตกลงมาในช่วงฤดูกาลนี้แล้วชาวไร่ชาวนาจะนำแหล่งน้ำที่ไหนมาใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมท่านว่าจริงไหมครับ?

ความจริงฤดูแล้งในบ้านเรานั้นจะก่อกำเนิดเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูหนาวจนถึงกลางฤดูร้อนคือช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมโดยปรกติก็จะเป็นห้วงช่วงฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี. และพอย่างเข้าเดือนพฤษภาคมก็จะเริ่มคราดไถพรวนดินเตรียมเพาะปลูกรับฝนช่วงต้นเดือนมิถุนายนเกษตรกรที่เพาะปลูกในช่วงนี้ก็จะประหยัดน้ำประหยัดปุ๋ยประหยัดแรงงานเพราะน้ำฝนน้ันนำปุ๋ยและอาหารลงมาด้วยแถมช่วยทำละลายแร่ธาตุสารอาหารในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อรากพืชช่วยให้ดูดกินและลำเลียงไปใช้ได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามในพื้นที่ 512,000ตารางกิโลเมตรของประเทศไทยเรานั้นถือว่ามีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากถึง800,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ผมใช้คำว่ารองรับนะครับแต่มิได้หมายถึงกักเก็บ เพราะพื้นที่ของประเทศไทยที่มีบรรพกาลชำนาญด้านการเกษตรแต่ไม่ชำนาญในกักเก็บหรือกักตุนทรัพยากรที่สำคัญต่ออาชีพของตนเองได้นั่นก็คือ "น้ำ" ในแต่ละปีเราปล่อยให้น้ำไหลทิ้งลงทะเลมากถึง70-80% คือประมาณ 560,000-640,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีจึงทำให้พื้นที่ที่มีผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเพาะปลูกตลอดเวลาแต่ติดขัดปัญหาที่ในบางช่วงบางเดือนไม่มีน้ำไว้ใช้ในการทำการเกษตรหรือจะว่าแต่การเกษตรเลยครับ แม้แต่การอุปโภคบริโภก็ยังไม่เพียงพอด้วยซ้ำ (หรือพวกเราจะฟังแต่หน่วยงานนอกโลกที่คิดว่าหวังดีจริงๆกับเรามากเกินไป)

ในห้วงช่วงเดือน มิถุนายและกรกฎาคมปีนี้ ปรกติจะต้องเป็นฤดูฝนแต่ถ้าเกิดปรากฎการณ์เอลนิโญซึ่งสาเหตุเกิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติเกิดจากการหมุนตัวของโลกแกนโลกที่ทำมุมเอียงกับดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงส่งผลให้กระแสน้ำที่ไหลไปมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันออกเปลี่ยนไปมีผลต่ออุณหภูมิและอากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกส่งผลให้ลมสินค้าไม่พัดพาดผ่านพาฝนมาตกทางฝั่งภาคใต้ของบ้านเรามาเลเซียและอินโดนีเซีย ถ้ารุนแรงก็อาจจะส่งผลต่อบ้านเราทั้งประเทศ. ภาพรวมก็คือจะส่งผลให้เกิดภาวะหรือปรากฎการณ์ที่ร้อนกว่าปรกติแล้งกว่าปรกติ

เหตุการณ์ในลักษณะนี้ทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรจะหดหาย การสูญเสียอินทรีย์วัตถุจะมากขึ้น(จากความแห้งแล้งจนนำไปสู่การเกิดไฟป่า) อินทรีย์วัตถุคือแหล่งกำเนิดของปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์แหล่งน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญควรทำสระน้ำประจำไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำใช้สารอุดบ่อช่วยอุดรอยรั่วซึม ใช้ม้อยเจอร์ไรเซอร์สำหรับพืช (กลุ่มของไคโตซานสายโซ่ยาว ไบโอฟิล์, ไคโตซานเฟรช)เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเพราะอากาศที่ร้อนแล้งทำให้พืชสูญเสียน้ำไปได้โดยง่าย ผลิตผลเงาะ ลองกอง ทุเรียน.มะม่วงฯลฯ จะสุกและแก่เร็ว ผลผลิตอาจจะเสียหายมากการทำให้ดินโปร่งร่วนซุยจากหินแร่ภูเขา การระเบิดดินดานจากสารละลายดินดานจะช่วยทำให้เนื้อดินสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นอุ้มน้ำอุ้มปุ๋ยในภาวะแห้งแล้งได้มากขึ้นพื้นที่หรือทุงหญ้าเลี้ยงสัตว์ควรต้องเตรียมการแต่เนิ่นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาขาดหญ้าให้วัวควาย แพะ แกะ ในส่วนของ กุ้ง หอย ปู ปลา ที่ใช้น้ำเค็มก็จะอาจจะมีปัญหาในเรื่องการเจือจางน้ำเค็มปัญหาน้ำระเหยแห้งเร็วทำให้ระดับน้ำในบ่อเหลือน้อยความเข้มข้นของเศษอาหารและขี้กุ้งขี้ปลามากควรใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส ซับธิลิสย่อยสลายขี้เลนขี้ปลาในบ่อเพื่อลดของเสียและก๊าซที่เน่าเหม็นสำหรับวันนี้เวลาและเนื้อที่มีจำกัดผมขออนุญาตนำเรื่องราววิธีการที่เฉพาะเจาะจงในแต่บะกรณีในแต่ละปัญหามาเล่าให้ทันฟังในโอกาสต่อไปแล้วกันนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 25 เมษายน 2557
Last Update : 25 เมษายน 2557 18:06:29 น. 1 comments
Counter : 724 Pageviews.  

 
บ้านผมก็แล้ง


โดย: sabuyguide (สมาชิกหมายเลข 1612515 ) วันที่: 11 สิงหาคม 2557 เวลา:11:35:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]