นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

โปรตีนในอาหารกุ้งสูงมาก กุ้งย่อยไม่หมดเกิดแก๊สของเสีย

การเลี้ยงกุ้งในบ้านเรานั้นดูเงียบเหงาซบเซามาหลายปีตั้งแต่หลังจากเหตการณ์ ไนท์วันวัน (911) ที่สมุนของบิลลาเดนกลุ่มอัลกออิดะห์ได้บังคับให้เครื่องบินโดยสารมุ่งหน้าไปชนตึกเวิลด์เทรดของประเทศอเมริกาทำให้ตึกแฝดที่เป็นเอกลักษณ์ของอเมริกานั้นสูญสลายหายไปจากประวัติศาสตร์ทันที หลังจากวันนั้น 11 กันยายน 2544จนถึงวันนี้สถานการณ์กุ้งในบ้านเราก็ยังไม่ถือว่ารุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์เหมือนกับห้วงช่วงปี2537 – 2542 ซึ่งขณะนั้นไม่ว่าจะพื้นที่ภูมิภาคไหนที่เป็นเขตเลี้ยงกุ้งจะมีใบพัดตีน้ำพัดตีละออกน้ำออกมากระเซ็นเส้นสายกระทบกับประกายแดดไปทั่วทั้งพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น อ. แหลมสิงห์ จังหวัดตราด อ.แกลง จ. ระยอง อ. บางน้ำเปรี้ยวและอีกหลายอำเภอใน จ. ฉะเชิงเทรา อ. พาน จ. ชลบรี อ. สามร้อยยอด อ. กุยบุรีประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช อ. ปากพนัง สิชล อ. ระโนดสงขลา จ. พังงา จ. กระบี่ ย้อนขึ้นมาแม้แต่โซนภาคกลางที่ในขณะนั้นไม่น่าเชื่อว่าจะมีกุ้งกุลาดำซึ่งถือว่าเป็นกุ้งน้ำเค็มจะมีการเลี้ยงได้ ทั้ง อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร อ. บางเลน จ. นครปฐม อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรีในพื้นที่นี้จะเรียกว่า “กุ้ง” บูมหรือไม่บูมก็มีข่าวให้ นายบรรหาร ศิลปะอาชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นต้องออกมาหย่าศึกระหว่างนากุ้ง กับนาข้าวของพี่น้องเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องของน้ำเค็มจากบ่อกุ้งปล่อยออกมารบกวนการปลูกข้าวทำนาของเกษตรกรท้องถิ่นกันเลยเชียวแหละ

ที่ตลาดกุ้งเงียบเหงาตั้งแต่เหตุการณ์ ไนท์วันวันนั้นก็เพราะว่าตลาดใหญ่ของบ้านเราที่นำเข้ากุ้งกุลาดำเป็นอันดับต้นๆของโลกนั้นก็คือยุโรป อเมริกา และก็ญี่ปุ่น เมื่อเหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดจึงทำให้ฝรั่งตาน้ำข้าวไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกาก็หวาดผวาไม่กล้าให้ผู้คนชนทั่วโลกเดินทางเข้าออกหรือแม้แต่การนำเข้าสินค้าเกือบทุกชนิดก็ต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพราะยังมีปัญหาในเรื่องของเชื้อโรค แอนแทรกซ์ ที่แอบใส่ในซองจดหมายเมื่อใครเปิดอ่านก็จะได้รับเชื้อเจ็บป่วยตายโดยไร้ยารักษา ยิ่งทำให้โลกๆทั้งโลกตกอยู่ในความหวาดกลัวมาตลอด เพิ่งจะคลี่คลายก็ไม่นานมานี่เอง

หลังจากนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในบ้านเราก็เริ่มมาให้ความสนใจในเรื่องของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไม ที่สร้างรายได้ดี โตเร็ว เลี้ยงง่าย แต่อย่างว่าพอเลี้ยงมาได้สักระยะก็มีปัญหาในเรื่องของโรคตายด่วน (EMS [Early Mortality Syndrome]) โรคนี้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วโลกนะครับไม่ใช่ว่ามีแต่ในบ้านเราบ้านเดียว ปัจจุบันโรคตายด่วนนี้ก็ยังสร้างปัญหาให้กับประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซียม และอินเดีย ล่าสุดนั้น อเมริกามีการตีกลับกุ้งจากเวียดนาม และอินเดียว เนื่องด้วยมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคจึงทำให้น่าจะเป็นโอกาสอีกครั้งหนึ่งของพีน้องเกษตรกรของไทยเราที่ถ้าสามารถเลี้ยงกุ้งให้ผ่านได้ก็น่าจะทำตัวเลขการส่งออกมากขึ้นแต่เดิมเมื่อปีสองปีที่แล้วมีตัวเลขเพียงห้าถึงหกหมื่นตันแต่มาปีนี้เห็นแว่วๆว่าเขาจะทำกันหื้ได้มากถึง 300,000 ตันทีเดียวเชียวล่ะครับ

จากนโยบายของรัฐบาล คสช.ที่ให้งบประมาณให้ทางกรมประมงไปปรับปรุงนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากต่างประเทศมาเพาะเลี้ยงแล้วจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์ที่ปลอดเชื้อไปสู่พี่น้องเกษตรกรปีละประมาณ100,000 คู่ จึงทำให้สถานการณ์กุ้งบ้านเราดูเหมือนว่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ประกอบกับการเลี้ยงแบบเข้าใจในธรรมชาติและเน้นในเรื่องของการทำแบบปลอดสารพิษคือไม่ใช่ยา ไม่ใช้ปูน แต่ใช้หินแร่ภูเขาไฟ (สเม็คโตไทต์ Smectotite, สเม็คไทต์ Smectite ,ไคลน็อพติโลไลท์ Clinoptilolite) ช่วยในการจับแก๊สของเสียที่พื้นบ่อและการใช้กลุ่มของบาซิลลัส MT (Bacillus Subthilis ssp) โดยเฉพาะกลุ่มของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษซึ่งเป็นแฟนคลับเก่าแก่กันมาเกือบยี่สิบปีที่ยังเลี้ยงอยู่รอดกันอยู่เนื่องด้วยทั้งหินแร่ภูเขาไฟและจุลินทรีย์ที่มีการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงให้มาทำหน้าที่ย่อยกากปลาป่นข้าวโพด ถั่วเหลืองบด โดยเฉพาะ ให้ก๊าซของเสียมีน้อย ออกซิเจนมากขึ้น อีกทั้งเปอร์เซ็นต์ของโปรตีนในอาหารสัตว์ปัจจุบันมีการแข่งขันกันเพิ่มเปอร์เซ็นให้สูงขึ้นเพื่อโชว์ตัวเลขแข่งขันกันทางด้านตลาด ส่งผลทำให้กุ้ง หอย ปู ปลา เต่า ตะพาบไม่สามารถจะย่อยสลายโปรตีนที่หลงเหลือหลังจากขับถ่ายออกมาให้สะอาดหมดจดได้โปรตีนที่มากเกินความจำเป็นนี้จึงเป็นปัญหาเมื่อตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อ บูดเน่าย่อยสลายกลายเป็นก๊าซแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) และมีเทน ทำให้กุ้งปลาหายใจไม่ออก เครียดกินอาหารน้อย โตช้า ภูมิคุ้มกันต่ำ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายมี่รายงานจากคุณประสิทธิ์ ทรทรัพย์สมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่เลี้ยงกุ้งอยู่ที่ อ. กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ได้แจ้งว่า ถ้าดูแลรัก๋ษาพื้นบ่อให้สะอาด แม้แต่โรคต่ายด่วนอย่าง EMS ก็ไม่สามารถเข้าทำอันตรายใดๆแก่กุ้งของเขาได้ สนอกสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 081 398 3128

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 17:32:02 น.   
Counter : 721 Pageviews.  

