นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

การทำปุ๋ยละลายช้าลดต้นทุนเกื้อหนุนธรรมชาติ

ปุ๋ยเคมี (Fertilizer) ในประเทศไทยเรานั้นส่วนใหญ่จะละลายออกมาอย่างรวดเร็วเมื่อโดนหรือสัมผัสน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน หรือน้ำที่สาดราดรดมาจากน้ำมือของมนุษย์โดยการใช้เครื่องจักรหรือจากตะบวยแบบเก่าก่อนก็ตาม ปุ๋ยที่ละลายรวดเร็วรากพืชไม่สามารถที่จะดูดจับ(Absorb) ซับกินได้ทัน รากพืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆประมาณ 20 – 30 % ส่วนที่เหลือก็จะสูญสลายหายไปกับสายลม อากาศและแสงแดด ยิ่งสภาพของดินที่แน่นแข็งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพฤติกรรมที่ใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานหรือสภาพดินที่ขาดแคลนอินทรียวัตถุ (Organic Matter) จึงทำให้ดินแน่นแข็ง ไม่โปร่งฟูร่วนซุยจึงทำให้การเคลื่อนย้ายถ่ายเทของเหลวในรูปของน้ำและอาหารพืชถูกชะล้างได้ง่าย

หลังจากที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ให้พี่น้องเกษตรกรให้ตระหนักถึงความสำคัญของปริมาณคุณภาพปุ๋ยที่สูญเสียไปโดยง่ายให้กลับมาเป็นปุ๋ยที่ละลายช้าหรือละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชแบบค่อยเป็นค่อยไปแบบช้าๆ (Slow Release Fertilizer) เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ปุ๋ยสูญหายไปโดยง่ายด้วยการใช้หินแร่ภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็น ภูไมท์ (Pumice), พูมิช (Pumish),ม้อนท์โมริลโลไนท์(Montmorillonite), สเม็คไทต์ (Smectite) และ ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite) หรือที่นักวิชาการโดยทั่วไปเรียกันว่าVolcanic Rock หรือซีโอไลท์ (Zeolite) นั่นแหละครับ

จึงมีการนำเอาปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์มาคลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ(Zeolite, Volcanic rock) ในอัตราถ้าเป็นปุ๋ยเคมีก็คือ 1 : 5 (ปุ๋ยเคมี 5ส่วนต่อหินแร่ภูเขาไฟ 1 ส่วน) และ 1 : 10 (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ 10 ต่อหินแร่ภูเขาไฟ1ส่วน) ซึ่งถือว่าเป็นสูตรที่พอเหมาะพอดีนำไปใช้ในการรองก้นหลุมทำเป็นวัสดุปลูกในกลุ่มของไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ในแปลงพืชไร้ไม้ผลต่างๆ ทั่วประเทศก็นับว่าได้ผลดีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

การที่อาหารจากปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกถูกคลุกผสมร่วมกับความอุดมสมบูรณ์ของหินแร่ภูเขาไฟทำให้ดินนั้นพร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชนานาชนิดปลูกแล้วไม่ชะงักงันแคระแกร็น มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง (PlantsGrowth)เพราะว่าองค์ประกอบของหินภูเขาไฟที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารมากมายสามารถค่อยๆทยอยปลดปล่อยออกมาทีละน้อยร่วมกับปุ๋ยชนิดต่างๆจึงเกิดความสมดุลและมีประสิทธิภาพทำให้พืชไม่ขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งอีกทั้งโครงสร้างที่โปร่งพรุนทำให้จุลินทรีย์นานาชนิดมีบ้านมีที่อยู่อาศัย (housingbacteria) ทำให้ระบบนิเวศน์ที่โคนต้นมีความพึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis)ทำให้เกิดกิจกรรมในดินของทั้งอินทรียวัตถุและแร่ธาตุสารอาหารจากหินแร่ภูเขาไฟดังนั้นการทำปุ๋ยละลายช้าด้วยการนำปุ๋ยคลุกกับหินแร่ภูเขาไฟจึงช่วยให้พืชโตเร็วปุ๋ยละลาย ประหยัดต้นทุน (เพราะดินดีพืชก็โตเร็วไม่ต้องเปลืองปุ๋ยยาฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น) แถมระบบนิเวศมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นอีกด้วยนั่นเอง

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 29 กันยายน 2558
Last Update : 29 กันยายน 2558 17:54:26 น. 0 comments
Counter : 617 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]