นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ใช้สารอุ้มน้ำ (โพลิเมอร์) ปลูกอ้อยสู้ภัยแล้ง ประหยัดต้นทุน



 เหตุการณ์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลาในห้วงช่วงสิบปีมานี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นเหตุแห่งชนวนของการเกิดสงครามที่เราหลายคนอาจจะไม่รู้ตัว  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก่งแย่งชิงดีในเรื่องพื้นที่เหนือมหาสมุทรระหว่างญี่ปุ่นกับจีน เกี่ยวกับหมู่เกาะเตียวหวีไถ (เมื่อชาวจีนเรียก) หรือหมู่เกาะเซ็นกากุ (เมื่อชาวญี่ปุ่นเรียก) ต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของตนเอง จนนำมาซึ่งเหตุการณ์ประท้วงระหว่างชาวจีนและญี่ปุ่น

นอกนี้แล้วเหตุการณ์ระหว่างจีนกับน้องๆอาเซียนอย่างเช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ก็มีปัญหาเกี่ยวกับเกาะแก่งในทะเลจีน ซึ่งทำให้เวียดนามถึงกับยุติการส่งผักผลไม้ไปขาย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียต้องขอให้อเมริกาเข้ามาช่วยดูแลแก้ปัญหา มีการนำเอาเรือรบมาลาดตระเวนหยั่งเชิงท่าทีกับจีน จนเกือบจะรบกันก็มีมาแล้ว


จีนนั้นพยายามที่จะแผ่อิทธิพลในฝั่งเอเชียให้รวดเร็วและเพิ่มมากขึ้น มีการร่วมมือกับรัสเซียเพื่อสร้างพันธมิตรโดยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัสเซียขายก๊าซและน้ำมันให้จีน ให้ส่งสินค้าด้านเกษตรเข้ารัสเซีย  อเมริกาพอรู้ทางอยู่บ้างก็ดัดหลังรัสเซีย เพราะรู้ว่ารัสเซียนั้นใช้นโยบายใช้ไข่หลายฟองเอาไว้ในตระกร้าเดียวกัน คืออเมริการู้ว่ารัสเซียมีรายได้หลักส่วนใหญ่มาจากการขายก๊าซและพลังงาน อเมริกาจึงขุดแร่ธาตุก๊าซพลังงานที่เรียกว่า เชลล์แก๊สหรือน้ำมันในชั้นหินดินดานในประเทศตนเองออกมาใช้ โดยอ้างว่าเพิ่งขุดพบ โดยแท้จริงแล้วก็ทราบมาตั้งนานแล้ว แต่ตั้งใจนำออกมาเพิ่มซัพพลายแชร์ตลาดโอเปกให้มีน้ำมันมากขึ้น


ปริมาณน้ำมันในกลุ่มโอเปกบวกกับน้ำมันของอเมริกาทำให้โอเวอร์ซัพพลาย ราคาน้ำมันจึงดิ่งร่วงหล่นลงเหว จาก 100 เหรียญต่อบาร์เรลลดลงเหลือ 40 -50 เหรียญต่อบาร์เรล ทำให้น้ำมันราคาถูกลงอย่างมาก รายได้รัสเซียก็ลดน้อยถอยลง ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกอยู่เหมือนกันว่าในห้วงช่วงที่ไทยเศรษฐกิจแย่ รัสเซียที่กำลังจากมาซื้อหาสินค้าเกษตรจากไทยทั้งไก่ กุ้ง ผัก ผลไม้ ก็กลับมามีเศรษฐกิจสะดุดหยุดกึกเหมือนเราในห้วงช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน เหมือนกับยุควิกฤติต้มยำกุ้ง รัสเซียจึงต้องกล้ำกลืนฝืนทนประคองตัวและเฝ้าดูสถานการณ์ด้วยใจระทึก
นอกนั้นไม่พออเมริกายังส่งนางฮิรารี่ คลินตันเข้ามาประเทศที่ตนเองเคยคัดค้านต้านทานคว่ำบาตรอย่างเมียนร์มา เพื่อคานอำนาจกับจีนในยุครัฐบาลบารัค โอบามาหนึ่ง จึงทำให้จีนก็เร่งสร้างพันธมิตรเป็นพี่ใหญ่ใจดีแก่น้องๆ ชาวอาเซียนอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV มีการช่วยเหลือให้งบประมาณสร้างงานสาธารณูปโภคในประเทศเหล่านี้ค่อนข้างมาก แต่โดยเงื่อนงำบางทีจีนก็มีหางโผล่ให้เห็นอยู่บ่อยๆ เมื่อตนเองเริ่มแข็งแกร่ง จากพี่ใหญ่ใจดีก็มักจะกลายเป็นมหาโจรชี้โน่น นี่ นั่น ว่ามันเป็นของตนเอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่เกาะแก่งเล็กๆน้อยๆ ไม่มีค่าเมื่อในอดีต จนทำให้เกิดการระหองระแหงกับน้องๆ อาเซียนเป็นประจำ อีกทั้งเรื่องของการสร้างเขื่อนเหนือน่าน้ำโขงและสาละวิน ที่ทำให้ประเทศอาเซียนที่รอน้ำใต้เขื่อนจีนไม่พอใจกันหลายประเทศ นี่ก็อาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่โครงการความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP อาร์เซ็ป ต้องเลื่อนการเซ็นต์สัญญาไปปีหน้าโน่น


