พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 

ดี

"การนั่งสมาธิ" เรียกว่าวิธีนั่งสมาธิ ให้นั่งเอาขาขวาทับขาซ้ายขัดสมาธิ
เอามือซ้ายวางลงที่ตัก เอามือขวาวางทับ ให้หัวแม่มือจรดกันเบา​ ๆ อย่าให้กด
ตั้งกายให้ตรง คือนั่งให้รู้สึกว่ากายตรงให้เป็นที่สบาย อย่าเกร็งกล้ามเนื้อหรือส่วนต่าง​ ๆ ของร่างกาย นั่งพอพยุงกายให้ตรงอยู่ อย่าให้เอียงซ้าย เอียงขวา อย่าก้มนัก อย่าเงยนัก ลองนั่งให้ตรง สง่าผ่าเผยเหมือนพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ อันนี้เป็นวิธีนั่ง
ต่อไปเป็นวิธีกำหนดจิต​ คือทำความรู้สึกที่จิตของตนเอง ความรู้สึกอยู่ที่ตรงไหน จิตของเราก็อยู่ที่ตรงนั้น เพื่อจะให้จิตมีฐานที่ตั้ง ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก จะนึกพุทพร้อมลมเข้า โธพร้อมลมออกก็ได้ หรือใครจะไม่นึกอะไร เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจซึ่งออกเข้าอยู่โดยธรรมชาติของการหายใจก็ได้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะเรียนให้รู้ธรรมชาติของร่างกาย ทำไมลมหายใจจึงชื่อว่าเป็นธรรมชาติของร่างกาย เพราะเหตุว่า เราจะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม กายของเราก็หายใจอยู่โดยธรรมชาติ เพียงแต่เรากำหนดรู้ลมหายใจเฉย​ ๆ อยู่ อย่าบังคับจิตให้สงบ แต่ประคองจิตให้รู้อยู่ที่ลมหายใจตลอดเวลา จิตของเราจะเป็นอย่างไร เราไม่คำนึงถึง คำนึงแต่ว่าจะรู้ที่ลมหายใจอย่างเดียว หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ หายใจสั้นรู้ หายใจยาวรู้ เพียงแต่เอารู้ตัวเดียวกำหนดรู้อยู่ที่ตรงนี้
การกำหนดรู้ลมหายใจเป็นหลักสาธารณะทั่วไป และการปฏิบัติสมาธิก็เป็นหลักสาธารณะทั่วไป ไม่สังกัดในลัทธิและศาสนาใด​ ๆ ทั้งสิ้น เพราะการฝึกสมาธินี้เราจะมาฝึกจิตของเราให้สามารถกำหนดรู้ธรรมชาติ การปฏิบัติธรรมหรือการเรียนธรรมก็คือเรียนให้รู้ธรรมชาติ วิชาการที่เราเรียนกันมาในศาสตร์ใด​ ๆ ก็ตาม เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติและกฎธรรมชาติทั้งนั้น การฝึกสมาธิไม่เฉพาะแต่เราจะมานั่งขัดสมาธิ หลับตากำหนดรู้ลมหายใจเพียงอย่างเดียว แม้ว่าเรามีสติรู้อยู่กับเรื่องชีวิตประจำวันทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ ก็ชื่อว่าเป็นการฝึกสมาธิทั้งนั้น
แต่เพื่อจะให้มีวิธีการเข้มข้นเข้าไปหน่อย เราจึงมาฝึกกันแบบมีพิธีรีตองอย่างที่เรามาฝึกกันอยู่เวลานี้ นอกจากเราจะมากำหนดรู้ลมหายใจแล้ว เราอาจจะนึกพุทพร้อมลมเข้า โธพร้อมลมออกก็ได้ หรือเราจะท่องบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง ยุบหนอ พองหนอก็ได้ หรือเราจะกำหนดรู้จิต คอยจ้องดูจิตของเรา เมื่อความคิดอะไรเกิดขึ้นให้มีสติกำหนดตามรู้ไปก็ได้ เป็นวิธีการฝึกสมาธิทั้งนั้น การฝึกสมาธิดังที่กล่าวมานี้ เราสามารถจะทำได้ทั้งในท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน ท่านอน ใช้อารมณ์อย่างเดียวกันเพราะสมาธิเป็นกิริยาของจิต การปฏิบัติสมาธิเป็นกิริยาของจิต ไม่ใช่การยืน เดิน นั่ง นอน แต่การยืน เดิน นั่ง นอนเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นการบริหารร่างกาย ว่าอย่างง่าย​ ๆ ก็คือการออกกำลังกายนั้นเอง เพราะถ้าเรานั่งมากมันก็เมื่อยทรมานร่างกาย ต้องเปลี่ยนไปเดิน เดินมากทรมานก็เปลี่ยนเป็นยืน ยืนมากทรมานเปลี่ยนเป็นนอน เปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความคล่องกาย
ในเมื่อกายของเราคล่อง แคล่วว่องไว จิตของเราก็คล่องแคล่วว่องไวขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นยืน เดิน นั่ง นอนจึงเป็นท่าประกอบเท่านั้น แต่สมาธิที่แน่​ ๆ ก็คือ"กิริยาของจิต ดังนั้นเราจะปฏิบัติสมาธิในท่าไหนได้ทั้งนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เพียงแค่มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ ในขณะที่เราทำอะไรอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น เราทำสติตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นการเรียนให้รู้ธรรมชาติ ธรรมชาติของร่างกายย่อมมีการยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด นักปราชญ์ไม่ว่าในศาสนาใดๆ ท่านสอนมนุษย์ให้รู้จักความเป็นของตัวเองในเบื้องต้น ในเมื่อรู้จักความเป็น รู้จักธรรมชาติของตนเองได้ถ่องแท้แน่นอน การที่จะไปเรียนรู้ธรรมชาตินอกตัวเองนั้น จึงเป็นของไม่ยากนัก
เพราะฉะนั้น​ ท่านจึงสอนให้เราเรียนให้รู้ธรรมชาติของตนเอง ธรรมชาติของร่างกายต้องมีการยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูดและคิด ธรรมชาติของจิตก็เป็นผู้มีหน้าที่คอยบังคับบัญชาสั่งให้ร่างกายทำอะไร และเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงเพราะตนเองเป็นนาย ตนเองเป็นผู้สั่งการ สั่งการลงไปแล้วย่อมมีการรับผิดชอบจึงจะสมศักดิ์ศรีของผู้เป็นนาย
ดังนั้น​ ในตัวของเรานี้ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว การปฏิบัติธรรมจึงอาศัยกายกับจิตทั้ง 2 อย่างเป็นของคู่กัน เป็นหลักของการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น​ วิธีการทั้งหลายนั้น เป็นแต่เพียงวิธีการสำหรับประกอบการปฏิบัติ แต่แท้ที่จริงสมาธิ สมาธิเป็นกิริยาของจิต
ในขณะนี้เรามานั่งกำหนดรู้ลมหายใจ เรามาเรียนรู้ธรรมชาติของลมหายใจ แต่เรารู้อยู่ เราก็จะรู้ว่าธรรมชาติของกายย่อมมีการหายใจอยู่เป็นปกติขาดไม่ได้ เมื่อเรามีสติกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจยาวเราก็จะรู้ ลมหายใจสั้นเราก็จะรู้ ลมหายใจหยาบเรารู้ ลมหายใจละเอียดเรารู้ เอารู้ตัวเดียวเท่านั้น รู้นี่เป็นกิริยาของจิต ทุกคนมีจิตรู้กันทั้งนั้น ไม่เฉพาะแต่มนุษย์ สัตว์ก็มีจิตรู้ ทีนี้รู้ตัวนี้ไม่ได้สังกัดในลัทธิและศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น
