*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
จำเป็นต้องแยกหน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ หรือการพิสูจน์หลักฐานออกจากตำรวจจริงหรือ

ผมได้กล่าวถึง องค์กรตำรวจของสหรัฐฯ ไปคร่าว ๆ แล้วว่า ก่อนปี ค.ศ.๑๘๐๐ ระบบตำรวจจะมีเฉพาะเมืองใหญ่ ในลักษณะเหมือนยาม (Watchman) ที่ว่าจ้างให้ดูแลในเวลากลางคืน ต่อมากลาง ค.ศ.๑๘๐๐ ผู้บริหารเมืองต่าง ๆ ในออกกฎหมาย จัดตั้งระบบตำรวจที่รักษาความปลอดภัยขึ้นแทนที่ Watchman โดยในช่วงแรกรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Government) จะไม่มีอำนาจเข้ายุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐเลย รัฐบาลกลางจึงได้ตั้งองค์กรบังคับใช้กฎหมายของตนเองขึ้นมาบ้าง ในช่วงปี ค.ศ.๑๘๗๐ จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) และจัดตั้ง FBI ในปี ๑๙๒๔ เป็นต้น




ก่อนปี ค.ศ.๑๙๐๐ การพัฒนาตำรวจ เป็นเรื่องภายในของรัฐ แต่ละรัฐก็พัฒนาไปตามมีตามเกิด ตำรวจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและฝ่ายการเมืองก็ปกป้องตำรวจ จนประชาชนเดือดร้อนมาก ตำรวจที่ไม่มีเส้นสายก็เดือดร้อนเช่นกัน รัฐบาลกลางได้ออกกฎหมายข้าราชการพลเรือน (Pendelton Act) ในปี ๑๘๘๓ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการแทรกแซงการบริหารงานจากฝ่ายการเมือง สถานะตำรวจจึงเป็นแบบกึ่งลูกจ้างกึ่งทหาร ตำรวจจึงมีสิทธิได้รับความคุ้มกันจากกฎหมายดังกล่าว และมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน (Police Union) เพื่อต่อรองด้านสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการทำงานกับรัฐ เป็นต้น

รัฐบาลกลาง ได้ออกกฎหมาย George-Dean Act of ๑๙๓๖ เพื่อพัฒนาตำรวจในระดับมลรัฐ โดยให้ทุนการศึกษาแก่ตำรวจ และทำงานตอบแทน ทั้งนี้ เนื่องจากตำรวจส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษาเพียงมัธยมศึกษาตอนปลาง ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดีเท่าที่ควร และในขณะเดียวกันรัฐบาลกลาง ก็สนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจของทุกรัฐและทุกเมือง ในด้านเทคโนโลยี และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Forensic Laboratory) โดยให้เงินพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาห้องปฎิบัติการของ FBI เพื่อสนับสนุนการทำงานของตำรวจท้องถิ่นอย่างเต็มที่ฯ

การพัฒนาห้องปฎิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์

ทุกประเทศในโลกนี้ ก็มีการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน คือ การจัดตั้ง Forensic Laboratories หรือ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจพิสูจน์หลักฐาน ไว้ในสถานีตำรวจทุกแห่ง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น หรือ ประเทศจีน และ ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ก็จะจัดตั้งห้องปฎิบัติการเพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน (Investigation) และการฟ้องร้อง (Prosecution)ไว้ในสถานีตำรวจทั้งสิ้น ประเทศสหรัฐอเมริกานี้ ตำรวจในระดับเมืองและระดับรัฐ ล้วนแต่มีห้องปฏิบัติการของตัวเอง ซึ่งแยกต่างหากจากห้องปฏิบัติการฯ ของ F.B.I. ที่ขึ้นอยู่กับ Department of Justice ที่เป็นของรัฐบาลกลาง (Federal Government) ทั้งสิ้น รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีแนวคิดที่สำคัญ ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ เป็นต้นมา ว่าจะต้องสนับสนุนด้านเงินและด้านเทคโนโลยีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้กับตำรวจในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐ โดยการเสริมเขี้ยวเล็บ และทุ่มเททรัพยากรลงไปในการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการตรวจพิสูจน์หลักฐานของตำรวจระดับท้องถิ่นและระดับมลรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน

