บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
8 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
ยิ้มรับปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต



ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเลย
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดที่ต่ำสุด ๆ ของชีวิตในยามนี้
อยากเข้ามาเขียนอะไรในบล็อกแต่เวลาไม่อำนวยจริง ๆ
สภาพแบบนี้อาจยาวไปถึงสิ้นปี
และไม่รู้ว่าเมื่อถึงจุดนั้นชีวิตจะเป็นอย่างไร?
ก็อยากรู้เหมือนกันว่าเราจะสู้กับชีวิตในช่วงนี้ได้ไหม?

คิดถึงและห่วงใยเพื่อน ๆ ในบล็อกที่แวะเวียนเข้ามาทุกคน
หากมีประสบการณ์อะไรที่อยากนำมาถ่ายทอดก็จะเข้ามาอย่างแน่นอน

รักและศรัทธา


















Create Date : 08 มิถุนายน 2552
Last Update : 30 สิงหาคม 2552 6:18:41 น. 20 comments
Counter : 1014 Pageviews.

 
สู้ ๆ นะคะ

ท้อเหมือนกัน เหอะๆๆ

รู้สึกเหมือนว่า บางทีการมีชีวิตอยู่ก็ยากเกินไป

แต่ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกเยอะ


โดย: salanare (salanare ) วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:22:50:59 น.  

 
อย่าท้อนะคะ ....
หนี่ฯ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนคนนี้เสมอค่ะ
พักผ่อนหลับฝันดี สดชื่นยามเช้าทุก ๆ วันนะคะ
จะได้มีแรงชับเคลื่อนระหว่างวัน เลิฟ เลิฟ ค่ะ


หนี่ฯ เองค่ะ


โดย: หนี่หนีหนี้ (แพรวขวัญ ) วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:23:17:43 น.  

 
สวัสดีเจ้าค่ะ..

เพราะทุกเพลงเลยค่ะ..

อ้อมแอ้มเพิ่งกลับจากทำบุญที่วัดแถวๆพิษณุโลกมา

เลยแวะเอาพระมาฝากค่ะ..

ขอให้มีความสุขมากๆในทุกๆวันนะค่ะ..


ยิ้มสู้ไว้ค่ะ..



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:23:52:42 น.  

 
สู้ๆ ค่ะ


โดย: น้ำค้างเดือนหก วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:1:32:44 น.  

 

"ความล้มเหลวคือแรงกระตุ้นที่ยิ่งใหญ่"

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ไม่มีสิ่งใดสามารถกระตุ้นมนุษย์ได้ดีเท่ากับความยากลำบาก นักกีฬากระโดดน้ำโอลิมปิก แพท แมคคอร์มิค กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ เส้นทางสู่ขุมทอง (Go for Gold) ของ ดร.จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ ว่า "ฉันคิดว่าความล้มเหลวเป็นแรงกระตุ้นที่ยิ่งใหญ่ หลังจากพ่ายแพ้อย่างเฉียดฉิวในการแข่งขันเมื่อปี 1948 ฉันรู้แล้วว่า ฉันสามารถเก่งกาจได้ขนาดไหน ความพ่ายแพ้ที่ผ่านมาเป็นตัวผลักดันให้ฉันทุ่มเทความสนใจไปในการฝึกฝนและเป้าหมาย"



ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1952 ที่กรุงเฮลซิงกิ (อีก 4 ปีต่อมา) แพท แมคคอร์มิค คว้า 2 เหรียญทอง และอีก 2 เหรียญทอง จากกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเมลเบิร์นในอีก 4 ปีต่อมา



หากคุณสามารถก้าวถอยหลังออกมาจากสถานการณ์เลวร้ายที่ขวางหน้า คุณจะสามารถค้นพบประโยชน์ของมันได้จากสถานการณ์นั้น สิ่งนี้เป็นความจริงเสมอ ขอเพียงคุณตั้งใจมองหา “แง่บวก” และประโยชน์ที่ควรได้รับจากแต่ละเหตุการณ์ และไม่นำพาเหตุการณ์เหล่านั้นมาตำหนิตนเองและทีมงานมากเกินไป



คนส่วนใหญ่มักมองหา "แพะ" ทุกครั้งที่มีความล้มเหลวเกิดขึ้น แพะตัวนั้นหมายถึงบุคคล ซึ่งอาจเป็นตัวเองหรือเพื่อนร่วมงาน (ส่วนใหญ่มักเป็นคนอื่นเสมอ หาน้อยมากที่จะหันมาเพ่งโทษ ประเมินตัวเอง!) แต่คนที่ประสบความสำเร็จและได้ "กำไร" จากทุกสถานการณ์ จะมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมและบทเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ เพื่อเป็นบันไดเหยียบข้ามสู่ขั้นสูงต่อไป แทนที่จะย่ำอยู่กับที่ หรือหลายคนเดินถอยหลังลงคลอง!



บุคคลที่ประสบความสำเร็จจะผ่านพ้นปัญหาได้เสมอ เพราะไม่ยอมติดอยู่กับคำแก้ตัวหรือข้ออ้างใดๆ ที่เป็นสาเหตุแห่งความล้มเหลวนั้น พวกเขาใช้หินที่ขวางทางอยู่เป็นบันไดเพื่อเหยียบให้สูงขึ้นไป พวกเขาตระหนักดีว่า ไม่สามารถควบคุมทุกสถานการณ์ในชีวิตได้ แต่ สามารถกำหนดความคิดที่มีต่อทุกสถานการณ์ ได้ต่างหาก! อุปสรรคปัญหาทั้งหลายก็เปรียบเป็นหินขวางทางชั่วคราวนั่นเอง



หากคุณกำลังตกงาน ให้นึกว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ก้าวข้ามออกมาจากวังวนเดิมๆ ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองและมองหาน่านน้ำใหม่ เพียงแต่เราต้องมีความกล้าที่จะก้าวพ้นสิ่งเดิมๆ ให้ได้ ด้วยความอาจหาญที่จะเผชิญความท้าทายใหม่



หากคุณซื้อหนังสือผิดเล่มมา หรือได้รับอาหารที่บริการจดไปผิด ให้มองมุมใหม่ว่า นี่ล่ะคือโอกาสทองที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ที่แหวกออกจากความซ้ำซากจำเจ และหากว่าคุณต้องพานพบความล้มเหลวในการงาน ให้มองว่า มันคือขั้นตอนในการพัฒนาวุฒิภาวะ ลับคมเล็บแห่งปัญญาที่จะยอมรับความจริงอย่างกล้าหาญ เที่ยงธรรม และพร้อมเดินหน้าต่อไปโดยไม่ซ้ำรอยเดิม



จากผลการสำรวจของนิตยสารไทมส์ เกี่ยวกับคนที่เคยตกงานถึง 3 ครั้ง ปรากฏว่าสิ่งที่พบเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก เพราะคนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้อย่างไม่น่าเชื่อ สรุปได้ว่า ผู้ที่ผ่านพายุร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะเรียนรู้วิธีการกระดอนกลับมาสู่สภาวะปกติได้ดีกว่าคนที่ไม่เคยผ่านเหตุการณ์ที่น่าหดหู่และสิ้นหวัง



อาจฟังดูฝืดนะครับ แต่ถ้าคุณล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า จงฉลองให้แก่ความล้มเหลวนั้นทุกครั้ง แล้วฝันร้ายจะกลายเป็นดี!



มีคำกล่าวว่า ในเกมแห่งชีวิต คงดีไม่น้อยถ้าต้องพ่ายแพ้ในบางเรื่องตั้งแต่เริ่มต้น เพราะมันจะช่วยผ่อนคลายความกดดันในการเอาชนะทุกเรื่องในฤดูกาลต่อๆ ไป



จงโอบกอดความยากลำบากทั้งหลายในชีวิต และฝึกตัวเองให้มองมันเป็นโอกาส ทุกอย่างขึ้นอยู่กับวิถีแห่งทัศนคติของเราเอง ว่าจะเล็งไปทางไหน บวกหรือลบ!



ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ และหากสนใจเข้าฟังการสัมมนาพิเศษ John Maxwell Live in Bangkok หัวข้อ "ผู้นำในภาวะท้าทาย" วันที่ 1 ก.ค.นี้ //www.dcconsultants.co.th




โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:8:26:03 น.  

 

สวัสดีตอนเช้าของ เนเธอร์แลนด์ จ้า



ไม่ได้ตั้งใจ...มารบกวน.......
แต่....บรรยากาศชวนให้คิดถึง
เลยแวะมาบอกอะไรซึ่งๆๆ
ว่ายัง คิดถึง ห่วงใย....ไม่ผันแปล


ขอให้มีความสุขกับคนที่คุณรักมากๆๆนะจ้า



สู้ๆๆนะจ้า จอมแก่นมาส่งกำลังใจให้เหมือนเดิม


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:15:18:18 น.  

 
//www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=247

หัวใจพุทธศาสนา
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้

พระ พุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธศาสนา" เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่ายๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลี คือ "โอวาทปาฎิโมกข์" หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์" ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า

"สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ"

แปล ให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"

คำ ลงท้ายว่า "นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ทำให้เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราก็เลยเรียกว่า "หัวใจ" มาเป็นจุดเริ่มต้น แต่กระนั้นชาวพุทธผู้ได้ฟังพระสอนมามากๆ พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่บางท่านพูดถึงหลักการอื่นว่า อันโน้นสิ อันนี้สิ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา บางทีโยมก็ชักงง จึงขอยกเอาเรื่องนี้มาพูดว่าอะไรกันแน่ที่เรียกว่าเป็น หัวใจพระพุทธศาสนา

บาง ท่านบอกว่า "อริยสัจสี่" เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ (จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้ หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ ๓ ด้าน คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า ๓ ปริวัฎ

อธิบาย ว่า รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

ต่อเมื่อได้ ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

บางท่านไปจับเอาที่พระ ไตรปิฎกอีกตอนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้กระทัดรัดมากว่า "ปุพฺเพจาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกขสฺส จ นิโรธํ" ภิกษุทั้งหลายทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าจับตรงนี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดนั้น หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ ทุกข์และความดับทุกข์

ท่าน พุทธทาสกล่าวถึงหลักอีกข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือ "สพฺเพ ธฺมมา นาลํ อภินิเวสาย" แปลว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น" คำว่า "นาลํ" แปลว่าไม่ควร หรือ ไม่อาจ ไม่สามารถ คำว่า "ไม่ควร " ในที่นี้หมายความว่า เราไม่อาจไปยึดมั่นมันได้ เพราะมันจะไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน เมื่อมันไม่อาจจะยึดมั่น เราก็ไม่ควรจะยึดมั่นมัน อันนี้ท่านถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้พังอย่างนี้ ก็ทำให้เราสงสัยกันว่าจะเอาหลักอันไหนดีเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็เลยขอให้ความเห็นว่าอันไหนก็ได้



--------------------------------------------------------------------------------




แต่ต้องระวัง อันไหนก็ได้ จะทำให้พุทธศาสนาง่อนแง่น

ชาวพุทธต้องมีหลักที่แน่ชัด ให้ปฏิบัติเด็ดแน่วเป็นหนึ่งเดียว



แต่การพูดว่า "อันไหนก็ได้" ก็ไม่ดีเหมือนกันเพราะทำให้ชาวพุทธเหมือนว่าไม่มีอะไรลงตัวแน่นอน แล้วกลายเป็นคนที่เอาอย่างไรก็ได้ โงนเงนง่อนแง่นหรือแกว่งไปแกว่งมา เหมือนไม่มีหลัก ก็จะกลายเป็นไม่ได้เรื่อง เราต้องชัดเจนว่า ที่อันไหนก็ได้นั้น ทั้งหมดคืออันเดียวกัน เพราะการพูดถึงหลักคำสอนเหล่านี้นั้น เป็นการพูดโดยจับแง่มุมต่างๆ กันของคำสอน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกันโยงถึงกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน



ถ้าพูดว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคือ "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส" หัวใจที่ว่านี้เป็นหลักในเชิงปฏิบัติเป็นเรื่องการดำเนินชีวิตว่า เราจะไม่ทำชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส



ทีนี้ลองไปดูหลักอริยสัจสี่ ซึ่งมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะเห็นว่าข้อที่ ๔ คือ "มรรค" เป็นข้อปฏิบัติ



มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย องค์ทั้ง ๘ นี้ ก็จำยาก จึงย่อง่ายๆ เหลือ ๓ เท่านั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา



ศีล คือ เว้นชั่ว….. สมาธิ คือ ทำความดีให้ถึงพร้อม….. ปัญญา คือ ชำระจิตใจให้ผ่องใส พอแยกแยะอย่างนี้แล้วก็เห็นว่า เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ ที่ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา นั้น ก็อยู่ใน มรรค นี่เองเป็นอริยสัจ ข้อที่ ๔ คือ ข้อสุดท้าย



ทุกข์ คือ ตัวปัญหา เป็นสิ่งที่เราไม่เอา ยังไม่ต้องปฏิบัติ เราต้องรู้ให้ชัดว่าอะไรเป็นปัญหาที่เราจะต้องพ้นไป….. สมุทัย คือ ตัวเหตุแห่งทุกข์ ต้องสืบสาวให้รู้ตามหลักความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยว่า ทุกข์เกิดจากเหตุ และเหตุนั้นคืออะไร เหตุนั้นเรารู้ว่าจะต้องกำจัด แต่เรายังไม่ได้ทำอะไร จากนั้นเราก็รู้ว่าเมื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเข้าถึงจุดหมายคือ….. นิโรธ แต่ทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำในข้อสุดท้ายคือ มรรค ฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ สามอย่างนี้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อมัน แต่เราปฏิบัติมันไม่ได้ สิ่งที่จะปฏิบัติได้คือ ข้อที่ ๔ ได้แก่….. มรรค เมื่อเราปฏิบัติตาม มรรค เราก็กำจัด สมุทัย แก้เหตุแห่งทุกข์ได้เราก็พ้นทุกข์ หมดปัญหา และเราก็บรรลุนิโรธ เข้าถึงจุดหมายได้สามารถทำให้สำเร็จงานสำหรับ ๓ ข้อแรกทั้งหมด เป็นอันว่า สิ่งที่เราต้องปฏิบัติมีอยู่ข้อเดียวคือ ข้อ ๔ แต่เราต้องรู้ ๓ ข้อข้างต้นด้วย



ถึงตอนนี้กลับไปดูหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ จะเห็นว่าเป็นหลักในภาคปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ใน มรรค คือ ข้อที่ ๔ ของอริยสัจ เพราะมรรคเป็นฝ่ายลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ ในแง่ของหลักความจริงตามสภาวะว่าเป็นอย่างไร จุดหมายคืออย่างไร ก็อยู่ในข้อ ๑ - ๒ - ๓ ของอริยสัจ



เพราะฉะนั้น อริยสัจ กว้างกว่าและครอบคลุมหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย สำหรับชาวพุทธทั่วไป เริ่มต้นก็ให้เห็นก่อนว่าจะปฏิบัติอะไร เมื่อปฏิบัติไปได้ระดับหนึ่งก็จะต้องรู้หลักความจริงทั่วไปด้วย มิฉะนั้นการปฏิบัติก็ไปไม่ตลอด ถึงตอนนั้นต้องรู้หลักอริยสัจสี่



อย่าลืมว่า ได้หลักแน่ชัดแล้วนะ เริ่มด้วย "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส" นี่แหละเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ก่อน แล้วก้าวต่อไปให้ครบ อริยสัจทั้ง ๔ ให้ได้จึงจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงและสมบูรณ์


--------------------------------------------------------------------------------




ว่ากันไป กี่หลักกี่หัวใจ ในที่สุดก็หลักใหญ่เดียวกัน



ทีนี้ลองเทียบหลักอื่นอีก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ "ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น" อันนี้คือ อริยสัจ ๔ แบบสั้นที่สุด ย่อเป็น ๒ คู่ คือ

ทุกข์ และ สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ อันนี้ ๑ คู่

นิโรธ ความดับทุกข์ และ มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์ก็ ๑ คู่



ยังมีอีก คือเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ตอนจะออกประกาศพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงพระดำริ ซึ่งมีความตอนนี้ในพระไตรปิฎกบอกว่า….. "อธิคโต โข มฺยายํ ธมฺโม" ธรรมที่เราบรรลุนี้ ทุรนุโพโธ เป็นของที่รู้ตามได้ยาก กล่าวคือ หนึ่ง …. อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท สอง….. นิพพาน แล้วพระองค์ก็ตรัสเล่าต่อไปว่า พระองค์ทรงดำริว่า หมู่สัตว์ทั้งหลาย มักหลงระเริงกันอยู่ในสิ่งที่ล่อให้ติด ยากที่จะเข้าใจหลักการทั้ง ๒ นี้ จึงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงสั่งสอน



แต่ถ้าเราโยงดูก็บอกได้ว่าสาระไม่ไปไหน ที่แท้ก็อันเดียวกันนั่นแหละ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องทุกข์และสมุทัย แทนที่จะจับที่ปรากฏการณ์คือ ทุกข์ ก็จับที่กระบวนการของกฏธรรมชาติ เริ่มที่ข้อสมุทัย ดูเหตุปัจจัยที่เป็นไปจนปรากฏทุกข์เป็นผลขึ้น จึงรวมทั้งข้อทุกข์และสมุทัย ดังจะเห็นได้ว่าเวลาตรัส ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าทรงสรุปว่า….. "เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนธสฺส สมุทโย โหติ" แปลว่า "สมุทัย คือ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์ จึงมีด้วยประการฉะนี้" หมายความว่า จากความเป็นไปตามกระบวนการของกฎธรรมชาตินี้ จึงเกิดมีทุกข์ขึ้น



เพราะฉะนั้น ข้อว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือตรัสเรื่อง ทุกข์ และ สมุทัย จากนั้นอีกอย่างที่ตรัสไว้ คือ นิพพาน ซึ่งก็คือข้อนิโรธ ซี่งเราจะต้องบรรลุถึงด้วยการปฏิบัติตามมรรค การที่จะบรรลุนิพพานที่เป็นจุดมุ่งหมาย ก็เรียกร้อง หรือ เป็นเงื่อนไขอยู่ในตัวให้ต้องปฏิบัติตามมรรค ดังนั้น การตรัสถึง นิพพาน คือข้อนิโรธ ก็โยงเอามรรคเข้ามาพ่วงไว้ด้วย



พูดให้ลึกลงไป ข้อแรก อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือ สังขตธรรม พร้อมทั้งกระบวนความเป็นไปของมันทั้งหมด ส่วนข้อหลัง นิพพาน ก็คือ อสังขตธรรม ที่พ้นไปจากสังขตธรรม นั้น



อริยสัจนั้นเป็นวิธีพูด หรือ วิธีแสดงกฎธรรมชาติในแง่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการ ดำเนินชีวิต หรือ แก้ปัญหาชีวิตของตน พระพุทธเจ้าตรัสวางไว้ในรูปที่ใช้การได้เรียกว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ความจริงในกฎธรรมชาติก็คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และสภาวะที่เป็นจุดหมายคือ นิพพาน ก็มีเท่านี้ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่า ไม่ไปไหน



ส่วนอีกหลักหนึ่งคือ "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น คือ เราไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นไว้ได้ เป็นการสรุปหัวใจของการปฏิบัติที่โยงไปหาความจริงของธรรมชาติ หรือ สภาวธรรม ว่า สิ่งทั้งหลายหรือปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง หรือสิ่งที่แวดล้อมชีวิตของเรา หรืออะไรก็ตามที่เราเกี่ยวข้อง มันไม่ได้อยู่ใต้อำนาจความปรารถนาของเรา แต่มันเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือ มีอยู่ดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นมันได้ เราจะต้องวางใจปฏิบัติต่อมันให้ถูก



หลักนี้เป็นการโยงธรรมดาธรรมชาติหรือความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย มาสู่ท่าทีปฏิบัติของมนุษย์ต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งรวมสาระสำคัญว่า เราต้องรู้ทันว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่เป็นไปตามใจปรารถนาของเรานะ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เราจะไปยึดมั่นถือมั่นตามใจของเราไม่ได้ แต่ต้องปฏิบัติด้วยปัญญา คือด้วยความรู้เท่าทันและให้ตรงตามเหตุปัจจัย เมื่อละความยึดมั่นได้ก็สงบเย็น นิพพาน คือข้อนิโรธ



ตกลงว่า การกล่าวถึง หัวใจพระพุทธศาสนา กันหลายแบบหลายแนวนั้น ทั้งหมดก็เป็นอันเดียวกัน ซึ่งในที่สุดหลักใหญ่ที่ครอบคลุม ก็คือ อริยสัจสี่ นี่แหละ ไม่ไปไหน ที่พูดมาในตอนนี้ทั้งหมด ก็เป็นการแยกแยะและเชื่อมโยงให้เห็นชัดเจนลงไปว่า หลักหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พูดกันหลายอย่างนั้น ที่จริงก็อันเดียวกัน ต่างกันโดยวิธีพูดเท่านั้น และขอย้ำว่า.....



อย่ามัวพูดว่า อย่างนั้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ ขอให้จับหลักลงไปให้ชัด และปฏิบัติให้มั่นให้เด็ดเดี่ยวแน่ลงไป อย่างที่ว่าแล้วข้างต้น


โดย: คนเดินดินฯ IP: 124.121.150.129 วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:8:58:31 น.  

 
(ต่อ)




อริยสัจ คือ ธรรมที่นำเสนอเป็นระบบปฏิบัติการ

ให้มนุษย์บริหารประโยชน์จากความจริงของธรรมชาติ



อริยสัจนั้น แท้จริงเป็นหลักของเหตุและผล ธรรมดาเราจะพูดเหตุก่อนแล้วจึงพูดถูกผลใช่ไหม ให้สังเกตว่าพระพุทธเจ้ากลับทรงยกเหตุขึ้นแสดงก่อน แล้วแสดงผลทีหลัง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น



ตามปกติพระพุทธเจ้าก็ตรัสเหตุก่อนผล แต่ในกรณีนี้กลับแสดงผลก่อนเหตุ เพราะเป็นเรื่องวิธีสอน ซึ่งต้องเริ่มด้วยสิ่งที่มองเห็นอยู่ เริ่มที่ปัญหาก่อน โดยชี้ปัญหาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำความเข้าใจปัญหาแล้วจึงค้นหาสาเหตุเสร็จแล้วชี้ถึงจุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ แล้วบอกวิธีปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงจุดหมายวิธีสอนอย่างนี้เป็นที่เร้าใจด้วย พอพูดถึงปัญหาโดยเฉพาะปัญหาของตัวเอง หรือปัญหาที่เกี่ยวกระทบถึงตัว คนก็สนใจอยากจะรู้อยากจะแก้ปัญหานั้น แล้วจึงสืบว่าปัญหานี้เกิดจากเหตุอะไร เมื่ออยากกำจัดเหตุแล้ว พอพูดถึงจุดหมายว่าดีอย่างไร คนก็อยากจะไปถึงจุดหมายนั้น แล้วจึงบอกวิธีปฏิบัติ ถ้าเราไปบอกวิธีปฏิบัติก่อน วิธีปฏิบัติอาจยากมาก คนก็ท้อใจ ไม่อยากทำ ไม่อยากไป แต่ถ้าชี้จุดหมายให้เห็นว่าดีอย่างไร ใจเขาจะใฝ่ปรารถนา ยิ่งเห็นว่าดีเท่าไร ประเสริฐอย่างไร เขายิ่งอยากไปและเต็มใจที่จะทำ เราจึงค่อยบอกวิธีปฏิบัติ ตอนนี้เขาสนใจตั้งใจเต็มที่แล้ว เขายินดีพร้อมที่จะทำสุดแรงของเขา



ในการปลุกระดมก็ใช้วิธีนี้จึงจะได้ผล แม้จะไม่สุจริตเขามุ่งแต่จะให้สำเร็จ เพราะเป็นวิธีที่ได้ผลคือตอนต้นพูดชี้ปัญหาก่อน….. "เวลานี้มันแย่ มีปัญหาทั้งนั้น มีความยากจน มีความเดือนร้อน อะไรๆ ก็ไม่ดี มันเลวร้ายอย่างนั้นๆ" ถ้าจะปลุกระดมต้องชี้เรื่องที่ไม่ดีให้เห็นออกมาชัดๆ ว่าเยอะแยะไปหมด ร้ายแรงอย่างไร ชี้ทุกข์ให้ชัดก่อนว่า….. น่าเกลียดน่ากลัวร้ายแรงจนคนไม่พอใจมาก อยากจะแก้ไข ทีนี้ก็ชี้สาเหตุว่า นี่ตัวการ ตัวร้ายอยู่นี่ เป็นเหตุให้เกิดปัญหา ถึงตอนนี้คนก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ใจก็เกิดพลัง เกิดความตื่นเต้น เกิดเรี่ยวแรงกำลังขึ้นมาว่าต้องจัดการ กำจัดมันละนะ เราเห็นตัวการแล้ว พอคนกระหายอยากจะจัดการแล้ว ก็ชี้เป้าหมาย จุดหมายนั้นต้องชี้ให้เห็นเด่นชัดว่าดีที่สุด ใจคนก็พุ่งเป้าพร้อมเต็มที่ พอบอกวิธีปฏิบัติว่า "ต้องทำอย่างนี้ๆ ๆ ๆ" ตอนนี้วิธีปฏิบัติถึงจะยากก็ไม่กลัวแล้ว ไม่ว่าจะยากอย่างไรก็เอาทั้งนั้น ระดมกำลังเต็มที่ มรรคมาได้เลย



