*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การปรับโครงสร้าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตอนที่ ๓)

เว่าด้วยเรื่องเปรับโครงสร้างตำรวจต่อไปนะครับ ... ตำรวจไทย มีปัญหาเรื่องการบริหารงานบุคคลมากมายก จะมีปรากฎการณ์ ตำรวจที่ทำหน้าที่ถือกระเป๋ากับเปิดประตูรถเจ้านาย แล้วได้ดี แต่ทำงานไม่เป็น จำนวจมาก

การมีระบบการบริหารงานบุคคลแบบนี้ เป็นเวลาต่อเนื่องกันมากว่า ๘๐ ปี ของกรมตำรวจ นี่ทำให้มีปัญหาสะสมเรื้อรั้งยากเกินเยียวยาด้วยวิธีการปกติ การปรับโครงสร้างตำรวจถ้าจะให้ได้ผล จึงต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดที่จะเรียกได้ปฎิวัติเท่านั้น จึงจะแก้ไขได้




ได้ศึกษาตัวแบบหลายอย่างของทั้งสหรัฐ อเมริกา ตำรวจญี่ปุ่น และตำรวจในยุโรป รู้สึกว่าข้อถกเถียง หรือข้อเสนอทั้งหลาย มันยิ่งจะดูทำให้การบริหารงานแย่ลงไปอีก การจัดตั้งทบวงตำรวจ อะไรทำนองนี้ นอกจากจะเพิ่มภาระงบประมาณแผ่นดิน เพิ่มอัตรานายพล กับการทำงานที่สร้างสายการบังคับบัญชาที่ยาวเกินจำเป็นเพิ่มขึ้นแล้ว ก็ไม่เห็นประโยชน์อะไร

ลองคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าเรามีโครงสร้างองค์กรตำรวจไทย แบบใหม่ มีลักษณะ ดังนี้

๑) โครงสร้างขององค์กร

๑.๑) National Public Safety Commission โดยไม่มี ก.ตร. ในรูปแบบปัจจุบัน โดยเอาตัวแบบ National Public Safety Commission อย่างญี่ปุ่น มาใช้เป็นแนวทาง คณะกรรมการตำรวจแบบนี้ จะมีกรรมการไม่เกิน ๓ ถึง ๕ ท่าน มาจากการโปรดเกล้าแต่งตั้ง โดยข้อเสนอของคณะกรรมการคัดสรรอิสระ และได้ผ่านกระบวนการในสภา ที่มีการแสดงวิสัยทัศน์ ผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ จนกระทั่งการเปิดโอกาสให้คัดค้านบุคคลดังกล่าว

คณะกรรมการนี้ จะต้องไม่มีข้าราชการตำรวจอยู่เลย เพื่อตัดปัญหาเรื่องเส้นสาย ที่สืบทอดกันไปในระบบ ก.ตร. ดั้งเดิม คณะกรรมการ มีวาระดำรงตำแหน่ง ๕ ปี ต้องประชุมทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามการรายงานผลการปฎิบัติงานของ ตร. ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องมี Provincial Public Safety Commission ขึ้นมาในระดับจังหวัด

โดยการคัดเลือกคณะกรรมการ จะต้องมีกฎหมายรองรับคุณสมบัติแน่นอน เช่น เรื่องอายุ คุณวุฒิ หรือ ความรู้ความสามารถ และจะต้องมีกฎหมายรับประกันความอิสระในการปฏิบัติงาน กำหนดความผิดอาญา หากมีการแทรกแซงการบริหารงานขององค์กรอิสระ และกำหนดกฎหมายให้คณะกรรมการต้องรับผิดกฎหมายอาญา หากมีกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการบริหารที่ไม่ชอบฯ โดยต้องรับผิดทางกฎหมายหนักเป็นสองเท่าของกฎหมายที่มีปัจจุบันหรือกฎหมายที่จะกำหนดโทษขึ้นมาใหม่

๑.๒) การมีโครงสร้างแบบ ตำรวจส่วนกลาง และ ตำรวจท้องถิ่น โดยมีจุดเกาะเกี่ยวยึดโยงความสัมพันธ์กัน ในลักษณะนี้ ตำแหน่งส่วนกลางจะน้อย เช่นว่า มีกลุ่มตำแหน่ง ผบ.ตร. และ กลุ่มผู้ตรวจราชการสัก ๕ หรือ ๖ คน เท่านั้น โดยในระดับตำรวจท้องถิ่น จะมีหัวหน้าตำรวจจังหวัด เป็นผู้บริหารสูงสุด ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งผู้ว่าฯ จะไม่มีอำนาจบังคับบัญชา แต่จะเป็นเหมือนพระประธานเท่านั้น

