นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ซิลิคอน : ธาตุอาหารเสริมประโยชน์ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแกร่ง กระตุ้นการเจริญเติบโต (1)

เนื่องด้วยบทบาทที่เกี่ยวข้องกับซิลิคอนเริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในวงการเกษตรในบ้านเรามีการใช้กลุ่มของหินแร่เขาไฟที่มีองค์ประกอบของแร่ธาตุซิลิกอนหรือซิลิก้า ที่อยู่ในในรูปที่ละลายน้ำ(monosilisicacid)ได้นำไปใช้ในพืชไร่ไม้ผล ไม้ยืนต้น ปาล์ม ยางอีกทั้งยังมีการนำไปใช้ในสัตว์น้ำอย่างเช่นปลากัด ปลาคาร์บเพื่อเสริมสร้างให้สีสันสวยสดงดงาม เกร็ดมีความแข็งแรง นอกนั้นยังมีการนำ ซิลิคอนที่อยู่ในรูปของหินแร่ภูเขาไฟ ที่ชื่อว่า สเม็คไทต์, ไคลน็อพติโลไลท์นำไปคลุกผสมกับอาหารสัตว์เพียง 3 เปอร์เซ็นต์เพื่อช่วยจับอฟลาท๊อกซินที่ติดค้างในอาหารสัตว์(ศุภสิทธิ์ ปัททุม, 2542. ผลของการผสมซีโอไลท์ในอาหารไก่กระทงเพื่อเป็นท็อกซินไบเดอร์:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และบทบาทในด้านอื่นๆ อีกค่อนข้างมากและในวันนี้จึงอยากให้ท่านสมาชิกและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับซิลิคอนอีกแง่มุมหนึ่งที่เกี่ยวกับแร่ธาตุหรือสารอาหารพืชโดยท่าน รศ.ดร.ยงยุทธ์ โอสถสภา ดังนี้

ธาตุซิลิคอน Silicon

โดย รศ.ดร.ยงยุทธ์ โอสถสภา

ธาตุเสริมประโยชน์(Beneficial mineral elements) หมายถึง ธาตุที่ช่วยกระตุ้น (stimulate)การเจริญเติบโตของพืชแต่

1)มิใช่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชตามคำนิยามที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ 1หรือ

2)เป็นเพียงธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชบางชนิด ธาตุที่จัดเป็นธาตุเสริมประโยชน์ ได้แก่ซิลิคอน โซเดียม โคบอลต์ ซีลีเนียม และอลูมิเนียมสำหรับพืชบางชนิดที่ต้องการธาตุดังกล่าวธาตุใดธาตุหนึ่งอย่างแท้จริงก็ถือว่าธาตุนั้นเป็นธาตุอาหารจุลภาคเฉพาะพืชในอนาคตเชื่อว่าจำนวนธาตุอาหารจุลภาคจะเพิ่มขึ้นในขณะที่จำนวนธาตุเสริมประโยชน์จะลดลงเนื่องจากการพัฒนาในสามด้านต่อไปนี้คือ 1)เทคนิคการขจัดสิ่งเจือปนในวัสดุทดลองเช่น สารเคมี น้ำ และภาชนะปลูกพืช 2) เคมีวิเคราะห์เพื่อให้ทราบชนิดและปริมาณของธาตุที่เจือปนในวัสดุหรือมีในเนื้อเยื่อพืช และ 3)ชีวเคมี เพื่อเพิ่มความกระจ่างในเรื่องบทบาทของธาตุต่าง ๆ ในเมแทบอลิซึมของพืช

1. ซิลิคอน

1.1ซิลิคอนในดิน

แม้ซิลิคอน (silicon) จะเป็นธาตุซึ่งมีมากที่สุดในชั้นผิวโลกแต่ปริมาณที่ละลายได้และอยู่ในสารละลายดินมีเพียงเล็กน้อยรูปของธาตุนี้ในสารละลายดินส่วนมาก คือ กรดโมโนซิลิซิก [monosilicic acid, Si(OH)4] สภาพละลายได้ของกรดดังกล่าวในน้ำ (25 OC) ประมาณ 2 มิลลิโมลาร์ หรือ 56 มิลลิกรัม Si ต่อ 3.5-4.0 มิลลิกรัม) หากมีค่าเกิน 56มิลลิกรัม Si/ลิตร ถือว่าเป็นสารละลายอิ่มตัวอย่างยิ่งหรือกรดดังกล่าวเริ่มตัวกันเป็นพอลิเมอร์ความเข้มขันของกรดซิลิซิกในสารละลายดินอาจลดลงเนื่องจากสาเหตุ 2 ประการคือ 1)พีเอชของดินสูงกว่า 7 และ 2) เมื่อมีเซสควิออกไซด์ (sesquioxides) ในดินมากเป็นเหตุให้เกิดการดูดซับแอนไอออนสูง ซึ่งพบมากในดินเขตร้อน (Marschner,1995)

