*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

การควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานทางนิติวิทยาศาสตร์ของไทย เปรียบเทียบกับอเมริกา


กระทรวงยุติธรรม ได้พยายามเสนอ ร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ... ต่อ ครม. มาหลายครั้ง แต่ก็โดนตีตกในชั้นก่อนถึง ครม. เพราะทั้งแพทย์ และ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) ไม่เห็นด้วย เพราะ องค์กรใหม่ มีอำนาจมหาศาล ทั้งกำหนดมาตรฐาน ยุบสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่สังกัดหน่วยงานอื่น ตลอดจนเพิกถอนการประกอบวิชาชีพของบุคคลอื่นเขาด้วย .... พลังจริง ๆ ครับ ... ผมได้มีโอกาสเห็นร่างกฎหมายดังกล่าว และ เห็นพัฒนาการกฎหมายนี้ เลยมาเล่าให้ฟังพอสังเขป ดังนี้

1.กระทรวงยุติธรรม ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติศาสตร์ พ.ศ. .... เสนอไปยังรัฐบาล ต่อมาได้มีการขอความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง ตร. ด้วย ปรากฏว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างมากจากหน่วยงานแพทย์ และ นิติวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ อันเป็นผลมาจาก เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าว และ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏเกี่ยวกับคุณภาพของงานนิติวิทยาศาสตร์ของ กระทรวงยุติธรรม เอง

2. สลค. มีหนังสือที่ นร 0503/10219 ลง 22 มิ.ย.2553 แจ้งคำสั่ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้ ยธ. ดำเนินการ ให้คณะกรรมการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ รับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติก่อน แล้วจึงเสนอต่อ ครม. ต่อไป

3.คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 1/2553 ลงวันที่ 25 ส.ค.2553 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... โดยมีปลัด ยธ. เป็นประธาน และ รอง ปลัด ยธ. เป็นรองประธาน ส่วนคณะอนุกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทน สง.ศาลยุติธรรม, อสส., ตร., ก.พ., ก. วิทย์ฯ, ศธ., สธ., แพทยสภา, สภาทนายความ, นิติวิทยาศาสตร์ ตร., ปปส., ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, ผศ. ปารีณา ศรีวนิชย์, ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ผอ. และ รอง ผอ. สง.กิจการยุติธรรม, ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สง.กิจการยุติธรรม และ จนท.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ.

4. ข้อสังเกต คณะกรรมการดังกล่าว มีจำนวน รวม 20 คน ซึ่งคณะกรรมการนี้ ประกอบด้วยบุคลากรใน กระทรวงยุติธรรมเอง จำนวน 8 คน และ กรรมการอื่นอีก 12 คน หากมีการลงมติใด ๆ ก็ย่อมได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างแน่นอน


5. ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว ดังนี้

5.1 การขัดกันของผลประโยชน์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. มีทั้งหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและชันสูตรพลิกศพ และ ยังประสงค์จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการตรวจพิสูจน์หรือการปฎิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าไม่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง

5.2 ความพร้อมของ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. เอง ในการกำหนดมาตรฐาน ไม่มีพยานหลักฐานใดในเชิงบวกที่จะแสดงให้เห็นว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. มีความสามารถในการกำหนดมาตรฐาน ถึงขนาดที่จะกำหนดให้มีอำนาจในการอนุญาตจัดตั้งสถานการณ์ตรวจ หรือ เพิกถอนสถานการณ์ตรวจ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตผู้เชี่ยวชาญได้ ในทางกลับกัน พบว่าพยานหลักฐานที่สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ ยธ.ดำเนินการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับได้รับการโต้แย้งในความถูกต้องและผลการตรวจพิสูจน์ รวมถึงผลการตรวจและมีความเห็นในหลายคดีสำคัญ ๆ เช่น คดีห้างทองฯ ซึ่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. เป็นผู้ตรวจและมีความเห็น ซึ่งศาลได้พิพากษายกฟ้องในที่สุด ดังนั้น การที่ สถาบันฯ จะเข้ามาดำเนินการทั้งตรวจพิสูจน์ และ การกำหนดมาตรฐาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผลแม้แต่น้อย

5.3 ในเชิงหลักวิชาชีพ หรือ Professionalism ในประเทศไทย มีองค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา หรือ ทันตแพทยสภา ฯลฯ ทำหน้าที่ในการควบคุมหลักวิชาชีพอยู่แล้ว หากมีการร้องเรียนใด ๆ ต่อองค์กรวิชาชีพดังกล่าว ย่อมมีขีดความสามารถในการตรวจสอบและพิจารณาว่า ผู้ปฏิบัติงานในด้านนิติเวชศาสตร์ หรือ การตรวจพิสูจน์ดีกว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่เพิ่งก่อตั้งไม่นาน และ ไม่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านองค์ความรู้ ที่จะต้องพิสูจน์ให้สังคมเห็นได้ว่า มีความเป็นเลิศยิ่งกว่า

5.4 แนวคิดในต่างประเทศ ได้มีการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ทาง นิติวิทยาศาสตร์มาเนิ่นนาน จนกระทั่งมีการจัดตั้ง Forensic Laboratories หรือ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจพิสูจน์หลักฐาน ไว้ในสถานีตำรวจทุกแห่ง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น หรือ ประเทศจีน และ ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ก็จะจัดตั้งห้องปฎิบัติการเพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน (Investigation) และการฟ้องร้อง (Prosecution)ไว้ในสถานีตำรวจทั้งสิ้น โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ตำรวจในระดับเมืองและระดับรัฐ ล้วนแต่มีห้องปฏิบัติการของตัวเอง ซึ่งแยกต่างหากจากห้องปฏิบัติการฯ ของ F.B.I. ที่ขึ้นอยู่กับ Department of Justice ที่เป็นของรัฐบาลกลาง (Federal Government) ทั้งสิ้น รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีแนวคิดที่สำคัญ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา ว่าจะต้องสนับสนุนด้านเงินและด้านเทคโนโลยีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้กับตำรวจในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐ โดยการเสริมเขี้ยวเล็บ และทุ่มเททรัพยากรลงไปในการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการตรวจพิสูจน์หลักฐานของตำรวจระดับท้องถิ่นและระดับมลรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่มีการเรียนการสอนทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ยังเป็นเครื่องขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ด้วย จากการศึกษา จึงพบว่าการแข่งขันโดยเสรีในการพัฒนาหลักวิชาการเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนทางการสอบสวนคดีอาญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาฯ มีการพัฒนาหลักวิชาการเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Forensic Evidence) มาเนิ่น โดยในระยะแรก ๆ ได้มีนักวิทยาศาสตร์จอมปลอมจำนวนมาก ถึงขนาดที่ศาลได้พิพากษาว่าเป็น FAKE Science เลยทีเดียว ดังจะเห็นว่า ในปี ค.ศ.1978 ได้มีรายงานของ Law Enforcement Assistance Administration (LEAA) ได้แสดงให้ว่าคุณภาพของงานนิติวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาว่าเลวร้ายมาก เพราะมีอัตราความผิดพลาดสูงมาก โดยคณะวิจัยฯ ได้ทดสอบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางวิทยาการจริง ๆ ด้วยการส่งพยานหลักฐานไปยังห้องปฏิบัติในสหรัฐอเมริกาที่กระจายอยู่ทั่วไป พบว่าการส่งเส้นผม เส้นขน และเลือดไปตรวจยังห้องทดลองพบว่ามีการผิดพลาดถึง 71% และ การตรวจอาวุธปืน พบว่ามีการรายงานผิดพลาด 5.7% เป็นต้น แม้แต่การตรวจสอบ DNA ก็พบว่าปัญหาความผิดพลาดเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของแคลิฟอร์เนีย (The California Association of Crime Laboratory Directors) พบว่า สองในสามของห้องปฏิบัติการของเอกชน วิเคราะห์ผิดพลาด

การวิเคราะห์ผิดพลาดดังกล่าว มีสาเหตุสำคัญหลายประการ เช่น การเก็บตัวอย่างไม่ถูกต้อง หรือ มีการปนเปื้อนของวัตถุพยาน และที่สำคัญ ยังเกิดจากคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ (UNQUALIFIED EXPERTS) เช่น รายงานในปี ค.ศ.1982 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญไม่มีความรู้ ไม่ผ่านการทดสอบความรู้ความเชี่ยวชาญ รวมถึงการวิเคราะห์สถานที่เกิดเหตุเกี่ยวกับคราบเลือดในลักษณะ The forensic reconstruction ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญแห่งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แห่งรัฐ Pennsylvania ให้ความเห็นแตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานทางตรวจพิสูจน์อื่นที่จำเลยอ้างต่อศาล ซึ่งท้ายที่สุด จึงตกเป็นภาระของศาลในการชี้ขาด และเป็นภาระที่หนักเพราะศาลก็ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญประเภทนี้ด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังพบปัญหาที่เรียกว่า FALSE FORENSIC EVIDENCE โดย “ผู้เชี่ยวชาญ” ได้สร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ นำไปสู่การพิพากษาผิดตัว เช่น การเสนอความเห็นโดยไม่มีข้อเท็จจริงใด ๆ หรือ มีข้อเท็จจริง แต่ได้แต่งเติมเสริมให้ความเห็นเกินความจริง คดีที่สำคัญที่สุด ก็คือ กรณีนาย Fred Zain ผู้เชี่ยวชาญแห่ง West Virginia State Police Crime Laboratory ได้ทำความเห็นอันเป็นเท็จจำนวน 134 คดี ระหว่างปี ค.ศ.1979-1980 ท้ายที่สุด ศาลจึงสรุปว่า พยานหลักฐานที่ได้มาจากการตรวจสอบของห้องปฏิบัติการนี้ ไม่น่าเชื่อถือ

