นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

อากาศร้อน แสงแดดจ้า แก้ปัญหาพืชแพ้แดดได้อย่างไร?

หลังจากที่ได้สัมผัสกับสภาพอากาศที่เย็นสบายกันค่อนข้างจะยาวนานกว่าทุกๆ ปี อาจจะทำให้หลายๆคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือสังคมเมืองต่าง ๆ มีความรู้สึกได้กผ่อนคลาย สบายใจ สดชื่นลงมาบ้างและเสมือนดังกับว่าได้มีเวลาชาร์ตแบตเตอรี่ให้กับตัวเองได้มากกว่าแต่ก่อน ก่อให้เกิดพลังกาย พลังใจเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อยก็เป็นพลังสำรองในการที่จะใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมในวันข้างหน้าได้ต่อไป
เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ความหนาวชักเริ่มจางไปกลายเป็นอุณหภูมิที่อบอุ่นจนถึงร้อนเข้ามาแทนที่ ปัญหาใกล้ตัวอย่างเรื่องโลกร้อนนั้น นับวันก็จะยิ่งเพิ่มความถี่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกวัน อาจจะไกลตัวบ้าง หรือใกล้ตัวบ้างคละเคล้ากันไป อย่างไรเสียเราก็คงจะหนีความจริงไปไม่พ้นว่า โลกมันร้อนขึ้นจริง ๆ ทุกเวลา ทุกนาที ดังนั้นต้องมีจิตสำนึกในการช่วยกันดูแลโลกของเรามิให้ร้อนเพิ่มขึ้นอีก มิฉะนั้นโลกสีน้ำเงินอันสดสวยของเราก็จะหมองคล้ำดำสนิทลงไปอย่างแน่นอน
อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ต้นเหตุของปัญหาเกิดมาจากมนุษย์ที่มีการใช้พลังงานจากฟอสซิล การใช้สาร CFC ในเครื่องทำความเย็นและการเผาป่าจนเกิดสารเรือนกระจกตกค้างเพิ่มปริมาณมากขึ้น จนเสียความสมดุลในการโอนย้ายถ่ายเทความร้อนออกจากโลกของเรา ความร้อนเหล่านี้เมื่อสะสมมาก ๆ เข้ามีผลทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในโลกได้รับผลกระทบในเชิงลบ โดยเฉพาะพืชจะอ่อนแอ โตช้า ผลผลิตลด ดินแห้ง แน่นแข็ง รากเจริญเติบโตช้า พืชคายน้ำทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นมาก เครียดจัด ไม่กินอาหารทำให้อาชีพเกษตรกรทั้งหลายอาจจะได้รับความเดือดร้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณในแก้ไขปัญหาเพิ่มมากขึ้น

ความร้อนและอุณหภุมิที่สูงมีผลทำให้พืชคายน้ำมากกว่าปรกติ ดินแห้งและยุบตัวลงเพราะน้ำได้ระเหยออกไปจากโครงสร้างดิน แต่ใบพืชยังคงต้องการน้ำเท่าเดิมทำให้ใบสลด เหี่ยวแห้งตายลง ต้องแก้ไขมิให้น้ำหรือความชื้นสูญเสียจากพื้นดินรวดเร็วเกินไป โดยการใช้เศษไม้ใบหญ้านำมาคลุมที่ผิวดินหรืออาจจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้ถ้ามีงบประมาณเพียงพอ นำมาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเติมเข้าไปเพื่อปรับโครงสร้างดินให้สามารถกักเก็บความชื้นและรักษาโครงสร้างของดินมิให้ยุบตัวแน่นแข็ง
นอกเหนือจากการป้องกันน้ำมิให้ระเหยออกจากผิวดินไปอย่างรวดเร็วแล้ว ควรจะลดการคายน้ำจากใบพืชด้วยโดยการใช้ ม้อยเจอร์เซอร์พืชเช่น ไคโตซาน-เฟรช, ไบโอฟิล์ม ก็สามารถช่วยให้พืชมีความสดชื่นและลดการสูญเสียน้ำ ลดความเครียดของพืช การใช้แร่ธาตุซิลิก้าจาก ภูไมท์และภูไมท์ซัลเฟต รายงานจากสมาชิกในกลุ่มของโรงเรียนชาวนาที่ใช้ในแปลงนาข้าวก็แจ้งว่า สามารถสร้างความต้านทานต่อสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด และหนาวจัดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับกลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่ต้านความหนาวของชมรมฯ เช่น ไวตาไลเซอร์, ไรซ์กรีนพลัสและ ซิงค์คีเลท 75 % ปรากฏว่าสามารถช่วยทำให้พืชลดการสูญเสียและรักษาผลผลิตไว้ได้ มีความต้านทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน ลดการแพ้แดด แพ้ความหนาวได้ดี ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มของสมาชิกเกษตรปลอดสารพิษที่จะนำไปใช้ในการป้องกันแก้ปัญหากับสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัดและร้อนจัด


มนตรี บุญจรัส
//www.thaigreenagro.com


Create Date : 12 สิงหาคม 2552
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:09:50 น. 0 comments
Counter : 927 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]