กุ้งไทยในวิกฤติที่ต้องฝ่าฟัน

กุ้งไทยในวิกฤติที่ต้องฝ่าฟัน

shrim-1

ดูๆสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในบ้านเรานั้นจะซึมเศร้าเหงาหงอยลงไปอย่างผิดหูผิดตา ดูจากตัวเลขการส่งออกจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรย้อนหลังไปหลายๆปี เท่าที่ข้อมูลจะสืบค้นไปได้ในปี 2541 -2547 ตัวเลขการส่งออกกุ้งทุกชนิดที่นำมาแช่เย็นเป็นน้ำแข็งหรือเรียกแบบชาวบ้านว่ากุ้งแช่แข็งก็อยู่ในหลักแสนกว่าไปจนเกือบสองแสนตันต่อปี จนมาถึงปี 2551 ตัวเลขก็ยังอยู่ในระดับที่จะรับได้คือในระดับใกล้เคียงกับเมื่อสิบปีที่แล้ว แต่ถ้ามาดูสถิติจากตารางที่ 2 ตัวเลขการส่งออกกลับลดฮวบฮาบหายไปอย่างน่าใจหาย โดยตัวเลขการส่งออกของกุ้งแช่แข็งอยู่ในระดับแค่หลักไม่กี่หมื่นตันเท่านั้นเอง อย่างนี้จะไม่ให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งงุนงงสงสัยเป็นไก่ตาแตกได้อย่างไร ว่ากำลังซื้อที่ดีเคยดีมาในอดีตนั้นหายไปไหน รายได้ที่เคยมีเป็นกอบเป็นกำดำดิ่งหายวับไปกับตา และไม่มีทีท่าจะกลับมาดีได้เหมือนเดิมโดยเริ่มแสดงอาการมาตั้งแต่ปี 2556 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

shrim-2

ข่าวคราวเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านการประมงที่ไม่ดีนักจากประเทศอินโดนีเซีย ที่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับชาวประมงไทย ด้วยการประกาศระงับการออกใบอนุญาตทำประมงและระงับการต่อใบอนุญาตให้แก่เรือประมงที่เข้าไปทำในน่านน้ำอินโดนีเซีย โดยเฉพาะการนำกฎหมาย “ยิงและจม” (Shoot and Sink) มาใช้ ทำให้อำนาจเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียสามารถที่จะจมเรือประมงของคนไทยที่ลอบเข้าน่านน้ำผิดกฎหมายได้อย่างเสรี ทำให้เรือประมงไทยไม่กล้าเข้าไปในน่านน้ำที่ยังไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือ เพราะหมิ่นเหม่ต่อการบุกรุกน่านน้ำ (อันนที่จริงก็น่าจะเป็นเรื่องการกีดกันกันทางการค้าอย่างหนึ่ ง หรือไม่ก็อาจจะเป็นการที่รัฐบาลของเขาไม่พอใจที่มีชาวประมงไทยยิงเจ้าหน้าที่ของอินโดนเซียตายไป 2 คนก่อนหน้าที่จะมี่การประกาศกฎหมายใหม่ทางทะเลออกมาใช้ก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าทางการไทยจะมีการจับตัวและคลี่คลายคดีได้แล้วก็ตาม)

พายุลูกใหญ่อีกสองลูกที่กระหน่ำซ้ำเติมสถานการณ์การประมงของไทยเราก็คือ มาตรการต่างๆ จากทางอเมริกาและยุโรป ล่าสุดที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ปรับลดอันดับการค้ามนุษย์ของประเทศไทยจากระดับเทียร์ 2 วอตช์ ลิสต์ (Tier 2 Watch List) ลงสู่ระดับต่ำสุดหรือเทียร์ 3 (Tier 3) โดยใช้ข้ออ้างโจมตีปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานทาส แรงงานเถื่อน แรงงานเด็ก แรงงานผิดกฏหมายในอุตสาหกรรมประมงไทย ทำให้ผู้คนชนทั่วโลกมองสินค้าจากประเทศไทยเราในแง่มุมที่ติดลบ โดยเฉพาะสินค้ากุ้ง ซึ่งวันนี้ยังถูกสหรัฐฯจับขึ้นบัญชีดำเป็นสินค้าเฝ้าระวัง อันนี้ยังไม่นับรวมเรื่องในอดีตเกี่ยวแอนตี้แอนดั๊มปิ้ง ที่เราเคลียร์กับสหรัฐมาหลายปีดีดักก็ยังไม่มี่อะไรชัดเจนขึ้นมาเลยแม้แต่น้อย

