*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
พฤติกรรมตำรวจสหรัฐ(ต่อ)

รู้สึกว่า พอพูดถึงตำรวจทางไม่ดี คนจะสนใจกันเยอะแฮะ ส่วนนี้ คัดเลือกมาจากการตอบ Comment ของเพื่อนสมาชิกฯ แต่เผื่อใครไม่ได้อ่านในส่วนนั้นฯ เลยยกมาอีกที

ความจริงแล้ว ตำรวจอเมริกา หรือ ตำรวจทั่วโลก ก็ถูกกล่าวหาในลักษณะอย่างเดียวกัน คือ ทุจริต คอรัปชั่น ใช้อำนาจในทางที่ผิด ใช้กำลังบังคับ ทำร้ายร่างกาย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพฯ ยกเว้น ตำรวจญี่ปุ่น กับตำรวจ แคนนาดา ที่ได้รับคำชมเชยอย่างมาก ในความซื่อสัตย์ สุจริตฯ อย่างตำรวจญี่ปุ่นนี่ จะสนิทสนมกับประชาชนในเขตท้องที่ เป็นอย่างมาก ตำรวจต้องเข้าเยี่ยมเยียนและจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกในชุมชน ปีละอย่างน้อย ๒ ครั้งฯ เรียกว่าใครอยู่ไหน ทำอะไร ฯ ตำรวจรู้ดีไปหมด การสืบสวนคดีส่วนใหญ่สำเร็จลงไปได้ เพราะคนในชุมชนร่วมมือกันให้ข้อมูลฯ เพราะคนญี่ปุ่น เคร่งครัดในหน้าที่ของตนต่อสังคมฯ ตำรวจได้รับความไว้วางใจมาก ขนาดถึงกับว่า ประชาชนกระเป๋าตังค์หาย สิ่งแรกที่เขาคิดถึง คือ ไปขอยืมเงินตำรวจเพื่อกลับบ้านฯ และเขาก็ซื่อสัตย์มาก ถึงบ้านปั๊บ ก็จะรีบเอาเงินมาคืนตำรวจที่ป้อมยามตำรวจซึ่งมีอยู่ทั่วไปฯ อย่างรวดเร็ว ไม่เบี้ยวเลย

สำหรับตำรวจสหรัฐ เคยถูกกล่าวหาว่าทุจริต เลือกปฎิบัติต่อคนต่างผิวสีฯ ฯลฯ ช่วงเริ่มก่อตั้งองค์กรตำรวจไม่นาน และสถานการณ์ เพิ่งจะดีขึ้น เมื่อประมาณ ปี ๑๙๘๗ ที่ผ่านมาครับ มีหลายปัจจัยที่สนับสนุน เช่น ระบบการตรวจสอบที่เข้มแข็ง. การกำหนดนโยบายตำรวจที่ชัดเจนฯ ว่ามีหน้าที่เฉพาะการป้องกันอาชญากรรม จะไม่บริการชุมชนฯ ไม่บริการประชาชนฯ ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจสหรัฐฯ กับประชาชน จึงเป็นทางการมากฯ คือ แทบจะไม่ต้องพูดกันเลยฯ ต่อรองไม่ได้ มีระบบการฟังการปฎิบัติงานฯ เวลาปฏิบัติงาน ก็จะต้องเรียกสายตรวจ คันอื่น ๆ มาปฏิบัติงานร่วมกันฯ โดยมีเหตุผลของความปลอดภัย และการตรวจสอบซึ่งกันและกัน