ดังนั้น​ ที่เรามาเรียนรู้ธรรมชาตินี้ เพื่อจะให้รู้ความจริงของกฎธรรมชาติ เมื่อรู้ความจริงของธรรมชาติแล้ว ก็ควรจะรู้ความจริงของกฎธรรมชาติด้วย กฎของธรรมชาติทั้งหลายนั้น ธรรมชาติอันนี้เป็นกายกับใจ สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ ซึ่งเรียกว่าจักรวาลทั้งสิ้นนี่แหละเรียกว่าธรรมชาติ ทีนี้กฎของธรรมชาติก็คือการเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ ตั้งแต่อนูปรมาณูจนกระทั่งมวลสารที่เกาะกลุ่มกันเป็นก้อนใหญ่โต เขาย่อมตกอยู่ในกฎของธรรมชาติคือมีความเปลี่ยนแปลง มีปรากฏการณ์ขึ้นในเบื้องต้น ทรงตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ในที่สุดย่อมสลายตัว อันนี้เป็นหลักภาษาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสาธารณะทั่วไป
ส่วนบทบัญญัติของภาษาอินเดีย ความเปลี่ยนแปลง เขาเรียกว่า อนิจจัง ความทนไม่ได้อยู่ตลอดกาลเขาเรียกว่าทุกขัง ความสลายตัว เขาเรียกว่า อนัตตา ภาษาไทยว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล ไม่เป็นตัวของตัว อันนี้เป็นคำสมมติบัญญัติเท่านั้น แต่แล้วโลกทั้งโลกนี้ยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ทรงอยู่ สลายตัว เกิดขึ้น ทรงอยู่ สลายตัว อันนี้ภาษาโลกที่เขานิยมใช้กันโดยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาในหลักวิทยาศาสตร์เขาใช้กัน แต่พวกอินเดีย เขาใช้คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไทยเรียกว่าเปลี่ยนแปลง ยักย้าย ทนอยู่กับที่ไม่ได้ ไม่เป็นตัวของตัวคือสลายตัวอยู่ตลอดเวลา
ที่เรามาฝึกหัดสมาธิ เพียงแค่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เมื่อเรามีสติปัญญาเกิดขึ้น เราจะรู้ว่าลมหายใจนี้มันก็เปลี่ยนแปลงมีออกมีเข้าอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด เราก็รู้แต่ว่าลมหายใจมันเปลี่ยนจากหยาบเป็นละเอียด ละเอียดเป็นหยาบ แต่ในบางครั้งเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิอย่างลึกซึ้งถึงขนาดกายหายไป ลมหายใจมันก็หายไปด้วยเพราะลมหายใจมันเป็นส่วนกายก็ยังเหลือแต่จิตสงบ นิ่ง เด่นรู้ สว่างอยู่ ใครภาวนาแบบไหนอย่างไรพอจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วก็นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ใครทำก็ได้ ถ้าทำจริง ไม่เฉพาะแต่ชาวพุทธผู้นับถือ พระพุทธศาสนา คนในศาสนาอื่นทำก็ได้ คนไม่มีศาสนาทำก็ได้ ในเมื่อทำลงไปแล้ว จิต สงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ใครจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่จะสมมติบัญญัติ รู้เป็นธรรมชาติของจิต จิตเป็นธาตุรู้ จิตมีสภาวะรู้สึก รู้นึก รู้คิด แต่ถ้าขาดสติสัมปชัญญะจะไม่รู้จักดี จักชั่ว ไม่รู้จักผิด ไม่รู้จักถูก เพราะสติสัมปชัญญะของเรายังอ่อน เราจึงมาฝึกสมาธิเพื่อให้สติเพิ่มพลังเข้มแข็งขึ้น จะได้กำหนดรู้สิ่งต่างๆ ให้รู้จริงตามกฎของธรรมชาติ
