ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
5 เมษายน 2564
 
All Blogs
 

ยักษ์แคระวัดมหาธาตุสุโขทัย

“ยักษ์แคระ-คุหยกะ” วัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย  

รูปศิลปะงานปูนปั้น“คนแคระ-ยักษ์แคระ-คุหยกะ” (Dwarf Yaksa-Guhyaka) บริเวณรั้วกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ล้อมพระเจดีย์พระมหาธรรมราชาลิไท (หรือ พระศรีสัทธาราชจุฬามุนีรัตนลังกาทีปมหาสามี ?) เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ทางฝั่งทิศใต้ของวัดมหาธาตุสุโขทัย เป็นคติความเชื่อและงานศิลปะในช่วงวัฒนธรรมทางพุทธศาสนายุค “โปโลนนารุวะ” (Polonnaruwa) และ “คัมโปละ” (Gampola) จากเกาะลังกา มาตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19  
.
ปกรณัมเริ่มแรกที่บอกเล่าเรื่องราวของ “ยักษ์แคระ” น่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7 – 8 ในช่วงราชวงศ์คุปตะของอินเดียเหนือ โดยเล่าว่าคนแคระนั้นก็คือบริวารของเทพเจ้าฮินดูพระนามว่า “ท้าวกุเวร” (Kúbera) ราชาแห่งเหล่ายักษา ที่มีรูปร่างอวบอ้วนพุงพลุ้ย พระพักตร์กลม พระหัตถ์ถือผลมะนาวและพังพอน มักมีหม้อเงินหม้อทองอยู่ด้านข้างครับ 
.
ท้าวกุเวรเป็นเทพ “ทิศปาลกะ” (Dikpālas -Dikpālakas) ผู้รักษาทิศเหนือ เล่ากันว่า เป็นราชาแห่งยักษ์ที่ได้บำเพ็ญตบะญาณเป็นเวลาหลายพันปี จนพระพรหมทรงเมตตาโปรดให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวยมั่งคั่ง เป็นผู้รักษาครอบครองทรัพย์ทั้งมวล แต่ในคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน/วัชรยาน ท้าวกุเวรได้กลายมาเป็น “ชมภละ” (ชุมพล-Jumbhala) และ “ท้าวปัญจิกะยักษา” (Pañcika) ทำหน้าที่เป็นพระโพธิสัตว์ธรรมบาล คอยปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่าง ๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อพุทธศาสนา ต่อมาได้กลายมาเป็นพระโลกบาลมีชื่อว่า “เวสสุวัณ (เวสสุวรรณ)” “ท้าวไพศรพณ์” หรือ “ไวศรวัณ” (Vessavana-Vaiśravaṇa) ทำหน้าที่ปกป้องเขาพระสุเมรุทางทิศเหนือ และคอยเฝ้าดูแลทางเข้าสวรรค์ดินแดนสุขาวดี
.
ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 วัฒนธรรมพุทธศาสนา“คณะมหาวิหาร” (Maha-vihāra) ยุค “อนุราธปุระ” (Anuradhapura) ในลังกา ได้นำเอารูปของท้าวกุเวร (จากฝ่ายฮินดู) และคนแคระ-คุหยกะผู้เป็นบริวาร มาใช้เป็น “พระทวารบาล” (Dvarapala The Guardian) ของศาสนสถาน โดยประดับรูปไว้ตรงปากบันไดหรือทับหลังประตู โดยมีนัยยะถึงการอำนวยพรโชคลาภสักการะ ความร่ำรวยและมั่งคั่งแก่สาธุชนที่มากระทำบุญแก่ศาสนสถาน โดยใช้รูปของท้าวกุเวร ถือมะนาวและพังพอนเป็นประธาน โดยได้สร้างรูปศิลปะของคนแคระ-คุหยกะ บุตรแห่งทางกุเวรขึ้น มีนามว่า “มหาปัทมนิธิ” (MahāpadmaNidhi) สวมหมวกทางดอกบัวอยู่ทางซ้าย และ “สังขนิธิ” (Śaṅkha Nidhi – นิธิแปลว่าทรัพย์สินเงินทอง) สวมหมวกหอยสังข์อยู่ทางด้านขวาครับ  
.