กล่าวโดยสรุป การประกันมาตรฐานการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ปล่อยให้มีการหน่วยพิสูจน์ต่าง ๆ สามารถพัฒนาหลักวิชาการของตนเองโดยอิสระ ในการแข่งขันกัน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลกลางทั้งการเงินและวิชาการ แต่ก็มีความผิดพลาดมหาศาลเช่นกัน แม้จะมีวิทยาการที่ก้าวหน้าทันสมัย ศาลในสหรัฐอเมริกา จึงมีหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ในการยอมรับพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ศาลได้ตัดสินในคดี Freye โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญว่า “พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะรับฟังได้นั้น จะต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้มีวิชาชีพด้วยกันอย่างกว้างขวาง และได้รับการตีพิมพ์เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น ๆ ทำการตรวจสอบหรือให้ความเห็น

ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ได้พิพากษาและวางกฎเกณฑ์การยอมรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า Daubert Standard โดยกำหนดให้ศาลชั้นต้น ทำการไต่สวนและวิเคราะห์ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการตรวจพิสูจน์หลักฐานนั้น ใช้หลักการทางวิชาการ (methodology) อะไร น่าเชื่อถือหรือไม่ มีการนำความรู้ดังกล่าวมาวิเคราะห์กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนั้นอย่างถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ สามารถแสดงอัตราการผิดพลาดได้หรือไม่ มีวัตถุตัวอย่างในการควบคุมคุณภาพการทดลองและวิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีเพียงพอหรือไม่ เป็นต้น เนื่องจาก Forensic Science นั้นเป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่จะต้องนำความรู้หลายสาขามาประกอบกัน จึงไม่ใช่แค่มีแค่แพทย์ซึ่งได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางนิติเวชศาสตร์ ซึ่งจะต้องแสดงถึงความรู้ เชี่ยวชาญ และ ประสบการณ์ ในการสั่งสมมา เพื่อสามารถแสดงความเห็นได้อย่างน่าเชื่อถือและถูกต้อง (reliability and validity) ดังนั้น การแข่งขันโดยเสรี ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องกว่า การให้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือ คณะกรรมการใด คณะกรรมการหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาความรู้มาอย่างยาวนานต่อเนื่องมาทำการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ

5.5 การได้มาซึ่ง Forensic Science Certificates ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะดำเนินการผ่านกระบวนการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ หรือ พัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ดังเช่น

American Academy of Forensic Psychology (AAFP)
AAFP is approved by the American Psychological Association to offer continuing education for psychologists.

American Academy of Forensic Sciences (AAFS)
AAFS is a professional society dedicated to the application of science to the law and reaches international groups of people through the Journal of Forensic Sciences, annual conferences, and newsletters.

American Board of Criminalistics
The American Board of Criminalistics is composed of representatives from regional and national forensic organizations. The members answer questions about the organization, certification examinations, proficiency testing, and related issues.

American Board of Forensic Anthropology
The American Board of Forensic Anthropology seeks to improve the standards for forensic anthropology and certifies qualified scientists as experts.

American Prosecutors Research Institute (APRI): DNA Forensics Program
The APRI DNA Forensics Program furnishes written materials on scientific advancements, case law, and legislation; consultation and advice on methods for effectively presenting DNA in court; and national training conferences taught by scientific and legal experts in their fields.

American Board of Forensic Document Examiners
The American Board of Forensic Document Examiners provides a certification program in forensic document examination to serve the public interest and promote the advancement of forensic science.

American Board of Medicolegal Death Investigators
The board certifies individuals who have the proven knowledge and skills to perform medicolegal death investigations, as set forth in the National Guidelines for Death Investigation published by the National Institute of Justice in 1997.

American Society of Crime Laboratory Directors (ASCLD)
The ASCLD is a nonprofit professional society that strives to link all crime laboratories internationally. It provides information on crime labs that have been accredited throughout the world and works with the labs to develop standards that all forensic labs should follow.

American Society of Forensic Odontology (ASFO)
The ASFO is the largest organization dedicated to the pursuit of forensic dentistry. Membership is open to all individuals who have an interest in forensic odontology.

Armed Forces Institute of Pathology (AFIP)
AFIP is a tri-service agency of the U.S. Department of Defense. AFIP strives to consult, educate, and provide research to forensic specialists and the general public. Programs currently established at AFIP include research in basic science, environmental pathology and toxicology, geographic and infectious disease pathology, oncology, molecular diagnostics, and forensic science.
Association for Crime Scene Reconstruction (ACSR)
Founded in 1991, ACSR is an organization of professionals dedicated to understanding the elements of crime and recognizing and preserving evidence.

Association of Forensic DNA Analysts and Administrators
The association disseminates publications, discusses DNA legislation, and hosts workshops and trainings.

Biometrics Catalog
The Biometrics Catalog was developed as a service to the biometrics community and potential users of biometric technology. It was designed to provide multiple search options so catalog visitors can find the information they want, quickly and easily.

British Toxicology Society (BTS)
BTS promotes the advancement, communication, and understanding of those scientific disciplines necessary to foster public health and environmental safety.

Combined DNA Index System (CODIS)
CODIS enables Federal, State, and local crime labs to exchange and compare DNA profiles electronically, thereby linking crimes to each other and to convicted offenders.

Computer Crime and Intellectual Property Section of the Criminal Division of the U.S. Department of Justice
The Computer Crime and Intellectual Property Section attorney staff focus exclusively on the issues raised by computer and intellectual property crime. Section attorneys advise Federal prosecutors and law enforcement agents, comment on and propose legislation, coordinate international efforts to combat computer crime, litigate cases, and train law enforcement.

DNA Initiative: Advancing Criminal Justice through DNA Technology
The DNA Initiative provides funding, training, and assistance to ensure that forensic DNA reaches its full potential to solve crimes, protect the innocent, and identify missing persons.

Federal Bureau of Investigation (FBI): Laboratory Specialized Training Program
The FBI Laboratory provides forensic science courses through the Specialized Training Program. The courses are between four and ten days in length and are presented by forensic science experts from the FBI Laboratory and other partnering agencies. The courses are open to U.S. law enforcement agencies, government crime laboratories and military personnel.

Federal Bureau of Investigation (FBI) Laboratory Services Division
The FBI laboratory provides forensic and technical services to Federal, State, and local law enforcement agencies at no expense to these agencies. The lab analyzes physical evidence ranging from blood and other biological materials to explosives, drugs, and firearms.

Innocence Project
The Innocence Project is a national litigation and public policy organization dedicated to exonerating wrongfully convicted people through DNA testing and reforming the criminal justice system to prevent future injustice. The Innocence Project represents clients pro bono and has a very specific mandate: it accepts cases where post-conviction DNA testing can yield conclusive proof of innocence. The Innocence Project does not require evidence to be found before it accepts a case. For more on how to submit a case for consideration, visit the Contact Us section of the Innocence Project Web site.
International Association of Crime Analysts (IACA)
IACA is organized to enhance effectiveness and consistency in the fields of crime and intelligence analysis. IACA is dedicated to advocacy for professional standards, to providing practical educational opportunities, and to the creation of an international network for the standardization of analytic techniques.

International Association for Identification (IAI)
IAI is targeted to individuals involved in forensic identification, investigation, and scientific examination of physical evidence. IAI communicates with its members regarding new issues in the field and promotes research in forensic science disciplines.

International Association of Forensic Toxicologists
This organization's members are employed in analytical toxicology or allied areas. The aims of this association are to promote cooperation and coordination of efforts among members and to encourage research in forensic toxicology.

Midwestern Association of Forensic Scientists
The Mid-Western Association of Forensic Scientists encourages the exchange of ideas and information within the forensic sciences by improving contacts between people and laboratories engaged in forensic science.

National Association of Medical Examiners (NAME)
NAME is the national professional organization of physician medical examiners, medical death investigators, and death investigation system administrators who perform the official duties of the medicolegal investigation of deaths of public interest in the United States.

National Commission on the Future of DNA Evidence
The Commission targeted three limitations to the full and effective use of DNA technology: (1) the current backlog of untested convicted offender database samples, (2) the lack of appropriate prioritization of database sample collection and testing, and (3) the limited use of DNA in non-suspect cases. The Commission made recommendations, which subsequently led to NIJ's establishment in FY 2000 of two important initiatives: the Convicted Offender DNA Backlog Reduction Program and the No-Suspect Casework DNA Backlog Reduction Program.