ทีนี้กฎธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้ที่มันเกี่ยวข้องกับเรา เมื่อเราไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นเราเป็นเขา เป็นของเราของเขา สิ่งที่เราถือว่าเป็นเราเป็นเขา เป็นของเราของเขานั้น เมื่อหากว่าสิ่งนั้นเป็นไปในทางที่เราไม่พอใจ เราก็เกิดทุกข์เพราะเราเอาความรู้สึกของเราไปขัดอยู่กับความเป็นไปของกฎธรรมชาติ
ดังนั้น นักปราชญ์ไม่ว่าในลัทธิและศาสนาใดๆ จึงสอนให้ทุกคนให้เรียนรู้กฎของธรรมชาติ เผื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงธรรมชาติบางอย่างซึ่งพอที่จะเป็นไปได้ให้อยู่ในสภาพที่เป็นไปตามความต้องการของเรา เครื่องยนต์ เครื่องกลทั้งหลายต่างๆ วัตถุดั้งเดิมเขาเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในดิน ในน้ำ แต่ผู้ฉลาดไปค้นคว้าคิดเอามาสร้างนู่นสร้างนี่ สร้างรถยนต์ สร้างเครื่องบิน สร้างจรวด สร้างปรมาณู นิวเคลียร์ เอามาเป็นพลังงานสำหรับเป็นเครื่องปฏิกรต่อชีวิตหรือทำลายซึ่งกันและกัน
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ดั้งเดิมวัตถุมาจากธรรมชาติ แต่ผู้ที่มีความฉลาดเฉลียว ก็สามารถเอามาดัดแปลงแต่งเป็นโน่นเป็นนี่ให้ใช้ในประโยชน์แก่ชีวิตของเราได้ ทีนี้ธรรมะอันเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งซึ่งเป็นนามธรรม ซึ่งเป็นรูปธรรม นามธรรม เราก็สามารถที่จะฝึกฝนอบรมสร้างสมรรถภาพให้เข้มแข็ง มีพลังทางสติปัญญาเพื่อเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน เป็นการดัดแปลงธรรมชาติเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อันนี้เป็นวิสัยของมนุษย์จะต้องเป็นไปอย่างนั้น มนุษย์จะปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามบุญตามกรรมเหมือนอย่างสัตว์เดรัจฉานนั้น มันก็ย่อมไม่สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ดังนั้น​ มนุษย์จึงมีการสร้างแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตนเอง สุดแล้วแต่ความสามารถสติปัญญาของผู้ใดจะสามารถทำได้ แม้เราไม่ได้คำนึงถึงการที่จะสร้างวัตถุ แต่เรามาสร้างพลังจิตพลังใจของเราให้มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันปรับปรุงชีวิตของเราให้เป็นอยู่ได้สบายในสังคม ก็เป็นการเพียงพอสำหรับการปฏิบัติธรรม
