นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ภัยแล้งแห่งเอลณิโญ

ปีนี้เป็นปีที่ใช่ว่าจะมีปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นเฉพาะแต่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นนะครับเพราะหลายประเทศทั่วโลกก็ประสบพบเจอด้วยเช่นเดียวกันมีการคาดการณ์กันว่าปีนี้อาหารสัตว์ก็จะแพง เพราะถั่วเหลืองทางอเมริกาก็ไม่สามารถเพาะปลูกได้ตามเป้าหมายอีกทั้งไทยก็ไปส่งเสริมปลูกพืชอื่นแทนข้าวและยางพาราไม่ยอมรณรงค์ให้ปลูกถั่วเหลืองที่เราต้องนำเข้าปีหนึ่งมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์แต่ให้ไปปลูกอ้อย ปาล์ม มันสำปะหลังและข้าวโพดอาหารสัตว์แทน ไม่รู้ว่าเมื่อผลผลิตออกมาล้นตลาดจะมีสภาพเหมือนรัฐบาลยุคก่อนอีกไหมที่เคยรณรงค์ส่งเสริมให้ปลูกยางเป็นล้านไร่จนมียางทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อีกทั้งจีน อินเดีย ผลผลิตข้าวก็จะน้อยลงอาจจะต้องสำรองเอาไว้ในประชาชนคนในประเทศของตนเองไว้กินกันเองภายในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ อันนี้ในบางแง่มุมก็อาจจะช่วยราคาข้าวในประเทศไทยเราได้อานิสงส์ทำให้ราคาข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามกลตลาดโลกก็เป็นได้ต้องลองติดตามเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด

ปีนี้เป็นปีที่มีเหตุการณ์เอลนิโญเกิดขึ้นด้วยนะครับ คือเกิดความผิดปรกติของอุณหภูมิเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกทำให้กระแสน้ำอุ่นที่ปกติไหลจากฝั่งตะวันออกมาสู่ฝั่งตะวันตกอ่อนกำลังลงในภาวะปรกติกระแสน้ำอุ่นจะไหลพัดเอากระแสน้ำอุ่นมากองรวมอยู่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจนระดับน้ำชายฝั่งทวีปออสเตรเลีย และเอเชียสูงกว่าระดับน้ำชายฝั่งชิลี เปรูและเอกวาดอร์ถึง 60-70 เซนติเมตร ปรากฎการณ์เอลณิโญทำให้กระแสลมสินค้าตะวันออกกำลังกระแสน้ำอุ่นไหลกลับทำให้ไปกดทับกระแสน้ำเย็นฝั่งตะวันออก(ชิลี เปรู เอกวาดอร์) ทำให้กระแสน้ำเย็นไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำลอยตัวกระจายเหนือพื้นทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ส่วนฝั่งทวีปออสเตรเลียและเอเชียหย่อมความกดอากาศสูงที่ควบแน่นเหนือผิวน้ำทำให้เกิดสภาวะหนาวเย็นแห้งแล้งเกิดความแห้งแล้งในทุ่งหญ้าออสเตรเลีย เกิดควันไฟป่าในประเทศอินโดนีเซียสัตว์ขาดหญ้า ขาดอาหาร พืชไร่ไม้ผลที่ได้รับอิทธิพลจากควันไฟเกิดการแก่สุกเร็วกว่าปรกติทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านการตลาดอย่างมหาศาล พื้นที่ทางตอนบนของประเทศไทยก็จะมีปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าทุกๆ ปีสังเกตได้ตั้งแต่ปี 2521 2526 2531 2536 2541 2547 ซึ่งเป็นปีที่มีปัญหาสภาวะภัยแล้งจากเอลณิโญ(ความจริงในห้วงช่วงสี่ส้าห้าปีมานี้เราก็จะเจอปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเกือบทุกปีอยู่แล้ว)สังเกตได้จากการหยุดห้ามทำนาปรังทุกครั้งที่มีปัญหาเรื่องความแห้งแล้ง

การดูแลแก้ปัญหาจะหวังรัฐบาลอย่างเดียวก็คงจะเป็นไปได้ยากเพราะสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปป่าสมบูรณ์เหนือเขื่อนนั้นกลายสภาพจากไม้ยืนต้นกลายเป็นพืชไร่ทำให้ระบบนิเวศน์หน้าดินขึ้นมาไม่สามารถกักเก็บดูดซับจับตรึงแร่ธาตุและสารอาหารได้เหมือนเดิม ป่ายุคนี้สามารถกักเก็บน้ำฝนดะเพียง 30 %อีก 70%ไหลลงสู่เขื่อนอย่างรวดเร็วทำให้เขื่อนต้องรีบปล่อยน้ำออกก่อนกำหนดเพราะรักษาระดับน้ำในเขื่อนไม่ให้อยู่ในจุดที่เกิดความเสี่ยงต่อเขื่อนแตก แต่ถ้าป่าเหนือเขื่อนเป็นป่าดิบชื้นป่าสมบูรณ์เช่นในอดีตป่าจะกักเก็บน้ำฝนได้มากถึง 70 % และมีน้ำส่วนเกินค่อยๆไหลลงสู่เขื่อนอีก 30 % ทำให้เราเห็นน้ำตกได้ยาวนานมีฤดูกาลท่องเที่ยวที่มากกว่าปัจจุบัน

ฉะนั้นการทำสระน้ำประจำไร่นาของตนเองจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ควรจะทำเพราะจะช่วยให้เรามีน้ำไว้ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้เป็นประจำตลอดทั้งปีระดับความลึกถ้าเป็นดินเหนียวดินดำน้ำชุ่มก็อาจจะขุดความลึกลงไปสึก 4 -5 เมตรส่วนพื้นที่ดินทรายให้ขุดความลึกระดับ 6 – 7 เมตร แล้วใช้สารอุดบ่อ 1 – 2 กิโลกรัม(โพลิเอคริลามายด์) คลุกผสมกับกลุ่นของแร่สเม็คไทต์ หรือเบนโธไนท์ 100 กิโลกรัมหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อที่กักเก็บน้ำไม่อยู่ โดยเฉพาะพื้นที่ดินทรายอาจจะใช้ทรายหยาบทรายละเอียดหว่านรองพื้นแล้วตามด้วยสารอุดบ่อหลังจากนั้นใช้ดินเดิมจากปากบ่อหว่ากลบทับลงไปอีกครั้งหนึ่งอาจจะบดอัดแน่นด้วยสามเกลอ(ท่อนไม้ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต มีด้ามไม้ขนาดเหมาะมือยาวพอเหมาะสมกับความสูงของคนที่จะใช้แล้วนำมาตอกตะปูหรือติดยึดน๊อดให้แน่นทั้งสามเวลาใช้ให้สามคนจับยกและกระแทกลงไปพร้อมกัน) หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ก็ตามแต่จะสะดวก หลังจากนั้นจึงค่อยปล่อยน้ำเพื่อให้สารอุดบ่อทำงานขยายพองตัวอุดรอยรั่วประสานกับกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟทำให้ไปอุดปิดรอยรั่วหรือช่องโหว่ของเนื้อดิน ทำสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้แบบปีชนปีถ้าไม่ปล่อยแห้ง หรือมีฝนตกมาทันก็สามารถเก็บน้ำต่อเนื่องได้หลายปี โดยเฉพาะถ้ามีการหมั่นสร้างน้ำเขียวจากมูลสัตว์เพิ่มเติมด้วย

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 02 ธันวาคม 2557
Last Update : 2 ธันวาคม 2557 18:40:31 น. 0 comments
Counter : 662 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]