*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การพัฒนางานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พี่น้องประชาชน อาจจะรู้สึกว่า ทำไมคดีต่าง ๆ ตำรวจจึงทำได้แตกต่างกัน คดีบางคดี เช่น คดียึดสนามบิน ของ พธม. ทำไม จึงล่าช้านัก ผ่านไปสองปีกว่า ยังเรียกตัวผู้ต้องหา มาแจ้งข้อหาไม่ได้ ในขณะที่ ถ้าเป็นคดีเสื้อแดง หรือ นปช. ตำรวจจะทำเร็วมาก ๆ ๆ ๆ ทั้งอัยการและ ศาลก็ตัดสินคดีเร็วมาก ๆ ๆ

ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างคดี คนเอาข้าวไปให้ นปช. ตำรวจจับ ส่งอัยการฟ้อง ศาลลงโทษจำคุกหลายเดือน โดยไม่รอลงอาญา แต่คดี พันธมิตร ขับรถชนตำรวจ กว่าจะฟ้อง กันได้ก็นาน แล้วศาลยังรอลงอาญาอีก เกิดคำถามมากมายกับกระบวนการยุติธรรม เอาข้าวไปให้คนกิน กับ พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน นี่ อะไรมันร้ายแรงกว่ากัน .... ผมว่า ควายเท่านั้นที่คิดไม่ได้ .... ศาลต้องตอบคำถามสังคมว่า ทำไมคิดอย่างนั้น ทำไม จึงปฏิบัติแตกต่าง ฯลฯ กินเงินเดือน และภาษีประชาชน ทำไม ปฏิบัติต่อประชาชน เหมือนประชาชนเป็นควาย โง่เง่า ไม่รู้สี่ รู้แปด อะไร .... มันเกิดอะไรกับกระบวนการยุติธรรมของไทย




ในส่วนของตำรวจ มีความพยายามจะปฏิรูประบบงานสอบสวน เพราะมันล้มเหลวค่อนข้างมาก เนื่องจาก ระบบงานสอบสวน ถูกทิ้งร้างมานาน ผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองแทรกแซงมาโดยตลอด ทำให้ พนักงานสอบสวน อยู่ในภาวะจำนน เพราะขาดหลักประกัน ฝ่าฝืนอะไรก็ไม่ได้ ....

จึงเป็นคำถามว่า มันจะถึงเวลาหรือยังที่จะต้องกำหนดให้ความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวน ไว้ในรัฐธรรมนูญเสียเลย .. อย่างน้อย ก็ประกาศให้โลกรู้ว่า การเมือง อย่าไปยุ่งกับตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญาเลย เขาเป็น Judiciary officials เป็นต้นธารกระบวนการยุติธรรม

ตำรวจทำอะไร ในช่วงนี้ ผมอยากเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ โดย คณะอนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ด้านการกำกับ ดูแล และติดตามผลการดำเนินการตามนโยบาย ได้่มีคำสั่งที่ 2/2553 ลง 30 ก.ค.2553 เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายด้านการพัฒนาระบบงานสอบสวน ขึ้นมาแล้ว

คณะทำงานได้ประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2553 ณ ห้องประชุม 3 อาคาร 1 ตร. โดยได้ศึกษาแนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนางานสอบสวนอย่างกว้างขวางในเชิงระบบ และ การพัฒนาพนักงานสอบสวนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นเร่งด่วนที่เห็นควรนำเสนอต่อ ก.ต.ช. เพื่อกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนางานสอบสวนให้ถูกต้องตามกฎหมายและในขณะเดียวกันยังมีหลักประกันความเป็นอิสระและประสิทธิภาพของงานสอบสวนได้ ซึ่งได้แก่ การกำหนดระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวน (พงส.) ในสถานีตำรวจ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ที่ประชุมได้ศึกษาข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดระบบตำแหน่งสถานีตำรวจใหม่ ตามผลการศึกษาของคณะทำงาน ตามนัยคำสั่ง ตร. ที่ 147/2553 ลง 15 มี.ค.2553 และ คำสั่ง ตร. ที่ 333/2552 ลงวันที่ 30 มิ.ย.2552 เพื่อศึกษาโครงสร้างระบบตำแหน่งในสถานีตำรวจ โดยคณะทำงานดังกล่าวมีมติเห็นว่าการใช้ระบบตำแหน่งควบ จาก พงส.(สบ.1) – พงส. (สบ.6) นั้น ไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาได้ จึงเสนอให้มีการยกเลิกตำแหน่งควบของพนักงานสอบสวนในระดับสถานีตำรวจ และกำหนดตำแหน่งใหม่เป็น รอง สวส. ในระบบตำแหน่งเดิม ซึ่งที่ประชุมของผู้บริหารระดับ ตร. ได้มติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ให้นำเรื่องเข้าสู่ ก.ตร. เพื่อพิจารณามีมติ โดยมี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รอง ผบ.ตร.(บร.2) และ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.(กม.) มีความเห็นว่า การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพงานสอบสวนด้วยวิธีการดังกล่าว ไม่สอดคล้อง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่ง ตร. จะได้มีการนำเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ ก.ตร. เพื่อบังคับใช้ต่อไป