จึงอาจจะสรุปได้ว่าไม่มีประเทศใดโลกนี้ (ตั้งแต่มีโลกใบนี้มา) ที่มีแนวคิดแบบประเทศไทย ที่จะต้องแยกสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ออกจากฝ่ายตำรวจ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการตัดมือตัดไม้ในการพิสูจน์หลักฐานและช่วยเหลือการในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจไปเลย ทุกประเทศ จึงมีแต่แนวคิดที่พัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือได้ และถูกต้องมากที่สุด เพื่อให้การดำเนินการสืบสวนสอบสวนและฟ้องร้องคดีเป็นไปโดยถูกต้อง แต่ประเทศไทยนี่แปลกมาก เพราะมีแนวคิดจากบุคคลที่ไม่มีความรู้ความด้านการสืบสวบสอบสวน แต่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่เก่งกาจเหนือผู้อื่น ท่านได้เสนอความคิดว่าจะต้องแยกสถาบันนิติเวชศาสตร์ออกไปจากตำรวจให้ได้

คำถามในใจ คือ ผู้ที่ผลักดันเรื่องนี้ ท่านต้องการอะไรกันแน่ มันเป็นเกมส์แห่งอำนาจ และการสร้างภาพใช่หรือไม่ เพราะการแยกสถาบันนิติเวช หรือหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานของตำรวจไปสังกัดกระทรวงที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ช่วยประกันความเป็นอิสระให้แก่ผู้ทำการตรวจพิสูจน์หลักฐาน หรือประกันมาตรฐานการตรวจพิสูจน์ว่าจะถูกต้องไร้ข้อผิดพลาดไปได้ เพราะแม้แต่ ประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ที่พัฒนาความรู้เกี่ยวกับ Forensic Science มาโดยตลอด จากการศึกษาของ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) เมื่อประมาณปี ๑๙๙๐ ก็พบว่า หน่วยงานตรวจพิสูจน์หลักฐานของมลรัฐและท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการและการเงินจากรัฐบาลกลาง มาอย่างต่อเนื่อง ก็มีข้อผิดพลาดอย่างมหาศาล จนต้องมีการทบทวนการวางมาตรฐานกันใหม่ โดยศาลสูงสุดของสหรัฐ เรียกว่า Daubert Standard ซึ่งกำหนดให้ศาลชั้นต้น ทำกาารไต่สวนและวิเคราะห์ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการตรวจพิสูจน์หลักฐานนั้น ใช้หลักการทางวิชาการ (methodology) อะไร น่าเชื่อถือหรือไม่ มีการนำความรู้ดังกล่าวมาวิเคราะห์กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนั้นอย่างถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ สามารถแสดงอัตราการผิดพลาดได้หรือไม่ มีวัตถุตัวอย่างในการควบคุมคุณภาพการทดลองและวิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีเพียงพอหรือไม่ เป็นต้น แล้วนับประสาอะไรกับหน่วยงานที่เกิดขึ้นใหม่อย่างนี้ และที่สำคัญ Forensic Science ไม่ใช่แค่มีแค่แพทย์ซึ่งได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรู้เบื้องตั้นทางนิติเวชศาสตร์ แล้วจะทำงานนี้ได้สำเร็จ จะต้องมีนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่มีความรู้เชี่ยวชาญ และสามารถประยุกต์ใช้วิชาการนั้นกับข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาได้อย่างน่าเชื่อถือและถูกต้อง (reliability and validity)

