นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงแก้ไขก่อนปลูกพืช

บางคนอาจจะงุนงงสงสัย ว่าดินเปรี้ยวคืออะไร มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร มีผลอย่างไรต่อการปลูกพืช ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของดินเหนียวที่มีกรดกำมะถันอยู่มากในชั้นดิน โดยชั้นดินที่ลึกลงไปประมาณฟุตหรือประมาณสองหน้าจอบจะสังเกตุเห็นมีจุดสีเหลือง สีน้ำตาล พืชที่ปลูกบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีการเจริญเติบโตช้า สภาพต้นจะเตี้ยแคระแกร็น ใบไหม้ ไม่ตอบสนองต่อการใส่่ปุ๋ย ผลผลิตถดถอย อ่อนแอต่อโรคและแมลง สภาพดินโดยรวมจะแน่นแข็งเนื่องจากโครงสร้างทางด้านระบบนิเวศน์ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลิทรีย์ ขาดสิ่งมีชีวิตเข้ามาทำกิจกรรมหนุนเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตแบบแร้นแค้น

ดินเปรี้ยว ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานและสาเหตุทั่วไปเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อยหรือซากของอินทรียวัตถุที่ทับถมกันเป็นเวลายาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่เปนบริเวณที่เคยไดรับอิทธิพลจากน้ำทะเลทวม ถึงมากอน (เชน บริเวณที่เคยเป็นปาชายเลน และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหญๆ ) โดยจุลินทรียในดิน จะเปล่ียนสารประกอบพวกกำมะถันในน้ำทะเลใหเปนแรไพไรท (สารประกอบของเหล็กและกำมะถัน ) สะสม อยูในสภาพนํ้าขังต่อมาเมื่อฝั่งทะเลยื่นออกไปเรื่อยๆ และถ้ามีการระบายน้ำออกไปจนทำให้ดินแห้ง ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี แรไพไรทจะถูกเปลี่ยนแปลงไป ในที่สุดจะไดกรดกำมะถันซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดิน้ป็นกรดจัดและมักจะพบสารประกอบของเหล็กที่สําคัญตัวหนึ่งคือ "จาโรไซท"ที่มีสีเหลืองคลายฟางขาว ซึ่งเราใช้เป็นสิ่งสังเกตุลักษณะของดินเปรี้ยว หรือจะสังเกตุอีกวิธีหนึ่งจากตัวเลขที่ใช้น้ำยาตรวจและเทียบสี(Test Kids) โดยค่าที่อยู่ตรงเลข7คือเป็นกลาง มากกว่า 7 เป็นด่าง น้อยกว่า 7 เป็นกรดยิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไดก็เป็นกรดมากขึ้นเท่านั้น

พืชมักจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะดินที่เป็นกลางหรือกรดอ่อนๆ คือดีที่สุดควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8 -  6.3 ซึ่งจะช่วยทำให้แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆที่สะสมอยู่ในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชหรือช่วยให้รากพืชหาอาหารดูดกินได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าปล่อยปละละเลยไม่มีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดหรือด่างของดินก่อนปลูกก็จะเกิดความเสี่ยงสูงเมื่อปลูกบนพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวเพราะจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ฟอสฟอรัสจะถูกจับตรึง รากสั้นหาอาหารได้ไม่ไกล สารอาหารในกลุ่มเหล็ก ทองแดงละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ไนโตรเจนถูกปลดปล่อยสูญเสียไปโดยง่าย วิธีการแก้ไขควรใช้กลุ่มของวัสดุปูนอย่างเช่น ปูนเปลือกหอย ปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต (ปูนดีและมีประโยชน์เมื่อดินเปรี้ยวหรือเมื่อพืชขาดแคลเซียม แต่ปูนไม่มีซิลก้า, ไม่มีความสามารถในการจับตรึงปุ๋ยให้เป็นปุ๋ยละลายช้า จึงไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ) โดยค่อยๆใส่ทีละน้อยก่อนโดยสังเกตุเปรียบเทียบจากค่าพีเอชเป็นหลัก ไม่ต้องใส่ทีเดียวมากเกินไป เดี๋ยวจะกลายเป็นสะเทิ้นด่างแทนแล้วจะแก้ยากกว่าเดิมเข้าไปอีก ใช้วิธีการใ่ส่น้อยแต่ใส่บ่อยๆจะดีกว่า

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ. //www..thaigreenagro.com


Create Date : 11 มกราคม 2555
Last Update : 11 มกราคม 2555 7:30:06 น. 1 comments
Counter : 4889 Pageviews.  

 




โดย: ้่้่้่้้่ IP: 203.172.208.249 วันที่: 19 กันยายน 2555 เวลา:13:20:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]