ส่วนอีกเรื่องจากอียูคือการพิจารณาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ จีเอสพี สินค้าจากไทย ซึ่ง กุ้ง ก็เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย มูลค่าการส่งออกจะหายไปทันที 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท จะต้องเสียภาษีสำหรับสินค้า กุ้งสด จากร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 12 และสินค้า กุ้งต้มสุก จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 20 อย่างนี้พี่น้องเกษตรกรไทยโดยเฉพาะผู้เลี้ยงกุ้งส่งออกจะเอาน้ำยาที่ไหนไปต่อสู้ในเรื่องราคากับประเทศอื่นๆ หรือประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรจากยูโรปได้ (อันนี้ไม่แน่ใจว่าเขาไม่พอใจเราในเรื่องของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งด้วยหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ) จึงทำให้อุตสาหกรรมการส่งออกกุ้งของเราร่วงผล็อยเป็นนกถูกยิงปีกหัก ดังที่เราๆท่านๆได้ประสบพบเจออยู่ในขณะนี้นั่นเอง

สถานการณ์การผลิตกุ้งของไทย นอกจากจะพบกับปัญหาภัยแล้ง ไม่ว่าจะเป็นที่ อ. ยางตราด กาฬสินธุ์   อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี อ. บางเลน จ. นครปฐม อ. บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์     อ. แหลมสิงห์ จ. ตราด อ. แกลง จ. ระยอง อ. ระโนด จ. สงขลา จ. พังงา จ. กระบี ฯลฯ   แล้วก็ยังจะประสบกับภาวะ ปัญหาอาการของโรคตายด่วนและโรคตัวแดงดวงขาว โรคหัวเหลือง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากไวรัสทำให้กุ้งล้มตายเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของสมาคมกุ้งไทย ส่งผลทำให้การผลิตกุ้งทั้งหมดหายไปกว่าร้อยละ 50 จากปี 2555 จาก 540,000 ตัน เหลือเพียง 250,000 ตันในปี 2556 มูลค่าการส่งออกลดลงจาก 3,075 ล้านเหรียญสหรัฐฯเหลือเพียง 2,169 ล้านเหรียญ

การดูแลแก้ไขในด้านต่างๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนก็ยังต้องรอต้องลุ้น ยังไม่มี่มาตรการใดๆ ที่เด่นชัด เพราะรัฐบาลเองก็คงจะประสบพบกับปัญหา โดยเฉพาะภาคเกษตรนี้คงจะหลายด้านพอสมควร ทั้งข้าว ปาล์ม ยางพารา ไหนจะปัญหาเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ หวย ล็อตเตอรี่ อีกบานเบอะเยอะแยะ ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งควรจะดูแลแก้ปัญหาให้แก่ตนเองในเบื้องต้นก็น่าจะเป็นเรื่องที่สมควร ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นดูแลแก้ปัญหาปรับพีเอชของน้ำให้เหมาะสม การใช้จุลินทรีย์ (Bacillus Subthilis spp) ดูแลแก้ไขปัญหาย่อยสลายขี้เลนอย่าให้ตกค้างบูดเน่าอยู่ที่ก้นบ่อ การแก้ปัญหากุ้งล่อง ลอยหัว พีเอชแกว่งจากน้ำหนืดน้ำเขียวเข้มมากเกินไป การใช้ใบพัดตีเคล้าน้ำมิให้เกิดการแยกชั้นในระหว่างที่มีฝนตก ฝนหลงฤดู การลดจำนวนปริมาณอาหารอย่าให้กุ้งกินจนเหลือตกค้างบูดเน่าอยู่ในบ่อในช่วงที่อากาศหนาว ฟ้าหลัว อากาศปิด ฯลฯ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 15:59:09 น.   
Counter : 390 Pageviews.  

เตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำตามวิถีธรรมชาติปราศจากยาฆ่าเชื้อ

อากาศที่เริ่มหนาวเย็นลงมาทีละน้อยๆ ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง หอย ปูปลาอาจจะมีปัญหาบ้างเล็กน้อยถึงปานกลางจากพฤติกรรมที่สัตว์น้ำเหล่านี้อาจจะเซนส์ซิทีป(sensitive)อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมหรือภูมิกาศในลักษณะที่หนาวเย็น ฟ้ามืด ฟ้าหลัว อากาศปิดโดยจะชะลอการกินอาหาร ทำให้เศษอาหารที่ตกค้าง และมูลต่างๆที่สัตว์น้ำเหล่านั้นขับถ่ายออกมา ทำให้เกิดการบูดเน่าจะมีปัญหาหนักยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเจ้าของบ่อหรือพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่สังเกตุและปรับการให้อาหารให้สอดคล้องเหมาะสมด้วยการเช็คยอหรือเช็คปริมาณอาหารในยอให้พอเหมาะพอดีกับความต้องการกินของสัตว์น้ำชนิดนั้นในขณะที่กำลังเลี้ยงอยู่

นอกจากสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลาจะกินอาหารที่ลดน้อยถอยลงแล้ว จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียอยู่ที่พื้นบ่อก็หยุดกิจกรรมด้วยเช่นกันหรืออาจจะมีจำนวนที่ลดน้อยถอยลงไม่เพียงพอต่อการย่อยสลายก็จะยิ่งทำให้ทั้งเศษอาหารและมูลต่างๆนั้นสะสมมากยิ่งขึ้น ช่วงนี้การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นควรต้องเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นเพื่อเจือจางปริมาณของแก๊สของเสียที่บูดเน่าอยู่ที่พื้นบ่อไม่ว่าจะเป็นแก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ และแก๊สมีเทนเพื่อไม่ให้เข้มข้นเกินจนไปทำลายสุขอนามัยของสัตว์ที่เลี้ยงอยู่จนเกิดอันตรายหรือถึงตายได้

การเตรียมบ่ออย่างประณีต อย่างถูกวิธีก็สามารถช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นจนถึงยันจับได้อย่างมากทีเดียวเหมือนกันอย่างเช่นตอนขุดบ่อขุดสระใหม่ หรือหลังจากจับสัตว์ไปขายแล้วหลังจากปาดหรือดูดขี้เลนออกก่อนจะเติมปูนขาวควรจะต้องทำการตรวจวัดกรดด่างของดินให้แน่ใจเสียก่อนว่าดินนั้นเป็นกรดแล้วจึงค่อยใส่ปูน ดินที่เป็นกรดจะต้องมีค่าพีเอชต่ำกว่า 7 ลงมา แต่ถ้าเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มอย่างกุ้งกุลาดำกุ้งขาวแวนนาไม นั้นอาจจะต้องปรับพีเอชขึ้นมาให้ได้ถึง 8.5ซึ่งถือว่าเป็นช่วงพีเอชที่เหมาะสมที่สุด แต่ถ้าจะต่ำกว่านี้ก็พอได้อยู่ครับแต่ก็จะได้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่ย่อหย่อนตามลงมาด้วยเช่นกันทำให้ต้องสิ้นเปลือง วิตามินฮอร์โมนมาบำรุงเสริมเพิ่มเติมจนเสียสตุ้งสตางค์มากเกินไป

