นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ดินเสื่อมโทรมปรุงประโลมด้วยหินแร่ภูเขาไฟ

ดินที่ผ่านการเพาะปลูกมาอย่างยาวนานแร่ธาตุและสารอาหารก็อาจจะลดน้อยถอยลงไปเป็นธรรมดายิ่งพฤติกรรมการใส่ปุ๋ยของพี่น้องเกษตรกรที่มักจะไม่สมดุลกับการนำผลผลิตออกจากแปลงเรือกสวนไร่นาด้วยแล้ว(เอาผลผลิตออกจากพื้นที่ไปเป็นตันๆ แต่ใส่ปุ๋ยหรืออาหารคืนกลับไปเป็นกิโลกรัมอาจจะ50 ถึง 100 กก.ต่อไร่) จึงยิ่งทำให้ดินนั้นมีคุณภาพที่แย่เสื่อมโทรมเสื่อมทรามลงไปทุกๆปี

ดินที่มีลักษณะของโครงสร้างดินที่แย่ลงนั้น จะมีลักษณะที่แน่นแข็งแร่ธาตุและสารอาหารถูกกระแสน้ำพัดพาชำระล้างให้สูญเสียไปได้โดยง่ายรากพืชจะขยายชอนไชได้ยาก การแลกเปลี่ยนประจุทั้วบวกและลบก็ทำได้ไม่ดีมีลักษณะคล้ายดินทรายขี้เป็ด มับแน่นง่าย ฝนตกน้ำท่วม และก็แห้งเร็ว เมื่อปลูกพืชก็จะตอบได้ดีเมื่อมีการใส่อินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่ช่วยเสริมเพิ่มเติม ซีอีซี (Catch Ion Exchange Capacity) จึงทำช่วยทำให้ดินมีโครงสร้างที่โปร่งพรุน เป็นบ้านให้กับจุลินทรีย์โปรโตซัว แอคทิโนมัยซีท และมัยคอรัยซ่าชนิดต่างๆ ช่วยทำให้ดินมีชีวิตชีวามีกิจกรรมการทำงานช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุให้สลายกลายเป็นปุ๋ยได้รวดเร็วขึ้น

ว่ากันว่าดินที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะเหมือนกับป่าเปิดใหม่ที่ชาวเขาชาวดอยม้ง แม้ว กะเหรี่ยง และมูเซอถากถางป่าแล้วหยอดพริก มะเขือ แตงกวา มะระก็สามารถที่จะไม่ต้องฉีดพ่นใส่ปุ๋ยยาฮอร์โมนให้สิ้นเปลืองเงินทองที่มากเกินไปดินที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยก็คือดินที่มีอินทรีย์วัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ น้ำ 25 เปอร์เซ็นต์อากาศ 25 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มของอนินทรีย์หรือแร่ดินอีก 45 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงถ้าท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรจะปลูกผักตักหญ้าแล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยก็จำเป็นจะต้องหมั่นเติมอินทรีย์วัตถุอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเหมือนกับใบไม้ในป่าที่ร่วงหล่นสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนลงมาสู่พื้นดินอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

การเติมอินทรียวัตถุก็จะช่วยทำให้ดินมีความชุ่มชื้นมีอาหารและบ้านให้จุลินทรีย์แต่กระบวนการหมักและย่อยสลายในเบื้อนต้นนั้นอาจจะมีสารอาหารที่หนักไปทางไนโตรเจนเสียเป็นส่วนใหญ่และก็กลุ่มของจุลธาตุบ้างเล็กน้อย ถ้าต้องการเติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้อย่างรวดเร็วก็จำเป็นจะต้องใช้คุณสมบัติของหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์, สเม็คโตไทต์,ม้อนโมริลโลไนท์ และไคลน็อพติโลไลท์) ซึ่งผ่านความร้อนหลายร้อยหลายพันองศาอยู่ใต้ชั้นเปลือกโลก เมื่อระเบิดโพล่งขึ้นมาสู่ชั้นบรรยากาศที่บางเบาของโลกจึงทำให้แมกมา ที่กลายเป็นลาวาเกิดการเดือดพล่านระเหยเอาน้ำและก๊าซออกไปเมื่อเย็นตัวลงและผ่านกาลเวลาหลายสิบล้านปีก็พร้อมที่จะแตกตัวปลดปล่อยแร่ธาตุออกมาเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ แพลงค์ตอน สาหร่าย ฯลฯฉะนั้นหินแร่ภูเขาไฟจัดอยู่ในหมวดของอินทรีย์ที่ก่อเกิดปริกิริยาสูงจึงมีศักยภาพช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินได้ดีกว่ากลุ่มของวัสดุปูนซึ่งจะมีความเป็นด่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดูดกินหรือปลดปล่อยสารอาหารไปสู่รากพืช

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 29 กันยายน 2558
Last Update : 29 กันยายน 2558 12:34:00 น. 0 comments
Counter : 422 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]