ธรรมะที่แม่บันทึก (6)




ขอบคุณรูปภาพจากอินเทอร์เน็ต







คำอธิบายจากผู้เขียน คือ คุณ อ. อโณทัย

มะพร้าวนาฬิเกร์แห่งแดนนิพพาน หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวไม่เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งปวงของสังสารวัฏนั้น ผู้ที่พ้นบาปและไม่ยึดบุญเท่านั้นที่ไปถึงได้ ดังท่านพุทธทาสได้ให้คำอธิบายว่า เหนือบุญ เหนือบาป ก็คือ นิพพาน นั่นหมายถึง การละวางกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ที่ก่อความทุกข์เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนลงหมดสิ้น แล้วอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อันเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่ทำให้โลกมีสันติภาพได้

อ. อโณทัย จาก หนังสือที่อ้างแล้ว หน้า 151



“สระนาฬิเกร์ ปัญญาจากอดีต” ซึ่งท่านพุทธทาสสร้างขึ้นให้เป็นสื่อสอนธรรมะอีกอย่างหนึ่งของสวนโมกข์ โดยอาศัยเนื้อเพลงบทกล่อมลูกของคนโบราณรอบอ่าวบ้านดอนซึ่งมีเนื้อหาเปรียบเทียบให้เห็นว่า พระนิพพานนั้นอยู่ท่ามกลางวัฏฏสงสาร หรือ ความรู้แจ้งแห่งทุกข์แท้จริงอยู่ท่ามกลางความทุกข์ นั่นเอง

จาก หนังสืออนุทินภาพ 60 ปีสวนโมกข์ หน้า 117 – 118
จาก หนังสือที่อ้างแล้ว หน้า 151



“มรดกที่ 22 สระนาฬิเกร์ คือ บทเรียนด้วยของจำลองมาจากบทกล่อมลูกให้นอนของประชาชนที่แสดงว่า สมัยโน้นประชาชนได้เข้าถึงธรรมะสูงสุดกันเพียงไร จนถึงกับนำเอาเรื่องของพระนิพพาน มาทำเป็นบทเพลงกล่อมลูกได้

ขอให้รักษาเกียรติของบรรพบุรุษในข้อนี้ และทำตนให้สมกับเป็นลูกหลานของท่าน จงทุกคนเถิด”

พุทธทาสภิกขุ (หน้า 153)



ในการบรรยายธรรมะของท่านพุทธทาสตลอดมานั้น บ่อยครั้งที่ท่านอ้างถึง ‘วิธีการดับทุกข์อย่างธรรมชาติโดยง่ายๆ ตามแบบชาวบ้าน’ ที่สามารถปรับจิตใจเข้าสู่ความคิด เหนือบุญ – เหนือบาป ทำให้ไม่เบียดเบียนตัวเอง คือ ไม่ก่อทุกข์ ไม่เกิดทุกข์ และไม่มีทุกข์ ได้อย่างฉับพลันตามความต้องการ เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหาได้จริง

พื้นฐานความคิดดังนี้ได้แสดงออกถึงหลักการที่ท่านพุทธทาสใช้ปรับเปลี่ยนความเข้าใจของพุทธศาสนิกชน และปฏิวัติการแปลพระไตรปิฎกให้สัมผัสกับชีวิตมนุษย์ตรงขึ้น ง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น

แปล “นิพพาน” ว่า “ความเย็น”

อ. อโณทัย (หน้า 153)



Create Date : 19 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2560 14:06:05 น.
Counter : 1452 Pageviews.

0 comments

comicclubs
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]



Group Blog
All Blog
  •  Bloggang.com