ในขณะเดียวกัน กฎหมายสหรัฐฯ ก็ให้ตำรวจใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงานฯ เพื่อความปลอดภัยของตำรวจ คือ ถ้าตำรวจเข้าใจโดยสุจริต (good faith) ว่า ตนกำลังไม่ปลอดภัยฯ ก็ยิงได้เลยฯ ประชาชนที่นี่ เลยเชื่อฟังตำรวจมากฯ เพราะศาลสูงสุดสหรัฐ ตัดสินคดีไว้โดยตลอดว่า ตำรวจมีดุลพินิจดังกล่าว และต้องพิจารณา ณ สถานการณ์ในขณะเกิดเหตุฯ ว่าเป็นการใช้ deadly force ที่สมเหตุสมผลหรือไม่ ในภาวะและพฤติการณ์ที่ตำรวจคนนั้นประสบเหตุฯ อีกประการหนึ่ง ตำรวจสหรัฐฯ มีดุลพินิจ ที่จะสืบสวนหรือไม่สืบสวนคดีที่เกิดขึ้น เช่น คดีลักทรัพย์โดยไม่รู้ว่าใครลักของเราไป ตำรวจก็จะจดบันทึก ทำแผนประทุษกรรมฯ ถ่ายภาพ เก็บข้อมูลฯ แล้วก็ยุติการดำเนินการไว้เพียงเท่านั้น แต่แผนประทุษกรรม สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลได้ หากภายหลังสามารถจับกุมตัวผู้ลักทรัพย์ ซึ่งมีแผนประทุษกรรมในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ๆ เช่น ขี้ทิ้งไว้ในตู้เย็น เอาขี้ป้ายตามพื้น ฯลฯ เรียกว่า Modus operandi แต่ประเทศไทยเรา ตำรวจต้องรับคำร้องทุกข์ ทำเป็นสำนวนคดีส่งพนักงานอัยการ ทำให้งานล้นมือฯ และผลสุดท้ย คือ เปล่าคดี ให้มันพ้น ๆ สถิติคดีอาญา ก็ผิดเพี้ยนฯ แถม แผนประทุษกรรมเมืองไทย ก็ไร้ประโยชน์ฯ เพราะใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลไม่ได้ฯ สรุป ประเทศไทย น่าจะพิจารณาเรื่องนี้ใหม่

ปัจจุบัน เรื่องการทุจริต ตำรวจในสหรัฐฯ ปัจจุบัน แทบจะไม่เคยได้ยิน จะมีเหลือเพียงการเลือกปฏิบัติระหว่างคนผิวสีฯ การเลือกปฏิบัตินี้ เป็นผลให้ศาลยกฟ้องในหลายคดีฯ เพราะขัดกับกฎหมายลักษณะพยานของสหรัฐฯ ตำรวจสหรัฐฯ มีความรู้น้อยฯ มีหน้าที่ก็จำกัดฯ ที่สำคัญ คือ ไม่บริการประชาชนฯ ทุกรัฐมีระบบการฝึกอบรมที่ดีและต่อเนื่องฯ การมีระบบการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง ในลักษณะกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา แล้วทำงานใช้ฯ ซึ่งเริ่มโดย ออกัส วอลเมอร์ บิดาของวงการตำรวจสหรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ แสตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยฟอริด้าฯ มหาวิทยาลัยอิลลินอยฯ รวมถึงมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีกหลายสิบแห่ง ร่วมกันพัฒนาตำรวจ มีหลักสูตร เรียนวิชาการตำรวจ จนถึงปริญญาเอกฯ

อีกประการหนึ่ง คือ รายได้ตำรวจก็ดี แต่ที่น่าแปลก คือ เงินเดือนตำรวจ น้อยกว่าอัยการเพียงเล็กน้อยฯ ทั้ง ๆ ที่ อัยการ ต้องได้ เนติบัณฑิต และ ผ่านการศึกษา J.D. ขณะที่ตำรวจจบแค่มัธยมศึกษาตอนปลายฯ คงมีหลายปัจจัยนะครับ เดี๋ยวจะมีคนเข้ามาด่าผมว่า เอาเงินเดือนมาวัดอีกแล้วฯ แต่โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า ถ้าคนท้องอิ่มฯ เรื่องคุณธรรมจะมีมากกว่าฯ คนที่ท้องแห้ง และไม่พอกินฯ

เพื่อนผมซึ่งเป็นตำรวจญี่ปุ่น ได้ทุนมาเรียนในสหรัฐฯ อายุ ๒๗ ปี เงินเดือนก็เกือบ ๔,๐๐๐ เหรียญ และได้ค่ากินอยู่ในสหรัฐระหว่างเรียนอีก เดือนละเกือบ ๓,๐๐๐ เหรียญ เคยถามว่าทำไมได้เงินเดือนสูงมาก เขาบอกว่า ญี่ปุ่นมีกฎหมายห้ามข้าราชการทำงานนอกเวลาฯ ถ้าทำงานนอกเวลาถึงว่าทุจริตเป็นความผิดกฎหมายอาญา เขาจึงต้องเลี้ยงข้าราชการให้อยู่ดีกินดี สอดคล้องกับกฎหมายที่ออกมาฯ และทำงานให้กับราชการเต็มที่ฯ แต่ข้าราชการไทย ต้องปากกัดตีนถีบ คนเก่ง ๆ ก็ไม่ค่อยจะรับทุนฯ เพราะกลัวไปเป็นราชการ ฯ คิดแล้ว อนาถใจ...เมื่อไหร่จะดีขึ้น(วะ)