การใส่ยาฆ่าเชื้อและสารทำสีน้ำเทียมก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยนำครับในช่วงเริ่มปล่อยกุ้งควรล้อมคอกและปล่อยน้ำอยู่ที่ระดับ 80 – 100 เซนติเมตรเพื่อให้อากาศถ่ายเทลงไปที่พื้นได้ง่าย เพราะกุ้งยังตัวเล็กอยู่ใส่จุลินทรีย์บาซิลลัสMT เพื่อย่อยสลายขี้เลนหรือของเสียจากอินทรียวัตถุ (organicmatter) ที่ตกค้างให้หมด อีกทั้งบาซิลลัส MT (Bacillus Subthilis) ยังทำหน้าที่เป็นอาหารให้สัตว์หน้าดินเบนโธส ซึ่งถือว่าเป็นห่วงโซ่อาหารเบื้องต้นให้แก่ลูกกุ้ง ลูกปลา เต่า ตะพาบต่างๆได้ด้วยเช่นกันการจับสารพิษและแก๊สของเสียที่อยู่ในชั้นของขี้เลนหรือขี้โคลนด้วยกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟสเม็คโตไทต์ (Zeo smectotie) ก็จะช่วยทำให้แหล่งอาหารธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากสารพิษแก๊สของเสียที่ลดลง อีกทั้งตัวของหินแร่ภูเขาไฟเองนั้นเมื่อย่อยสลายก็ปลดปล่อยแร่ธาตุสารอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อสัตว์หน้าดินและแพลงค์ตอนพืชและแพลงค์ตอนสัตว์ทำให้การสร้างสีน้ำทำได้ง่ายขึ้นอ้อเกือบลืมไปการทำสีน้ำให้เขียวเข้มนวลแบบธรรมชาติแนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกใส่ผ้ามุ้งเขียวปักไว้ตามจุดต่างๆซึ่งจะทำงานสอดประสานสัมพันธ์กับ บาซิลลัสMT , สเม็คโตไทต์ทำให้ได้น้ำเขียวที่เป็นธรรมชาติ ไม่เข้ม ข้นหนืดเหมือนอย่างการใช้สารที่ทำสีน้ำเทียม ช่วยทำให้กุ้ง หอย ปู ปลา เต่า ตะพาบโตเร็วดีขึ้นมากเลยทีเดียวเชียวล่ะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 14:43:01 น.   
Counter : 314 Pageviews.  

กุ้งตายเกาะขอบบ่อหนวดกุดหางแหว่ง ดัดแปลงแก้ไขแบบไม่ใช้ปูนใช้ยา

อากาศที่เริ่มหนาวเย็นลง (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนักเหมือนทุกๆปีก็ตาม)แต่ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่ในน้ำอย่างเช่นกุ้ง หอย ปู ปลาซึ่งเป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติคือกระบวนการเมทาบอลิสมของสัตว์ต่างๆเหล่านี้จะไม่ทำกิจกรรมไปในรูปแบบปรกติ คือจะกินอาหารน้อยลง เฉกเช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศที่มีลักษณะ หลัวอากาศปิด มึดครึ้ม ก็เช่นเดียวกัน กุ้งจะหยุดการกินอาหาร เมื่อกินอาหารน้อยแต่ผู้เลี้ยงยังคงให้อาหารตามปรกติ ก็จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียบูดเน่าได้ง่าย

โดยเฉพาะที่พื้นบ่อนั้นจะเกิดการหมักหมมของเศษอาหารและขี้กุ้งทับถมบูดเน่าจนก่อให้เกิดจุลินทรีย์ที่สร้างปัญหาการเน่าเสียแก่กุ้งที่มักจะอาศัยอยู่ที่พื้นบ่อตามสัญชาตญาณการหลบเลี่ยงศัตรูจากบนบกเช่น นกมิให้มาจิกกินโฉบเฉี่ยวโดยง่าย

อาหารกุ้ง ขี้กุ้งถือว่ามีส่วนประกอบโปรตีนค่อนข้างมากจากบริษัทผลิตอาหารที่แข่งขันกันเพิ่มเปอร์เซ็นต์โปรตีนให้มากยิ่งขึ้นเพื่อจูงใจให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้ความสนใจใคร่ซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นอันนี้จึงเป็นผลเสียเมื่อตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อเพราะการบูดเน่าแตกตัวของโปรตีนนั้นก็จะเกิดแก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ แก๊สไฮโดเย่นซัลไฟด์ และมีเทนได้ง่าย น้ำที่เขี้ยว ข้นหนืด และส่งกลิ่นเหม็น นั้นแก๊สพิษที่เป็นอันตรายตัวตัวกุ้งจะมีมาก และยิ่งมีพรายฟองเดือดปุดๆ ขึ้นมานั้นบ่งบอกถึงพื้นที่บริเวณนั้นขาดอ๊อกซิเจน ไม่มีออกซิเจน จนเกิดแก๊สมีเทนขึ้นมา(แก๊สที่มีน้ำหนักเบา ติดไฟง่าย ที่เขาเอาไปทำแก๊สชีวภาพหรือไบโอแก๊สจากเล้าหมูคอกไก่นั่นเองครับ)