หลังจากนั้นความโกลาหลวุ่นวายในหลายแห่งทั่วโลกก็เกิดขึ้นไปด้วยพร้อมๆกัน โดยเฉพาะกลุ่มการร้าย IS ที่ก่อเหตุสะเทือนขวัญล่าสุดที่ประเทศฝรั่งเศสมีคนตายไป 250 คน ทำให้ประธานาธิบดีฝรั่งเศสต้องออกมาประกาศสงคราม ส่วนทางรัสเซียนั้นก็ถือเป็นกำลังหลักในการประกาศตัวล้มล้างกลุ่ม IS โดยที่อเมริกามีท่าทีวางเฉยและมีแต่คำพูดไม่มีการปฏิบัติที่ชัดเจน จนทำให้รัสเซียโดยเฉพาะท่านประธานาธิบดี วราดิเมียร์ ปูตินเกิดความสงสัยว่าใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังให้ ทุน อาวุธยุทธโธปกรณ์แก่กลุ่ม IS  รัสเซียนั้นมีการส่งเครื่องบินรบทิ้งระเบิดทำลายกลุ่ม IS มาตลอดโดยที่อเมริกามองดูเฉยไม่ลงทุน ไม่ร่วมมือ ไม่ให้ความช่วยเหลือให้สมกับศักดิ์ศรีตำรวจโลกแม้แต่น้อย
ล่าสุดนั้นเครื่องบินรบ SU-24 ของรัสเซียเกิดถูกสอยด้วยเครื่องบิน F-16 ของตุรกี ซึ่งถือว่าเป็นสมุนของอเมริกาตกไป 2 ลำโดยที่นักบินทั้งสองคนที่ดีดตีดตัวออกมาจากเครื่องบินได้ทัน แต่มีหนึ่งคนเสียชีวิตโดยการถูกยิงจากพื้นดิน ทำให้รัสเซียไม่พอใจเป็นอย่างมาก  ตัดความสัมพันธ์หลายทางกับตุรกีและเปรยว่าตุรกีจะต้องเสียใจอย่างหนักกับเหตุการณ์ในครั้ง


เหตุการณ์เงื่อนงำต่างๆ เกิดขึ้นตอนนี้ก็เริ่มชักจะต่อเป็นจิ๊กซอได้ไม่ยากว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดสงครามขึ้นก็เป็นได้ หรือแท้ที่จริงสงครามได้เริ่มมานานแล้วก็ไม่ทราบ ไม่ว่าจะเป็นสงครามค่าเงิน สงครามทุน สงครามการกีดกันทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี จนมีเครื่องไม้เครื่องมือเกิดขึ้นมาบานเบอะเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็น IMF, TPP, RCEP, FTA, IUU, AIIB, WorldBank, NATO, AEC, EU ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะหน้าสิ่วหน้าขวาน เพราะไม่ว่ายุคใดสมัยใดเมื่อเกิดภาวะสงครามผู้คนชนในประเทศนั้นๆ ล้วนจะต้องเผชิญกับสภาวะที่เรียกว่า ข้าวยาก หมากแพง อพยพเคลื่อนย้ายหนีวิถีกระสุนตก หนีลูกระเบิด ไม่มีเวลาอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ไม่มีเวลาทำมาหากิน เพราะฉะนั้นถ้าพวกเราชาวไทยถ้าไม่อยากให้ประเทศของเรากระทบกับเรื่องสงครามที่ไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ด้วยการทำให้ประชากรของเราแข็งแรงมั่งคั่งทางกายและจิตใจก็คงต้องอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ หนึ่งไร่หนึ่งแสนมาปรับใช้กันดูเพื่อเป็นเสบียงชีวิตให้แก่ตนเองได้ทั้งทางกายและจิตใจให้มีความมั่นคงแข็งแรงไปจนตลอดสิ้นล้มหายใจก็น่าจะช่วยได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ลองดูนะครับ

มนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com




Create Date : 15 พฤษภาคม 2559
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 13:29:29 น. 0 comments
Counter : 736 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]