National Human Genome Research Institute
The National Human Genome Research Institute was established to head the Human Genome Project for the National Institutes of Health (NIH) and to support biomedical research.

National Institute of Justice (NIJ): Forensic Sciences
NIJ's Forensic Sciences Division manages several major programs, including the Crime Laboratory Improvement Program; the Convicted Offender DNA Sample Backlog Reduction Program; the Five-Year DNA Research and Development Program; the National Commission on the Future of DNA Evidence; Technical Working Groups, a general forensic sciences research program; and professional conferences and workshops.

National Toxicology Program (NTP)
This program was established in 1978 by the U.S. Department of Health and Human Services (DHHS) to coordinate toxicological testing programs within the Department, strengthen the science base in toxicology; develop and validate improved testing methods; and provide information about potentially toxic chemicals to health regulatory and research agencies, the scientific and medical communities, and the public.

Northeastern Association of Forensic Scientists
The Northeastern Association of Forensic Scientists is responsible for exchanging ideas regarding new issues in forensic science and establishing contact with the laboratories located in the northeastern United States.

Serological Research Institute

The Serological Research Institute is a nonprofit corporation that offers a broad spectrum of support services for the forensic community. The institute maintains a staff of casework analysts and provides case analysis services to criminalists, law enforcement agencies, and attorneys.

Short Tandem Repeat DNA Internet Database
The Short Tandem Repeat DNA Internet Database was created to benefit research and application of short tandem repeat DNA markers to human identity testing which are used for genetic mapping, linkage analysis, and human identity testing.

Society of Forensic Toxicologists

The Society of Forensic Toxicologists is an organization of practicing forensic toxicologists, and those interested in the discipline, that promotes and develops forensic toxicology.

Southern Association of Forensic Scientists
The Southern Association of Forensic Scientists is an organization for forensic experts that have provided expert testimony in a court of law and now share ideas throughout the forensic science community.

U.S. Department of Energy Office of Biological & Environmental Research: Biological Systems Science Division
The Biological Systems Science Division manages a diverse portfolio of fundamental research and technology development to achieve a predictive, systems-level understanding of complex biological systems to advance Department of Energy missions in energy, climate, and environment. The division was formed from the merger of the formerly separate Life Sciences Division and the Medical Sciences Division.

U.S. Fish and Wildlife Service Forensics Laboratory
The National Fish and Wildlife Forensics Laboratory serves both national and international communities in identifying and comparing physical evidence in an attempt to link suspect, victim and crime scene.

The Vidocq Society
The Vidocq Society is a fraternal organization comprised of professionals and non-professionals who meet in a social setting to discuss unsolved crimes. The society's work is pro bono and their sole purpose is to act as a catalyst and provide guidance to law enforcement agencies to assist them in solving these crimes.

ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หรือ หน่วยงานใหม่ ขึ้นมาควบคุมมาตรฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้มีการดำเนินการแต่ประการใด แต่ก็มีแนวคิดที่จะให้หน่วยงานเดิม คือ National Academies on Standards and Technology (NIST) ทำหน้าที่ในการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับ Forensic Evidence ต่อไป เพราะการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ จะสิ้นเปลือง และ อาจจะไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอ

6. กรณีประเทศไทย ควรดำเนินการอย่างไร

กรณีนี้ จะต้องทบทวนเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และ บทบาทที่ควรจะเป็น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีการพัฒนาทางนิติวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยการใช้กระบวนการทางการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยเข้าดำเนินการพัฒนาเป็นหัวหอกสำคัญ และ ให้สิทธิจำเลยในคดีอาญา หรือ โจทก์ สามารถอ้างพยานผู้เชี่ยวชาญ มาหักล้างซึ่งกันและกันได้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนจะต้องระมัดระวังในการทำความเห็นเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น แนวทางการแข่งขันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมขององค์กรกลาง อย่างองค์กรวิชาชีพแพทย์ หรือ องค์กร ด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ น่าจะเหมาะสมกว่า ทั้งในทางปรัชญาและทางข้อเท็จจริง โดยเฉพาะในเรื่ององค์ความรู้ของสถาบันใหม่ ๆ ของ ยธ. ที่ความรู้ยังไม่ตกผลึก ดังจะเห็นได้จากคดีต่าง ๆ ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง รวมถึงคดีนายห้างทองฯ ด้วยเช่นกัน




 

Create Date : 20 กันยายน 2553    
Last Update : 20 กันยายน 2553 20:00:22 น.
Counter : 3592 Pageviews.  

การดำเนินการทางวินัยกับตำรวจ และ กม. ล้างมลทิน

เห็นมีเรื่องถกเถียงกันเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย และ กม.ล้างมลทิน จึงนำมาเขียนเป็นหลักกว้าง ๆ โดยไม่ลงรายละเอียด สมมุติว่า นายตำรวจคนหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ของตำรวจ ได้แก่ การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา และ การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม .... แล้วปรากฎว่า ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมาย หรือ กระทำผิดระเบียบแบบแผนของตำรวจ ที่มีมากมาย จะต้องถูกดำเนินการทางวินัยหรือไม่ เพียงใด และ ถ้ามีกฎหมายนิรโทษกรรม หรือให้อภัยโทษกันแล้ว จะต้องถูกดำเนินการอะไรหรือไม่ ภายในเงื่อนไขอะไร




สมมุติว่า มีการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเรื่องหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการที่มีคนร้ายฆ่าคนขับรถบรรทุก แล้วนำระเบิดซีโฟร์ใส่รถบรรทุกดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายจะนำไปจอดไว้ที่ใกล้ห้างสรรพสินค้าแถว ๆ แยกวิทยุ ในเขต สถานีตำรวจ LPN แล้วรอเวลากดระเบิด แต่บังเอิญว่า รถบรรทุกคันดังกล่าว ได้มีอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถคันอื่น ผู้ขับขี่รถบรรทุกดังกล่าวจึงหลบหนี ทิ้งรถไว้ ตำรวจจึงตรวจสอบพบระเบิดดังกล่าว มีรัศมีการทำลายร้ายแรงหลายตาราง กม. เจ้านายตำรวจ จึงได้บ้าจี้ เร่งรัดให้ทำการสืบสวน ฯลฯ ประมาณว่า "ต้องได้ตัว" ฯลฯ ตำรวจหลายคน จึงลงมือสืบสวน และ ใช้เทคนิคตำรวจ ... อุ้ม นักธุรกิจ และ ผู้เกี่ยวข้อง ชาว " สาอู้ดี้ อาร์ แอนด์ เบียร์ " ไปแช่น้ำแข็ง ในห้องแอร์หนาวเย็น อุณหภูมิติดลบ .. เพื่อไปรีดเค้นหาสาเหตุของการวางระเบิดดังกล่าว

ปรากฎว่า นักธุรกิจดังกล่าว มีโรคประจำตัว จึงช๊อคตาย ใน "Save House" นั้น ซิครับ ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงต้องมีการแต่งเรื่องใหม่ขึ้น โดยมีการปลอมตัวใส่หมวก ปิดหน้า ปิดตา คล้ายแขก ขับรถไปจอดทิ้งไว้ใน รพ. แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบนักธุรกิจนั้นอีกเลย จนกระทั่งปัจจุบัน

ถามว่า ตำรวจที่กระทำดังกล่าว จะอ้างกระทำตามหน้าที่ได้หรือไม่ คำตอบสุดท้าย คือ "ไม่ได้" นี่มันคดีอาญา ..... แต่สมมุติว่า มีการช่วยเหลือกันมาโดยตลอด เช่น สมมุติว่า คดีนี้เกิดช่วงปี พ.ศ.2538-2541 ก็มีการกล่าวหานายตำรวจคนหนึ่งที่เป็นแกนนอน เอ้ย แกนนำในการกระทำผิดครั้งนี้ แต่ก็อุุ้มกันมา โดยพี่ชายนายตำรวจท่านนี้ เป็นนายทหารใหญ่ .... จึงทำให้ อัยการ สั่งไม่ฟ้องคดีอาญา ผู้บังคับบัญชาตำรวจ ก็รับลูกทันที สั่งไม่ฟ้องคดีอาญา แสดงว่า คดีไม่มีมูล คดีวินัยจึงยุติไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541

อย่างไรก็ตาม คดีนี้ ไม่ได้ง่ายเช่นนั้น เพราะตาม กม.ระหว่างประเทศ ประเทศเจ้าของคนชาติ "สาอู้ดี้ อาร์ แอนด์ เบียร์" สามารถให้ความคุ้มครองทางการทูตแก่คนชาติตนเอง (Diplomatic Protection) ได้ เพราะรู้ว่า คนไทยมันเจ้าเล่ห์ยิ่งนัก เพราะจากประวัติศาสตร์ชาติไทย ชอบบิดเบือนความจริงมาโดยตลอด เข้าร่วมสงคราม ก็ตอนเขาจะชนะอยู่แล้ว หรือ ถ้าจะแพ้ ก็ไปเลียไข่มหาอำนาจ จนกลายเป็นฝ่ายชนะไป ... ดังนั้น ถ้ามีเหตุดังกล่าวจริง ก็คงจะช่วยกันแน่ ๆ ๆ จึงได้สั่งการให้ทูตติดตามเรื่องราวนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งปัจจุบัน ก็เกือบ 20 ปีมาแล้ว ทูตเขาก็ติดตาม จี้รัฐบาลไทย ลดระดับความสัมพันธ์ และ ฯลฯ จนรัฐบาลไทย ต้องทำการสืบสวนสอบสวน และ มีการสั่งฟ้องคดีอาญาจากความผิดเดียวกันใหม่อีกครั้ง