ดังนั้นการทำสมาธินี้จึงเป็นอุบายวิธีอันหนึ่งเพื่อสร้างพลังดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เพื่อสร้างจิต สร้างใจ สร้างชีวิตของเราให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เราจะได้สามารถทำธุรกิจการงานต่าง​ ๆ ด้วยความมั่นใจ ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นการสร้างสรรชีวิตของตนเองและสังคม ให้มีความเจริญมั่นคงสืบไป
ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฝึกฝนอบรมเอาให้ได้ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ต้องอาศัยสมาธิทั้งนั้นแหละ พวกทำสมาธิส่วนใหญ่ก็มุ่งสู่พระนิพพาน แต่เมื่อเรายังไม่ถึงพระนิพพาน เราก็ต้องหาเอาประโยชน์ในระหว่างทางให้ได้
ดังนั้น​ ขอให้ท่านทั้งหลายจงพึงกำหนดจิตรู้ ลมหายใจออก หายใจเข้า กำหนดรู้อยู่เฉย​ ๆ ในช่วงที่ท่านกำหนดรู้ลมหายใจอยู่ ถ้าหากมีอาการเคลิ้ม​ ๆ เหมือนกับง่วงนอน ก็ให้มีสติกำหนดรู้อยู่เฉย​ ๆ หากมีการรู้สึกอึดอัดหรือหนักหน่วงตรงต้นคอ หรือเวียนศรีษะ ก็กำหนดรู้อยู่เฉย​ ๆ กำหนดรู้ลมหายใจไว้เป็นหลัก ถ้าหากว่าจิตปล่อยวางลมหายใจ จิตมีอาการเคลิ้มวูบวาบลงไป ถ้าไปคิดสิ่งอื่นขึ้นมา ก็ควรปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ไปทุกขณะที่จิตมีความคิด ให้ปฏิบัติสลับกันไปอย่างนี้ พยายามทำให้มาก​ ๆ อบรมให้มากๆ ในขณะที่ปฏิบัติอยู่ อย่าไปบังคับจิตให้สงบ หน้าที่ของเรากำหนดรู้ลมหายใจและอารมณ์ภาวนาอยู่เท่านั้น เมื่อใดจิตจะสงบก็อย่าไปคิด เมื่อใดจะรู้จะเห็นก็อย่าคิด ให้รู้อยู่ที่สิ่งรู้ในปัจจุบันเท่านั้น
ความสงบของจิตก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของจิตไป ความรู้ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของจิตไป ส่วนความรู้สึกในความตั้งใจ จิตจะรู้หรือไม่รู้ ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ตรงที่กำหนดรู้อารมณ์จิตในขณะนี้ แล้วเมื่อเรากำหนดรู้อารมณ์จิตในขณะนี้ จิตของเราก็จะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์จิตเอง เมื่อมีอารมณ์สัมพันธ์กับจิต จิตมีอารมณ์เป็นสิ่งที่กำหนดรู้อยู่ อารมณ์กับจิตไม่พรากจากกัน เราจะกำหนดก็ตาม ไม่กำหนดก็ตาม เราก็รู้อารมณ์จิตของเราอยู่อย่างนั้น นั่นแสดงว่าจิตได้วิตก มีสติรู้อยู่ได้วิจาร ถ้าเกิดมีปีติ สุข เอกคักตาก็ได้ปีติ สุข เอกคักตา ถ้าจิตเสวยวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคักตาอยู่เป็นเวลานาน​ ๆ ก็ได้ปฐมฌาน คือ ฌานที่ 1 อันนี้เป็นวิธีการนั่งสมาธิ ปฏิบัติสมาธิในท่านั่ง
ทีนี้ปฏิบัติสมาธิในท่าเดินเรียกว่าเดินจงกรม ก็กำหนดอารมณ์อย่างเดียวกับการนั่ง ปฏิบัติสมาธิในท่าเดินเรียกว่า​ "เดินสมาธิ" ปฏิบัติสมาธิในท่ายืนเรียกว่า"ยืนสมาธิ" กำหนดอารมณ์อย่างเดียวกัน เวลานอน "นอนสีหไสยาสน์" นอนตะแคงข้างขวา เอาเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวานิดหน่อย วางมือแนบกับใบหน้า จะพนมมือก็ได้
.
.
โอวาทธรรมคำสอนของหลวงพ่อพุธ​ ฐานิโย




