นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่พืชจริงหรือ?

ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก จัดว่าเป็นปุ๋ยที่ดีมีประโยชน์อย่างมากในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินแถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ทำลายระบบนิเวศน์ จุลินทรีย์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิด ทำหน้าที่เป็นทั้งอาหารและบ้านให้กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่ในดินจำนวนมากมายหลายชนิด เนื่องจากองค์ประกอบของปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกประกอบไปด้วยอินทรีย์วัตถุ คาร์บอน โปรตีน และกรดอมิโนมากมายหลายชนิด จึงทำหน้าที่ปรับปรุงบำรุงรักษาโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มิให้แน่นแข็ง รักษาความสมดุลย์ของสภาพความกลางมิให้เกิดความเป็นกรดหรือด่างจัดรวดเร็วเกินไป

ดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์เป็นดินที่มีคุณภาพเหมือนกับดินในป่าเขาลำเนาไพร เป็นดินที่ไม่ต้องเติม ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีได้เลย เกษตรกรที่หมั่นเติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกร่วมไปกับการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ตลอดเวลาจะช่วยประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ยเพราะในดินจะมีปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับจากปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่ผ่านการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ในดิน  พืชจะมีการเจริญเติบที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่าดินที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ในป่าเขาลำเนาไพรนั้นต้นไม้น้อยใหญ่เจริญเติบโตได้แม้ไม่ต้องมีการใส่ปุ๋ยเลยแม้แต่เม็ดเดียว เพราะมีพืชมากมายหลากหลายชนิดที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเติมอินทรีย์วัตถุ จากใบที่ร่วงหล่น เศษซากจากกิ่งก้านที่แห้งเหี่ยวจากพืชหลายระดับทั้งใต้ดิน ผิวดิน บนดิน และให้ผลผลิตติดดอกออกผลเป็นฤดูกาล แตกต่างจากมนุษย์ที่เร่งรีบปลูกปีหนึ่งทำกันสองสามรอบซึ่งไม่สัมพันธุ์กับการดูดกินปุ๋ยจากทางดินทำให้อินทรีย์วัตถุในดินต่ำจนต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีเป็นหลักในการเพาะปลูก

ทั้งที่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมีประโยชน์คุณูประการต่อวงการเกษตรมากมายเพียงใด แต่ก็ยังมีข้อมูลด้านลบที่ว่า การใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกนำพามาซึ่งเชื้อโรคสู่แปลงของเกษตรกร ไม่แน่ใจว่าถูกปล่อยมาจากผู้ไม่หวังดีที่ขายปุ๋ยเคมีได้น้อยลงหรือไม่? เพราะกระแสการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ความจริงที่ถูกกล่าวในเรื่องเชื้อโรคที่ติดมากับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกนั้นเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ และราหลากหลายชนิด ถ้าแหล่งกำเนิดปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมีสภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยจุลินทรีย์หรือเชื้อราตัวร้าย และมีจุลินทรีย์ตัวดีเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งกับตัวร้ายได้ ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกชนิดนั้นก็อาจจะนำพาเชื้อโรคมาสู่พืชได้โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นได้น้อยเพราะโดยปรกติจุลินทรีย์ตัวดีจะเจริญเติบโตและเป็นจุลินทรีย์เจ้าถิ่นในกองปุ๋ยหมักได้ดีกว่า และเพื่อความสบายใจในการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเราสามารถบริหารจัดการให้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกของเรามีแต่เพยงจุลินทรีย์ตัวดีได้โดยการเติม จุลินทรีย์หน่อกล้วย,  ไตรโคเดอร์ม่า, อีเอ็ม ฯลฯลงไปก่อน ในอัตราหนึ่งลิตร/กิโลกรัมต่อปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 1 -  2 คืนก่อนนำไปใช้ เราก็จะได้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่มีแต่จุลินทรีย์ตัวดีเป็นเจ้าถิ่นลงสู่แปลงพืชไร่ไม้ผลของเราโดยเฉพาะไตรโคเดอร์ม่านั้นถือว่าเป็นพระเอกในการเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชอย่างดีทีเดียว

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com 





Create Date : 20 เมษายน 2555
Last Update : 20 เมษายน 2555 7:05:55 น. 2 comments
Counter : 2944 Pageviews.  

 
อาจจะจริงหรือไม่จริง น่าศึกษาวิจัยประเด็นนี้จัง


โดย: moresaw วันที่: 20 เมษายน 2555 เวลา:11:28:31 น.  

 
วยารยน่ท่า


โดย: ัเ้เ IP: 202.29.176.82 วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:14:09:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]