โครงสร้างแบบนี้ หัวหน้าตำรวจจังหวัด กับ ระดับ ผบ.ตร. จะมีตำแหน่งที่เกือบจะเท่ากัน เงินเดือนเกือบจะเท่ากัน ซึ่งจะทำให้ ตำแหน่งระดับล่าง ๆ ลงไป มีเงินเดือนสูงขึ้นมาหลายเท่า แน่นอนที่สุด การดำเนินการในรูปแบบนี้ ตำแหน่งปัจจุบัน ตั้งแต่ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ถึง รอง ผบช.ภาค จะต้องหายไปทั้งหมด ซึ่งจะมีข้อดีหลายประการ เช่น สายการบังคับบัญชาสั้น งานรวดเร็ว และมีเงินเดือนสูงขึ้นมาก ๆ เพราะตำแหน่ง หัวหน้าตำรวจจังหวัด อาจจะมีตำแหน่งเป็น ระดับ ๙ หรือ ๑๐ ก็อาจจะเป็นไปได้ และแน่นอนที่สุด เมื่อสายการบังคับบัญชาสั้น ก็ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สูงขึ้น เกี่ยงใครไม่ได้แล้ว การให้บริการประชาชนต้องมีการรายงานต่อคณะกรรมการอิสระ อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ก็จะต้องดีขึ้นอย่างมาก ในขณะที่งบประมาณที่สูญเปล่า ไปกับองค์กรที่มีสายการบังคับบัญชายาวเกินไป ก็จะมีการนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย

ทั้งนี้ จะต้องเขียนกฎหมายให้ชัดเจนว่า งานตำรวจมีอะไรบ้าง ระดับ ตร. มีหน้าที่ สนับสนุนเรื่องอะไรได้บ้าง ซึ่งถ้าหากมีการดำเนินการเช่นนี้ ระดับ ตร. อาจจะมีหน้าที่เพียงการประสานงาน กับการศึกษาวิจัย เพื่อส่งเสริมการปฎิบัติงานของตำรวจท้องถิ่นให้มีคุณภาพสูงขึ้น หรือ อาจจะเข้าสนับสนุนการปราบปราม หรือ ให้ความช่วยเหลือทางนิติวิทยาศาสตร์ หรือ การศึกษาหรือฝึกอมรมเท่านั้น จึงไม่น่าเป็นห่วงอย่างที่หลายคนกลัวว่า แผ่นดินจะลุกเป็นไฟไปได้

๒) การบริหารงานบุคคล ที่มีระบบที่ดี

๒.๑) ต้องจัดระบบการบริหารงานบุคคลที่ดี ที่สามารถป้องกันการฝากเด็ก หรือ การใช้เส้นแทรกแซงได้ เป็นต้นว่า ใช้ระบบการสอบแบบตำรวจญี่ปุ่น การประเมินผลงานที่จริงจัง โดยการสอบต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการอิสระ หรือองค์กรภายนอก ทั้งนี้ จะทำให้งานตำรวจมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะที่ผ่านมา ตำรวจมักจะทำงานโดยอาศัยสัญชาติญาณเป็นหลัก ไม่มีหลักวิชาการเท่าที่ควร หรือ เป็นการบริหารไปตามชะตากรรมกำหนด ตามมีตามเกิด หรือ ตามสถานการณ์เท่านั้น หากใช้ระบบสอบในการเลื่อนตำแหน่ง โดยมีคณะกรรมการกลางที่เป็นองค์กรอิสระจาก ตร. แล้ว จะป้องกันการแทรกแซงการเลื่อนตำแหน่งได้อย่างมาก ในส่วนของนักวิจัย หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะต้องมีการเขียนผลงานทางวิชาการ หรือ อะไรก็แล้วแต่ ตามแต่ลักษณะเฉพาะของแต่ละสายงาน

