นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ ก่อนเติมยา ปุ๋ยเกร็ดหรือฮอร์โมน

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชิวิตอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืช มีการนำ “น้ำ” เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากมาย ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกก็ต้องรดน้ำ และรดไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นจะโตสมบูรณ์และเก็บเกี่ยวผลผลผลิตได้ หรืออาจจะเลิกรดเมื่อต้นเขาสูงใหญ่และรากสามารถที่จะเจริญเติบโตหาอาหารไปได้ไกล ๆ จนสามารถหาแหล่งน้ำได้เอง เจ้าของจึงไม่ต้องมาคอยรดให้อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเข้าหน้าแล้งก็มิอาจที่จะนิ่งดูดายอยู่ได้ ในพื้นที่ที่แห้งแล้งเจ้าของก็อาจจะต้องนำน้ำมารดให้เหมือนเดิม ถึงแม้ว่าต้นจะสูงใหญ่แล้วก็ตาม

นอกจากเราจะใช้น้ำรดต้นไม้เพื่อให้ความชุ่มชื้นและละลายสารอาหารในดินแล้ว เรายังคงใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ปุ๋ย ยา และอาหารทางใบให้แก่เขาอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องพิถีพิถันในการปรับปรุงสภาพน้ำก่อนที่จะผสมกับ ปุ๋ย ยา และฮอร์โมนต่างๆ มิฉะนั้นพืชอาจจะมิได้รับสารอาหารตามที่ต้องการหรือตามที่เราใส่เข้าไป เพราะน้ำกระด้าง เป็นด่าง จะมีคุณสมบัติในการทำลายฤทธิ์ของปุ๋ย ยา และฮอร์โมน ให้เสื่อมสลายหายไปบางส่วน (Alkaline Hydrolysis) ทำให้เราสิ้นเปลืองต้นทุนปุ๋ยยาเพิ่มขึ้นเพราะพืชจะได้รับสารอาหารได้ไม่เต็มที่ ทำให้ต้องฉีดพ่นบ่อยขึ้น

น้ำที่เหมาะสมต่อการดูดซึมธาตุอาหารของพืชและเหมาะสมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย ยา และฮอร์โมน จะต้องอยู่ในสภาพวะของกรดอ่อนๆ คือมีค่าพีเอชอยู่ที่ 5.5 หลังจากที่ผสมปุ๋ยยาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นควรมีการตรวจเช็คค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำให้ดีเสียก่อนที่จะทำการผสมหรือฉีดพ่นปุ๋ย ยา และฮอร์โมน เพื่อป้องกันการทำลายฤทธิ์ยาให้เสียหายได้

เราสามารถที่จะใช้น้ำส้มสายชู มะนาว หรือกรดต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายรุนแรงต่อมนุษย์ มาใช้ในการปรับค่าพีเอชของน้ำก็ได้ แต่อาจจะพบกับปัญหาต้นทุนที่สูงอย่างเช่น ถ้าจะฉีดพ่นให้แก่พืชในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องใช้น้ำ 200 ลิตร หรือเป็น 1,000 ลิตรขึ้นไป ซึ่งอาจจะต้องใช้มะนาวหลายร้อยลูก หรือจะใช้น้ำส้มสายชูก็อาจจะใช้หลายสิบขวดซึ่งต้นทุนต่อปี๊ปก็ค่อนข้างจะสูง หรือจะใช้กรดอื่นๆ ที่เป็นอันตรายไม่รุนแรงแต่ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปก็อาจจะไม่ค่อยรู้จักหรือหาซื้อก็ยากลำบาก หรือไปซื้อกรดที่เป็นอันตรายรุนแรงมาใช้ก็อาจจะเป็นอันตรายแก่ตนเองและคนในครอบครัวได้ ดังนั้น จึงอยากจะแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของชมรมฯอีกอย่างหนึ่งทดแทนนั่นคือ ซิลิสิค แอซิด (//www.thaigreenagro.com/product/order.aspx?productID=95 ) เพราะอัตราการใช้ก็จะประหยัดกว่าการใช้กรดชนิดอื่นๆ เพราะใช้เพียง 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และประโยชน์ที่เราจะได้รับเพิ่มเข้าไปให้แก่พืช โดยนอกจากจะได้ประโยชน์จากการปรับสภาพน้ำแล้วยังได้เรายังได้แร่ธาตุ ซิลิก้า หรือซิลิคอน ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวเซลล์พืชแข็งแกร่ง ต้านทานโรค ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันพื้นฐานให้แก่พืชเพื่อลดการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)



Create Date : 12 สิงหาคม 2552
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 13:55:33 น. 0 comments
Counter : 1414 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]