นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

แก้ไขปัญหาการกักเก็บน้ำผิวดินแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน



แก้ไขปัญหาการกักเก็บน้ำผิวดินแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

เมื่อมีเวลาแล้วนึกย้อนกลับไปในอดีต ยุคที่ปู่ย่าตายายของเราทำอาชีพเกษตรกรรมในรูปแบบที่ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยเหมือนกับปัจจุบันนี้ไม่มีปุ๋ยเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มียาฆ่าหญ้า ไม่มีรถแทรกเตอร์แต่ท่านก็ทำของท่านมาได้ สามารถเลี้ยงบุตรหลานให้เติบโตมาเป็นเจ้าคนนายคนก็เยอะสืบสานวัฒนธรรมการเกษตรไทยก็แยะ โดยที่ยังมีความสุขมากกว่าผู้คนหรือสังคมปัจจุบันด้วยซ้ำ

การทำการเกษตรในยุคเก่านั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีเพียงจอบ เสียมพลั่วเป็นหลัก ไม่มีเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ น้ำหนักมากมากดทับดิน ดินในอดีตจึงไม่แน่นแข็งโดยเฉพาะดินชั้นล่างที่ลึกลงไปประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากการไถพรวนของรถไถรถแทรกเตอร์ทำให้ดินร่วนซุยแต่เฉพาะด้านบนแต่ดินชั้นล่างถูกน้ำหนักของรถกดทับจนแน่นเป็นชั้นดานก่อให้เกิดการระบายถ่ายเทน้ำได้ไม่ดีสะสมมากขึนเรื่อยๆ

การที่ไม่มียาฆ่าหญ้าจึงทำให้ไม่มีสารพิษที่สะสมอยู่ในดินคอยควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพราะยาลืมว่ายาฆ่าหญ้า คุมหญ้า ก็สามารถส่งผลกระทบกับพืชหลักได้ด้วยเช่นเดียวกันเพราะหญ้าก็จะว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งเหมือนกันถึงแม้ว่าจะส่งผลกระทบได้ไม่มากในระยะแรกแต่ในระยะยาวการสะสมที่มากขึ้นก็สามารถทำให้พืชอาน ชงักงันได้เช่นเดียวกัน

การย้อนกลับมาทำการเกษตรแบบเก่า แบบเดิมๆแบบภูมิปัญญาชาวบ้านก็น่าจะดีไม่น้อย โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่มีโซนพอเพียงของตนเองเพียงหนึ่งถึงสองไร่ก็เพียงพอไม่ว่าท่านจะมีพื้นที่มากมายเป็นร้อยไร่ พันไร่ก็ไม่สำคัญ ขอเพียงแบ่งมาทำโซนพอพียงให้แก่ตนเองสักหนึ่งไร่เพื่อให้ความสุขแก่ตนเองก็น่าจะดี่ไม่น้อยนะครับแบ่งตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 30% สำหรับสระน้ำ30% สำหรับนาข้าว 30% ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง และ 10%สำหรับที่อยู่อาศัย แล้วท่านลองใช้ทรัพยากรทั้งหมดโดยไม่ต้องมีเงินเข้าเกี่ยวข้องดูสิครับลองดูว่าท่านจะมีความสุขอยู่หรือไม่ หิวก็กินข้าว กินไข่ กินปลา กินผัก ผลไม้ที่ปลูกเอาไว้

แต่ที่เล่ามาทั้งหมดก็ยังไม่ตรงกับประเด็นที่จั่วหัวเอาไว้นักนะครับเพียงแต่อยากเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรลองมาปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรแบบง่ายกันดูบ้างโดยเริ่มจากแปลงเล็กๆ นะครับ เช่นการกำจัดหญ้าโดยไม่ใช้ยาคุมและฆ่าหญ้าใช้วิธีการตัดหรือดาย ตัดเพียงครึ่งเดียวไม่ให้รกเกะกะจนทำงานไม่ได้แล้วนำเศษซากหญ้านั้นไปสุมรวมกองที่โคนต้นเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากผิวดินที่อาจจะถูกสายลม แสงแดด ระเหยไปและอีกวิธีหนึ่งการใช้จอบเสียมพรวนดินด้านบนเพื่อตัดขาดท่อแคปปิราลี (ไส้ตะเกียง)ที่นำเอาความชื้นชั้นใต้ดินขึ้นมาสู่อากาศเสียหมดถ้าเราพรวนดินเพื่อทำลายไส้ตะเกียงของดิน ผิวดินด้านบนที่ถูกทำลายท่อแคปปิลารี จะเป็นตัวกักเก็บรับความชื้นจากไส้ตะเกียงของน้ำที่ระเหยขึ้นมาสุดที่พื้นผิวการพรวนดิน

การเลี้ยงหญ้าให้เขียวรำไรทั้งแปลง การใช้เศษซากหญ้า อินทรียวัตถุตอซังฟางข้าวคลุมดินการใช้จอบพรวนดินทำลายตัดขาดท่อแคปปิลารีไม่ให้ขึ้นมาสู่ผิวดินด้านบนให้ดินที่พรวนเป็นตัวดักกดทบน้ำที่ปลายท่อแคปปิลารีด้านล่าง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการกักเก็บรักษาความชื้นในดินให้คงอยู่กับต้นไม้ให้ได้นานๆ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งและหนาวเย็นความชื้นในดินถูกอากาศกอบโกยหอบหิ้วไปเสียหมดก็จะเป็นการประหยัดต้นทุนเรื่องน้ำให้แก่พืชได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 15 พฤษภาคม 2559
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 14:48:44 น. 0 comments
Counter : 431 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]