๒.๒) การยกเลิกระบบยศ แล้วใช้ระบบตำแหน่ง จากโครงสร้างตาม ข้อ ๑) จะเห็นได้ว่า ผู้บริหาร ตร. สูงสุด คือ ผบ.ตร. กับ กลุ่มตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ระดับรองลงไป คือ ระดับ หัวหน้าตำรวจจังหวัด ดังนี้ เงินเดือนและตำแหน่งของ ผบ.ตร. กับ หัวหน้าตำรวจ อาจจะแตกต่างกันไม่มาก ซึ่งจะมีกลไก เช่นเดียวกับ หัวหน้าศาลจังหวัด กับ ประธานศาลฎีกา ที่มีเงินเดือนต่างกันแค่ประมาณ พันกว่าบาท เท่านั้น ดังนี้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกยศ แล้วหันมาใช้ Uniform เพื่อให้ตำรวจง่ายต่อการสังเกตของประชาชน ในยามทุกข์ร้อน จะได้เข้าไปขอความช่วยเหลือได้ง่าย

๒.๓) ต้องมีองค์กรในลักษณะสหภาพแรงงานตำรวจ (Police Union) เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องราว ร้องทุกข์ของตำรวจ ในกรณีที่มีอำนาจมืด กลั่นแกล้งจากผู้บริหาร หรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บริหาร องค์กรนี้จะต้องมีศักดิ์และสิทธิ์ในการฟ้องร้องต่อองค์กรศาล แทนตำรวจที่ถูกรังแก

ทั้งนี้ จะต้องมีการออกกฎหมายรองรับองค์กรนี้ และแก้ไขกฎหมายปกครอง และกฎหมายอาญา เพื่อรับรองสิทธิ์ในการรวมตัวและสิทธิต่อรอง (Rights to Association & Collective Bargaining) โดยกำหนดหน้าที่นำสืบหักล้าง กรณีมีการฟ้องร้อง ให้เป็นหน้าที่ผู้ถูกฟ้องร้อง คือ ผู้บริหาร ต้องแก้ตัวว่า ที่กระทำการไปนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประการใด

๒.๔) การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ เงินเดือนให้อยู่ในระดับที่ดี เพราะไม่มีการลงทุนที่ถูก ๆ จะป้องกันปัญหาการทุจริตได้ นอกจากนี้ ยังต้องมีการปรับปรุงเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ในการทำงานฯ โดยเอาเงินราชการลับ ใน ตร. ที่ถูกวันนี้ ไม่รู้เอาไปใช้อะไรบ้าง มาจัดสรรในการแก้ไขเฉพาะในช่วงเริ่มต้นไปพลางก่อน

๓) การปลูกฝังในเรื่อง Ethics, Self-Esteem, Human Rights & Law

๓.๑) นักจิตวิทยา ยืนยันว่า การปลูกฝังเรื่องจริยธรรม จะต้องกระทำต่อเนื่อง มีระบบการปลูกฝังที่ดี และกระทำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ การปลูกฝังในเรื่อง Self-esteem หรือ ความภาคภูมิใจในตัวตน กับความหยิ่งในศักดิ์ศรี จะต้องกระทำการอย่างจริงจัง ตั้งแต่ในโรงเรียน ต่อเนื่องระหว่างการปฎิบัติงาน และมีความสม่ำเสมอ โดยจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำและวัฒนธรรมของสังคมไปด้วย พร้อม ๆ กัน

๓.๒) การปลูกฝังนิสัย เป็นผู้ให้บริการประการหนึ่ง ที่นานาชาติ กระทำกัน คือ การอบรมให้ตำรวจเคารพกฎหมาย มีความเข้าใจในหลักการของ Human Rights & Law อย่างจริงจัง เพื่อให้ตำรวจตระหนักว่า ทุกคนมีสิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และสิ่งเหล่านั้นเป็นที่หวงแหนของมนุษย์ทุกคน รวมถึง ตัวตำรวจที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย หากลองไปถาม ตำรวจที่เคยถูกฟ้องร้อง คดีอาญา ก็พบว่า เขารู้สึกหวงแหนในสิทธิและเสรีภาพของเขาเพียงใด เช่นเดียวกัน หากตำรวจทุกคน ได้รับรู้ถึงความรู้สึก และตระหนักเช่นนั้น เราก็จะปฎิบัติต่อประชาชน เสมือนเราอยากได้ การปฎิบัติต่อตัวเราเอง .... เหมือนพ่อ เหมือนแม่ หรือ พี่ น้องของตำรวจเอง