สำหรับบทความที่ผมยกมา ที่จริง ผู้เขียน(ที่เป็นศาสตราจารย์ ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ) ได้กล่าวยอมรับในบทความว่า จริง ๆ แล้วท่านก็ไม่อาจจะสรุปถึงสาเหตุที่แท้จริงได้ เหตุการณ์ทั้งหลายในบทความของท่านฯ เกี่ยวกับพฤติกรรมตำรวจฯ จึงน่าเชื่อว่าจริงบางส่วนและเกิดจากการอนุมานของท่านเป็นบางส่วน โดยเฉพาะท่านไม่ได้เรียนกฎหมายฯ และไม่เคยปฏิบัติงานจริง เพราะทางปฏิบัติกับลายลักษณ์อักษร อาจจะแตกต่างกันมาก



Create Date : 26 พฤษภาคม 2548
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 7:40:49 น. 5 comments
Counter : 1257 Pageviews.

 
เข้ามาหาความรู้ครับ
ความจริงผมก็สนใจงานในกระบสนการยุติธรรมอยู่เหมือนกัน
เคยมีบางท่านชักชวนให้ไปทำงานที่สถาบันนีติวิทยาศาสตร์
แต่ผมคิดว่าถ้าให้ไปทำงานประจำ..คงไม่ไหวหรอกครับ
ยอมรับว่าเบื่อระบบและวัฒนธรรมบางด้านของราชการไทย...

ถ้าให้ไปช่วยเป็นกรณีๆไป ก็พอไหว.....

ป.ล.พอจะมีข้อมูล หรือกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Forensic มั๊ยครับทั้งในแง่สถาบันการศึกษา วิจัย และสถานการณ์จริงในวงการยุติธรรมอเมริกัน จะเป็น Forensic Science หรือที่เกี่ยวข้องเช่น Forensic Anthropology ก็ได้ครับ
ถ้ามีพอจะเอามาเล่าที่นี่บ้างได้มั๊ยครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ


โดย: กุมภีน วันที่: 26 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:56:42 น.  

 
ชอบอ่านค่า
แต่ส่วนตัวคิดว่า ตร.อเมกา ยังน่าเกรงขามดีค่ะ
เพราะ ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทุจริตมาก รักษากม.ดี


โดย: เกือกซ่าสีชมพู IP: 68.123.219.84 วันที่: 26 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:01:42 น.  

 
ผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าตำรวจอเมริกา ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องทุจริตฯ การปฏิบัติหน้าที่เข้มแข็ง คือ ไม่มีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการกับประชาชนเลยฯ สำหรับเรื่องปัญหาเกี่ยวกับทาง Forensic evidence ในสายตาของนักวิชาการทั้งทางด้านกฎหมายและทางด้านนักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง ่ไม่ใช่ลูกผสมแบบ นิติวิทยาศาสตร์ แล้วมีปัญหามากมายครับ

สมาคมนิติวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นภาคเอกชนและองค์กร NGO ต่างก็ยอมรับว่า ความจริงแล้ว พยานหลักฐานที่เรียกว่า Forensic Evidence เองนั้น โดยตัวมันเอง แทบไม่ได้มีความหมายอะไร ความสำคัญ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตั้งแต่ (๑) หลักวิชาการ (forensic science) ที่นำมาใช้อธิบายข้อเท็จจริง มีลักษณะเป็นศาสตร์หรือไม่ (๒) หลักหรือวิธีการประยุกต์หลักวิชาการกับข้อเท็จจริงนั้น (methodology) มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องเพียงใด (reliability and validity ) (๒) ขั้นตอนปฐมภูมิของการได้มาซึ่งพยานหลักฐานนั้น กระทำโดยถูกต้องตามหลัก chain of custody หรือไม่ (๔) หลักวิชาการที่นำมาใช้ ได้รับการยอมรับในหมู่นักวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิธีการหรือไม่ (peer review) และ (๕) ปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้วัดความน่าเชื่อและความถูกต้องของการปฎิบัติของของห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ ( forensic laboratory performance) เช่น testability หรือการทดลองได้อย่างแท้จริง โดยจะต้องมีตัวอย่างของพยานหลักฐานฯ ที่จะใช้ในการตรวจพิสูจน์ที่มีจำนวนมากพอ ตามหลักปัจจัยควบคุม (control) และปัจจัยที่ใช้การทดลองฯ อันจะนำไปสู่ผลการสรุปที่เหมือนกัน ของการทดลองทุก ๆ ครั้งฯ