แนวคิดเรื่องการแยกนิติวิทยาศาสตร์ออกจากตำรวจ จึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลากและขัดแย้งกับแนวคิดของทั่วโลก รัฐบาลจึงควรที่จะต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักวิชาการในการตรวจพิสูจน์หลักฐานให้น่าเชื่อถือ กับองค์กรที่มีพื้นฐานของการปฏิบัติงานมายาวนาน โดยมีการลงทุนอย่างจริงจังแล้ว ก็จะต้องมีกฎหมายที่จะประกันความเป็นอิสระให้กับหน่วยงานทางการตรวจพิสูจน์หลักฐาน พร้อมทั้งพัฒนาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ฯ การจัดการด้านเทคโนโลยี ที่ดีพอ เพื่อให้หน่วยงานตำรวจและหน่วยบังคับใช้กฎหมาย สามารถขอรับการสนับสนุนการตรวจพิสูจน์หลักฐานผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และป้องกันการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจในการสั่งการถูกผิด รัฐบาลไม่ควรตกเป็นเครื่องมือของเกมส์แห่งอำนาจและการสร้างภาพของใคร [last update: 11 พฤษภาคม 2548]


Create Date : 10 พฤษภาคม 2548
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 7:42:55 น. 11 comments
Counter : 1188 Pageviews.

 
ได้ความรู้มาใส่สมองทึบ ๆๆองเราอีกเยอะเลยค่ะ

ขอบคุณนะคะ


โดย: Xenosaga วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:33:09 น.  

 
เป็นเรื่องแนวคิดส่วนบุคคลและเรื่องความต้องการตำแหน่ง แห่งที่ในระบบราชการไทยด้วยหรือเปล่าครับ ที่ทำให้บางคนพยายามอยากจะแยกออกมา ทั้งๆที่สายงานและภาระหน้าที่มันเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกัน จึงพยายามยกเหตุผลต่างๆนานา เพื่ออ้างเป็นความชอบธรรม ความจำเป็น หรืออะไรก็แล้วแต่ ในการที่จะแยกออกมา ผมเองก็เห็นว่าไม่จำเป็นจะต้องแยกเลยด้วยซ้ำ เปลืองงบประมาณและเพิ่มขั้นตอนการทำงานเปล่าๆ


โดย: กุมภีน วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:18:14 น.  

 
สงสัยคอลัมน์ กฎหมาย ผมขายไม่ดีเท่าไหร่ครับ ขอบคุณทั้งสองท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนมาก ๆ ครับ มีข้อเสนอแนะประการใด โปรดแนะนำด้วยครับ


โดย: POL_US วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:4:49:54 น.  

 
ผมดู ubc เกี่ยวกับรายการสืบสวนหาหลักฐานพวกนี้ก็เห็นเป็นหน้าที่ของฝ่ายตำรวจ เพราะต้องประสานงานกันตลอดเวลา ถ้าแยกออกมาก็ต้องมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากระหว่างหน่วยงาน จะยิ่งทำงานได้ไม่สะดวก ทำงานซ้ำซ้อนและเรื่องมากไปอีก แทนที่จะพัฒนาของเดิมให้มันดีขึ้น

ต่ของเมืองไทยอาจจะเป็นการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันมากกว่า คนเราเมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ มักลุแก่อำนาจนั้นเกินกว่าควบคุมจิตใจตนเองได้ ไม่สนใจว่าระบบหรือความถูกต้องที่แท้จริงเป็นอย่างไร

ผมเชื่อว่าพนักงานระดับปฏิบัติการทุกฝ่ายมีความตั้งใจทำงานกันจริง แต่อาจตกเป็นเครื่องมือของการเมืองไป


โดย: noom_no1 วันที่: 11 มิถุนายน 2548 เวลา:3:31:11 น.  

 
ได้ความรู้มากเลยครับ


โดย: csi IP: 124.157.165.22 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:36:53 น.  

 
ขอ ชื่นชมความเก่งให้กับท่านเจ้าของ blog ก่อนเลยนะคะ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเรามีคนเก่งๆอยู่แยะแฮะที่แอบซ่อนตัวอยู่โดยที่พวกเราไม่ทราบ โดยมากสายอาชีพอื่นเค้าจะประกาศโจ่งแจ้ง

ได้มีโอกาสอ่านหลาย blog ที่เดียวค่ะ และได้รับความรู้ทุกครั้ง ได้แง่มุมแบบที่เราไม่ได้นึกกถึงก่อน