รวมความว่า….. อริยสัจเป็นหลักที่เชื่อม ระหว่างความจริงของธรรมชาติ กับปฏิบัติการของมนุษย์



(มีต่อ)



ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ ก็ปฏิบัติไม่ถูกและไม่มีทางบรรลุธรรม



เราจะรู้อริยสัจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้หน้าที่อริยสัจและปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจให้สำเร็จด้วย การเรียนอริยสัจโดยไม่รู้หน้าที่ต่ออริยสัจอาจจะทำให้เข้าใจสับสน



พระพุทธเจ้าตรัสกิจ หรือหน้าที่ต่ออริยสัจสี่ไว้ครบถ้วนแล้วแต่ละอย่างๆ

๑. หน้าที่ต่อทุกข์ คือ "ปริญญา" แปลว่า กำหนดรู้ รู้เท่าทัน จับตัวมันให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า..... "ทุกขัง ปริญเญยยัง" ภาษาพระแปลกันว่า "กำหนดรู้" ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน..... ปริญเญยยัง เป็นคุณศัพท์ ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็น ปริญญา เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา

ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหาเป็น ปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ "โรค" ในทางร่างกายของเรา เมื่อเรามีโรคเราก็จะแก้ไขบำบัดหรือกำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริง เรากำจัดโรคไม่ได้ เราต้องเรียนรู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรค ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นที่ไหนตรงไหน และรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย ทำนองเดียวกัน ทุกข์ จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา แต่เรียนชีวิตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย ปัญหาเกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือ เกิดในโลก เราก็ต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิตและดูที่ชีวิต (นามรูป/ขันธ์ ๕)



๒. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ "ปหานะ" แปลว่า ละ หรือ กำจัด พอรู้โรคว่าเป็นโรคอะไร จับได้แล้ว ต้องสืบหาสาเหตุของโรค ต้องจับให้ได้ เหมือนกับแพทย์ที่วินิจฉัยโรคให้ได้ สืบหาตัวสาเหตุของโรค อาจจะเป็นเชื้อโรค หรือ ความบกพร่องของอวัยวะ ไม่ใช่เชื้อโรคอย่างเดียว เมื่อมีโรคก็ต้องมี สมุฏฐาน หรือ สมุทัย นี่แหละเป็นตัวที่ต้องแก้ไข หรือกำจัด



๓. หน้าที่ต่อนิโรธ เรียกว่า "สัจฉิกิริยา" แปลว่า ทำให้ประจักษ์แจ้ง คือ บรรลุถึงนั่นเอง เราต้องมีเป้าหมายว่าเราจะเอาอะไร และทำได้แค่ไหน จุดหมายอะไรที่ต้องการ กำหนดให้ได้และรู้ความเป็นไปได้ในการแก้ไข คนที่ไม่มีความชัดเจนว่าต้องการอะไร มีความเป็นไปได้อย่างไร ก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ แพทย์ก็ต้องวางเป้าหมายในการรักษาโรคว่าเป็นไปได้แค่ไหน เอาอะไรเป็นจุดหมายในการรักษา แล้วทำให้ได้ ให้บรรลุจุดหมายนั้น



๔. หน้าที่ต่อมรรค เรียกว่า "ภาวนา" แปลว่า บำเพ็ญ คือ ปฏิบัติ ลงมือทำ ทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น พอวางเป้าหมายเสร็จก็มาถึงขั้นลงมือปฏิบัติ จะผ่าตัดให้ยา และให้คนไข้ปฏิบัติตัวบริหารร่างกายอย่างไร วิธีรักษาทั้งหมดมาอยู่ในข้อ ๔ คือ มรรค เป็นขั้นที่ต้องลงมือทำ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มีรายละเอียดมากมาย



เพราะฉะนั้น อริยสัจสี่ จึงเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์ จะใช้ในการสอนก็ได้ ในการรักษาโรคก็ได้ แพทย์ก็ใช้วิธีการนี้ สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ไว้สำหรับปัญญารู้ แต่สอนเรื่องสุขสำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนั้น พูดอย่างสั้นว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้การอยู่เป็นสุข หรือให้สั้นกว่านั้นอีกว่า พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์ แต่ให้เป็นสุข คือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น



เพราะฉะนั้น ต้องมองพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาแห่งความสุข ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์


--------------------------------------------------------------------------------




แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา



เพราะได้พูดแล้วว่า อริยสัจสี่ครอบคลุมหลักการของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น



--- หลัก "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์"

--- หลัก "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

--- หลัก "เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์" หรือ

--- หลัก "อิปัปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทกับนิพพาน"



ทุกหลักรวมอยู่ในหลักอริยสัจสี่ ทั้งนั้น



ขอย้ำว่า "อริยสัจสี่" คือ หลักที่โยงความจริงในธรรมชาติมาสู่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพราะลำพังกฎธรรมชาติเอง ตามธรรมดาถ้าเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้ลำดับ เราก็สับสน



พระพุทธเจ้าทรงต้องการให้เราได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติโดยสะดวก จึงนำมาจัดรูป ตั้งแบบ วางระบบไว้ให้ เรียกว่า อริยสัจสี่ โดยลำดับให้เห็นชัดเจน เป็นทั้งวิธีสอน วิธีแก้ปัญหา และวิธีลงมือทำ เมื่อทำตามหลักอริยสัจสี่ ความจริงของธรรมดาที่ยาก ก็เลยง่ายไปหมด





ความจริงมีอยู่ตามธรรมดา พระพุทธเจ้ามีปัญญา ก็มาค้นพบและเปิดเผย



จุดเริ่มต้นนี้ชัดอยู่แล้วในพุทธพจน์ว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปปฺาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ …." มีเนื้อความว่า..... "ตถาคตคือพระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ความจริงก็คงอยู่เป็นกฎธรรมดา เป็นความแน่นอนของธรรมชาติ ว่าดังนี้ๆ"



นี่คือการมองความจริงตามแบบของพระพุทธศาสนา พุทธพจน์นี้เป็นหลักพื้นฐาน เราควรเริ่มต้นด้วยหลักนี้ นั่นคือพระพุทธศาสนามองสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องของธรรมชาติและกฎธรรมชาติ เป็นความจริงที่เป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า



ในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า..... "ตถาคตมารู้ความจริง ค้นพบความจริงนี้แล้ว จึงบอกกล่าว เปิดเผย แสดง ชี้แจง ทำให้ง่าย ว่าดังนี้ ๆ" พุทธพจน์นี้บอกฐานะของพระศาสดาว่า ฐานะของพระพุทธเจ้า คือผู้ค้นพบความจริง แล้วนำจริงนั้นมาเปิดเผย แสดงให้ปรากฏ พระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็นผู้บัญญัติ หรือเป็นผู้สร้าง ผู้บันดาลขึ้นมาจากความไม่มี พระองค์เพียงแต่แสดงความจริงที่มีอยู่ การที่พระองค์บำเพ็ญบารมีทั้งหลายเพื่อตรัสรู้เข้าถึงความจริงที่มีอยู่เป็น ธรรมดาตลอดเวลา ไม่มีใครเสกสรรค์บันดาล (ไม่มีผู้สร้าง เพราะถ้ามีผู้สร้าง ก็ต้องมีผู้ที่สร้างนั้น ถ้ามีผู้สร้างมีได้เอง ก็แน่นอนว่า สภาวธรรม ก็มีอยู่ได้โดยไม่ต้องมีผู้สร้าง) มันไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีใครบิดผันเปลี่ยนแปลงมันได้ ผู้ใดมีปัญญาจึงจะรู้เข้าใจและใช้ประโยชน์มันได้



เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องเหมือนในทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุ ที่ค้นพบความจริงคือกฎธรรมชาติบางอย่าง เมื่อค้นพบแล้วก็นำเอากฎธรรมชาติส่วนนั้นมาใช้ทำอะไรต่างๆ ได้ เช่น การสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ตั้งแต่เรือกลไฟ รถยนต์ รถไฟ เรือบิน คอมพิวเตอร์ ทางวิทยาศาสตร์เอาแต่ความจริงในโลกวัตถุ ส่วนพระพุทธศาสนามองความจริงของโลกและชีวิตทั้งหมดว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่มีอยู่และเป็นไปตามธรรมดา เมื่อพระพุทธเจ้ามาค้นพบแล้วก็ทรงทำให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยวิธีจุดรูปร่างระบบ แบบแผนให้เรียนรู้ได้สะดวกและวางเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ นี่คือการจับเอาหลักความจริงทั้งหลายมาจัดเป็นระบบขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อความ เข้าใจของเรา



ทีนี้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาติเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดแล้วดับไปเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็น ทุกขัง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และเป็น อนัตตา ไม่เป็นตัวตนของใครที่จะไปสั่งบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เราจะยึดถือครอบครองไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน แต่แท้จริงแล้วตัวตนอย่างนั้นไม่มี มีแต่เพียงภาพปรากฎชั่วคราว ส่วนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังคือกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กันของสิ่งทั้ง หลายที่คืบเคลื่อนไปเรื่อยๆ ภาพตัวตนที่ปรากฏนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป



ดังนั้นตัวตนที่แท้ยั่งยืนตายตัวที่จะยึดถือครอบครองบังคับบัญชาอะไรๆ ได้ จึงไม่มี (คำว่า อัตตา คือตัวตนที่เที่ยงแท้ยั่งยืนตายตัวตลอดไป) มีแต่ภาพรวมของปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายในกระบวนการ ของมัน เรียกว่าเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่เป็นตัวตนของใคร



นี้คือความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเรื่อง "ไตรลักษณ์" เป็นหลักที่เด่นว่าสิ่งทั้งหลายนี้..... อนิจฺจํ ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับหาย มีความเปลี่ยนแปลง..... ทุกฺขํ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อยู่ในภาวะขัดแย้ง ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วยความอยาก มันก็ฝืนความปรารถนา แล้วก็..... อนตฺตา ไม่เป็นตัวตนของใครได้ ใครจะยึดถือครอบครองสั่งบังคับไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน

................................

อ่านเพิ่มเติมในลิ้งข้างบนครับ


โดย: คนเดินดินฯ IP: 124.121.150.129 วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:9:05:13 น.  

 


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:10:14:56 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะคำแนะนำ..เกี๋ยวกับบล้อก
เราก็เล่นแบบ..ตามใจฉานนะค่ะ
เลยไม่ค่อยรุ้ว่าอะไรเป็นอะไร
ลองแก้ไขดูแล้วค่ะ..ไม่รู้ใช่เปล่า???

