*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

การพัฒนาองค์กรตำรวจในสหรัฐอเมริกา

องค์กรตำรวจในสหรัฐอเมริกา หรือในหลาย ๆ ประเทศที่เจริญแล้ว ก็มีปัญหา ที่คล้าย ๆ กัน คือ การทุจริตคอรัปชั่น และการใช้อำนาจไม่ชอบ (Abuse of Power) ในสหรัฐอเมริกาเอง ก็มีปัญหานี้เช่นกัน โดยเฉพาะ ปัญหาระหว่างการแกล้งจับกุมคนผิวดำ หรือ การมีอคติต่อคนผิวดำ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง




พัฒนาการขององค์กรตำรวจในสหรัฐอเมริกานั้น แต่เริ่มเดิมที ตำรวจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพัฒนามาจาก Watchman อันเป็นต้นแบบของตำรวจอังกฤษ นั้น ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่า ไร้ประสิทธิภาพที่สุด ด้วยเหตุที่ตำรวจตำรวจยังถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ในขณะเดียวกัน ฝ่ายการเมืองก็จะแผ่ขยายอำนาจมาปกป้องตำรวจที่เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นอย่างเต็มที่ ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง

ในประมาณปี ค.ศ.๑๙๓๐ เป็นต้นมา นักวิชาการทางต่าง ๆ ได้เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสิ่งแรกคือ การให้การศึกษาแก่ข้าราชการตำรวจ และพัฒนาสถาบันตำรวจให้มีลักษณะเป็นวิชาชีพ (Professional) และ วิธีการหนึ่งที่จะพัฒนาวิชาชีพตำรวจได้ คือ พัฒนาตัวบุคลากรในองค์กรตำรวจ เดิมทีก็มีเพียงนักวิชาการ ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ ที่เบิร์กลี่ย์ (UC-Berkeley) ได้พัฒนาหลักสูตร และเปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และนักศึกษาทั่วไป ให้สามารถนับหน่วยกิต และได้ปริญญา เพราะตำรวจส่วนใหญ่ในยุคนั้น รวมถึงในปัจจุบันนี้เอง ในบางส่วน ก็สำเร็จการศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษา (High School) เท่านั้น

รัฐบาลกลาง (Federal Government) ได้เริ่มหันมาสนใจที่จะพัฒนาตำรวจ โดยได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อส่งเสริมการศึกษาตำรวจ โดยให้ทุนการศึกษาแบบให้กู้ยืม และทำงานชดใช้แทนการกู้ยืมนั้น การพัฒนาดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากประมาณปี ค.ศ.๑๙๓๐ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาในวิชาชีพตำรวจนับร้อยแห่งในปัจจุบันรองรับ สถาบันการศึกษาที่นับว่าโดดเด่นในหลักสูตรวิชาชีพตำรวจและอาชญาวิทยา ได้แก่ Stanford University, Michigan State University และอีกหลายแห่ง ที่มีการเปิดการเรียนการสอนในวิชา Police Science กันตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตร ไปจนถึงระดับปริญญาเอก จำนวจเงินที่ให้กูยืมนี้ นับรวมจนถึงปัจจุบันมีมูลค่าเป็นพันล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ทำให้ข้าราชการตำรวจมีคุณวุฒิสูงขึ้น และปฏิบัติหน้าที่ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ข้าราชการตำรวจในสหรัฐ ยังมีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี เงินเดือนของตำรวจของมลรัฐหรือเมือง ก็จะขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของรัฐนั้น แต่โดยหลักจะสูงกว่าข้าราชการทั่วไป และต่ำกว่าข้าราชการอัยการ เพียงเล็กน้อย ปัจจัยที่สำคัญ คือ องค์กรตำรวจเขามี Internal Audit Unit ที่เป็นอิสระ ภายในองค์กรตำรวจ จึงทำให้มีระบบการตรวจสอบที่แข็งแกร่ง และการลงโทษที่จริงจัง อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ตำรวจสหรัฐฯ ไม่ค่อยมีปัญหาการทุจริตในปัจจุบัน แต่ตำรวจสหรัฐฯ จะไม่มีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการกับประชาชนในพื้นที่ หรือชุมชน ทุกอย่างจึงว่าไปตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด

หากจะลองหันกลับไปพิจารณาตำรวจในเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นอาจเป็นตัวอย่างที่ดีไม่แพ้กัน ด้วยมูลเหตุทางประวัติศาสตร์ ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนในการแก้ไขป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในชุมชนของตนเอง สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคม Homogeneous ซึ่งยึดถือพวกพ้องหรือชาตินิยม และมีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ไม่เป็นทางการอย่างมากมายและหลากหลาย เช่น การใช้วิธีการตำรวจชุมชน (Community Policing) และเพื่อนบ้านสัมพันธ์ (Neighborhood Association) โดยพื้นฐานทางประวัติศาสต์แล้ว ประเทศญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศจีน โดยเฉพาะรากฐานทางวัฒนธรรมและแนวคิดของลัทธิขงจื๊อและพุทธศาสนา (Confucianism and Buddhism) ลัทธิขงจื๊อนี้เอง ที่สร้างสังคมญี่ปุ่นให้เคารพในหน้าที่ เนื่องจากหลักคำสอนนี้ จะเน้นให้แต่ละคนตระหนักถึงหน้าที่ที่ตนต้องพึงกระทำต่อสังคมและบุคคลอื่นอย่างเคร่งครัด โดยสังคมญี่ปุ่นมีหลายชนชั้นหลายแตกต่างกันไปตั้งแต่ซามูไร จนถึงพ่อค้า ซึ่งแนวคิดนี้ก็ยังฝังรากลึกมาจนถึงปัจจุบัน กระบวนยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าประสบความสำเร็จอย่างมหัศจรรย์ เนื่องจากมีสถิติการก่ออาชญากรรมที่ต่ำที่สุดในโลก และมีสติถิการจับกุม ฟ้องร้อง และลงโทษผู้กระทำผิดสูงที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน เช่น ข้อมูลในปี ค.ศ.๑๙๙๔ อัตราการเกิดคดีฆาตรกรรม ของญี่ปุ่น มีเพียง ๑,๓๒๑ คดี หรือ เพียง ๑.๑ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน และสามารถจับกุมดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษได้ถึง ร้อยละ ๙๖

เหตุผลของการที่ญี่ปุ่นมีสถิติที่สูงดังกล่าว อาจจะมาจากหลายเหตุผล เช่น แต่เหตุผลที่สำคัญนั้น น่าจะมาจากเหตุผลทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเอง โดยสังคมญี่ปุ่นจะเน้นถึงหน้าที่ของตัวบุคคลและคนแต่ละคนก็จะมีหน้าที่ต่อคนอื่นและสังคมแตกต่างกันไป ตั้งแต่ซามูไร จนถึงพ่อค้าซึ่งถือว่ามีสถานะทางสังคมต่ำที่สุด ในช่วงยุคศักดินาของ Tokugawa shogunate ระหว่าง ค.ศ.๑๖๐๓ ถึง ๑๘๖๗ ประชาชนทุกคนจึงอยู่ในระเบียบแบบแผนและรวมตัวเป็น Neighborhood Association เพื่อช่วยเหลือและควบคุมซึ่งกันและกันตั้งแต่สมัยแผ่นดิน Meiji และในยุคนี้เอง ตำรวจของญี่ปุ่น ซึ่งถูกจัดตั้งไปประจำตามพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า Koban และ Chuzaisho อันทำให้ประชาชนกับตำรวจมีความใกล้ชิดกันและทำงานร่วมกันในการป้องกันอาชญากรรมในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน โดยปัจจุบันตำรวจจะมีหน้าที่ตามประเพณีที่จะต้องไปเยี่ยมเยียนประชาชน พูดคุยสารทุกข์สุกดิบและจัดทำทะเบียนข้อมูลของประชาชนในเขตชุมชนของตำรวจนั้นอย่างละเอียดในเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่า ความสำเร็จในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาทั้งหมดเกิดขึ้นจากชุมชน ตำรวจก็เป็นที่รักของสังคมและไม่มีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งปัจจัยเสริมอย่างหนึ่ง คือ ตำรวจญีปุ่นได้รับค่าตอบแทนสูงมาก มีสวัสดิการอย่างดี เพื่อให้สอดคล้องกับ หลักกฎหมายอาญาของญี่ปุ่น ที่ห้ามข้าราชการทำงานอื่น ๆ นอกจากปฎิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มที่




สังคมญี่ปุ่น คงจะเป็นเครื่องยืนยัน แนวความคิดนักปราชญ์ทางอาชญาวิทยา (Criminology) ได้เป็นอย่างดีว่า ตำรวจคือดัชนีชี้วัด คุณค่าและค่านิยมของสังคมนั้น ๆ หากสังคมเต็มไปด้วยผู้มีคุณธรรม ยกย่องคุณงามความดี ไม่ยกย่องวัตถุนิยม ไม่ทุจริตคอรัปชั่น ตำรวจที่เลวย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ หากสังคมเต็มไปด้วยคุณค่าและค่านิยมที่ตรงกันข้าม ตำรวจก็ย่อมจะมีลักษณะดุจเดียวกัน




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 7:44:39 น.
Counter : 1368 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.