ปัญหาคือ สมมุติว่าถ้ามี กม.ล้างมลทิน เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ... แต่มีการฟ้องคดีอาญา กับนายตำรวจดังกล่าวในปี พ.ศ.2553 ถามว่า จะต้องตั้งกรรมการทางวินัยใหม่ หรือไม่ ... คำตอบคือ ล้านเปอร์เซ็นต์ชัวร์ ครับ .... ต้องตั้งกรรมการใหม่ เพราะการล้างมลทินนั้น ได้ล้างเฉพาะการกระทำที่ผ่านไปแล้ว ก่อนวันที่ กม. ล้างมลทิน จะมีผลบังคับใช้ ...... ดังนั้น หากมีการยกคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ ภายใต้เงื่อนไข ตาม มาตรา 147 ป.วิ.อาญา คือมีพยานหลักฐานใหม่ .... .... จึงไม่มีเหตุอันใด ที่จะไม่ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยกับตำรวจคนนั้นใหม่ ....
กม. ล้างมลทิน มันล้างไป ในปี พ.ศ.2550 เหมือนน้ำท่วมเจดีย์ทราย พังทลายไปหมด ในปี พ.ศ.2550 แล้ว ดังนั้น ถ้ามีทุ่น หรือ มีภูเขา โผล่ขึ้นเหนือน้ำขึ้นมาใหม่ ก็จะไปล้าง กม.ล้างมนทิน ปีก่อน ๆ มาอ้างไม่ได้เหมือนกัน ... กล่าวย้ำ อีกครั้ง จึงไม่มีเหตุอะไรที่จะไม่ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยแต่ประการใดอีก ............






อนึ่ง การที่ตำรวจถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดทางวินัย หรือ ผิดอาญา จะไม่ตั้งกรรมการทางวินัยได้ เพียงกรณีที่ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย อย่างชอบธรรม แต่ถูกกลั่นแกล้งเท่านั้น .... ทั้งนี้ ก็เพื่อบำรุงขวัญเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้สามารถปฏิบัติการตามหน้าที่ได้อย่่างตรงไปตรงมา ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่เพราะว่า ไม่ตั้งกรรมการ เพราะ พี่ชายนายตำรวจท่านนั้น เป็นนายทหารยศใหญ่โต ... เคยทำความดีให้กับ พรรครัฐบาล .... เพราะสร้างพยานหลักฐาน จนนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองรัฐบาลเดิมได้อย่างจริงจัง จนกระทั่งพรรครัฐบาลใหม่ พลิกขั้วมาจัดตั้งรัฐบาลได้ ..... ถ้าทำแบบนี้ จะอธิบายอะไรไม่ได้เลย และ จะไปสู่ภาวะที่ไทย จะถูกตัดความสัมพันธ์ จากประเทศ สาอู้ฯ และ พันธมิตร อีก ๕๗ ประเทศ ... ไทยจะชิบหายก็คราวนี้แหละครับ





 

Create Date : 20 กันยายน 2553    
Last Update : 20 กันยายน 2553 9:57:17 น.
Counter : 1216 Pageviews.  

การพัฒนางานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พี่น้องประชาชน อาจจะรู้สึกว่า ทำไมคดีต่าง ๆ ตำรวจจึงทำได้แตกต่างกัน คดีบางคดี เช่น คดียึดสนามบิน ของ พธม. ทำไม จึงล่าช้านัก ผ่านไปสองปีกว่า ยังเรียกตัวผู้ต้องหา มาแจ้งข้อหาไม่ได้ ในขณะที่ ถ้าเป็นคดีเสื้อแดง หรือ นปช. ตำรวจจะทำเร็วมาก ๆ ๆ ๆ ทั้งอัยการและ ศาลก็ตัดสินคดีเร็วมาก ๆ ๆ

ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างคดี คนเอาข้าวไปให้ นปช. ตำรวจจับ ส่งอัยการฟ้อง ศาลลงโทษจำคุกหลายเดือน โดยไม่รอลงอาญา แต่คดี พันธมิตร ขับรถชนตำรวจ กว่าจะฟ้อง กันได้ก็นาน แล้วศาลยังรอลงอาญาอีก เกิดคำถามมากมายกับกระบวนการยุติธรรม เอาข้าวไปให้คนกิน กับ พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน นี่ อะไรมันร้ายแรงกว่ากัน .... ผมว่า ควายเท่านั้นที่คิดไม่ได้ .... ศาลต้องตอบคำถามสังคมว่า ทำไมคิดอย่างนั้น ทำไม จึงปฏิบัติแตกต่าง ฯลฯ กินเงินเดือน และภาษีประชาชน ทำไม ปฏิบัติต่อประชาชน เหมือนประชาชนเป็นควาย โง่เง่า ไม่รู้สี่ รู้แปด อะไร .... มันเกิดอะไรกับกระบวนการยุติธรรมของไทย




ในส่วนของตำรวจ มีความพยายามจะปฏิรูประบบงานสอบสวน เพราะมันล้มเหลวค่อนข้างมาก เนื่องจาก ระบบงานสอบสวน ถูกทิ้งร้างมานาน ผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองแทรกแซงมาโดยตลอด ทำให้ พนักงานสอบสวน อยู่ในภาวะจำนน เพราะขาดหลักประกัน ฝ่าฝืนอะไรก็ไม่ได้ ....

จึงเป็นคำถามว่า มันจะถึงเวลาหรือยังที่จะต้องกำหนดให้ความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวน ไว้ในรัฐธรรมนูญเสียเลย .. อย่างน้อย ก็ประกาศให้โลกรู้ว่า การเมือง อย่าไปยุ่งกับตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญาเลย เขาเป็น Judiciary officials เป็นต้นธารกระบวนการยุติธรรม

ตำรวจทำอะไร ในช่วงนี้ ผมอยากเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ โดย คณะอนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ด้านการกำกับ ดูแล และติดตามผลการดำเนินการตามนโยบาย ได้่มีคำสั่งที่ 2/2553 ลง 30 ก.ค.2553 เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายด้านการพัฒนาระบบงานสอบสวน ขึ้นมาแล้ว

คณะทำงานได้ประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2553 ณ ห้องประชุม 3 อาคาร 1 ตร. โดยได้ศึกษาแนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนางานสอบสวนอย่างกว้างขวางในเชิงระบบ และ การพัฒนาพนักงานสอบสวนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นเร่งด่วนที่เห็นควรนำเสนอต่อ ก.ต.ช. เพื่อกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนางานสอบสวนให้ถูกต้องตามกฎหมายและในขณะเดียวกันยังมีหลักประกันความเป็นอิสระและประสิทธิภาพของงานสอบสวนได้ ซึ่งได้แก่ การกำหนดระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวน (พงส.) ในสถานีตำรวจ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ที่ประชุมได้ศึกษาข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดระบบตำแหน่งสถานีตำรวจใหม่ ตามผลการศึกษาของคณะทำงาน ตามนัยคำสั่ง ตร. ที่ 147/2553 ลง 15 มี.ค.2553 และ คำสั่ง ตร. ที่ 333/2552 ลงวันที่ 30 มิ.ย.2552 เพื่อศึกษาโครงสร้างระบบตำแหน่งในสถานีตำรวจ โดยคณะทำงานดังกล่าวมีมติเห็นว่าการใช้ระบบตำแหน่งควบ จาก พงส.(สบ.1) – พงส. (สบ.6) นั้น ไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาได้ จึงเสนอให้มีการยกเลิกตำแหน่งควบของพนักงานสอบสวนในระดับสถานีตำรวจ และกำหนดตำแหน่งใหม่เป็น รอง สวส. ในระบบตำแหน่งเดิม ซึ่งที่ประชุมของผู้บริหารระดับ ตร. ได้มติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ให้นำเรื่องเข้าสู่ ก.ตร. เพื่อพิจารณามีมติ โดยมี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รอง ผบ.ตร.(บร.2) และ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.(กม.) มีความเห็นว่า การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพงานสอบสวนด้วยวิธีการดังกล่าว ไม่สอดคล้อง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่ง ตร. จะได้มีการนำเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ ก.ตร. เพื่อบังคับใช้ต่อไป