 

Create Date : 31 มกราคม 2564    
Last Update : 31 มกราคม 2564 9:00:26 น.
Counter : 3052 Pageviews.  

บีบ

บีบ




 

Create Date : 31 มกราคม 2564    
Last Update : 31 มกราคม 2564 8:28:53 น.
Counter : 313 Pageviews.  

นิพานเอาไว้ก่อน

นิพานเอาไว้ก่อน




 

Create Date : 31 มกราคม 2564    
Last Update : 31 มกราคม 2564 8:16:46 น.
Counter : 227 Pageviews.  

ตอบ

ตอบ




 

Create Date : 31 มกราคม 2564    
Last Update : 31 มกราคม 2564 8:16:15 น.
Counter : 170 Pageviews.  

ดี

ดี




 

Create Date : 31 มกราคม 2564    
Last Update : 31 มกราคม 2564 8:15:36 น.
Counter : 163 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  190  191  192  193  194  195  196  197  198  199  200  201  202  203  204  205  206  207  208  209  210  211  212  213  214  215  216  217  218  219  220  221  222  223  224  225  226  227  228  229  230  231  232  233  234  235  236  237  238  239  240  241  242  243  244  245  246  247  248  249  250  251  252  253  254  255  256  257  258  259  260  261  262  263  264  265  266  267  268  269  270  271  272  273  274  275  276  277  278  279  280  281  282  283  284  285  286  287  288  289  290  291  292  293  294  295  296  297  298  299  300  301  302  303  304  305  306  307  308  309  310  311  312  313  314  315  316  317  318  319  320  321  322  323  324  325  326  327  328  329  330  331  332  333  334  335  336  337  338  339  340  341  342  343  344  345  346  347  348  349  350  351  352  353  354  355  356  357  358  359  360  361  362  363  364  365  366  367  368  369  370  371  372  373  374  375  376  377  378  379  380  381  382  383  384  385  386  387  388  389  390  391  392  393  394  395  396  397  398  399  400  401  402  403  404  405  406  407  408  409  410  411  412  413  414  415  416  417  418  419  420  421  422  423  424  425  426  427  428  429  430  431  432  433  434  435  436  437  438  439  440  441  442  443  444  445  446  447  448  449  450  451  452  453  454  455  456  457  458  459  460  461  462  463  464  465  466  467  468  469  470  471  472  473  474  475  476  477  478  479  480  481  482  483  484  485  486  487  488  489  490  491  492  493  494  495  496  497  498  499  500  501  502  503  504  505  506  507  508  509  510  511  512  513  514  515  516  517  518  519  520  521  522  523  524  525  526  527  528  529  530  531  532  533  534  535  536  537  538  539  540  541  542  543  544  545  546  547  548  549  550  551  552  553  554  555  556  557  558  559  560  561  562  563  564  565  566  567  568  569  570  571  572  573  574  575  576  577  578  579  580  581  582  583  584  585  586  587  588  589  590  591  592  593  594  595  596  597  598  599  600  601  602  603  604  605  606  607  608  609  610  611  612  613  614  615  616  617  618  619  620  621  622  623  624  625  626  627  628  629  630  631  632  633  634  635  636  637  638  639  640  641  642  643  644  645  646  647  648  649  650  651  652  653  654  655  656  657  658  659  660  661  662  663  664  665  666  667  668  669  670  671  672  673  674  675  676  677  678  679  680  681  682  683  684  685  686  687  688  689  690  691  692  693  694  695  696  697  698  699  700  701  702  703  704  705  706  707  708  709  710  711  712  713  714  715  716  717  718  719  720  721  722  723  724  725  726  727  728  729  730  731  732  733  734  735  736  737  738  739  740  741  742  743  744  745  746  747  748  749  750  751  752  753  754  755  756  757  758  759  760  761  762  763  764  765  766  767  768  769  770  771  772  773  774  775  776  777  778  779  780  781  782  783  784  785  786  787  788  789  790  791  792  793  794  795  796  797  798  799  800  801  802  803  804  805  806  807  808  809  810  811  812  813  814  815  816  817  818  819  820  821  822  823  824  825  826  827  828  829  830  831  832  833  834  835  836  837  838  839  840  841  842  843  844  845  846  847  848  849  850  851  852  853  854  855  856  857  858  859  860  861  862  863  864  865  866  867  868  869  870  871  872  873  874  875  876  877  878  879  880  881  882  883  884  885  886  887  888  889  890  891  892  893  894  895  896  897  898  899  900  901  902  903  904  905  906  907  908  909  910  911  912  913  914  915  916  917  918  919  920  921  922  923  924  925  926  927  928  929  930  931  932  933  934  935  936  937  938  939  940  941  942  943  944  945  946  947  948  949  950  951  952  953  954  955  956  957  958  959  960  961  962  963  964  965  966  967  968  969  970  971  972  973  974  975  976  977  978  979  

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.