Group Blog
 
All Blogs
 
อะไรก็ได้ (๔๔) ผู้ตามรอยพระอรหันต์ (๓)

อะไรก็ได้ (๔๔)


ตอนจบของคำสอนจากท่านพุทธทาสภิกขุ โดย “ประภัสสร” ในนิตยสารทหารสื่อสาร ฉบับกันยายน ๒๕๓๖

พ.ศ.๒๕๐๕ ความว่าง
ความว่างก็คือ สุญญตา และ สุญญตา ก็คือ นิพพาน ส่วน นิพพาน ก็คือ ความว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์
วิธีปฏิบัติเพื่ออยู่ด้วยความว่าง
จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง
ยกผลงานในความว่างทุกอย่างสิ้น
กินอาหารของคาวหวานอย่างพระกิน
ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที
ท่านผู้ใดว่างได้ดังว่ามา
ไม่มีท่าทุกข์ทนหม่นหมองศรี
“ศิลปะ”ในชีวิตชนิดนี้
เป็น”เคล็ด”ที่ใครคิดได้สบายเอย.

หลักปฏิบัติเพื่อความไม่ยึดมั่น
เมื่ออยู่โดยปกติ ให้มีปัญญารู้เท่า ว่าคนเราทำผิดทุกอย่าง ก็เพราะเห็นแก่ตัวทั้งนั้น เมื่อไม่เห็นแก่ตัว ก็ไม่มีทางที่จะผิด
เมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ เข้ามากระทบ ไม่ว่าทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าดีหรือร้าย จะต้องมีสติรู้ทันอารมณ์นั้น ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามความเห็นแก่ตัว

พ.ศ.๒๕๒๒ ตถตา หรือ ตถาตา ถือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาที่สั้นที่สุด
ตถตา หรือตถาตา แปลว่าความเป็นเช่นนั้น หรือ เช่นนั้นเอง ตัวอย่างเช่น
พระไตรลักษณ์ ได้แก่สังขารไม่เที่ยง สังขารเป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวงเป็นอนั้ตตา ก็คือมันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีทางจะเป็นอย่างอื่น
อริยสัจ ได้แก่ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ หนทางแห่งความดับทุกข์ ก็คือมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน จิตก็จะว่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดอีกต่อไป

พ.ศ.๒๕๒๕ ความหมายของธรรมะ
ธรรมะมี ๔ ความหมาย ๑.หมายถึงธรรมชาติ ๒.หมายถึงกฎของธรรมชาติ ๓.หมายถึงการปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ
๔.หมายถึงผลของการปฎิบัติตามกฎของธรรมชาติ สรุปแล้ว ธรรมะคือหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ คืแอการปฏิบัติธรรม

พ.ศ.๒๕๒๙ ปณิธาน
๑.พยายามให้ทุกคน เข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร
๒.ให้ทำความเข้าใจเป็นอันดี ในระหว่างศาสนาทุกศาสนา เพื่ออยู่ร่วมกันในโลก
๓.มุ่งหมายที่จะดึง หรือชัก หรือลากชาวโลก ให้ออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม

พ.ศ.๒๕๓๑ อตัมมยตา ความไม่ผูกพันกับสิ่งใด
อตัมมยตา แปลว่า ไม่สำเร็จในสิ่งนั้น เป็นธรรมะข้อสุดท้ายของท่านพุทธทาส คือ การที่จะทำตนให้หลุดออกจากโลกิยะ
หลุดออกจากการปรุงแต่งของสังขารไม่ยอมให้สิ่งใดมาหลอกให้รัก โกรธ เกลียด กลัว ตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัย อาวรณ์ อิจฉาริษยา
หวงหึง หลงอยู่ในความเป็นคู่ เช่น บุญ บาป ดี ชั่ว เป็นต้น
อตัมมยตา ทำให้พระพุทธศาสนาขึ้นถึงยอดสุดแห่งศาสนาทั้งปวง และทำให้เกิดสันติภาพขึ้นในโลกได้

ก่อนที่ท่านพุทธทาส จะมรณภาพหลายปี ท่านได้เขียนกลอนฝากไว้ เป็นเสมือนหนึ่งพินัยกรรม แก่พุทธศาสนิกชน ดังนี้

พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย
แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็นร่างกายไปไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไปไม่มีตาย
ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบกายใจรับใช้มา
ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไปไม่มีตาย
อยู่รับใช้เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ที่วางไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตาย
แม้ฉันตายกายลับไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่งยังแว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉันยังไม่จายกายธรรมยัง
ทำกับฉันอย่างกะฉันนั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่งร่วมด้วยช่วยชี้แจง
ทำกะฉันอย่างกับฉันไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิดผลสนองหลายแขนง
ทุกวันนัดสนทนาอย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้งที่สุดได้เลิกตายกัน.

###############





Create Date : 01 กรกฎาคม 2553
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 9:09:25 น.




Create Date : 30 สิงหาคม 2553
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 5:45:13 น. 0 comments
Counter : 487 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เจียวต้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




เชิญหารายละเอียดได้ ที่หน้าบ้านชานเรือนครับ
Friends' blogs
[Add เจียวต้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.