คณะทำงานฯ มีความเห็นสอดคล้องต้องกันใน 2 ประเด็น ได้แก่

1. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้ประกาศเจตนารมณ์ท้าย พ.ร.บ. อย่างชัดแจ้งที่จะแยกสายงานสอบสวน และกำหนดหลักประกันความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนให้แยกจากข้าราชการตำรวจทั่วไป โดยกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะตามมาตรา 47 รวมถึงกำหนดให้พนักงานสอบสวนได้รับค่าตอบแทนพิเศษ แตกต่างจากข้าราชการตำรวจทั่วไปด้วย นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาการเสื่อมประสิทธิในงานด้านการสอบสวนนั้น จะต้องแก้ไขเป็นระบบ ตั้งแต่ระบบธุรการทางคดี ระบบผู้ช่วยเหลืองานพนักงานสอบสวน ระบบการจัดการวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนงานสอบสวน ดังนั้น คณะทำงานจึงเห็นว่า มติของผู้บริหาร ตร. ที่จะยกเลิกการกำหนดตำแหน่งควบในสถานีตำรวจ และ กำหนดตำแหน่งควบไว้ที่หน่วยงานระดับ บก.นั้นเป็นการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับสิ่งที่สังคมและประชาชนคาดหวัง ซึ่งประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนมีความเป็นอิสระในการรวบรวมพยานหลักฐานและการมีความเห็นทางคดี

2. ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 47 กำหนดให้มีตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในระดับต่าง ๆ ในลักษณะตำแหน่งควบ สามารถเลื่อนไหลได้ด้วยตนเองตามระเบียบที่ ก.ตร. กำหนด แต่ในปัจจุบัน ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ตร. ได้กำหนดตำแหน่ง พงส.(สบ.4) ไว้เพียง 100 ตำแหน่ง และ ยังไม่ได้กำหนดจำนวนตำแหน่ง พงส.(สบ.5) และ พงส.(สบ.6) แต่ประการ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมคณะทำงาน จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็ควรเสนอ ก.ต.ช. มีนโยบายยับยั้ง การดำเนินการของ ผบ.ตร. ที่จะนำข้อมติการยกเลิกตำแหน่งควบในระดับสถานีตำรวจ มิให้นำเข้าสู่การพิจารณาของ ก.ตร. เพื่อป้องกันการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากการปรับเปลี่ยนระบบตำแหน่งพนักงานสอบสวนดังกล่าว และ เห็นควรเสนอ ก.ต.ช. กำหนด

นโยบายเร่งด่วนให้ ตร. ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยเคร่งครัด และควรกำหนดกรอบระยะเวลาให้ ตร. ดำเนินการ ภายใน 60 วัน เนื่องจาก นับจนถึงปัจจุบัน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้ประกาศใช้มาประมาณ 6 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการปฏิบัติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

โดยสรุป คณะทำงานเห็นว่าจะต้องพัฒนางานสอบสวนให้เป็นระบบ และ เป็นอิสระ การยุบตำแหน่งควบ กลับเป็น รอง สวส. ฯลฯ เป็นการถอยหลังเข้าคลอง และ ผิดกฎหมาย สิ่งที่คณะทำงานจะวางแผนดำเนินการ คือ พัฒนาทั้งระบบให้เต็มกระบอกสูบ พัฒนาพนักงานสอบสวน และความก้าวหน้าของงานสอบสวน พัฒนาระบบเครื่องมือ และอุปกรณ์ ให้ทันสมัย ไม่ใช่กลับไปแบบเดิมแล้ว ให้ หัวหน้าหน่วย ไปทำอย่างไรก็ได้ ให้งานสำเร็จแบบในอดีต





ได้แต่หวังว่า ก.ต.ช. จะเห็นด้วยกับเรา เพื่อให้งานสอบสวน ไม่ถูกกร่นด่า พนักงานสอบสวนกำลังใจท้อถอย และ ประณามอย่างเช่นปัจจุบัน




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2553    
Last Update : 20 สิงหาคม 2553 13:04:19 น.
Counter : 3224 Pageviews.  

ก.ตร. กับการผดุงระบบคุณธรรม


แนวคิดในการบริหารงานองค์กรให้สำเร็จสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ องค์กรนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ให้มีกำลังขวัญที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละบุคคลให้ประสบความสำเร็จ ทันเวลา มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งรวมถึงการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย ที่ไม่อาจจะประสบความสำเร็จได้เลย หากองค์กรตำรวจ ละเลยการให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กรของตนเอง

ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ขึ้น ตามมาตรา 30 - 43 เพื่อทำหน้าที่ในการรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ โดยให้มีอำนาจออก กฎ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจเพื่อผดุงระบบคุณธรรมอันเป็นการส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจที่มีความรู้ความสามารถ และ มีความประพฤติเหมาะสม ตลอดจนมีสมรรถนะในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี เพื่อตอบแทนเงินเดือนที่ได้รับมาจากภาษีของประชาชน

มาตรา 31 และ 32 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ก.ตร.ไว้อย่างชัดเจนว่า มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจและจัดระบบราชการตำรวจ รวมตลอดทั้งการอบรม และพัฒนาข้าราชการตำรวจ โดยไม่ขัดกับนโยบายของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช. ที่ได้กำหนดไว้เป็นการทั่วไป

ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2521 นับแต่มี ก.ตร. มา จนกระทั่งปี พ.ศ.2547 ซึ่งถือว่า เป็นการปฎิรูประบบงานตำรวจครั้งใหญ่ในเชิงรูปแบบ โดยมีการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาเป็นนายกรัฐมนตรี การดำเนินการของ ก.ตร. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผดุงคุณธรรมในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามระบบคุณธรรม มีเป็นผลเป็นรูปธรรมขึ้น จากการออกกฎ ก.ตร. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ สารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2549 แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าว ก็ยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน หลายประการ เช่น ไม่มีหลักเกณฑ์การสรรหาและวิธีการ ตลอดจนระยะเวลาเพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอย่าง ซึ่งแท้จริงแล้วการคัดเลือกผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์กรผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องมีมาตรฐานสูงอย่างยิ่ง มีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์และทัศนคติในการบังคับใช้กฎหมาย และการนำองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการคัดเลือกโดยกระบวนการรับฟังนโยบายของผู้สมัครคัดเลือกและมีกระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public Hearing) โดยวิธีการโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้สาธารณชนรับฟังและสอบถามปัญหาหรือแนวคิดต่าง ๆ ได้ อันจะเป็นการประกาศพันธะสัญญาเพื่อผูกมัดตนเองในการปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตและอย่างมีมาตรฐานวิชาชีพสูงสุดต่อสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากกรณี การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับตั้งแต่ ผู้บัญชาการตำรวจ ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่กำหนดอย่างชัดเจนว่า ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ฯ พ.ศ. 2549 ข้อ 33(1) ให้พิจารณาเลื่อนตำแหน่งตั้งแต่ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้นไป ให้พิจารณาเรียงลำดับอาวุโสเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือคณะกรรมการคัดเลือกเสนอแนะ ซึ่งมีอำนาจคัดเลือกข้าราชการตำรวจที่จะดำรงตำแหน่งสูงขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการ ก.ตร. เห็นชอบ ก็จะต้องปฏิบัติตาม กฎ ก.ตร. ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ก็จะต้องเสนอรายชื่อตามหลักอาวุโสก่อนเสมอตาม แต่ถ้าเห็นว่าผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่าไม่มีความเหมาะสมในการเลื่อนตำแหน่ง จะต้องมีพยานหลักฐานอย่างชัดเจนว่าไม่เหมาะสมอย่างไร จะกล่าวเพียงลอย ๆ บุคคลอื่นเหมาะสมกว่าไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ ก็เคยมีคดีตัวอย่างมาแล้ว เช่น คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.212/2546 คดีหมายเลขแดงที่ อ.89/2549 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 226/2544 และคำสั่ง 108/2545 ที่คณะกรรมการคัดเลือกไม่ได้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใด ๆ และใช้เวลาในการพิจารณาเพียงเล็กน้อยกับผู้สมัครดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ประกอบกับการให้เหตุผลลอย ๆ ว่า ทุกคนมีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน มีความเหมาะสมเหมือนกัน โดยไม่ได้พิจารณาให้เป็นรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการคัดเลือกผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ อันถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจจะทำให้ทั้งผู้เสนอชื่อและ ก.ตร. ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย มีความรับผิดตาม ป.อาญา มาตรา 157 ได้ นอกจากนี้ ยังจะต้องรับผิดทางแพ่งและทางวินัยด้วย