๔) การมี Independent Monitoring Agency

องค์กรนี้ จะเหมือนกับองค์กร การตรวจสอบและป้องกันการทุจริตของฮ่องกง ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระ โดยมีการดำเนินการ สองประการ ควบคู่กันไป คือ การกระทำทางบวก ได้แก่ การส่งเสริมให้ความรู้ เรื่องความชั่วร้ายของการทุจริต การพัฒนา Code of Conduct หรือ Professional Conduct ให้กับตำรวจ โดยส่งเสริมปลูกฝังให้ปฎิบัติงานได้อย่างมีเกียรติ และอย่างต่อเนื่อง

ประการที่สอง คือ การกระทำในทางลบ ได้แก่ การมุ่งตรวจสอบ และปราบปราม เพื่อยับยั้งการกระทำไม่ชอบ ทั้งนี้ องค์กรนี้ จะต้องแยกจากตำรวจ เพื่อทำหน้าที่สืบสวน สอบสวน ฟ้องร้อง และดำเนินการทางวินัยอย่างจังจัง รวดเร็ว และเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชน เชื่อว่า ตำรวจจะมีการลงโทษจริงจัง หากมีกระทำผิด

เมื่อประชาชนเชื่อถือศรัทธาในระบบตรวจสอบที่จริงจัง เขาก็จะมีส่วนในร่วมในการบังคับใช้มาตราฐานความประพฤติที่ดีของตำรวจให้เป็นจริงและเข้มแข็งยิ่งขึ้น เมื่อนั้น ก็จะยิ่งทำให้ตำรวจมีความน่าเชื่อถือ ศรัทธา มากยิ่งขึ้น และ ตำรวจก็จะเป็นที่รัก และได้รับความร่วมมือ พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานอย่างมากมาย งานตำรวจก็จะสำเร็จโดยง่าย

ดังจะเห็นตัวอย่าง จากองค์กรตำรวจ ที่มีเรื่องร้องเรียนตำรวจน้อยมาก เป็นต้นว่า ตำรวจในโตเกียวจะถูกร้องเรียน โดยเฉพาะ ๓๐ ปี สัก ๑ เรื่อง เป็นต้น และ ความสำเร็จในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ก็เกิดจาก Community Policing ที่มี Koban หรือป้อมตำรวจ ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นบ้านมากกว่า ที่ประชาชนจะมีเรื่องทุกข์ร้อน หรือ มีกิจกรรมใด ๆ จะต้องตำรวจเข้าเยี่ยมเยียน และเป็นศูนย์กลางเสมอ การป้องกันอาชญากรรม และการปราบปรามอาชญากรรม ร้อย ๘๐ จึงเกิดจาก ยุทธวิธี Community Policing นี้ เป็นหลัก

๕) การมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนา และศูนย์การศึกษางานตำรวจ

นอกจากนี้ ยังต้องมีศูนย์กลาง ฝึกอบรม ตำรวจอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะ National Police Academy & National Police Research Institute ทีมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัย อันเกี่ยวเนื่องกับงานตำรวจ เพื่อสนับสนุนงานตำรวจอย่างต่อเนื่อง เช่น ศูนย์พัฒนาและวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์ สถาบันอบรมการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา สถาบันวิจัยพฤติกรรมและการป้องกันอาชญากรรม ฯลฯ

การสนับสนุการศึกษาของตำรวจเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ รัฐอาจจะกระทำได้หลายรูปแบบ เป็นต้นว่า อาจจะใช้รูปแบบการพัฒนาตำรวจในสหรัฐฯ คือ การให้ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา แล้วทำงานตอบแทน ตามที่กำหนดในเงื่อนไขของการกู้ยืม แน่นอนครับ อาจจะต้องไม่ต้องใช้เงินคืนเป็นรูปตัวเงิน แต่ต้องทำงานตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด

๖) การรายงานต่อสาธารณะ (Public Report)

มาตราการนี้ บางคนเห็นเป็นเรื่องเล็ก แต่จริง ๆ เป็นเรื่องใหญ่มาก และสำคัญมากในทุกด้าน ตั้งแต่ การมีข้อมูลในการบริหารงานในอนาคต การบริหารงานบุคคล การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กร โดยตำรวจทุกคนจะต้องจัดทำรายงานเป็น Weekly Report ต่อสถานี หรือ องค์กร และ ในขณะเดียว สถานี จะต้องทำ Report เสนอต่อ องค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารงานบุคคล และการกำหนดนโยบาย ต่าง ๆ Report นี้จะต้อง ปิดประกาศในที่สาธารณะ หรือ จัดการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย มาตรการนี้จะส่งเสริมความโปร่งใส และความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนต่อตำรวจ ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวต่อองค์กรตำรวจโดยรวม