พักนี้เราก็ว่างเปล่ากับโลกแห่งนี้นะ

เราดูเหมือนจริงจัง
เราดูเหมือนบางเวลาก็ปล่อยวาง
เราดูเหมือนไม่เข้าใจตัวเอง
เราดูเหมือนเรารุ้จริงในสิ่งสิ่งคิดว่าใช่เลย
เราดูเหมือน..นี้ใช่ไหมอาการสับสนของชีวิต

แต่เราก็ดีอย่างว่า...เราดูเหมือนยังอยู่รอดได้แบบ..
เหมือนคนเลื่อนลอยยังไกมายรู้

จริงค่ะ

ผู้ที่ผ่านพายุร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะเรียนรู้วิธีการกระดอนกลับมาสู่สภาวะปกติได้ดีกว่าคนที่ไม่เคยผ่านเหตุการณ์ที่น่าหดหู่และสิ้นหวัง





ใช่ค่ะ

หากคุณซื้อหนังสือผิดเล่มมา หรือได้รับอาหารที่บริการจดไปผิด ให้มองมุมใหม่ว่า นี่ล่ะคือโอกาสทองที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ที่แหวกออกจากความซ้ำซากจำเจ และหากว่าคุณต้องพานพบความล้มเหลวในการงาน ให้มองว่า มันคือขั้นตอนในการพัฒนาวุฒิภาวะ ลับคมเล็บแห่งปัญญาที่จะยอมรับความจริงอย่างกล้าหาญ เที่ยงธรรม และพร้อมเดินหน้าต่อไปโดยไม่ซ้ำรอยเดิม



อยู่ที่ใจเราจะแกร่งแค่ไหน..ค่ะ
เราจะสู้จนนาทีสุดท้ายค่ะ
ถ้าชีวิตไม่สิ้น..เราขอดิ้นต่อไปค่ะ
ถึงแม้จะไม่มีใครช่วยแต่เราคิดเสมอว่า
ตัวเราคือผู้ช่วยที่ดีที่สุด..และจะเป็นอะไรที่ตามใจเรามากที่สุด
แค่นี้ก็พอสำหรับที่เราจะต่อสู่กับเศรษฐกิจและอนาคตที่ไม่แน่นอนค่ะ

เพราะมีหลายชีวิตที่คิดเสมอว่า เราคือคนเก่ง

เราคงไม่ยอมตายง่ายๆๆนะ
มามะมาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่ากับหลายสิ่งที่ได้เผชิญดีกว่าค่ะ

มายง้านนน..เราจะรู้สึกเสียเวลาเปล่ากับประสบการณ์
ที่เราใช้ทั้งชีวิตเป็นเดิมพันสิค่ะนิเท่าที่ผ่านมาค่ะ
ของนำมาใช้ประโยชน์ดีกว่าเนอะ
อาจจะมีประโยชน์สักวันหนึ่งค่ะ
ไม่มีอะไรสาย..ถ้าเรามีการเริ่มต้นเสมอ

โชคดีต้องเป็นของคุณมิตรคนดีคนนี้แน่นอน
และต้องมีโอกาสสำหรับเราแคทรียาคนนี้ด้วยสิ
ก็เราลงทุนมาทั้งชีวิตแล้วนิ..
จะขอกอบโกยบ้างค่ะถ้ามีจังหวะและโอกาสของเรา
ต้องมีสักวันสิ

สู้ๆๆๆๆนะค่ะ






โดย: catt.&.cattleya.. วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:10:16:43 น.  

 


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:10:44:16 น.  

 


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:10:56:15 น.  

 

พี่ชายที่รัก

น้องพิม เพิ่งมีเวลาอยู่บ้าน ในวันเสาร์ แบบนี้ ไม่มีมาแล้ว หลายๆ เดือน เพิ่งหายจากการเป็น ไข้หวัดใหญ่ค่ะ

โรค ยอดฮิต ที่ เป็นแล้ว ร่างกายสะบักสะบอมมากๆ

มาอ่านความรู้สึก พี่ชาย ที่ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ
แล้ว น้องพิม เห้นใจและเข้าใจความรู้สึกมากๆ ได้โปรด อย่าท้อ
หรือสงสารตัวเอง มนุษย์เราเกิดมาเพื่อเอา ปัญหาเหล่านี้ เป้ฯ เครื่องส่องทางชีวิต ให้เห็นทุกข์ ให้ เข้าใจธรรม ด้วยกันทั้งสิ้นค่ะ เดือนที่แล้ว พิมก็ มีทุกข์ หนักหนา พิจารณาแล้ว ก็ ไม่มีอะไรทั้งนั้น ...วันนั้นพิมร้องไห้ ฟูมฟาย สักพัก ...แล้วก้ ล้างหน้าล้างตา ขับรถไปบริจาคโลงศพ ทำบุญ แล้วก้ จบวันนั้นด้วยการไปบริจาคโลหิต ครั้งแรกในชีวิต ....

เอาบุญมาฝากพี่ด้วยนะคะ

ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และ ภาระผูกพันทางการเงินมันเป็นเรื่องแสนยาก สำหรับพี่ พิมว่าคงต้องหา เส้นทางอื่น มาช่วยนอกเหนือไปจากที่พี่ทำอยู่ พิมได้แต่หวังว่าเรื่องราวเก่าๆ ที่คาราคาซัง เป็นปัญหาของพี่ จะยุติลง ไม่ต่อเนื่องไปยืดยาวนะคะ มองในแง่บวก ก็ คือ การจบปัญหาส่วนนึง ที่เกิดขึ้นมาแล้ว น้องพิมหวังว่า พี่จะสามารถรักษา กายให้ สุขภาพแข็งแรง รักษาใจให้มั่นคงเข้มแข็งเพื่อเผชิญ ปัญหาต่างๆ ไปตามธรรมดา ของโลก ....ไม่ช้าไม่นาน ทุกปัญหาก็จะผ่านไปค่ะ

น้องพิม อ่านประโยคสุดท้ายที่พี่เขียนไว้ข้างบน
" ด้วยรักและ ศรัทธา "

ประโยคนี้ มีความหมายมากที่สุด ค่ะ
หนู ยังรัก และ ศรัทธา ในชีวิต อุดมการณ์ และ ความเป็นพี่ นะคะ ....ขอให้ บุญ รักษา พี่และ คุ้มครองพี่ ให้เทวดารักษาตัวพี่ คุ้มครอง นำทางและ แผ้วทางให้ พี่นะคะ

ขอให้ ยิ้ม แจ่มใส สู้ชีวิตค่ะ


โดย: ประกายดาว วันที่: 20 มิถุนายน 2552 เวลา:14:41:07 น.  

 
แผนธุรกิจออกแบบได้


--------------------------------------------------------------------------------
อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์
Positioning Magazine พฤษภาคม 2551

นับเป็นการประกวด “จูเนียร์ มาร์เก็ตเทียร์” ครั้งที่ 2 ของเซ็นทรัล กรุ๊ป และโจทย์ทางการตลาดปีนี้เป็นของ CRG ได้ส่งแบรนด์ไอศกรีม “บาสกิน รอบบิ้น” มาท้าทาย

บาสกิน รอบบิ้น อาจกลายเป็นตัวเลือกที่ถูกมองข้ามเมื่อมี สเวนเซ่นส์ ซึ่งเป็นผู้นำตลาดด้วยราคาที่ต่ำกว่ารวมถึงสาขานับร้อย ด้านฮาเก้น ดาส ก็หรูหรากว่าอย่างมิอาจเทียบได้ ขณะเดียวกันไอเบอร์รี่ก็มาแรงและฉีกกฎร้านไอศกรีมแบบเดิมๆ

โจทย์คือแผนธุรกิจแบบไหนที่จะผลักดันให้บาสกิน รอบบิ้น เป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าคู่แข่งในใจของผู้บริโภค และนั่นจะส่งผลต่อยอดขายเพิ่มขึ้นโดยปริยาย

การระดมสรรพไอเดียจากนักศึกษา ซึ่งมีความสดใหม่ทางความคิด น่าจะช่วยทำให้บาสกิน รอบบิ้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้บ้าง

แผนธุรกิจ “Re-branding” บาสกิน รอบบิ้น ความยาว 36 หน้า โดยทีม “เดอะโดม” 4 นักศึกษาสาวชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นทีมนักศึกษาจากรั้วยูงทองเพียงทีมเดียวในรอบ 20 ทีมสุดท้ายและคว้าชัยมาครองได้สำเร็จ ด้วยความแตกต่าง ในแง่ของความละเอียด เข้มข้นและกล้าที่จะคิดนอกกรอบ รวมถึงการลงทุนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการทำวิจัยด้วยตัวเอง

“ที่ผ่านมาบาสกินขาดการสื่อสารแบบ IMC ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงนำเสนอแผนเปิดตัวไอศกรีมรสชาติใหม่ หรือโปรโมชั่นใหม่ๆ ด้วยอีเวนต์ และเพิ่มช่องทางเว็บไซต์เพื่อให้เกิด Two-way Communication เช่น เล่น เกม รับของรางวัล แชร์ประสบการณ์ และคอมเมนต์ต่างๆ รวมถึงหาพันธมิตรอย่างทรู อินเทอร์เน็ต และยังร่วมมือกับ AF ในกิจกรรมต่างๆ เพราะมองว่ามีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่เหมือนกัน

นักศึกษาทีมนี้ ยังเสนอให้มีการออกแบบร้านใหม่ โดยดึงเอาการ์ตูนซึ่งเป็น Core Value ที่มีอยู่แล้วมาใช้มากขึ้น เพื่อสื่อถึงความสนุกสนาน นำเคาน์เตอร์มาตั้งไว้บริเวณหน้าร้าน เพื่อให้ลูกค้าได้มองเห็นไอศกรีมรสชาติต่างๆ เป็นต้น

“และเพิ่มช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ ใน Modern Trade ให้มากขึ้น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนียนสโตร์ เพื่อตอบสนองตลาด Take Home ซึ่งยังเป็นช่องว่างของไอศกรีมระดับพรีเมียมอยู่ ขณะที่ช่องทางอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล ก็ควรเติมเต็ม”

ขณะเดียวกันมีการเปลี่ยน Color Identity เลือกใช้สีฟ้าและสีขาวให้มากขึ้น เพื่อลดทอนความเป็นผู้หญิง ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านสีชมพูมากเกินไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโฉมสาขาใหม่

ความเป็นไอศกรีมนม 100% จะถูกหยิบยกมาตอกย้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันผู้บริโภคน้อยคนนักที่จะรับรู้ถึงเมสเสจนี้ เพื่อภาพลักษณ์ของการเป็นไอศกรีมพรีเมียมที่คุ้มค่าคุ้มราคา เป็นต้น

ที่สำคัญ พวกเธอทั้ง 4 คน จะเข้ามาร่วมงานกับทีมการตลาดของบาสกิน รอบบิ้น ของ CRG เพื่อนำแผนธุรกิจที่สร้างสรรค์มาไปแอคชั่นให้เกิดผลจริง

ต้องรอดูกันว่ากลยุทธ์การตลาดที่ขนกันมาเต็มรูปแบบทั้ง CRM, CEM, IMC, Customization, Instore Marketing, Synergy กับแบรนด์อื่นของ CRG และอื่นๆ จะช่วยทำให้บาสกิน รอบบิ้นมีสีสันน่าจับตาได้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะกับเป้ายอดขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 36% หรือจาก 210 ล้านบาท เป็น 330 ล้านบาท จากโจทย์ที่กำหนดงบการตลาดให้จำนวน 10 ล้านบาท

แผน 3 ปี Re-positioning

ระยะสั้น (1 ปี : ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 – 31 ธันวาคม 2551)
1)เพิ่มการรับรู้ในตรายี่ห้อ และสร้างให้ผู้บริโภคเกิดความรู้ในตัวสินค้า 40% ในปีแรก 60% และ 80% ในปีที่ 2 และ 3 จากกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และมีความรู้ว่าเป็นไอศกรีมนมพรีเมียมที่แตกต่าง โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ตรงกับความต้องการและทำให้พึงพอใจสูงสุด
2)กระจายสินค้าสู่ช่องทางให้ครอบคลุมเป็น 80% ของช่องทางการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ทั้งหมดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และปรับปรุงสาขาทั้งหมดให้สอดคล้องกับการวางตำแหน่งทางการตลาดใหม่
3)ทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น10% ในปีแรกให้ได้ ซึ่งต้องเพิ่มมาจากการขยายตัวของตลาด ขยายฐานลูกค้า แย่งชิงมาจากคู่แข่ง และจากลูกค้ารายใหม่

ระยะยาว (3 ปี : ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 – 31 ธันวาคม 2554)
1)สร้างการรับรู้ทั้งในตัวยี่ห้อและตัวสินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากการทดลองชิม เลือกซื้อ ซื้อ และซื้อซ้ำ เพิ่มความหลากหลาย ของตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายให้ได้ และมีการ Customization ทั้งในด้านสินค้าและบริการ
2)สร้างยอดขายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อสร้างกำไรให้มากขึ้นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
3)กระจายช่องทางให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งเพิ่มรูปแบบการจัดจำหน่ายในช่องทางแบบใหม่ๆ อย่าง Catering หรือตลาด Take Home เพราะยังมีช่องว่างทางการตลาด ยังไม่มีตรายี่ห้อใดที่เป็นผู้นำอย่างชัดเจน และมีการขยายตัวถึง 47%
4)สร้างกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5)มีการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเดิมไว้และแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งให้ได้