ส่วนการแต่งตั้งในระดับผู้บัญชาการลงไปถึงระดับสารวัตร จะเป็นไปตาม มาตรา 57 และ กฎ ก.ตร. ดังกล่าวข้างต้น ที่กระจายอำนาจไปยังผู้บัญชาการตำรวจ (ผบช./ ยศพลตำรวจโท) หัวหน้าหน่วยงานระดับ กองบัญชาการให้มีอำนาจพิจารณาและคัดเลือก โดยมี กฎ ก.ตร. ข้อ 33(2) กำหนดว่า จะต้องคัดเลือกตามลำดับอาวุโส โดยหากมีหลายตำแหน่ง ให้แต่งตั้งจากผู้มีอาวุโสสูงสุดไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนตำแหน่งที่ว่าง แต่หากมีตำแหน่งว่างเพียงตำแหน่งเดียวให้พิจารณาความเหมาะสมได้ (ข้อ 33 วรรคสอง) แต่ถ้าหากผู้บัญชาการใช้อำนาจไม่ชอบธรรม ตามพระราชบัญญัติตำรวจ พ.ศ.2547 มาตรา 56 ก็รับรองอำนาจของ ผบ.ตร. ให้แก้ไขหากมีปรากฏว่า การแต่งตั้ง ผบช. ไม่เป็นธรรม หรือมีกรณีไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่ ก.ตร. กำหนดไว้ตามมาตรา 57 ให้ ผบ.ตร. มีอำนาจสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งได้ตามควรแก่กรณี

นอกจากเรื่องการยึดระบบอาวุโสแล้ว ศาลปกครอง ยังได้วินิจฉัยว่า การแต่งตั้งโยกย้ายใด หากผู้ได้รับการแต่งตั้งไม่ได้ร้องขอ และไม่มีเหตุผลอันสมควรแล้ว แม้ถูกตามกฎหมาย กล่าวคือ เป็นอำนาจของ ผบช. ที่จะแต่งตั้งได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม ต้องกลับแก้ไขได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในกรณี พ.ต.อ.วิโรจน์ พิพิธพจนาการณ์ ที่ถูกโยกย้ายจากกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค ๒ (จังหวัดชลบุรี) ไปอยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (จังหวัดนครปฐม) โดยไม่มีเหตุผลรองรับอันสมควร และผู้ร้องทุกข์ไม่ได้สมัครใจหรือไม่ได้ร้องขอ ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ ๑๙๔๗/๒๕๕๑ และคดีหมายเลขแดงที่ ๑๐๘๒/๒๕๕๒ ให้ ภ.๒ แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด โดยให้ ผบ.ตร. กำกับดูแลให้ ผบช.ภ.๒ ดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา พร้อมให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ภายใน ๓๐ วัน คดีนี้ ตร. ไม่ได้ดำเนินการอุทธรณ์โดยเห็นว่าคำพิพากษาชอบแล้ว ด้วยเหตุนี้ คดีดังกล่าว จึงเป็นคดีบรรทัดฐานที่ ตร. จะต้องยึดถือปฏิบัติ การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีเหตุผลอธิบายได้ ฯลฯ จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้อีกต่อไป การอ้างเหตุว่าเหมาะสมลอย ๆ จึงรับไม่ได้อีกต่อไป

ตามที่กล่าวมาแล้ว ดูเหมือนว่า ก.ตร. ได้ออกกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งโยกย้าย เพื่อผดุงระบบคุณธรรม ให้เป็นรูปธรรมขึ้นจริง เช่น การยึดระบบอาวุโสไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 (ซึ่งทุกหน่วยก็ใช้เกณฑ์ขั้นต่ำนี้เสมอ) แต่ก็ยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากมาย ดังปรากฏในคดีต่าง ๆ ที่มีการฟ้องร้องจำนวนมาก เพราะผู้บังคับบัญชามักจะอาศัยช่องว่างของ กฎ ก.ตร. ดังกล่าว จนกระทั่งมีการฟ้องร้อง และ ศาลได้พิพากษาเปลี่ยนแปลงและอุดช่องว่างของ กฎ ก.ตร. ดังกล่าว แต่ก็ยังได้เพียงพอไม่ โดยเฉพาะ หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชีอาวุโสไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ซึ่งถือว่าน้อยเกินไป แม้จะมีข้อโต้แย้งว่า หากหน่วยงานใด ใช้หลักอาวุโสอย่างเดียว องค์กรนั้น ก็จะไม่มีลักษณะตื่นตัว ไม่แข่งขันกันทำงาน ทำให้องค์กร มีลักษณะเหงาหงอย ฯลฯ ซึ่งก็อาจจะจริงสำหรับบางองค์กร แต่อาจจะไม่จริงสำหรับองค์กรตำรวจ เพราะ การเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาผู้มีความรู้ความสามารถ ถึงร้อยละ 75 ของการแต่งตั้งแต่ละครั้ง ก็คือ การเปิดโอกาสให้มีการวิ่งเต้น ดังนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบงานตำรวจ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2553 ลง 29 มิถุนายน 2553 โดยมี พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร เป็นประธาน ได้ส่งข้อเสนอของคณะกรรมการที่เห็นว่าควรเพิ่มจำนวนอัตราของผู้มีอาวุโส จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 33 เป็นอย่างต่ำ เพื่อให้การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจเป็นไปด้วยความโปร่งใส สะท้อนหลักคุณธรรม จริยธรรม โดยท่าน พลตำรวจเอก วสิษฐ ฯ ได้มีข้อเสนอ ดังนี้

1. ขอให้เพิ่มสัดส่วนของผู้อาวุโสที่สำรวจว่าได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยระบุว่ากฎของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) พ.ศ. 2549 ข้อ 33 ที่กำหนดว่าจะต้องให้มีการแต่งตั้งเรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนตำแหน่งที่ว่างลง แต่ผลการศึกษาของ พล.ต.อ. วสิษฐ เสนอให้เพิ่มสัดส่วนขึ้นอีกเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 33

2. การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจสำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติครบในปีแรกนั้น ต้องการให้มีการจัดทำประวัติและผลงานดีเด่นของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งหรือเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยประกาศให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดได้รับทราบ เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลการแต่งตั้งไม่ใช่ว่ามุบมิบแต่งตั้งและได้รับการแต่งตั้งเร็วกว่าคนอื่น แต่ต้องบอกว่าคนนั้นมีความสามารถอย่างไร และ

3.ในการแต่งตั้งโยกย้ายทุกครั้งต้องมีการทำบัญชีรายชื่อที่เหมาะสมที่จะเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นในระดับกองบังคับการ ซึ่งทางพ.ต.อ.วสิษฐ ได้เสนอให้นำบัญชีที่กองบังคับการทำไว้นำมาติดประกาศให้ข้าราชการตำรวจได้รับทราบล่วงหน้าเผื่อจะมีการทักท้วงหรือขอแก้ไข หากมีการแต่งตั้งข้ามอาวุโสจะต้องมีการอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนว่ามีเหตุผลอะไร

เมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ ก.ตร. เมื่อได้รับนโยบายดังกล่าวมาจากนายกรัฐมนตรี ก็ได้กล่าวว่าจะนำข้อเสนอดังกล่าวไปเสนอในที่ ประชุม ก.ตร. เพื่อให้ ก.ตร. เห็นชอบภายในเดือนสิงหาคม 2553 นี้ จากนั้น จะได้ประกาศให้ทุกหน่วยในสำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน

คำถามที่เกิดขึ้นคือ เหตุใด ก.ตร. ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เอง กลับไม่ทำการปฏิรูปตัวเองก่อนที่จะให้บุคคลภายนอกวงการตำรวจมาทำการปฏิรูปการบริหารงานตำรวจ ถึงเวลาหรือยังที่ ก.ตร. จะต้องหันกลับมาพิจารณาว่า ก.ตร. ได้รับเกียรติอย่างสูงสุดในการปกป้อง และ พิทักษ์คุณธรรม ในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ และ หาก ก.ตร. ได้ปฏิบัติงานอย่างสมเกียรติ โดย ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งฯ และ ควรจะปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลย์การใช้อำนาจตามกฎหมายของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ เมื่อเห็นว่า กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ยังไม่เพียงพอ หรือ มีช่องโหว่ ฯลฯ ก็ควรจะต้องดำเนินการแก้ไขเป็นการเร่งด่วน

ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือ กรณี การกำหนดระบบอาวุโสในการแต่งตั้งไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 นั้น หากพิจารณากฎเกณฑ์ที่เขียนไว้ใน กฎ ก.ตร. 2549 อย่างดีแล้ว จะพบว่า การแต่งตั้งมีอาวุโส ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 นั้นไม่มีความเป็นจริงเอาเสียเลย สามารถหลีกเลี่ยง จากการเขียนกฎเกณฑ์ให้ต้องแต่งตั้งตำรวจเฉพาะรายชื่อที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีความเหมาะสมในการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ตามกฎ ก.ตร. ดังกล่าว ได้อย่างง่ายดาย และทำให้ ผู้มีอาวุโสสูง ไม่เข้ามาสู่ในบัญชีผู้มีความเหมาะสม เพราะมีการใช้กลวิธี หลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยการนำรายชื่อผู้มีอาวุโสสูง ไปอยู่ในบัญชีผู้มีความเหมาะสมในระดับต่ำ แล้วนำรายชื่อผู้มีอาวุโสน้อย ไปอยู่ในบัญชีผู้มีความเหมาะสมในระดับสูงกว่า โดย กฎ ก.ตร. ฯ พ.ศ. 2549 ดังกล่าว ได้เขียนอย่างสลับซับซ้อน เพื่อซ่อนเงื่อนไขและวิธีการบิดผันการใช้อำนาจในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีความเหมาะสม ซึ่งอาจจะทำให้ผู้มีอาวุโส ไม่อยู่ในลำดับต้น ๆ แล้วพลอยทำให้ รายชื่อผู้มีอาวุโสสูง ไม่อยู่ในบัญชีที่อยู่ในลำดับที่อาจจะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งสูงขึ้นได้ด้วย ตัวอย่าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ซึ่งกำหนดไว้ในลักษณะที่ 3 บทที่ 1 ข้อ 18 – 29 ซึ่งดูเหมือนจะดี มีระบบ เพราะกำหนดให้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่ระดับหน่วยงานที่มีสารวัตรเป็นหัวหน้า จนถึง หน่วยงานที่ผู้บัญชาการเป็นหัวหน้า โดยให้มีการจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ทุกระดับชั้น เสนอขึ้นมาตามลำดับ โดยมีคณะกรรมการต่าง ๆ ในการพิจารณา และ โดยหน่วยงานระดับสูงกว่า ให้คณะกรรมการ นำบัญชีรายชื่อที่เสนอมาจากหน่วยงานระดับรองลงไปมาพิจารณา แล้วสรรหาผู้เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นให้เหลือจำนวนไม่เกินร้อยละห้าสิบ ในแต่ละระดับตำแหน่ง แต่ไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละหน่วยงาน และ กฎ ก.ตร. ข้อ 32 ก็ได้กำหนดว่า ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเฉพาะผู้มีรายชื่อในบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเท่านั้น

พิจารณาจากข้อความใน กฎ ก.ตร. เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมดังกล่าว ก็จะเห็นว่า กฎ ก.ตร. นั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญหลักอาวุโส ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 เลยก็ยังว่าได้ เนื่องจากข้อความที่ปรากฏใน กฎ ก.ตร. ข้อ 26 กำหนดว่า การสรรหาบัญชีรายชื่อดังกล่าว จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ ผลการปฏิบัติงาน การบริหารงานและการปกครองบังคับบัญชา ผลการปฏิบัติการปฏิบัติงาน คุณวุฒิ ความประพฤติ ประวัติการรับราชการ และอาวุโส ประกอบกัน จึงแสดงให้เห็นว่า บัญชีผู้มีความเหมาะสมนั้น ให้ถือเอาปัจจัยเรื่องอาวุโส มาเป็นอันดับสุดท้าย ซึ่งถือว่าไม่ให้ความสำคัญ และ ไม่สอดคล้องกับหลักการ ในบทที่ 3 เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกหรือแต่งตั้งของผู้มีอำนาจ ในข้อ 33 (2) ที่กำหนดไว้ให้พิจารณาเรียงลำดับอาวุโส จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่ง

นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชี ยังซ่อนวิธีการในการหลีกเลี่ยงหลักอาวุโสได่ง่าย โดยผู้มีอำนาจแต่งตั้ง อาจจะสั่งการด้วยวาจาให้ผู้มีอำนาจจัดทำบัญชีผู้เหมาะสมดังกล่าว ให้จัดทำบัญชีรายชื่อ โดยนำรายชื่อผู้มีอาวุโส ๆ ไว้ในบัญชีลำดับท้ายๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่มีรายชื่ออยู่ในจำนวนร้อยละ 50 ของตำแหน่งว่าง และ เมื่อไม่มีรายชื่ออยู่ในตะกร้าบัญชีดังกล่าว ตาม กฎ ก.ตร. ข้อ 32 ก็ห้ามมิให้นำรายชื่อที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เหมาะสม ( แม้จะเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด อันดับหนึ่งของภาคหรือ บช.นั้น ก็ตาม ) มาพิจารณาแต่งตั้งให้ได้รับตำแหน่งสูงขึ้นเลย เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่า ก.ตร. ซึ่งเป็นองค์กรที่ผดุงความยุติธรรมสำหรับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ จะต้องมีบทบาทในเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาช่องโหว่ หรือ การหลีกเลี่ยงกฎหมายของผู้ใช้อำนาจ ไม่ว่าจะเป็น ผบ.ตร. หรือ ผบช. ก็ตาม โดยอาจจะยกเลิกการจัดจัดทำบัญชีผู้เหมาะสมดังกล่าว แต่ให้จัดทำบัญชีเรียงลำดับอาวุโสอย่างแท้จริง และมีการอธิบายคุณสมบัติ ความเหมาะสมต่อตำแหน่ง หรือไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ควรจะต้องมีการประกาศบัญชีรายชื่ออาวุโสดังกล่าวให้เป็นที่รับทราบทั่วไป สำหรับข้าราชการตำรวจทุกระดับด้วย เป็นต้น ในเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินี้ ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของ ก.ตร. ทุกท่าน แม้ ก.ตร. โดยตำแหน่งบางท่าน จะมีตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. ก็ตาม แต่ก็ควรจะต้องทราบถึงบทบาทในการควบคุม และ การกลั่นการใช้อำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะองค์กร ผู้บังคับใช้กฎหมาย กับ บทบาทของ ก.ตร. ที่แยกแยะจากกัน จะเกรงว่าจะเป็นการก้าวก่าย แทรกแซงการใช้อำนาจของ ผบ.ตร. หรือผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ เพราะไม่เพียงเหตุผลที่ ก.ตร. เป็นองค์กรที่ผดุงความยุติธรรมเท่านั้น ก.ตร. และ อนุ ก.ตร. ต่าง ๆ ยังได้รับค่าตอบแทนจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนมาก โดยแต่ละปี โดยประธาน ก.ตร. ได้รับค่าตอบแทน เป็นรายเดือน ๆ ละ 10,000 บาท กรรมการ ก.ตร. อื่น ๆ ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 8,000 บาท ส่วนอนุ ก.ตร. ก็ได้รับค่าตอบแทน เป็นรายเดือน เช่นกัน เดือนละ 5,000 บาท สำหรับประธาน และ 4,000 บาท สำหรับกรรมการ และ ยังได้รับค่าตอบแทนในการประชุมแต่ละครั้งอีก รวมกันแล้ว จะต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน ที่มาจากภาษีอากรของประชาชน ประมาณเดือนละเกือบ 700,000 บาท (เจ็ดแสนบาท) หรือ ประมาณปีละ 8,000,000 บาท (แปดล้านบาท) เลยทีเดียว

น่าจะถึงเวลาแล้วสำหรับ ก.ตร. และ อนุ ก.ตร. ที่จะ แสดงบทบาทในการเป็นผู้พิทักษ์คุณธรรม และ สร้างระบบคุณธรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยตนเอง ในลักษณะเชิงรุก โดยไม่ต้องรอให้สังคม หรือ บุคคลภายนอกมากดดัน หรือ สั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือผ่าตัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกต่อไป ก.ตร. ซึ่งรวมถึง อนุ ก.ตร. จะต้องทำงานให้สมกับที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง และการได้รับค่าตอบแทนอันมาจากภาษีของประชาชนปีละประมาณ 8,000,000 บาท หาก ก.ตร. ได้สร้างกฎเกณฑ์ ติดตามประเมินผล และ แก้ไขกฎเกณฑ์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาแล้ว ย่อมจะทำให้ระบบคุณธรรมที่คาดหวังเพื่อสร้างนายตำรวจที่มีอาวุโส เก่ง ดี และมีความสามารถ ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นได้ตามลำดับ ย่อมจะทำให้นายตำรวจเหล่ามีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม และ การให้บริการแก่ประชาชนเป็นอย่างดีด้วย





 

Create Date : 04 สิงหาคม 2553    
Last Update : 4 สิงหาคม 2553 12:37:38 น.
Counter : 1218 Pageviews.  