แต่เจ้าตัวเองยังเคยงงว่าเรื่องนี้เป็นของกรมตำรวจ ถึงว่าจึงต้องรอคุณหมอผมเปรี้ยวมาแจง ถ้าเป็นของตำรวจเองก็สามารถลุยได้เลยใช่ไหมค่ะ

เมืองนอกมี เอฟบีไอ มีบีเคเอ มีเอ็มไอซิกซ์ ใช้หรือเปล่าค่ะ แล้วบ้านเรามีอะไรที่ละม้ายๆกันหรือเปล่าค่ะ หรือว่าไม่มี ก็คือเป็นกองปรกติแต่ทำสืบสวนสอบสวนแบบลับหรือไม่ลับ


โดย: บะหมี่น้ำแสนอร่อย วันที่: 10 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:08:38 น.  

 
ทุกวันนี้งานเกี่ยวกับพิสูจน์หลักฐานตำรวจมีบุคลากรน้อยมากรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะจังหวัดแต่ละจังหวัดมีคดีมีต้องพิสูจน์มากมายคนไม่พอหรอกครับหน้าจะมีการรับสมัครผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆที่จบทางด้านนี้มาโดยตรงนะครับเช่นจบทาง ด้านนิติวิทยาศาสตร์ มาเลยป็นต้นรัฐบาลควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในงานด้านนี้ของตำรวจ


โดย: Jday IP: 118.172.140.229 วันที่: 21 กรกฎาคม 2551 เวลา:14:20:59 น.  

 
ผมเห็นด้วยนะที่ว่าบุคลากรของตำรวจทางนิติวิทยาศาสตร์น้อยเกินไปเพราะทางรัฐบาลไม่ให้ความสำคํญจึงทำให้หน่อยงานที่ยังไม่เก่งพอมามีอำนาจในการพิสูจน์หลักฐานแล้วโจมตีตำรวจ ทางตำรวจเองน่าจะรับสมัครบุคคลที่จบทางด้านนี้มาเยอะกว่านี้ เพราะผมเห็นพี่ที่มาเรียนกับผมที่เป็นตำรวจทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ เก่งๆกันเยอะแต่มีคนน้อยไม่พอทำงาน


โดย: นักศึกษานิติวิทยาศาสตร์ IP: 117.121.208.2 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:1:49:49 น.  

 
เห็นด้วยน่ะ ที่ว่าทางตำรวจน่าจะรับสมัครบุคคลที่จบด้านนี้ โดยตรงเยอะกว่านี้ เพื่อจะได้บุคลากรที่มีความรู้ความสนใจอย่างแท้จริง เชื่อว่าทุกคนพร้อมที่จะทำงาน
ส่วนเรื่อง ความคิดที่แตกแยกกัน น่าจะหันมาคุยกันเพื่อจะได้ทำงานให้กับส่วนรวมได้อย่างเต็มที


โดย: นักศึกษานิติวิทยาศาสตร์(อีกคน) IP: 202.28.181.200 วันที่: 25 มีนาคม 2552 เวลา:15:23:18 น.  

 
ผู้เขียนน่าจะได้เป็นคนระดับสูงในวงการตำรวจนะครับ
เพราะ ถ้าผู็บัญชาการ ยังกลัว น้อยหน้า กลัวคนอื่นได้หน้า
ขัดขากันอยู๋คงจะร่วมมือทำงานกันยากนะครับ


โดย: นิสิตรัฐศาสตร์ IP: 58.8.238.75 วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:1:11:26 น.  

 
หนูเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบอาชีพตำรวจ หนูเลยเลือกเรียนด้านเคมี เพราะตำรวจกลุ่มนี้เหมือนกลุ่มคนที่ปิดทองหลังพระ หลายคดีสำเร็จได้เพราะบุคคลเหล่านี้ เพราะหนูมีความฝัน ฝันที่จะเป็นตำรวจนิติวิทยาศาสตร์ให้ได้ แต่ไม่รู้ว่าเค้าจะเปิดรับสมัครเมื่อไร รบกวนช่วยบอกด้วยนะคะ


โดย: คนมีฝัน IP: 113.53.163.41 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:00:57 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.