ต่อมาในช่วงวัฒนธรรมทางพุทธศาสนายุคโปโลนนารุวะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 รูปศิลปะของท้าวกุเวรหมดความนิยมหายไป คงเหลือแต่รูปศิลปะของคุหยกะ-ยักษ์แคระผู้เป็นบุตรที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ทั้งสอง ถูกนำมาใช้เป็นพระทวารบาลประดับทางเข้าศาสนสถาน ทำหน้าที่ปกป้องและค้ำจุนพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังทำหน้าที่อวยพรโชคลาภสักการะ ความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งแก่ผู้มาบูชาศาสนสถาน แทนที่ท้าวกุเวร (ฮินดู) พระชมภละ (สรวาทสติวาท) และท้าวปัญจิกะ (มหายาน) 
.
ในคติลังกา คนแคระ-ยักษ์แคระ ผู้แบกยกในท่าร่าเริงสนุกสนาน นอกเหนือจากบริวารของท้าวกุเวร – ชมภละ แล้วคนแคระ-ยักษ์แคระ-คุหยกะทั้งหลายก็คือ “ผู้กระทำผิดบาปในชาติที่แล้ว” แต่ได้ปวรณาตนขอชดใช้บาปกรรมของตนด้วยความสำนึกและบริสุทธิ์ใจ จึงได้เกิดเป็นยักษ์แคระที่มีรูปร่างอ้วนไม่สวยงาม แต่ก็มากมีด้วยสมบัติ อาภรณ์และ “ความสุขสนุกสนาน” (รูปคนแคระใส่เครื่องประดับ - มีแต่รอยยิ้ม) คนแคระตามคตินี้ ได้ถูกนำมาใช้สร้างงานศิลปะแบกยก บนชุดลวดบัวของฐานศาสนสถาน อยู่เหนือรูปสิงห์และช้าง หรือขั้นบันไดทางขึ้นครับ
.
---------------------
*** รูปศิลปะและคติยักษ์แคระผู้ชดใช้บาปจากยุคโปโลนนารุวะจนถึงยุคคัมโปละในลังกาได้ส่งอิทธิพลเข้ามายังกรุงสุโขทัยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ตามร่องรอยหลักฐานที่ “พระศรีสัทธาราชจุฬามุนีรัตนลังกาทีปมหาสามี” (หลวงพ่อศรีศรัทธาราชจุฬามุนี) และคณะพระสงฆ์จากหลายแคว้นทางเหนือ ได้ร่วมกันเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่เกาะลังกา และได้นำช่างลังกากลับมายังกรุงสุโขทัย  
.
ศิลปะ “ยักษ์แคระผู้ชดใช้บาปกรรมด้วยการแบก” ในคติลังกา คงพบเห็นได้เฉพาะที่ผนังกำแพงแก้ว กลุ่มเจดีย์ด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุสุโขทัย (ที่ควรเป็นเจดีย์ของมหาเถระศรีศรัทธาฯ มากกว่า) สลับกับรูปช้างและสิงห์ในท่าทางที่แปลกตา แต่ยังคงเค้ากลิ่นอายของศิลปะลังกาผสมผสานศิลปะสุโขทัยพื้นถิ่นในอดีต ที่ยังรักษา “ขนบแบบแผนเก่าแก่” ด้วยอาการแบกยกที่มีรอยยิ้มสนุกสนาน (เพราะได้ทำความดีชดใช้กรรม) หันหน้าไปเล่นกับเพื่อนคนแคระด้านข้างแล้ว ยังแต่งอาภรณ์ประดับประดา แต่ยังถูกพันเชือกรัดพันธนาการด้วยเพราะเป็น “ผู้ถูกลงทัณฑ์” ให้ชดใช้บาปกรรม
.
*** คงเหลือร่องรอยความสัมพันธ์ สุโขทัย-ลังกา ในงานศิลปะจากโลกยุคโบราณมาจนถึงในปัจจุบัน เพียงแห่งเดียวที่วัดมหาธาตุสุโขทัยนี้ครับ 
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy




 

Create Date : 05 เมษายน 2564
1 comments
Last Update : 5 เมษายน 2564 12:59:25 น.
Counter : 533 Pageviews.

 

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

 

โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก 5 เมษายน 2564 17:00:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.