ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะฉบับใหม่ล่าสุด

ดาวน์โหลดเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแบบใหม่ที่นี่

สะท้อนเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่
แม้เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ จะประกาศเป้าหมายชัดเจนว่า “หัวใจอยู่ที่เด็ก” ซึ่ง ก.ค.ศ.จะพยายามแก้คำกล่าวหาเดิมที่ว่า “ผลการประเมินยังเป็นการดูที่เอกสารและไม่ส่งผลถึงความก้าวหน้าที่ตัวผู้เรียนชัดเจน” และได้พยายามอุดช่องโหว่เหล่านี้ให้มากที่สุด โดยเชิญเจ้ายุทธจักรจาก สมศ.มาปรับรื้อใหม่ ซึ่งวิธีการหลายอย่างได้สืบทอดจากแนวทางของ สมศ. ก็ตาม แต่ผมก็ยังมีข้อกังวนแทนครูหลายประการ และมีข้อเสนอแนะบางประเด็นสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อสะท้อนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนดแล้ว อย่างเหมาะสมกันต่อไป กล่าวคือ
1.อยากเห็นตัวอย่างสถานศึกษาที่เป็นเจ้าของเรื่องเสนอชื่อครูที่เก่งและดีจริงๆในโรงเรียนเพื่อขอรับการประเมินวิทยฐานะเสียเอง ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.เปิดทางให้ นอกจากให้เจ้าตัวเสนอขอเอง(เดิมก็เคยมีหลักเกณฑ์นี้) โดยต้องดูครูที่เป็นปูชนียบุคคลจริงๆ และอาจไม่สนใจที่จะเสนอตัวเองขอรับการประเมิน ซึ่งเป็นครูที่ทั้งนักเรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง ชุมชน เห็นชื่อแล้วต่างพยักหน้าศรัทธายกนิ้วให้ด้วยใจจริง เพื่อจะได้ขยายแบบอย่างที่ดีให้แก่วงวิชาชีพครูต่อไป ซึ่งไม่ต้องใช้ระบบโควตา ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องเสนอ
2. เห็นด้วยที่มอบการประเมินด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมฯ ให้ผู้บังคับบัญชาประเมิน และใช้สมุดประวัติ(กพ.7)เป็นเอกสารอ้างอิง ดูไม่ยุ่งยากดี ถ้าหากผู้บังคับบัญชาใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือส่งเสริมพัฒนา มากกว่าการขู่ หรือใช้อำนาจ/อภิสิทธิ์ หรือเกรงใจกัน ก็น่าจะทำให้ความประพฤติของครูด้านนี้ดีขึ้นในระยะยาว ซึ่งผู้บริหารก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
3.ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน ที่ให้ส่งประจักษ์พยานการสอน และ SAR นั้น แม้จะเป็นเรื่องหนักใจของครูพอสมควร แต่ก็น่าจะเป็นเครื่องมือที่สะท้อนคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียนพอสมควร แต่ไม่อยากให้มีคุณพ่อคุณแม่รู้ดี ทำแบบฟอร์มเบ็ดเสร็จให้กรอก (จนเกิดการเผยแพร่ เผยน่าน)กันเต็มเมือง และคุณพ่อคุณแม่เหล่านั้นก็เป็นกรรมการประเมินด้วย เลยต่างลากเข้ากรอบของตนเอง ในที่สุดครูก็ติดกรอบเหมือนเดิม ไม่เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานวิทยฐานะที่กำหนดไว้จริง ครูที่ไม่ควรได้แต่อยากได้ก็จะรู้ทาง และเกิดเอกสารล้นโรงเรียนเหมือนเดิม จนขาดความเป็นชีวิตจริง ที่เป็นภาพลวงตา ทางแก้ก็ต้องดูด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน(ด้าน 3)ว่าส่งผลจริงหรือไม่ ถ้าประเมินจากร่องรอยสภาพจริงประกอบด้วยก็จะดี และไม่ควรดูที่จำนวนเอกสารให้เป็นภาระแก่ครูมากนัก
4.ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนที่ดูจาก NT,O-net,A-net ฯลฯ ที่เชื่อถือได้ และผลงานวิจัยนั้น ในวิธีการประเมินและการดูผลการประเมินก็ควรดูสภาพพื้นฐานจากเหตุผลจริง ไม่ดูแต่ข้อมูลเชิงปริมาณ หรือดูรูปแบบการเขียนตามหลักวิชาการเท่านั้น แต่ควรดูด้านคุณภาพโดยรวมและผลข้างเคียงทางบวกอื่นประกอบด้วย คงไม่ใช้เกณฑ์เดียวกันประเมินทุกโรงเรียนทุกสภาพเหมือนกันหมด และควรกระตุ้นให้สถานศึกษาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางในการพัฒนา(นวัตกรรม) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียน(พัฒนาให้ครบทั้ง KPAด้วย) โดยส่งเสริมให้ครูแต่ละกลุ่มสาระ/แต่ละระดับชั้นทำงานเป็นทีมกันมากขึ้น (เพราะการประเมินระดับขาติเขาประเมินเป็นระดับชั้นและกลุ่มสาระ ไม่ใช่รายวิชา)แล้วรับอานิสงส์จากมูลค่าเพิ่มร่วมกัน ก็จะทำให้คุณภาพการศึกษาขับเคลื่อนไปทั้งโรงเรียน เป็นเครื่องมือหนึ่งในการ SBM ได้
5.ประเด็นสำคัญอยู่ที่กรรมการประเมินถ้ายังยึดหลักกระจายอำนาจแบบปูพรม ให้ พื้นที่ประเมิน โดยคุมระบบเพียงให้เลือกจากบัญชีผู้ประเมินของ ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นองคาพยพที่กว้างใหญ่มาก แม้จะให้สัดส่วนผู้ประเมินจากภายนอกมากกว่าก็ตาม แต่ถ้าขาดความจริงจังเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก และระบบกำกับติดตามผู้ประเมินก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงในมาตรฐานการประเมินที่จะเกิดขึ้น ผมยังติดใจวิธีประเมินผู้บริหารต้นแบบของ สกศ.เดิมที่เขาใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจริงๆจำนวนไม่มาก และเส้นทางประเมินก็สั้น ดูของจริงไม่กี่วันก็รู้ผล และได้คนดีจริงๆพร้อมที่จะเผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสง่าผ่าเผย (เคยนำเสนอแล้ว) ดูอย่าง ผอ.นคร ตังคะพิภพ เป็นตัวอย่างของ ผอ.ต้นแบบที่ สกศ.ไปประเมิน แต่เป้าหมายของ ก.ค.ศ.ยังต้องการประเมินเจาะลึกในสมรรถนะเฉพาะแต่ละสาขาวิชา จึงต้องใช้ผู้ประเมินที่เป็นเจ้ายุทธจักรจากสำนัก/สาขาต่างๆเป็นจำนวนมาก และคงคุมยากด้วย ก็ต้องสื่อสารและหาทางเฝ้าระวังติดตามมาตรฐานการประเมินอย่างใกล้ชิดด้วย ต้องระวังอย่าให้ตึงหรือหย่อนเกินไป ระบบต้องพยายามรักษาครูดีดีให้อยู่ในระบบ และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ไม่ให้ครูดีต้องท้อและเบื่อในระบบ

ข้อมูล //gotoknow.org/blog/tanes/185985


Create Date : 06 กรกฎาคม 2552
Last Update : 5 สิงหาคม 2552 17:03:12 น. 0 comments
Counter : 2674 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.