พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 
นิพพาน

กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญาณํ พีชํ ตณฺหา สิเนโห
อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ หีนาย ธาตุยา วิญฺญาณํ ปติฏฺฐิตํ เอวํ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ โหติ.
(วิญฺญาเณ โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).
เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ (สตฺโต สตฺโตติ) ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.
ราธะ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้. (รูเป โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).
ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในเวทนา เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.
ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในสัญญา เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.
ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.
ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้ (วิญฺญาเณ โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).
ราธะ เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใด เขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้น พวกเด็กน้อยๆ นั้น ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่าเป็นของเรา ดังนี้. ราธะ แต่เมื่อใด พวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะแล้ว ปราศจากความรักแล้ว ปราศจากความกระหายแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว ปราศจากตัณหาแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจาย เรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสียด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด.
ราธะ อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งรูป จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด ,
จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งเวทนา จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด ,
จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งสัญญา จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด ,
จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งสังขารทั้งหลาย จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด ,
จงเรี่ยรายกระจายออกซึ่งวิญญาณ จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.
ราธะ เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้.
เรียกว่าสัตว์ (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้ ( โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).
"พุทธวจนหมวดธรรม สัตว์"
เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒
by ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
BN8185.


Create Date : 26 ตุลาคม 2563
Last Update : 26 ตุลาคม 2563 10:13:19 น. 0 comments
Counter : 236 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.