การวางแผนการตลาด
Brand Design ในปัจจุบัน
Brand Design หลังจาก Re-positioning

Baskin-Robbins

Brand DNA
ปัจจุบัน สีชมพู มีคุณภาพ ราคาแพง
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยน ไอศกรีมนม 100% สนุกสนาน หลากหลาย

Attributes
ปัจจุบัน การตกแต่งร้านจะใช้สีหลัก สีชมพู มี BR เป็นตัวย่อของตรายี่ห้อ และมีตัวเลข 31 สื่อว่าภายใน 1 เดือนลูกค้าสามารถเลือกทานไอศกรีมที่ร้านได้โดยไม่ซ้ำรสชาติ โดยมีลูกเล่นคือมีการซ้อนตัวอักษร BR และตัวเลข 31 เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมทั้งมีการใช้สีชมพูด้วย
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยน เพื่อให้ผู้บริโภคเกิด Brand Recognition ภายใต้ตรายี่ห้อ “Baskin-Robbins” ส่วนประสมทางการตลาดทั้งหมดจะเน้นสีชมพูเเละน้ำเงินเป็นหลัก เเละตัวเลข “31” เพื่อให้นึกถึงไอศกรีมที่ผลิตจากนม 100% ที่มีรสชาติให้เลือกอร่อยตลอด 31 วันโดยไม่ซ้ำรสชาติ


Benefits
ปัจจุบัน รสชาติถูกปากด้วยการผลิตจากนม 100% ใช้วัตถุดิบมีคุณภาพไม่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชและวัตถุกันเสีย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นผู้นำนวัตกรรมไอศกรีม โดยเฉพาะในเรื่องของรสชาติ ที่รองรับกับความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า 1,000 รสชาติ ทั้งแบบไทย สากล ไขมันต่ำ และไม่มีไขมัน
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยน รสชาติถูกปากอย่างมีคุณภาพ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ แคลเซียมสูง มีการออกไอศกรีมรสชาติแปลกใหม่และหลากหลายให้เลือก พร้อมสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค ทั้งการนั่งรับประทานภายในร้าน การถือทาน และ Take Home นอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงสาขาให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่


Personality
ปัจจุบัน เป็นร้านสำหรับผู้หญิง เพราะใช้สีชมพูที่ดูหวานแต่ไม่ได้แสดงถึงความสดใส กลายเป็นร้านที่เรียบเฉย ขาดลูกเล่นในการตกแต่งร้าน ไม่สดใส ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ ผู้บริโภคที่เป็นชายเองก็ไม่กล้าเข้าแต่มีความจริงใจด้วยการให้ชิมไอศกรีมได้ทุกรสชาติ รับรู้ได้ถึงการเป็นมิตร
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยน ผู้บริโภคทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะสัมผัสได้ถึงความสนุกสนานขณะรับประทานไอศกรีม ทั้งจากกิจกรรม บรรยากาศภายในร้าน เสียงเพลงและการตกแต่ง รวมทั้งจากความกระตือรือร้น ร่าเริง เป็นมิตรจากการบริการของพนักงาน


กลยุทธ์ในปีที่ 1 ปรุงโฉมสร้างประสบการณ์ใหม่
ปรับโฉมสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ใหม่ นำความเป็นพรีเมียม สนุกสนาน สดชื่น ทันสมัยผสมผสานกันอย่างลงตัว บรรยากาศร้านให้ความรู้สึกสบายๆ อบอุ่น เป็นกันเอง เเละผ่อนคลายจากกิจกรรมภายในร้านครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ยังเจาะตลาด Take Home ทั้งการซื้อจากทางร้านโดยตรง การซื้อจากตู้เเช่ตามซูเปอร์มาร์เก็ต เเละพัฒนาบริการจัดส่งลักษณะDelivery โดยการทำ Co-promotion ร่วมกับ Pizza Hut ผ่านช่องทาง 1150

กลยุทธ์ปีที่ 2-3 กระจายสินค้าให้ครอบคลุม
กลยุทธ์ขั้นต่อไปเป็นตอบสนองลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแหล่งสำคัญๆ ในแต่ละจังหวัด และมีเป้าหมายกระจายช่องทางจัดจำหน่ายใหม่ๆ ที่ยังมีช่องว่างทางการตลาดอยู่ อย่างอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล สวนสนุก รวมถึงธุรกิจการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ (Catering)หรือตลาด Take Home เพราะยังมีช่องว่างทางการตลาด ยังไม่มีตรายี่ห้อใดที่เป็นผู้นำอย่างชัดเจน และมีการขยายตัวถึง 47%

สร้างความแตกต่างด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel Differentiation)
ลักษณะของร้าน จะตกแต่งด้วยตัวการ์ตูนหลักของ Baskin-Robbins สื่อให้เห็นถึงความสนุกสนาน โดยเน้นสีชมพู ขาว เเละน้ำเงิน มีการสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นไอศกรีมนม 100% ผ่านโปสเตอร์ที่ติดอยู่รอบบริเวณร้าน บนโต๊ะมีป้ายสามเหลี่ยมตั้งโต๊ะด้านหนึ่งเน้นว่าไอศกรีม Baskin-Robbins ผลิตจากนม 100% และสองด้านที่เหลือจะเน้นถึงโปรโมชั่นและรสชาติที่ออกใหม่ เเละมีกล่องรูปทรงไอศกรีมของ Baskin-Robbins ซึ่งบรรจุกระดาษเช็ดปาก ใบเเสดงความคิดเห็นเเละปากกา ภายในร้านมีรูปแบบและจำนวนของที่นั่งแตกต่างเเละหลากหลายตอบรับกับไลฟ์สไตล์ ที่ลูกค้าอาจมาคนเดียว เป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม มีการจัดวางเคาน์เตอร์ไอศกรีมเป็นรูปตัว L อยู่ตรงทางเข้าร้าน มีจุด Topping Counter


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:10:11:23 น.  

 





วันนี้วันพระค่ะ
ขึ้น 15ค่ำ เดือน 8
ขอฝากภาษาข้อคิดที่ได้ใจดีจังเลยค่ะ

วิสัยมนุษย์ ได้ยินเสียงนกร้องก็ชอบ
ได้ยินเสียงกบร้องก็ชัง
เห็นดอกไม้ก็อยากจะปลูก

ซึ้งล้วนแต่ใช้อารมณ์ตามรูปลักษณ์ทั้งสิ้น
ถ้าหากพิจารณาตามรูปลักษณ์ธรรมชาติ
อันใดเล่าที่มิใช่ร้องรำทำเพลงไปตามธรรมชาติ?
มิใช่งอกงามตามวิถีแห่งการเจริญเติบโตของชีวิต

อารมณ์ แห่งความวิตกยินดี ชังหรือชอบ
ล้วนเพราะเห็นคล้อยไปตามรูปลักษณ์

นิทัศน์อุทาหรณ์

อนุโมทนาค่ะ..กัลยาณมิตรทุกๆๆคน
ที่แวะเข้าหาด้วยความรู้สึกที่ดี



สู้ๆๆกับชีวิตนะค่ะ
กำลังใจยิ่งใหญ่คือใจเราค่ะ



โดย: catt.&.cattleya.. วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:13:04:41 น.  

 


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:22:51:36 น.  

 
เพลงจาก You tube ข้างบนอีกเพลงหนึ่ง

เจนนิเฟอร์ คิ้ม - ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:23:53:52 น.  

 







วันนี้วันพระค่ะ
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8
ขอฝากภาษาข้อคิดที่ได้ใจดีจังเลยค่ะ

พ่อเคยสอน
ลำน้ำสายแคบ
แต่น้ำใจแสนกว้าง

.............

แม่เคยสอน
คนบางคนบ้านกว้าง
แต่น้ำใจแสนแคบ

........

จำคำแม่พ่อ
ขอเป็นดั่งสายน้ำ
นำความชุ่มชื้น
สู่ผืนใจแตกระแหงฯ


อนุโมทนาค่ะ..กัลยาณมิตรทุกๆๆคน
ที่แวะเข้าหาด้วยความรู้สึกที่ดี





โดย: catt.&.cattleya.. วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:21:52:32 น.  

 
คัดจากเวบไซด์ลานธรรมจักร

//www.dhammajak.net/zen/50.html

เรื่อง เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก
นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ
...

นิทานสุดท้าย ที่อยากจะเล่า ก็คือ เรื่อง เกี่ยวกับเซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก ตามชื่อ ของหนังสือ เล่มหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า "เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก" คือ หนังสือ ที่เอามา เล่านิทาน ให้ฟัง นี้เอง ควรจะทราบ ถึงคำว่า เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก ด้วยจะง่าย ในการเข้าใจ เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก หมายความว่า ธรรมะ ชั้นที่เป็นเนื้อ เป็นกระดูก ยังไม่ถึง เยื่อในกระดูก ธรรมะชั้นลึกจริงๆ จัดเป็น ชั้นเยื่อในกระดูก นี่เราจะเล่ากัน แต่เรื่อง ชั้นเนื้อ และชั้นกระดูก หมายความว่า ในนั้นมันมี ชั้นเยื่อในกระดูก อีกทีหนึ่ง ถ้าเข้าไม่ถึง มันก็ติดอยู่ แค่เนื้อแค่กระดูก เหมือนที่ เราไม่เข้าถึง หัวใจ ของ พระพุทธศาสนา แล้วก็คุยโวอยู่ ซึ่งมันเป็น ชั้นเนื้อ ชั้นกระดูก ทั้งนั้น ไม่ใช่ ชั้นเยื่อในกระดูกเลย และเมื่อจะพูดกัน ถึงเรื่องนี้ เขาเล่า นิทาน ประวัติ ตอนหนึ่ง ของ ท่านโพธิธรรม คือ อาจารย์ ชาวอินเดีย ที่ไป ประเทศจีน ที่ไป ประดิษฐาน พระพุทธศาสนา นิกายธยานะ ลงไปใน ประเทศจีน ซึ่งต่อมา เรียกว่า นิกายเซ็น ญี่ปุ่นเรียกว่า เซ็น หรือภาษาจีน เรียกว่า เสี่ยง

เมื่อท่านโพธิธรรม อยู่ในประเทศจีน นานถึง ๙ ปี ท่านก็อยากจะ กลับอินเดีย ทีนี้ไหนๆ จะกลับทั้งที อยากจะลอง สอบดูว่า บรรดาศิษย์ ต่างๆ ที่สอนไว้ที่นี่ ใครจะรู้อะไร กี่มากน้อย ก็เลยเรียก มาประชุม ถามทำนอง เป็นการสอบไล่ว่า ธรรมะที่แท้จริง นั้นคืออะไร ข้อสอบ มีเพียงสั้นๆว่า "ธรรมะที่แท้จริง นั้นคืออะไร?"