พี่น้องเกษตรกรที่ประสบพบเจอปัญหาในลักษณะนี้ อย่าใช้ปูนร้อน ปูนเผาปูนขาว และยาฆ่าเชื้อเข้ามาใช้อย่างเด็ดขาดนะครับเพราะจะยิ่งเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้กุ้งตายเร็วขึ้นเพราะปูนจะไปเพิ่มพีเอชอย่างฉับพลัน ไปไล่แอมโมเนียที่พื้นบ่อให้ฟุ้งกระจัดกระจายคละคลุ้งไปทั่วทำให้กุ้งมึนงง เมาแก๊ส บ้างก็อาจจะล้มตายเป็นจำนวนมากโดยง่ายเพราะแอมโมเนียเมื่อรวมตัวกับน้ำก็จะเป็นแอมโมเนียมไอดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่างปูนก็เป็นด่าง ด่างกับด่างเจอกันแทนทีขับไล่กันคละคลุ้งฟุ้งกระจายดังที่ได้เล่าให้ฟังไปก่อนหน้านั่นเองครับ

ที่ถูกต้องควรต้องเพิ่มระดับน้ำเจือจางความเข้มข้นของแก๊สพิษและของเสียที่พื้นบ่อใช้จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายโปรตีนจากอาหารกุ้งอาหารปลาโดยตรงอย่างเช่น บาซิลลัสMTในอัตราครึ่งกิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อหนึ่งไร่ทุกๆ 7 วัน และใช้หินแร่ภูเขาไฟ สเม็คโตไทต์จับแก๊สพิษของเสียในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อหนึ่งไร่ ทุก 15 วันต้นทุนในการใช้จุลินทรีย์และหินแร่ภูเขาไฟ จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทต่อไร่ต่อเดือนถ้าท่านคำนวณเปรียบเทียบแล้วกับรายได้จากการจับกุ้งที่ได้เป็นหมื่นเป็นแสนต่อไร่แล้วคุ้มค่ากว่าก็ควรจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจะดีกว่านะครับและที่สำคัญช่วยให้กุ้งอยู่รอดปลอดภัยไปตลอดอายุการจับไม่ต้องเกิดความเสี่ยงว่ากุ้งจะป่วย จะเจ็บ เมื่อใด ถ้าปล่อยไปตามยถากรรมหรือเลี้ยงแบบไม่รู้ไม่เข้าใจปล่อยให้บ้านของกุ้งมีกลิ่นเหม็น บูดเน่า มึนงงทำให้กุ้งอ่อนแอ เจ็บป่วยง่ายสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทรศัพท์สอบถามไปยังชมรมเกษตรปลอดสารพิษสำนักงานส่วนกลางบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 029861680-2 นะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreengro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 14:39:43 น.   
Counter : 555 Pageviews.  

พีเอชแกว่ง กุ้งอ่อนแรง กินอาหารน้อย อ่อนแอเจ็บป่วย

การเจ็บป่วยของกุ้งนั้น สามารถเกิดได้มากมายหลายสาเหตุ ใช่ว่าจะมาจากเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว การที่น้ำและพื้นบ่อสกปรกก็เกิดปัญหาที่ทำให้กุ้งเจ็บป่วยได้เช่นกัน เพราะเมื่อขี้กุ้งและอาหารกุ้งที่ตกค้างบูดเน่าก็ส่งผลทำให้แก๊สพิษต่างๆ อย่างแอมโมเนียไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ มีเทน สามารถแทนที่ก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดอากาศหายใจ เปรียบเหมือนเราอยู่อาศัยใกล้บ่อขยะ ใกล้แหล่งชุมชนเสื่อมโทรมที่มีน้ำเน่าเสีย เมื่อจะรับประทานหรือหลับนอนแล้วมีกลิ่นเหม็นที่หลากหลายรูปแบบจากขยะหลากหลายชนิด บางครั้งก็ทำให้การกินอยู่หลับนอนและสุขภาพจิตเสื่อมโทรมได้เช่นกัน

