ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง

หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง

student's project compettition


1 คณะผู้จัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คณะผู้จัดทำชุดตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้นี้ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนจากสถานศึกษาในสังกัดต่างๆ ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 132 คน ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประสบการณ์ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และสมัครเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” สู่การเรียนการสอน โดยผ่านการคัดเลือกจากคณะทำงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนให้เข้าร่วมในการดำเนินงาน

2 หลักคิดในการจัดทำชุดตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.1 สาระหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ภายใต้มาตรฐาน ส 3.1 ซึ่งกำหนดให้ “เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ” โดยมีมาตรฐานช่วงชั้นแยกได้ดังนี้

§ ช่วงชั้นที่ 1 – 2 ส 3.1 (4) เข้าใจระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

§ ช่วงชั้นที่ 3 – 4 ส 3.1 (5) เข้าใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปใช้ประยุกต์กับชีวิตประจำวันได้

2.2 การจัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้เริ่มจากการจัดทำร่างหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดมาตรฐานเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสาระเรียนรู้วิชาต่างๆในแต่ละชั้น แล้วจึงจัดทำหน่วยการเรียนรู้หลัก ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักคิด และหลักปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบสหวิทยากร หรือบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้อีก 7 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ และ ภาษาต่างประเทศ

2.3 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้ ได้เน้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และปลูกฝังวิธีการคิด และการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานของการใช้ คุณธรรมนำความรู้ ซึ่งรวมถึงความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน ความเพียร การใช้สติ ปัญญาในการดำเนินชีวิต และการใช้ความรู้ทางหลักวิชาการอย่างรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน

3 ขั้นตอนการจัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.1 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ / แผนการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เคร่งครัดในรูปแบบของการเขียนหน่วย /แผนการเรียนรู้ สามารถปรับใช้ได้ตามธรรมชาติของวิชา ระดับชั้น ตามบริบทของโรงเรียน แต่คงหัวข้อสำคัญไว้ ได้แก่ (1) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (2) สาระการเรียนรู้ (3) กิจกรรมการเรียนรู้ (4) สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผล

3.2 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอน ดังนี้

§ เริ่มจากการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ โดยศึกษา และเลือกมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ และกำหนดขอบข่ายของเนื้อหาสาระที่จะเรียน แต่สามารถยืดหยุ่นได้ในแต่ละสถานศึกษา

§ วิเคราะห์เนื้อหาให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

§ จัดกิจกรรมการเรียนรู้

§ เลือกสื่อและแหล่งการเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนการสอน

§ กำหนดเครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผล ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เรียนได้รับ ได้แก่ (1) นักเรียนได้รับความรู้ที่ชัดเจน (2) นักเรียนมีแนวทางในการประยุกต์ใช้ความคิดในชีวิตประจำวัน (3) นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (4) นักเรียนได้รับการวัดผลตามสภาพจริง

4 วิธีการใช้ตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.1 ก่อนอื่น ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจความหมายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน 3 หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยใช้ 2 เงื่อนไข คือ คุณธรรมและความรู้ ในการสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านวัตถุหรือเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสามารถศึกษาได้จาก ภาคผนวก ก และ ภาคผนวก ข ท้ายเล่ม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซท์ //www.sufficiencyeconomy.org

4.2 หลังจากนั้น ผู้ใช้ต้องทำการศึกษาร่างหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยทำความเข้าใจสาระที่ควรสอนในแต่ละชั้นปีที่จะนำไปใช้สอน อย่างเป็นองค์รวม และศึกษาโครงสร้างของหลักสูตรโดยรวมของทุกช่วงชั้น เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงพัฒนาของหลักสูตรโดยรวม

4.3 ในการนำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนสามารถปรับเวลาการสอน เนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับ สภาพภูมิสังคมของแต่ละสถานศึกษา โดยให้ยึดมาตรฐานเรียนรู้ของแต่ละชั้นปีเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี หากผู้สอนพบว่า มาตรฐานเรียนรู้ของแต่ละชั้นปีที่นำเสนอ โดยคณะทำงานฯ มีปัญหาในการนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดสาระในการสอน หรือหากมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่จะเสนอให้ปรับปรุง

อ้างอิง :
//portal.in.th/inno-cholticha/pages/404/


Create Date : 07 ตุลาคม 2552
Last Update : 7 ตุลาคม 2552 15:52:07 น. 0 comments
Counter : 3811 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.