ศิษย์ชั้นหัวหน้าศิษย์ ที่เรียกว่า ศิษย์ชั้นมีปัญญา เฉียบแหลม ชื่อ ดูโฟกุ ก็พูดขึ้นว่า "ที่อยู่ เหนือ การยอมรับ และ อยู่เหนือ การปฏิเสธ นั้นแหละ คือ ธรรมะ ที่แท้จริง" คำตอบอย่างนี้ ก็ถูกมากแล้ว ถ้า ผู้ใดฟัง ไม่เข้าใจเรื่องนี้ พึงจัดตัวเองว่า เป็นผู้ที่ ยังไม่รู้ธรรมะได้เลย ไม่รู้ธรรมะ อะไรเลยก็ว่าได้ ถ้าไม่รู้จัก สิ่งที่เหนือ การยอมรับ และการปฏิเสธ

ท่านอาจารย์ ก็บอกว่า "เอ้า! ถูก! แกได้ หนัง ของฉันไป" นี้ หมายถึง หนังที่หุ้มชั้นนอก ไม่ใช่เนื้อ ไม่ใช่กระดูก คือ ชั้นหนังแท้ๆ เสร็จแล้ว คนนี้ นั่งลง

นางชีคนที่ชื่อ โซจิ ก็ยืนขึ้น แล้วบอกว่า "สิ่งที่เห็นครั้งเดียว แล้วเป็น เห็นหมด เห็นตลอดกาล นั่นแหละ คือธรรมะแท้จริง"

ท่านอาจารย์ ก็บอกว่า " เอ้า! ถูก! แกได้ เนื้อ ของฉันไป" คือมัน ถูกกว่า คนทีแรก จึงได้เนื้อไป แล้วเขาก็นั่งลง

คนที่สาม ยืนขึ้น ตอบว่า "ที่ไม่มีอะไรเลย นั่นแหละ คือ ธรรมะ" เขาใช้คำว่า ไม่มีอะไรเลย เท่านั้น แต่เรา ขยายความ ออกไป ก็ได้ว่า ไม่มีอะไร ที่ถือ เป็นตัวตน เลย นั่นแหละ คือธรรมะแท้จริง

อาจารย์ ก็บอกว่า "ถูก! แกได้ กระดูก ของฉันไป" คือ ลึกถึง ชั้นกระดูก

ศิษย์อีกคนหนึ่ง เป็นศิษย์ก้นกุฎิ ชื่อ เอก้า ยืนขึ้น หุบปากนิ่ง แล้วยัง เม้มลึก เข้าไป ซึ่งแสดงว่า นิ่งอย่างที่สุด เป็นการแสดงแก่อาจารย์ว่า นี่แหละ คือ ธรรมะ การที่ต้อง หุบปาก อย่างนี้แหละ คือธรรมะ อาจารย์ ก็ว่า "เออ! แกได้ เยื่อในกระดูก ของฉันไป"

นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอย่างไร บรรดา ครูอาจารย์ ทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่มี สติปัญญา ได้ศึกษา เล่าเรียน มามาก จงลองคิดดู คำตอบที่ว่า อยู่เหนือ การยอมรับ และปฏิเสธนั้น ยังถูกน้อยกว่า คนอื่น ส่วนผู้ที่ตอบว่า ลงเห็นทีเดียวแล้ว เห็นหมด และ เห็นตลอดกาล ด้วย นี่ยังถูกกว่า แล้วที่ว่า ไม่มีอะไรเลยนั้น ยิ่งถูกไปกว่าอีก แล้วที่ถึงกับว่า มันพูดอะไรออกมาไม่ได้ มันแสดงออกมาเป็น คำพูด ไม่ได้ จนถึงหุบปากนิ่งนี้ ยิ่งถูกกว่าไปอีก นี่แหละ พวกเรามี สติปัญญา ละเอียด สุขุม แยบคาย มีความสำรวม ระมัดระวัง สงบอกสงบใจมาก จนถึงกับว่า ไม่หวั่นไหว และเข้าใจ เรื่องไม่หวั่นไหว หรือไม่มีอะไรนี้ได้หรือไม่ ขอให้ลองคิดดู ถึงจะยังทำเดี๋ยวนี้ไม่ได้ ก็ขอให้เข้าใจว่า แนวของมัน เป็นอย่างนั้น คนที่รู้ อะไรจริงๆ แล้ว จะไม่พูดอะไรเลย เพราะรู้ซึ้ง ถึงขนาดที่อยู่ เหนือวิสัย ของการบรรยาย ด้วยคำพูด อย่างที่ เล่าจื้อ ว่า "คนรู้ไม่พูด คนที่พูด นั้นไม่ใช่ คนรู้" นี่ก็หมายถึง ตัวธรรมะจริงๆ นั้น มันพูดไม่ได้ ถึงแม้ ที่อาตมา กำลังพูด อยู่นี่ ก็เหมือนกัน ยังไม่ใช่ธรรมะจริง เพราะมันยังเป็น ธรรมะที่พูดได้ เอามาพูดได้ ลองทบทวนดูว่า ท่านเคยเข้าใจ ซึมซาบ ในความจริง หรือ ในทฤษฎีอะไร อย่างลึกซึ้ง จนท่านรู้สึกว่า ท่านไม่อาจ บรรยาย ความรู้สึก อันนั้น ออกมา ให้ผู้อื่นฟัง ได้จริงๆ บ้างไหม? ถ้าเคย ก็แปลว่า ท่านจะเข้าใจถึง สิ่งที่พูด เป็นคำพูด ไม่ได้

ธรรมะจริง มันพูดไม่ได้ ต้องแสดงด้วย อาการ หุบปาก แต่ขอให้ถือว่า เรากำลังพูดกัน ถึงเรื่องวิธี หรือ หนทาง ที่จะเข้าถึงธรรมะจริง ก็แล้วกัน แต่ว่า เมื่อเข้าถึงธรรมะจริง แล้ว มันเป็นเรื่อง ที่จะต้อง หุบปาก แต่ถึงกระนั้น มันก็เป็นสิ่งที่ จะต้องถึงเข้า ข้างหน้า เป็นแน่นอน ไม่มี ครูบาอาจารย์ คนไหน จะมีอายุเท่านี้ อยู่เรื่อยไป คงจะเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนเฒ่า คนแก่ เห็นโลก ในด้านลึก เห็นชีวิต ด้านลึก โดยสิ้นเชิง เป็นแน่ ฉะนั้นจึงควร เตรียมตัว ที่จะเข้าถึง แนวของ ธรรมะ เสียแต่ป่านนี้ จะไม่ขาดทุน และก็ไม่ใช่ว่า เป็นเรื่องเศร้า หรือ เป็นเรื่องน่าเบื่อ จนเกินไป

ในที่สุด เราจะต้องมานึกกัน ถึงเรื่อง เปลือก และ เนื้อ บ้าง นิทาน ทั้งหลายนั้น มันเหมือนเปลือก ส่วน spirit ของนิทานนั้น เหมือนกับเนื้อใน แต่ว่า เปลือกกับเนื้อ จะต้องไปด้วยกัน ครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย อย่าได้เกลียด เปลือก และ อย่า ได้ยึดมั่น ถือมั่น เอาแต่เนื้อ มันจะเน่าไปหมด ข้อนี้หมายความว่า ถ้าเนื้อไม่มีเปลือก มันจะเน่า จะต้องเป็นเนื้อที่เน่า เนื้อที่มีเปลือก เท่านั้น ที่จะไม่เน่า เหมือนอย่างผลไม้ ถ้าไม่มีเปลือก เนื้อมันจะอยู่ได้อย่างไร จะเป็นมังคุด ทุเรียนอะไรก็ตาม ถ้ามันไม่มีเปลือก ของมัน เนื้อของมันจะอยู่ได้อย่างไร จะสำเร็จประโยชน์ ในการบริโภคของเราได้อย่างไร ทั้งที่เราต้องการบริโภคเนื้อ เปลือกของมัน ก็ต้องมี หรือว่า การที่ผลไม้มันจะออกมาจากต้น มีดอกแล้ว จะเป็นลูก มันยังต้อง เอาเปลือกออกก่อน เพื่อให้เนื้อ อาศัยอยู่ในเปลือก แล้วเจริญขึ้น ถ้าไม่มีเปลือก ส่งเนื้อ ออกมาก่อน มันก็เป็นต้นไม้ ที่โง่อย่างยิ่ง คือ มันจะเป็นผลไม้ขึ้นมาไม่ได้ เพราะเยื่อนั้น จะต้องเป็นอันตราย ไปด้วย แสงแดด ด้วยลม ด้วยอะไรต่างๆ หรือ มดแมลง อะไรก็ตาม ฉะนั้น มันต้องมีเปลือก ที่แน่นหนา เกิดขึ้นก่อน เนื้อเจริญขึ้น ในนั้น ก็เป็นผลไม้ ที่เติบโต แก่ สุก บริโภคได้ นั่นคือ คุณค่าของเปลือก มองดูอีกแง่หนึ่ง มันก็ยิ่งกว่าเนื้อ มันมีค่า มากกว่า เนื้อก็ได้ เพราะ มันทำให้ เนื้อ เกิดขึ้นได้ สำเร็จประโยชน์ แต่เราก็ ไม่มีใคร กินเปลือก เพราะ ต้องการจะ กินเนื้อ ฉะนั้น เราจะต้องจัด เปลือก และ เนื้อให้ กลมกลืน กันไป

นิทานอิสป หรือ นิทานอะไรก็ตาม ตัวนิทาน มันเหมือนกันกับ เปลือก ที่จะรักษา เนื้อใน ไว้ ให้คงอยู่ มาจนถึงบัดนี้ได้ ถ้าไม่ใส่ไว้ ในนิทานแล้ว ความคิดอันลึกล้ำ ของอิสป อาจจะไม่มาถึงเรา มันสูญเสีย ก่อนนานแล้ว และ จะไม่มีใคร สามารถ รับช่วงความคิด นั้นมาถึงเรา เพราะว่า เขาไม่มี การขีด การเขียน ในสมัยนั้น หรือว่า เอาตัวอย่างกัน เดี๋ยวนี้ว่า ชนชาติเอสกิโม ทางแลปแลนด์ ทางขั้วโลกเหนือนั้น ก็ยังมีวัฒนธรรม หรืออะไรของเขา เล่าต่อกันมา เป็นพันๆปี ยังพูด ยังเล่า ยังสอนกันอยู่ ชนพวกนี้ ไม่มีหนังสือเลย เดี๋ยวนี้ก็ยัง ไม่มีหนังสือ พวกเอสกิโม อยู่ใน "อิกลู" หรือ กระท่อม ที่ทำขึ้นด้วย แท่งน้ำแข็ง แต่พอถึง เย็นค่ำลง ก็จุดตะเกียง เข้าใน กระท่อม แล้วคนที่แก่ ชั้นปู่ ก็นั่งลง เล่าสิ่งต่างๆ ที่ได้ยิน มาจาก บิดา จากปู่ จากทวด เด็กเล็กๆ ก็มา นั่งล้อม และ ฟัง ไม่ใช่ฟังเฉยๆ จำด้วย ทำอย่างนี้ไป เรื่อยทุกวันๆ จนเด็กเหล่านี้ โตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ เป็นบิดา เป็นปู่ ก็ยังเล่าต่อไปอีก ฉะนั้น จึงสืบสิ่งต่างๆ ไปได้เป็นพันๆ ปี แล้วก็อยู่ใน "เปลือก" คือนิทานทั้งนั้น เขาจะต้อง เล่าเป็นนิทาน อย่างนั้น ชื่อนั้น ที่นั่น อย่างนั้นๆ ทั้งนั้น นั่นแหละ คือ อานิสงฆ์ ของเปลือก.



...........
//www.buddhadasa.com

นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา


โดย: คนเดินดินฯ IP: 124.121.151.37 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:09:45 น.  

 


ฐิตินาถ ณ พัทลุง ที่ปรึกษาชีวิต


--------------------------------------------------------------------------------
ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
Positioning Magazine มิถุนายน 2551

การก้าวผ่านวิกฤตครั้งใหญ่ ไม่เพียงแค่ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งค้นพบความสุขที่แท้จริงในชีวิต แต่ยังทำให้เธอตกผลึกทางความคิดกลั่นกรองเป็นตัวหนังสือ แล้วส่งต่อมันเป็น “เข็มทิศชีวิต” ให้กับคนที่มีปัญหาอีกมากมายในสังคม จนเป็นปรากฏการณ์ที่หนังสือธรรมะกลายเป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งของประเทศ แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยยอดขายกว่า 5 แสนเล่ม จากการพิมพ์ล่าสุดครั้งที่ 53 จดหมายนับหมื่นฉบับที่เขียนมาถึง อีเมลวันละ 160 ฉบับ ไม่รวมโทรศัพท์และคำถามที่ถามตรงกับตัว ทำให้ความคิดและคำพูดของฐิตินาถ ณ พัทลุง กลายเป็นที่ปรึกษาชีวิตของคนนับล้านในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

“สิ่งที่ ‘เข็มทิศชีวิต’ สื่อสาร คือ คนจะรู้สึกว่าถ้าอ้อยผ่านจุดนั้นมาได้อย่างดี เขาก็น่าจะทำได้เหมือนกัน เพราะชีวิตคนทุกคนต้องเจอวิกฤตการณ์ สิ่งที่หนังสือเข็มทิศชีวิตบอกก็คือไม่ว่าวันนี้คุณเจออะไร ทุกคนมีทางเลือก ณ วันที่อ้อยเจอเรื่องราว ชีวิตอ้อยติดลบร้อยล้าน ความรักไม่มี ลูกไม่มีพ่อ คนทั้งโลกมองว่าอ้อยต้องเบี้ยวหนี้แน่ๆ”
ฐิตินาถ ณ พัทลุง พูดถึงที่มาของหนังสือ “เข็มทิศชีวิต” ที่ทำให้เธอกลายเป็นที่ปรึกษาที่ต้องเผชิญสารพัดคำถามในการแก้ปัญหาชีวิตในวันนี้

ภาษิตที่ว่า If one man can do, then another can do. จึงเป็นเหตุผลของตอบรับ “เข็มทิศชีวิต” ที่คนส่วนใหญ่พร้อมจะเชื่อว่าสิ่งที่เล่าผ่านหนังสือเล่มนี้เป็นไปได้จริง