คณะทำงานฯ มีความเห็นสอดคล้องต้องกันใน 2 ประเด็น ได้แก่

1. ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้ประกาศเจตนารมณ์ท้าย พ.ร.บ. อย่างชัดแจ้งที่จะแยกสายงานสอบสวน และกำหนดหลักประกันความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนให้แยกจากข้าราชการตำรวจทั่วไป โดยกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะตามมาตรา 47 รวมถึงกำหนดให้พนักงานสอบสวนได้รับค่าตอบแทนพิเศษ แตกต่างจากข้าราชการตำรวจทั่วไปด้วย นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาการเสื่อมประสิทธิในงานด้านการสอบสวนนั้น จะต้องแก้ไขเป็นระบบ ตั้งแต่ระบบธุรการทางคดี ระบบผู้ช่วยเหลืองานพนักงานสอบสวน ระบบการจัดการวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนงานสอบสวน ดังนั้น คณะทำงานจึงเห็นว่า มติของผู้บริหาร ตร. ที่จะยกเลิกการกำหนดตำแหน่งควบในสถานีตำรวจ และ กำหนดตำแหน่งควบไว้ที่หน่วยงานระดับ บก.นั้นเป็นการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับสิ่งที่สังคมและประชาชนคาดหวัง ซึ่งประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนมีความเป็นอิสระในการรวบรวมพยานหลักฐานและการมีความเห็นทางคดี

2. ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 47 กำหนดให้มีตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในระดับต่าง ๆ ในลักษณะตำแหน่งควบ สามารถเลื่อนไหลได้ด้วยตนเองตามระเบียบที่ ก.ตร. กำหนด แต่ในปัจจุบัน ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ตร. ได้กำหนดตำแหน่ง พงส.(สบ.4) ไว้เพียง 100 ตำแหน่ง และ ยังไม่ได้กำหนดจำนวนตำแหน่ง พงส.(สบ.5) และ พงส.(สบ.6) แต่ประการ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมคณะทำงาน จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็ควรเสนอ ก.ต.ช. มีนโยบายยับยั้ง การดำเนินการของ ผบ.ตร. ที่จะนำข้อมติการยกเลิกตำแหน่งควบในระดับสถานีตำรวจ มิให้นำเข้าสู่การพิจารณาของ ก.ตร. เพื่อป้องกันการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากการปรับเปลี่ยนระบบตำแหน่งพนักงานสอบสวนดังกล่าว และ เห็นควรเสนอ ก.ต.ช. กำหนด

นโยบายเร่งด่วนให้ ตร. ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยเคร่งครัด และควรกำหนดกรอบระยะเวลาให้ ตร. ดำเนินการ ภายใน 60 วัน เนื่องจาก นับจนถึงปัจจุบัน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้ประกาศใช้มาประมาณ 6 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการปฏิบัติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

โดยสรุป คณะทำงานเห็นว่าจะต้องพัฒนางานสอบสวนให้เป็นระบบ และ เป็นอิสระ การยุบตำแหน่งควบ กลับเป็น รอง สวส. ฯลฯ เป็นการถอยหลังเข้าคลอง และ ผิดกฎหมาย สิ่งที่คณะทำงานจะวางแผนดำเนินการ คือ พัฒนาทั้งระบบให้เต็มกระบอกสูบ พัฒนาพนักงานสอบสวน และความก้าวหน้าของงานสอบสวน พัฒนาระบบเครื่องมือ และอุปกรณ์ ให้ทันสมัย ไม่ใช่กลับไปแบบเดิมแล้ว ให้ หัวหน้าหน่วย ไปทำอย่างไรก็ได้ ให้งานสำเร็จแบบในอดีต





ได้แต่หวังว่า ก.ต.ช. จะเห็นด้วยกับเรา เพื่อให้งานสอบสวน ไม่ถูกกร่นด่า พนักงานสอบสวนกำลังใจท้อถอย และ ประณามอย่างเช่นปัจจุบัน


Create Date : 20 สิงหาคม 2553
Last Update : 20 สิงหาคม 2553 13:04:19 น. 0 comments
Counter : 3245 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.