กรดซิลิซิก มีความคล้ายคลึงกับกรดบอริก [B(OH03] หลายประการเช่น 1) เป็นกรดอ่อน 2)ทำปฏิกิริยากับเพกทินและพอลิฟินอลในผนังเซลล์ได้ดี 3) ส่วนใหญ่อยู่ในผนังเซลล์อย่างไรก็ตามซิลิคอนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชบางชนิดและมีผลด้านเสริมประโยชน์แก่พืชส่วนมากในบางสถานการณ์ (Epstein, 1994)

1.2การดูดของราก ความเข้มข้นและการกระจายในพืช

พืชชั้นสูงดูดซิลิคอนจากดินมาใช้ได้มากน้อยแตกต่างกันอาจแบ่งพืชออกเป็นสามกลุ่มโดยพิจารณาความเข้มข้นของซิลิคอนในส่วนเหนือดิน(%SiO2 คิดจากน้ำหนักแห้ง) ดังนี้ 1) พืชที่มีซิลิคอนสูงเป็นพืชในวงศ์ Cyperaceae เช่น Equisetumarvense และพืชในวงศ์ Gramineae ซึ่งอยู่ในดินน้ำขังเช่น ข้าวมี 10-15%SiO2 2) พืชที่มีซิลิคอนปานกลางเป็นพืชวงศ์ Gramineae ซึ่งอยู่ในดินไร่ เช่น อ้อยกับธัญพืชส่วนมากและพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิด มี 1-3%SiO2 และ 3) พืชที่มีซิลิคอนต่ำ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ส่วนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วมีน้อยกว่า 0.5%SiO2 นอกจากนี้ยังอาจจำแนกพืชออกได้เป็นสองกลุ่ม คือพืชสะสมซิลิคอน (siliconaccumulators) กับพืชไม่สะสมซิลิคอน (siliconnonaccumulators) โดยถือเกณฑ์ดังนี้คือ 1) พืชสะสมดูดซิลิคอนมากกว่าที่มากับน้ำซึ่งพืชดูดได้ แสดงว่ากลไกการดูดเป็นแบบแอกทีฟ และ 2) พืชไม่สะสมดูดซิลิคอนเท่ากับหรือน้อยกว่าที่มากับน้ำซึ่งพืชดูดได้ตารางที่ 10.1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพืชความเข้มข้นของซิลิคอนในเนื้อเยื่อและการดูดซิลิคอน โดยเสนอข้อมูลความเข้มข้นของธาตุในพืชจากการวัดจริงและการคำนวณค่าจากการคำนวณ คือปริมาณธาตุที่ละลายน้ำและสะสมในพืชในสัดส่วนเดียวกับทีพืชดูดน้ำมาใช้สำหรับข้าวไม่ว่าซิลิคอนในสารละลายภายนอกจะต่ำหรือสูงก็สะสมได้มากแสดงว่ากลไกการดูดธาตุนี้ส่วนหนึ่งเป็นแบบแอกทีฟ (Takahashi and Miyake,1977)

ตารางที่ 10.1ความเข้มข้นของซิลิคอนในส่วนเหนือดินจากการ วัดและคำนวณเมื่อปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารที่มีความเข้มข้นของซิลิคอนแตกต่างกัน

พืช

ความเข้มข้นในสารละลายธาตุอาหาร

(มก.SiO2/ลิตร)

สัมประสิทธิ์การคายน้ำ/(ลิตร/กก.น้ำหนักแห้ง)

ความเข้มข้นในพืช

(มก.SiO2กก.น้ำหนักแห้ง)