งบประมาณตำรวจ มีเพียง ๗ เปอร์เซ็นต์เป็นงบลงทุน และ มีเพียง ๑ เปอร์เซ็นต์ เป็นงบพัฒนาบุคลากร

สำหรับ Blog นี้ จะกล่าวถึง ภาพรวมงบประมาณรายจ่าย ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ตร. (2554) เสนอโดยรัฐบาล ซึ่งเสนอขออนุมัติให้ตร. เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ.2553 ที่จัดสรรให้เป็นเงินประมาณ 6.659 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ปี พ.ศ.2554 รัฐบาลได้เสนอจัดสรรเงินจำนวน 7.499 หมื่นล้านบาท โดยงบประมาณจำนวน 54,849,996 ล้านบาท ( ประมาณ 73.142 % ) เป็นงบบุคลากร ประเภทเงินเดือน และค่าตอบแทน งบประมาณในการดำเนินงาน หรือ ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค จำนวน 13,827,962.3 ล้านบาท ( ประมาณ 18.439 % ) ส่วนงบลงทุน มีเพียง 5,892,104 ล้านบาท (ประมาณ 7.857 % ) โดยงบพัฒนาและให้การศึกษาอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มีกว่า 210,000 นาย อยู่ในส่วนของงบลงทุน คิดแล้วประมาณ 1 % เท่านั้น โดยมีข้าราชการตำรวจชั้นประทวนประมาณ 180,000 คน ที่ตำรวจแห่งชาติ ไม่ได้ให้การพัฒนาหรือการศึกษาอบรมอย่างจริงจังแต่ประการใด

สำหรับงบประมาณที่ ตร. ได้รับ มีรายละเอียดตามแผนงานโครงการ ดังนี้

1. แผนงาน สร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันฯ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ จำนวน 53.8968 ล้านบาท (งบลงทุน 3 ล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่จะได้เป็นงบประมาณในการจัดทำโฆษณา

2. แผนงาน แก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,691,871.5 ล้านบาท (งบลงทุน 297.9740 ล้านบาท)

3. แผนงาน รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จำนวน 315.3212 ล้านบาท (งบลงทุน 10 ล้านบาท)

4. แผนงาน พัฒนาระบบแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าว จำนวน 1,014.2572 ล้านบาท (งบลงทุน 30.9240 ล้านบาท)

5. แผนงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายฯ จำนวน 8,664.6277 ล้านบาท (งบลงทุน 117.5835 ล้านบาท)

6. แผนงาน พัฒนาด้านสาธารณสุข จำนวน 809.6670 ล้านบาท (งบลงทุน 77.3900 ล้านบาท)

7. แผนงาน ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 662.5769 ล้านบาท (งบลงทุน 48.0661 ล้านบาท)

8. แผนงาน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว จำนวน 53.3730 ล้านบาท ( งบลงทุน – บาท )

9. แผนงาน พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จำนวน 61,725.0924 ล้านบาท (งบลงทุน 5,307.1664 ล้านบาท )

สำหรับรายละเอียดของแผนงบประมาณสำหรับ ตร. อาจจจะพิจารณาได้ดังนี้

เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดคำของบประมาณประมาณส่วนใหญ่ ในส่วนที่เกี่ยวกับงบลงทุน ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรให้ประมาณ 7.8 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่ได้รับทั้งหมด จะเป็นการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ยานพาหนะขนาดใหญ่ หรือ ค่าซ่อมบำรุงเรือตรวจการณ์ เป็นต้น

สำหรับแผนงานพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม นั้น ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 61,725,092.400 ล้านบาท แบ่งเป็นกิจกรรมต่าง ๆ รวม 5 กลุ่ม ได้แก่

1. การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม จำนวน 40,516,5725 ล้านบาท

2. การชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ จำนวน 164.7025 ล้านบาท

3. การผลิตและฝึกอบรมตำรวจ จำนวน 1,053.2231 ล้านบาท

4. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 374.0022 ล้านบาท

5. การบริหารจัดการ จำนวน 3,442.9988 ล้านบาท


หากจะพิจารณารายละเอียดลึก ๆ ลงไป ในส่วนที่เกี่ยวกับงบดำเนินการในแผนงานพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รายจ่ายส่วนใหญ่จะเป็น ค่าใช้จ่ายการเช่ารถยนต์บรรทุก และรถยนต์สายตรวจต่าง ๆ ซึ่งมีมูลค่าราว 1,800 ล้านบาท รวมถึงรายจ่ายประจำอื่น ๆ ประเภทค่าสาธารณูปโภค แต่เมื่อพิจารณางบลงทุนแล้ว พบว่ามีเพียง 28,850,000 บาท เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องตรวจพิสูจน์ยาเสพติด กล้องจุลทรรศน์เปรียบเทียบลูกกระสุนและปลอกกระสุน เครื่องตรวจวิเคราะห์ DNA เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา 500 ล้านบาท ซึ่งน่าจะถูกใช้ไปในการจ่ายค่าตอบแทนการทำสำนวนการสอบสวนคดีอาญาของ พนักงานสอบสวน หรือ พงส.


จากงบประมาณดังกล่าว จะเห็นว่า ตร. มีภาระทางด้านงบบุคลากรกว่า 70 % ซึ่งถือว่าล้มเหลวในการบริหารราชการอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับงบลงทุนที่มีเพียง 7 % เท่านั้น และงบประมาณเพื่อการศึกษาเพียง 1 % เศษ อีกทั้ง ตร. ไม่ได้จัดทำโครงการพัฒนาบุคลการให้มีความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่จะจัดส่งตำรวจไปศึกษาความรู้ทางวิทยาการกฎหมายและงานตำรวจสมัยใหม่ในต่างประเทศเลย ถือเป็นการละเลยทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง

นอกจากนี้ ตร. ยังมีงบราชการลับในการบริหารงานประมาณ 130 ล้านบาท แม้จะน้อยมาก เมื่อเทียบกับกระทรวงกลาโหม แต่งบลับ คือ งบลับ ... งบประมาณประเภทนี้ จึงไร้การตรวจและไม่อาจจะเข้าถึงได้ ใครเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ หากมีการนำเงินราชการลับไปใช้ในทางที่ดี ย่อมเกิดประโยชน์ในการบริหารได้ เพราะการเบิกจ่ายงบประมาณตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการงบประมาณ และ เงินคงคลัง ย่อมมีความเคร่งครัดอย่างมาก ดังนั้น การมีงบลับ จึงช่วยให้แก้ไขปัญหาการบริหารงบประมาณในทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ถ้านำเข้าพกเข้าห่อตัวเอง ก็สุขีสโมสรละครับ ...

ผมเห็นว่า ในอนาคต จึงควรให้มีการพิจารณาปรับระบบงบประมาณเสียใหม่ ให้มีงบประมาณด้านศึกษาอบรม และ พัฒนาบุคลากรทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึง ควรจะต้องมีการพัฒนาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ให้ทันสมัย โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอบสวนคดีอาญา เทคโนโลยีในการตรวจสอบทะเบียนรถยนต์จากรถยนต์และจักรยานยนต์สายตรวจ หรือการเข้าถึงข้อมูลทางด้านทะเบียนซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีจากรถวิทยุสายตรวจเป็นต้น ในขณะที่ปัจจุบัน มีเพียง 28 ล้านบาท ในการจัดหาและพัฒนาเครื่องมือนิติวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ดีใจ ที่งบประมาณตำรวจ ไม่ได้มีการจัดสรรในการซื้ออาวุธปืน มาเข่นฆ่าพี่น้องประชาชนแต่ประการใด ...





สุดท้ายนี้ ผมขอกราบเรียนต่อท่านพี่น้องประชาชนที่เคารพรักว่า ท่านพี่น้องอย่าได้หวังว่า ตำรวจไทย จะสามารถสืบสวนสอบสวนได้เหมือนตำรวจในหนังฝรั่งเขา เพราะงบประมาณที่เห็น มีเพียง 28 ล้าน ที่เป็นงบประมาณพัฒนานิติวิทยาศาสตร์จริง ๆ นอกจากนั้น ก็เป็นรายจ่ายประจำเท่านั้น อย่าได้คิดว่า ตำรวจจะทำงานอะไรได้ ถ้ายังขาดมิติในการพัฒนาเช่นนี้


ท่านต้องถามรัฐบาลว่า ... เมื่อไหร่จะจริงใจในการพัฒนา "งานตำรวจ" เสียที ไม่ใช่ จะแค่เล่นเกมส์ การแต่งตั้ง เปิดตำแหน่งพิเศษ และ ข่าวการทุจริต เรียกร้องเงินทองจากการแต่งตั้ง และเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตำรวจ รายละ 3-5 ล้าน .... อย่างนี้ จะโทษตำรวจว่าทำงานไม่ดีได้อย่างไร ในเมื่อฝ่ายการเมืองแทรกแซงอย่างไม่รู้ว่าตำรวจ เหลือความเป็นวิชาชีพ (Professionalism) ได้อย่างไร .....

ถ้าฝ่ายการเมืองจริงใจในการพัฒนาองค์กรตำรวจไทยแล้ว ท่านจะต้องแก้ไของค์ประกอบ คณะกรรมการที่ควบคุมงานตำรวจ ท่านจะต้องไม่เข้ามาเป็นกรรมการ และ สรรหาจากคนที่เป็นกลางโดยแท้ มีกระบวนการรับฟังและตรวจสอบความเห็นและประวัติอย่างจริงจัง กรรมการต้องเป็นกรรมการเต็มเวลา ไม่ใช่มานั่งประชุม กินเบี้ยเลี้ยง เดือนละเป็นหมื่นบาท แต่มาประชุม ไม่กี่นาที หรือ ไม่ชั่วโมง ตามใจนักการเมืองเท่านั้น ..... ถ้าฝ่ายการเมืองต้องการพัฒนาตำรวจจริง ท่านต้องพัฒนาจรรยาบรรณตนเองเสียก่อน ว่าจะไม่แทรกแซงความเป็นวิชาชีพของตำรวจ และ จะต้องไม่เข้ามาเป็นกรรมการใด ๆ ในฝ่ายตำรวจ ท่านกล้าหรือไม่ ...




 

Create Date : 22 มิถุนายน 2553    
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 14:31:43 น.
Counter : 1404 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.