พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 
ดี

การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๔๖
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๘/๑๐๘.
เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี (โน จสฺส โน จ เม สิยา น ภวิสฺสติ น เม ภวิสฺสติ) ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร ? พระเจ้าข้า.
ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :-
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ...
ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน
ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน …
ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน
ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน …
ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน
ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน …
ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน
ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ...
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์
ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา
ไม่ทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักไม่มี.
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของสัปบุรุษ :-
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นตนมีรูป
ย่อมไม่ตามเห็นรูปในตน
ย่อมไม่ตามเห็นตนในรูป
ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นตนมีเวทนา
ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาในตน
ย่อมไม่ตามเห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นตนมีสัญญา
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาในตน
ย่อมไม่ตามเห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นตนมีสังขาร
ย่อมไม่ตามเห็นสังขารในตน
ย่อมไม่ตามเห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณในตน
ย่อมไม่ตามเห็นตนในวิญญาณ
เธอย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง
ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่าเป็นทุกข์
ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา
ย่อมทราบชัดซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ ก็ไม่มี.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มีดังนี้ ภิกษุนั้นพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร ? เห็นอยู่อย่างไร ? อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปโดยลำดับ.
ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :-
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง
ภิกษุ ก็ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้.
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของสัปบุรุษ :-
ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง
ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้.
ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้. ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.
ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้. ภิกษุ ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติ การมา การไป การจุติ การอุปบัติ หรือความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุ ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว (ราโค ปหีโน) เพราะละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มีอีก.
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
พุทธวจนหมวดธรรม
จิต มโนวิญญาณ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๖-๑๑๐
สังโยชน์ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่
by ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตํถิผโล
bn8185.


Create Date : 26 ตุลาคม 2563
Last Update : 26 ตุลาคม 2563 9:53:22 น. 0 comments
Counter : 401 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.