แม้เธอจะพูดเล่นๆ ว่าดีใจที่หนังสือขายดีอันดับหนึ่งของเมืองไทยเป็นหนังสือธรรมะ แทนที่หนังสือสอนใช้ซอฟต์แวร์และหนังสือผี แต่สิ่งที่เธอน่าจะดีใจอย่างเห็นได้ชัดคือการที่หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหน่วยกู้ภัยให้กับอีกหลายชีวิตที่ต้องเจอกับปัญหาซึ่งอาจจะน้อยหรือมากกว่าที่เธอเคยเจอ และกลายเป็นเรื่องน่ายินดีที่เธอมักได้ข่าวดีต่างๆ อยู่เสมอจากคนที่ได้รับรู้เรื่องราวของเธอ

ครั้งล่าสุดที่เธอเพิ่งออกรายการโทรทัศน์ มีผู้ชายคนหนึ่งโทรมาหาเธอแล้วเล่าว่า เขาเปลี่ยนใจที่จะไม่ฆ่าตัวตายเพราะบังเอิญได้ยินเธอกำลังเล่าวิกฤตชีวิตของเธอออกทีวีเมื่อ 2 ปีก่อน และแนะนำให้คนที่มีปัญหารู้จักเลือกตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ทำให้ครอบครัวของเขายังอยู่กันพร้อมหน้า เพียงแค่เปลี่ยนจากการเป็นเจ้าของกิจการมาอยู่อย่างสมถะ แต่ภรรยาและลูกดีใจที่เขายังอยู่ และหนังสือเข็มทิศชีวิตก็อยู่บนหัวเตียงเขาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

ผ่านวิกฤตเพราะคิดได้ตก

วิกฤตที่ฐิตินาถผ่านมานั้น ทำให้เธอล่มสลายทั้ง ปัจจัย 4 ความรู้สึกปลอดภัย สังคมเพื่อนฝูง การยอมรับในตัวเอง และความศรัทธาในสิ่งที่มนุษย์ทำได้สูงสุด ครบตามหลัก 5 ประการของมาสโลว์

“อ้อยเป็นคนที่ไม่ชอบสงสารตัวเอง ไม่ชอบตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลือกไม่ได้ เพราะฉะนั้นพอเกิดอะไรขึ้นปุ๊บ ก็จะดูว่ามันมีอะไรในเรื่องนี้แล้วเราเอามาใช้ได้ อ้อยพบว่าทุกเรื่องไม่ได้ดีหรือร้ายในตัวมันเอง เหมือนอยู่ๆ ใครจะรู้ว่าการที่อ้อยต้องมาเจอหนี้ร้อยล้าน สามีตาย ถูกนินทาว่าร้าย จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่ดีที่สุดในวันนี้ มองจากเหตุการณ์มันเป็นไปไม่ได้แต่มันดีได้ จึงรู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนผู้คนว่า วันนี้ไม่ว่าเขาจะเจออะไร ให้เริ่มกลับมาตั้งคำถามกับศรัทธาของตัวเราเองว่า จริงๆ เราเป็นใคร เป็นอะไร”

วิธีการที่จะหาตัวตนของตัวเองที่เธอพูดถึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูดเพราะอ่อนแอ

“สิ่งที่พูดถึงในเข็มทิศจะนุ่มนวลและปลอบประโลมจิตวิญญาณได้ดีในการรักษาคน ไม่ว่าจะถูกปฏิเสธอย่างไร แต่เราไม่สามารถใช้กรอบความคิดเราไปตัดสินการกระทำของใครได้ เพราะเราไม่รู้จักเขาจริงๆ ว่าเขามาจากแง่มุมไหนของความคิด ขณะเดียวกันเราก็ไม่สามารถให้ใครมาตัดสินเราได้ เพราะฉะนั้นเมื่อไรที่เราเงี่ยหูฟังหรือหวั่นไหว เมื่อไรก็ตามที่เราอ่อนแอ เราจะเชื่อในสิ่งที่คนอื่นพูด แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรารู้ชัดๆ ว่าเราเป็นใคร ทำอะไรอยู่ เราจะไม่กังวลในสิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับเราเลย ชมก็ไม่ลอย ด่าก็ไม่โกรธ การรู้จักตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากของบุคคลแต่ละคน”

ฐิตินาถใช้หนี้ร้อยกว่าล้านหมดภายใน 2 ปีครึ่ง ถ้าเธอจะเลือกทางกลับไปมีชีวิตแบบเดิมเริ่มต้นธุรกิจใหม่ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก แต่เธอใช้เวลาอีก 4 ปีต่อมาตกผลึกทางความคิดจนเกิด เข็มทิศชีวิต ซึ่งทำให้หลายคนได้เจอทางเลือกใหม่ของชีวิตเหมือนที่เธอพบ
มุมการตลาดจาก “เข็มทิศชีวิต”

ถ้าถามว่าหนังสือเข็มทิศชีวิตขายด้วยตัวเนื้อความ โดยไม่ได้ทำการตลาดเลย ก็คงไม่ใช่

เรื่องราวของฐิตินาถถูกมองเป็นสินค้าตั้งแต่วันแรก มีสำนักพิมพ์ถึง 7 แห่ง ติดต่อให้เธอเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้น แต่เมื่อเธอเขียนเสร็จกลับถูกบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ระดับแนวหน้าของประเทศถึง 3 คนปฏิเสธ ที่จะตีพิมพ์และให้เธอกลับไปเขียนมาใหม่

“เขาบอกใครจะอ่านเรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องของจิตใจไม่ได้อิงกระแส ขายไม่ได้หรอก คนที่ 2 บอกธรรมะต้องหวานๆ ไม่ใช่วิพากษ์รัฐบาลเศรษฐกิจ ไม่เวิร์ค คนที่ 3 บอกต้องเขียนเรื่องตัวเองเหมือนเขียนเรื่องคนดังดารา เขียนเป็นเรื่องของหลักชีวิต คนไม่อ่านหรอก”

4 ปีก่อนที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น กระแสหนังสือธรรมะในเมืองไทยยังไม่เกิด แต่ฐิตินาถก็มั่นใจกับสิ่งที่ตัวเองทำ เพราะเธอบอกว่า ต่อให้ต้องเปรียบเทียบหรือแข่งกับคนอื่น ถ้าเรารู้ชัดว่าตัวเองเป็นใคร ทำอะไร เหมือนที่เรารู้จักสินค้า รู้จักธุรกิจของตัว หลับตาก็เห็นทะลุ ก็ไม่ต้องกลัวเรื่องการแข่งขัน แต่ปัญหาก็คือ จิตใจคนไม่เคยเงียบพอที่จะได้ยินเสียงภายในหรือใช้ความรู้สึกในการรับรู้สิ่งที่คนอื่นไม่ได้พูด แม้กระทั่งผู้บริโภค ก็ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร

เมื่อคิดเช่นนี้ เธอจึงมั่นใจที่จะบอกกับบรรดาบรรณาธิการเหล่านั้นว่า เธอมั่นใจว่าเข็มทิศชีวิตจะขายได้เกินแสนเล่ม

“เขาบอกว่า คุณตลกแล้ว สามพันก็ขายให้ได้เถิด แฮรี่ พอตเตอร์ ที่ว่าขายดีตอนนั้นก็ยังไม่กี่หมื่นเอง แต่อ้อยรู้ว่า ถ้าเรารู้จักโปรดักส์ของเราชัด อ้อยไม่คิดเรื่องเงินด้วยซ้ำ อ้อยรู้ว่าอยากเสนออะไรให้คนอื่น ไม่ต้องกังวลเลย อ้อยจะขับเคลื่อนมัน”

สำนักพิมพ์อาศรมสารนาถจึงเกิดขึ้น เพื่อพิมพ์หนังสือเข็มทิศชีวิตออกขาย ลงทุนเอง จัดจำหน่ายเอง โดยมีสำนักพิมพ์วงกลมช่วยประสานงานกับโรงพิมพ์ และตลอดเวลา 4 ปีกว่า ก็มีหนังสือที่พิมพ์ออกมาเพียงเล่มเดียว โดยเพิ่งจะมีผลงานของ ศิริรัตน์ ณ พัทลุงออกมาเป็นเล่มที่ 2 เมื่อไม่นานมานี้

“อ้อยตกผลึกในช่วง 7 ปีหลังเจอวิกฤต เวลาอ้อยเกิดอะไรขึ้นอ้อยจะชอบเดิน เราก็จะรู้ด้วยใจตัวเอง จะเห็นเลยว่าไม่มีอะไรเลยเราก็อยู่ได้ แต่ละเรื่องมันดี ทำให้เราโต ไม่ว่าคุณเจออะไรอยู่ มันดีกับชีวิตคุณทั้งนั้นเลย มันเหมือนเป็นประตูที่ทำให้ชีวิตก้าวออกไปอย่างที่คุณคิดไม่ถึงเลย เป็นความสุข ความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคง ความเป็นอิสระของจิตใจ”

เห็นสินค้าชัดในด้านเนื้อหา ด้านการผลิตฐิตินาถอยากให้หนังสือเล่มนี้ได้มาตรฐานไม่แพ้หนังสือเมืองนอก ที่พิมพ์สี่สีในแบบที่ตัวเองอยากอ่าน ซึ่งการลงทุนตามแบบที่ตั้งใจ ได้ผลลัพธ์ในแง่ของเรื่องเงินกลับมามโหฬาร

“นอกจากตัวเนื้อหา เราก็ต้องเลือกองค์ประกอบที่ดีในการนำเสนอ ไม่ใช่ของเราดีแล้วคนจะกินอย่างไรก็ได้ อ้อยไม่เห็นด้วย ของดีต้องมีแพ็กเกจดีมีการสื่อสารที่ดี”

ด้านการสื่อสาร การบรรยายตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาของเธอ จึงเปรียบเป็นต้นทุนการตลาดในการสร้างการรับรู้ให้กับสินค้าตัวนี้นั่นเอง
เพราะเป็น ‘ธรรมะ’

ยอดขายหลายแสนเล่มของหนังสือ ส่วนหนึ่งมาจากการการทำโปรโมชั่นให้แลกซื้อได้ในราคา 59 บาท เมื่อซื้อสินค้าในเซเว่นครบ 40 บาท จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นโครงการที่บริษัท ซีพีออล จำกัด จัดขึ้นเพื่อต้องการให้คนไทยมีโอกาสได้อ่านหนังสือมากขึ้น

“โครงการนี้พนักงานเซเว่นเขาก็รู้สึกเหมือนเขาได้ทำบุญด้วย ราคาปกติ 180-200 บาทไม่มีใครซื้อหรอก อ้อยปรับราคาไม่เกิน 60 บาท ที่เหลือให้เซเว่นเป็นคนจัดการ”

ไม่เพียงแต่เด็กขายลูกชิ้นปิ้งที่ฐิตินาถเห็นกับตาว่าเขายืนอ่านเข็มทิศชีวิตระหว่างขายของ บนรถเมล์หรือที่ต่างๆ ก็มีโอกาสพบคนถือหนังสือเล่มนี้ได้บ่อยๆ

“มีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นเกษตรกรชาวไร่ชาวนา เขียนมาหาอ้อย บอกว่าในชีวิตนี้เคยแต่ซื้อหนังสือมาตรวจรางวัลในวันหวยออก เข็มทิศชีวิตเป็นพ็อกเกตบุ๊กเล่มแรกที่ได้อ่าน ทำให้เขาได้คิดว่าทำไมเกษตรกรอย่างเขา และคนทั้งหมู่บ้านต้องรอวิ่งไปซื้อกับข้าวจากรถขายกับข้าวทั้งที่ตัวเองเป็นเกษตรกร หมู่บ้านที่อ้อยอยู่ก็เป็นเกษตรกรหมด แต่ทุกคนก็ไปซื้อของที่ร้านกับข้าวที่เอาจากในเมืองมาขาย แพงกว่าซูเปอร์อีก ตลกไหม เป็นเพราะเราใช้ชีวิตโดยไม่ได้หยุดคิดว่าเรากำลังทำอะไรอยู่”

หนังสือเล่มเดียว ขายต่อเนื่องมาตลาด 4 ปีในเมืองไทย วันนี้อยู่ระหว่างรอผลผลิตภาคภาษาอังกฤษ เกาหลี จีน และญี่ปุ่น เพื่อไปวางตลาดต่างประเทศ จากคนไทยที่เคยรับงานเขียนเรื่องธรรมะจากต่างประเทศเข้ามาทั้งที่เป็นเมืองพุทธ กำลังจะมีผลงานเเกี่ยวกับธรรมะส่งออกไปให้ต่างชาติได้อ่านเพิ่มขึ้นอีก 1 เล่ม