สัดส่วนค่าจากการวัด/ค่าจากการคำนวณ

จากการวัด

จากการคำนวณ*

ข้าว

ข้าวสาลี

ถั่วเหลือง

0.75

30

165

0.75

30

165

0.75

30

165

286

248

248

295

295

265

197

197

197

10.9

94.5

124.0

1.2

18.4

41.0

0.2

1.7

4.0

0.2

7.4

40.2

0.22

8.9

43.3

0.15

5.9

31.9

54.5

12.7

3.1

5.3

2.1

0.9

1.3

0.3

0.1

*ถือว่าไม่มีการคัดเลือกไอออนเมื่อปริมาณการดูดของรากเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณที่มาสุ่รากด้วยการไหลแบบกลุ่มก้อน(mass flow)

ที่มา : Vorm (1980)

การดูดการเคลื่อนย้าย และการสะสมซิลิคอนของพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันดังนี้

1) ถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืชที่ไม่สะสมซิลิคอนเมื่อความเข้มข้นของธาตุนี้ในสารละลายธาตุอาหารสูงการดูดและการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ไซเลมเวสเซลมิได้เพิ่มเป็นสัดส่วนกับความเข้มข้นดังกล่าวแสดงว่ามีกลไกบางอย่างทำหน้าที่ขับซิลิคอนออกจากรากบ้าง (Vorm, 1980)

2)อัตราการดูดซิลิคอนของรากข้าวสาลีมีความสัมพันธ์กับอัตราการคายน้ำดังนั้นจึงอาจใช้ค่าความเข้มข้นของธาตุนี้ในส่วนเหนือดินเป็นพารามิเตอร์สำหรับคำนวณประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืชได้ทางหนึ่งอย่างก็ไรก็ตามต้องตระหนักด้วยว่าอัตราการดูดซิลิคอนรวมทั้งโบรอนของพืชต่างพันธุ์ก็มีความแตกต่างกัน(Nable et al., 1990)

3) พืชสะสมซิลิคอนเช่น ข้าวและพืชชนิดอื่นๆมีอัตราการดูดธาตุนี้ที่สัมพันธ์กับเมแทบอลิซึมของรากแต่ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราการคายน้ำการเคลื่อนย้ายไอออนในรากข้าวฟ่างซึ่งเป็นพืชในกลุ่มนี้จะใช้กักซิลิคอนเอาไว้และสะสมมากเป็นพิเศษที่ผนังเซลล์ด้านใน ส่วนปลายรากจะมีธาตุนี้มากกว่าโคนรากจึงเชื่อว่าการสะสมซิลิคอนในผนังเอนโดเดอร์มิสดังกล่าวอาจเป็นกลไกป้องกันมิให้เชื้อโรคล่วงล้ำเข้าไปในสทิลของรากพืช(Hudson and Sangster, 1989)

ซิลิคอนเคลื่อนย้ายจากรากสู่ส่วนเหนือดินทางไซเลมและสะสมอยู่ในผนังของไซเลมเวสเซลค่อนข้างมาก ช่วยให้ไซเลมแข็งแรงและไม่ยุบตัวขณะที่พืชมีอัตราการคายน้ำสูงส่วนปริมาณการสะสมซิลิคอนในแต่ละอวัยวะของส่วนเหนือดินขึ้นอยู่กับอัตราการคายน้ำของอวัยวะนั้นๆโดยสะสมที่อะโพพลาสติของเซลล์และมีมากขึ้นตามอายุของอวัยวะการสะสมจะเกิดขึ้นเสมอตรงปลายทางของกระแสการคายน้ำ ซึ่งได้แก่ 1)ด้านนอกของผนังเซลล์ชั้นผิวใบทั้งด้านบนและล่าง 2) ใบประดับ (bracts) ของดอกหญ้า 3) ขนหรือไตรโคม (trichomes) และ 4)เซลล์ม้วนหรือเซลล์ยนต์ (buliform cells) ของใบพืชตระกูลหญ้าซิลิคอนที่สะสมในพืชอยู่ในรูปซิลิคาอสัณฐาน (amorphous silica, SiO2.nH2O)จัดเรียงเป็นชั้นในผนังเซลล์ จึงมีประโยชน์ต่อพืช 2 ประการคือ 1)ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบคิวทิน (cuticle) และ2) เป็นสิ่งขัดขวางการล่วงล้ำของเชื้อโรคเข้าไปในเซลล์ (balasta et al.1983)

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com






Create Date : 10 เมษายน 2555
Last Update : 10 เมษายน 2555 7:11:27 น. 0 comments
Counter : 1279 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]