ในอดีตการปฏิบัติงานของห้องปฎิบัติการนิติวิทยาศาสตร์สหรัฐ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย ห้องปฏิบัติฯ บางแห่ง เช่น ใน West Virginia ศาลได้วางกฎเกณฑ์ไว้เลยว่า พยานหลักฐานที่ผ่านการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการนี้ ถือว่าใช้ไม่ได้ (invalid) เพราะนักนิติวิทยาศาสตร์ กระทำการบางอย่างเช่น ใช้วิชาการที่ไม่มีอยู่จริงในการวิเคราะห์ (fake science) สรุปผลเกินความจริง (overstatement) เช่น สร้างกระโหลกเรซินฯ แล้วจินตนาการว่า เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรฯ โดยปราศจากหลักวิชาการและการประยุกต์ (apply) หลักวิชาการที่แท้จริงนั้น (real science) ตาม methodology กับเข้า Fact อันนำมาซึ่งข้อสรุปหรือผลการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อเชื่อและถูกต้อง (reliability and validity) นักนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ได้เข้าใจศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่แจ้งอาจจะกระทำการ ในสิ่งต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงสร้างพยานหลักฐานเท็จขึ้นมาเลยก็มีฯ ฉะนั้น การทำความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่งฯ

ในทางกฎหมาย จะมี Federal Rule of Evidence ที่จะใช้ในการควบคุมการทำรับฟังพยานหลักฐานประเภทนี้ ของศาล และมีมาตรฐานที่สร้างขึ้นตามแนวคำพิพากษา Daubert standard ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรต ๑๙๙๐ ที่ผ่านมานี้เอง ไว้ผมจะเอาลงเป็นอีกบล๊อกหนึ่งต่างหากครับฯ เอาคร่าว ๆ แค่นี้ก่อนแล้วกัน

ปล. ปัญหานิติวิทยาศาสตร์ของไทย เป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจและการสร้างภาพฯ ไม่มีใครจริงใจกับการพัฒนามันเท่าไหร่ฯ เพราะจริง ๆ การพัฒนานิติวิทยาศาสตร์ ทั้วโลก ไม่มีการแยกสถาบันการตรวจพิสูจน์หลักฐานออกจากฝ่ายตำรวจฯ แต่ของไทย กระทรวงยุติธรรมต้องการแยกเฉพาะนิติเวชฯ และกองพิสูจน์หลักฐานออกไปจากตำรวจฯ ไม่ทราบว่าเพราะอะไร เป็นเพราะเงินค่าตรวจศพ ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท หรือเปล่าไม่ทราบฯ ที่ตั้งข้อสังเกตเช่นนี้ เพราะมันมีมูล ตอนซูนามิฯ ท่านฯ ตั้งคำขอเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการตรวจศพ ฯ ๑,๐๐๐ กว่าศพ ถึง ๖๗ ล้านบาท ซึ่งผมก็ตกคำนวณฯ เพราะศพละ ๓,๐๐๐ บาท พันกว่าศพ ก็แค่ ๓ ล้านกว่าบาทเอง แล้วทำไม กลายเป็น ๖๗ ล้านบาท พอตอนหลัง คนรู้ทันฯ ท่านฯ บอกว่าไม่เอาละ ไม่เบิกละฯ มันแปลก ๆ อยู่นะ ....อย่างไรเสียช่วยเข้าไปอ่านในคอลัมน์ ปัญหาทางกฎหมายไทย ของผมฯ




โดย: POL_US วันที่: 26 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:36:21 น.  

 
แวะมาอ่าน ขอบคุณมากค่ะ


โดย: yadegari วันที่: 26 พฤษภาคม 2548 เวลา:18:25:04 น.  

 
ได้ความรู้อีกละค่ะ ^^

เฮ้อ.....อยากให้เค้าปรับฐานเงินเดือนตำรวจไทยขึ้นจังเลยค่ะ ไม่ค่อยจะพอยาไส้เล้ย

และอยากให้มีเงินตำแหน่งสำหรับพนักงานสอบสวน ด้วยอะค่ะ ทำสำนวนแทบแย่ ได้เงินประจำตำแหน่งแค่ครึ่งของอัยกาย ก็ยังดีนะคะ ^^

คงเป็นได้แค่ฝันล่ะค่า


โดย: paninee IP: 222.123.97.2 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:11:35:26 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.