ส่วนคนไทยก็เป็นไปได้ว่า เสียงเรียกร้องที่ดังขึ้น อาจจะทำให้มีโอกาสได้เห็นเข็มทิศชีวิตเล่มที่ 2 ออกมาให้อ่านกัน เพราะอย่างน้อย ที่ปรึกษาชีวิตคนนี้ก็กล่าวทิ้งท้ายไว้แบบมีหวังว่า

“หลายคนถามอ้อยตรงๆ อยากได้รายละเอียดว่าจ่ายหนี้อย่างไร บอกเป็นขั้นตอนได้ไหม อ้อยกำลังคิดทีละเรื่อง เช่น ตอนที่บริษัททำร้านเพชรเพิ่งเปิดได้เดือนเดียว และขยาย 9 ร้านใน 6 เดือนทั้งที่ไม่มีเงินสักบาท หรือเรื่องความสำคัญที่รู้สึกดีกับตัวเอง ก็ดูๆ อยู่”


3 ปัญหายิ่งใหญ่ของชีวิตคนเมือง

ปัญหาสารพัดเรื่องที่ฐิตินาถให้คำปรึกษา ในจำนวนนี้มีปัญหาฮิตๆ ของคนเมือง คนทำงาน ที่พบเห็นได้บ่อย และเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสังคมที่พบอยู่เป็นประจำ

ปัญหาเด็ก

พ่อแม่ส่วนใหญ่กลุ่มใจกับเด็กรุ่นใหม่ซึ่งมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ขณะที่เด็กที่พบปัญหาก็มีปัญหาเช่นกัน

“พ่อแม่หลายคนเขียนมาปรึกษาลูกชิงสุกก่อนห่าม อ้อยบอกหยุดก่อน อย่างเพิ่งโทษเด็กว่าเลว ให้มองย้อนไปสมัยก่อน จีนโบราณแต่งานตอน 12-13 สังคมไทยก็แต่งงานเร็ว เพียงแต่เด็กสมัยนี้มีเรื่องให้ทำเยอะ กว่าจะเรียนจบปริญญา ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อย่าคิดว่าเด็กเลว”

ปัญหาพ่อแม่

พ่อแม่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ คาดหวังให้ลูกเรียนเก่ง ๆ คาดหวังกับลูก แต่จะผิดหวังเมื่อไม่ได้ดังใจ ขณะเดียวกันก็กลัวลูกเครียด ไม่มีความสุข

“ปัญหานี้อ้อยคิดว่าตลกมาก สมมติเด็กแต่ละคนเป็นนก ปลา กระต่าย ที่ต้องถูกส่งไปโรงเรียนปีนต้นไม้ คุณคิดว่านกปลากระต่ายจะรู้สึกอย่างไร เด็กวันนี้ก็เหมือนกัน เด็กหลายคนไม่ถนัดคิดเลข แต่เขาต้องไปทำแบบเดียวกันหมด แล้วเราใช้ระบบเดียวกันในการวัดเด็ก มันทำลายความภูมิใจศรัทธาในตัวคนคนหนึ่ง แล้วพ่อแม่ก็ไปตัดสินว่าสอบไม่ผ่านคือล้มเหลว ถ้าถามอ้อย คนคนหนึ่งเกิดมา ไม่ว่าจะเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ ให้เขาเป็นเขา ให้เราได้รักเขา แล้วเขารักเราพอแล้ว ไม่มีอะไรให้ต้องพิสูจน์ ทำไมเราถึงต้องให้อีกคนพิสูจน์ความรักหรือความเป็นคน ด้วยมาตรฐานที่ใครไม่รู้ตั้งขึ้นมา ถูกหรือผิดก็ไม่รู้ สิ่งที่อ้อยอยากจะบอกก็คือว่า อย่าบังคับคนอื่นเลย”

โดยส่วนตัวฐิตินาถเป็นคนเรียนเก่ง เธอจบปริญญาตรีตอนอายุเพียง 18 ปี สมัยเรียนมัธยมพิสูจน์ทฤษฎีทำซ้ำให้พ่อแม่เห็นจนได้ 4 ทุกวิชาโดยไม่เข้าห้องเรียน และเลือกที่จะกำหนดชีวิตตัวเอง

“อายุสิบขวดนิดๆ อ้อยตัดสินใจไปเรียนเมืองนอก ติดต่อทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ทำให้พอมีปัญหาแล้วบ่นไม่ได้ ต้องจัดการทุกอย่างให้สำเร็จ แต่ถ้าเราเป็นคนเลือกให้เขาทำเมื่อเจอปัญหา เขาจะอ่อนแอและไม่ประสบความสำเร็จ”

ในการเลี้ยง น้องทะเล ลูกสาวคนเดียววัย 12 ปี เวลาส่วนใหญ่ฐิตินาถเลือกที่จะใช้ชีวิตพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ รวมทั้งปล่อยให้ลูกสาวค้นหาและเลือกทำสิ่งที่ชอบด้วยตัวเอง ผลคือจากเด็กที่ทรงตัวไม่ดีตั้งแต่เล็ก น้องทะเล กลายเป็นนักว่ายน้ำและนักเทนนิสของโรงเรียน ชอบงานศิลปะที่ทำด้วยตัวเอง พอใจที่จะตื่นตั้งแต่ 6 โมงเช้า และตี 5 อาทิตย์ละ 2 วัน เพื่อไปซ้อมว่ายน้ำที่โรงเรียน

“ถ้าเราลดความคาดหวังเป็นศูนย์ เราจะไม่ผิดหวังกับอะไรเลย” เธอสรุป

ปัญหาครอบครัว

“พ่อแม่ในกรุงเทพฯทำงานหนักมาก กลับถึงบ้านเหนื่อยหมดแรง วิธีการก็คือลูกดูทีวีหรือเล่นเกมไปเถิด กลายเป็นเด็กติดเกม พ่อกับแม่จะได้นอนอืดแช่จมอยู่ในความคิดตัวเองแบบนิ่งๆ แต่นั่นเป็นการทำร้ายลูก มันเหมือนเป็นวงจรมะเร็งร้าย ถามว่าทำไมพ่อแม่ต้องทำงานหนัก เพราะผ่อนบ้านผ่อนรถรูดบัตรเครดิต ก็ต้องเลือกทำงานที่ผลตอบแทนสูงๆ เจ้านายก็กดดัน กลับมาถึงบ้านก็นอนแผ่หลา พอเสาร์อาทิตย์ก็ต้องหิ้วสังขารพาลูกไปเรียนพิเศษจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง”

ประเด็นนี้เป็นคำถามที่ฐิตินาถพบบ่อยจากกลุ่มคนทำงาน ซึ่งเธอแนะนำให้ทุกคนหยุดคิดเพื่อจะได้รู้ว่าทุกคนไม่ได้เกิดมาเพื่อถูกแกว่งไปตามกระแสโดยไม่มีทางเลือก และควรหาให้เจอว่าตัวชอบทำอะไร

“อ้อยเจอคนเยอะมาก ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ให้ออกจากงานก็ไม่รู้ว่าตัวเองชอบทำอะไร ซึ่งมันเศร้ามาก การที่ตลอดชีวิตเราอยู่กับงานตลอดเวลา ช้อปปิ้งก็ซื้อเสื้อผ้าเพื่อใส่ไปทำงาน ตื่นขึ้นมาขับรถไปทำงาน อยู่ที่ทำงาน พักผ่อนหลังเลิกงานก็อยู่กับเพื่อนทำงาน ทุกๆ อย่างเพื่องานหมด ถ้าเราไม่ได้ชอบงานที่เราทำ ก็เท่ากับเราปล่อยให้งานกลืนกินชีวิตเรา หรือตลอดเวลาใจเราไม่เคยอยู่กับสิ่งที่เราอยู่ตรงหน้า ร้อยละร้อยเราจะรู้สึกว่าเราทำชีวิตเราไม่เสร็จ”

เธอแนะนำว่า การค้นหาความชอบของตัวเอง ให้ค่อยๆ เริ่มจากตื่นมาแล้วทำในสิ่งที่รู้ชัดๆ ว่าตัวเองถนัดอะไร เริ่มแกะจากตรงนั้น เริ่มต้นอาจจะไม่ใช่งานที่ชอบหรือรัก แต่ถ้ารู้สึกว่างานแย่ ก็ให้คิดว่าเป็นเหมือนเวทีสำหรับขัดเกลาจิตใจตัวเอง แต่ถ้าคิดว่างานไม่ดี แล้วทำไม่ดี ก็จะทำให้รู้สึกล้มเหลวกับตัวตนของตัวเอง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อทั้งระบบชีวิต และก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้อีกหลายเรื่อง


3 ขั้นตอนเช็คเข็มทิศ

หลักการเริ่มต้นในการปรับเข็มทิศชีวิตที่ฐิตินาถแนะนำโดยไม่อิงหลักศาสนา ซึ่งเธอเรียกว่า “เช็กเข็มทิศ” ที่สามารถปรับใช้ได้กับทุกชีวิต ทุกรูปแบบ ทุกคน แบบนำไปใช้ได้ทันที เริ่มจากให้คิดว่า

หนึ่ง-ขณะที่กำลังกระทำ ให้คิดดูว่าเบื้องหลังที่แท้จริงในตัวกำลังคิดอะไรอยู่ ต้องการพูดหรือกระทำเพื่ออะไร เช่น จะตำหนิเพื่อนร่วมงานเพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อหาคนรับผิด

สอง-เช็กวัตถุประสงค์ของชีวิตว่าอยากมีชีวิตเป็นอย่างไร เช่น อบอุ่นมั่นคง มีประโยชน์ มีชีวิตที่มีคุณค่า ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

สาม-เลือกการกระทำที่นำไปสู่การมีชีวิตแบบที่ต้องการ เช่น ถ้าอยากมีชีวิตที่อบอุ่นในที่ทำงาน ก็ไม่มานั่งไล่บี้เพื่อนร่วมงานว่าใครผิด แล้วอาจจะเปลี่ยนไปหาทางแก้ปัญหาแทน

“ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งที่ทำงานและที่บ้าน ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต้องการพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิด มันเหมือนกับว่าเรามีบางสิ่งบางอย่างอยู่ภายใน เราเลยโยนอะไรที่ไม่ดีออกไปให้คนอื่น ถ้าหันมาเห็นความคิดเบื้องหลัง เราก็จะเลือกการกระทำที่มันสอดคล้องกับเป้าหมาย”

เพียง 3 ขั้นตอน แต่จะทำให้สำเร็จก็ต้องหมั่นฝึกฝนจิตใจ ซึ่ง ฐิตินาถ เปรียบเทียบไว้ถึงความสำคัญของการมั่นฝึกใจตัวเองว่า

“หากคิดว่าการอาบน้ำชำระร่างกาย กินข้าว เป็นเรื่องสำคัญทางกาย การไม่ชำระและให้อาหารใจ ก็จะทำให้คนเราไม่สามารถควบคุมชีวิต เลือกจะทุกข์ สุข หรือมองให้ถูกต้องได้ การศึกษาภาวนาจึงเป็นสิ่งจำเป็น”

โดยส่วนตัวแม้จะคุ้นเคยกับการปฏิบัติธรรมมากกว่า 10 ปี แต่ฐิตินาถก็ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากสำหรับการฝึกใจด้วยตัวเอง โดยเฉพาะการฝึกอยู่กับบ้าน เทคนิคที่ใช้ได้ดี คือ การเข้าร่วมปฏิบัติยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการยืมพลังหมู่ บรรยากาศมวลรวมแห่งธรรมะ และกุศโลบายของผู้สอนแต่ละท่านเป็นเครื่องช่วย จะทำให้ฝึกได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นทุกวันนี้ นอกจากเธอจะเดินภาวนาในบริเวณบ้านท่ามกลางธรรมชาติขนาด 40 ไร่ ที่ศรีราชา รับบรรยายตามที่ต่างๆ เดือนละ 2 ครั้งโดยไม่รับค่าตอบแทน เขียนคอลัมน์ธรรมะให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารเดือนละ 2-3 ชิ้น อีกสิ่งที่ยังต้องปฏิบัติอยู่เสมอ คือ การเข้าปฏิบัติธรรมยังสถานที่ต่างๆ



โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 6 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:20:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.