การเจ็บป่วยอ่อนแอของกุ้งอีกสาเหตุหนึ่งก็คือเกี่ยวกับเรื่องความความเป็นกรดและด่างของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา บางครั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก็เรียกกันว่าพีเอชแกว่ง ซึ่งก่อปัญหาให้กุ้งเครียด ไม่กินอาหาร อ่อนแอ เนื่องจากบรรยากาศสภาพแวดล้อมแปรปรวนสร้างความมึนงงคล้ายดังมนุษย์อยู่บนเรือที่โคลงเคลง ทำให้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยเอาง่ายๆ ได้เช่น ส่วนกุ้งนั้นเมื่อเครียดและอ่อนแอก็เจ็บป่วยตามรูปแบบและสไตล์ของกุ้ง คืออาจจะเกาะขอบบ่อ วิ่งล่อง (กุ้งล่อง) ซึ่งถือว่าผิกปรกติผิดวิสัยของกุ้งที่เป็นสัตว์หากินอยู่ที่พื้นบ่อจะไม่ขึ้นมาเหนือน้ำให้นกกาจับกินง่ายๆ


เกษตรกรผู้เลี้ยงท่านใดที่มีปัญหานี้สามารถแก้ไขได้นะครับ เพราะสาเหตุเกิดจากปล่อยให้มีขี้เลน ขี้กุ้ง อาหารกุ้งที่ตกค้างหลงเหลือมาก ขาดการตีน้ำ ขาดการเช็คยอ ไม่มีบ่อพักน้ำ ปล่อยให้น้ำในบ่อมีระดับความลึกที่น้อยเกินไป จึงทำให้ปัญหาแพลงค์ตอนบลูมจากไนโตรเจนส่วนเกินจากก๊าซแอมโมเนียในบ่อ แพลงค์ตอนพืชที่มีสีเขียวก็เปรียบได้กับว่าเป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งในอดีตเราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวอย่าอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในเวลากลางคืน เพราะพืชจะคายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมาแล้วยังแย่งใช้ก๊าซอ๊อกซิเจนด้วย เมื่อพืชจำนวนมากอาศัยเจริญเติบโตอยู่ในบ่อกุ้งของเรา ยิ่งมีความหนาแน่นมากจนสีน้ำหนืดก็ยิ่งสร้างปัญหาสร้างผลกระทบ


เมื่อเขาปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา รวมตัวกับน้ำจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิคทำให้ในเวลากลางคืนน้ำจะเป็นกรดมาก ในเวลากลางตรงกันข้ามคือพืชจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เจือจาง และพีเอชความเป็นกรดลดน้อยถอยลงตามไปด้วย แต่ถ้าถูกดูดไปใช้งานมากเข้าๆ ค่าความเป็นด่างในน้ำก็จะมีสูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะกลางคืนเป็นกรดกลางวันเป็นด่างหรือเรียกว่าพีเอชแกว่ง แนวทางการแก้ปัญหาต้องลดปริมาณของเสียโดยที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายโปรตีนโดยเฉพาะ (บาซิลลัส MT) และจับก๊าซของเสียด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (สเม็คโตไทต์) ก็จะช่วยตัดขั้นตอนของการเกิดไนโนตรเจนไปเลี้ยงพืช เพราะธาตุไนโตรเจนก็คล้ายๆกับปุ๋ยพืชในชื่อสูตรยูเรีย 46-0-0 ซึ่งเน้นให้พืชงอกงามเจริญเติบโตได้รวดเร็วโดยเฉพาะใบ


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com





 

Create Date : 09 กันยายน 2557   
Last Update : 9 กันยายน 2557 15:52:24 น.   
Counter : 795 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]