การเปลี่ยนแปลงใด ย่อมมีการต่อต้าน ......... ได้แต่ภาวนาขอให้จริงใจ และยอมตัดเนื้อ เพื่อความก้าวหน้า และประโยชน์ที่ยั่งยืน สักวันหนึ่ง เวลา ตำรวจเดินไปไหนมาไหน จะเป็นที่รักของปวงชน





Create Date : 02 ธันวาคม 2549
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 7:37:29 น. 5 comments
Counter : 934 Pageviews.

 
อ่านแล้วได้ทั้งความรู้และได้คิดตามไปด้วยค่ะ(แม้ว่าจะความรู้น้อยไม่ค่อยเข้าใจบางประเด็นก็เถอะ)

ฟังดูน่าสนใจแต่คงทำได้ยาก อย่างน้อยกลุ่มที่ต่อต้านกลุ่มแรกคือตำรวจเองนั่นแหละ งานนี้จะมีผู้เสียผลประโยชน์เยอะ สงสัยค่ะ...แล้วพวกคณะกรรมการตำรวจทั้งระดับชาติและระดับจังหวัดจะไม่เป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลเองเหรอคะ ถ้าตำรวจไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ว่าฯ คงสนุกเพราะตำรวจมีกองกำลังและอาวุธอยู่มือคงจะทำอะไรตามใจชอบเชียวล่ะ
ชอบข้อ 3 เรื่องการปลูกฝังด้าน Ethics, Self-Esteem, Human Rights & Law ค่ะ ควรจะได้เริ่มนับแต่บัดนี้ค่ะ ไม่อยากเห็นตำรวจรุนแรงและทำไรมั่วๆกับประชาชนเลย (ในระดับชาวบ้านตาดำดำที่ไม่มีเส้น) จริงๆ เรื่องนี้ควรจะปลูกผังให้พลเมืองของไทยทุกคนค่ะ ไม่เฉพาะตำรวจ

ข้อสุดท้าย อยากให้เพิ่มเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงให้ตำรวจค่ะ จะได้เพียงพอและไม่ไปรีดไถจากประชาชนอีก (ข้อนี้ก็โยงกับข้อ 3 อีก ถ้ามี self- esteem สูงและรู้จักเศรษฐกิจเพียงพอก็คงไม่ต้องทำอย่างนี้)

มีความสุขในวันหยุดนะคะ


โดย: the Vicky วันที่: 2 ธันวาคม 2549 เวลา:16:54:29 น.  

 
แวะมาอ่าน เพิ่มความรู้มาส่งความสุขด้วยค่ะ


โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 2 ธันวาคม 2549 เวลา:17:41:15 น.  

 
ตามความฝันของผมนะ ผมว่าไม่มีปัญหา อย่างที่ ท่าน วิคกี้ บอกไว้หรอก เพราะว่า มีมาตรการหลายประการป้องกันไว้แล้ว เช่น

๑. ต้องมีการกำหนดคุณสมบัติ ที่แข็งแกร่ง ของผู้ที่จะสมัครมาเป็นคณะกรรมการอิสระดังกล่าว
๒. มีการคัดสรรโดยคณะกรรมการสรรหาฯ ที่มาจากการกำหนดสัดส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
๓. มีกระบวนการ อภิปรายในสภา สอบถาม การแสดงวิสัยทัศน์ และ การถ่ายทอดทางวิทยุโทรทัศน์ ย่อมเป็นหลักฐานตลอดไป ประจานกันได้
๔. การกำหนดโทษทางอาญา อย่างหนัก เมื่อมีการใช้อำนาจโดยไม่ชอบของคณะกรรมการนี้ฯ
๕. การมีคณะกรรมการตรวจสอบความไม่สุจริตฯ หรือ Independent Mornitoring Agency ที่แยกต่างหากจากคณะกรรมการฯ และ องค์กรตำรวจ ย่อมป้องกันปัญหาได้อย่างดี
๖. การมีองค์กรแรงงานตำรวจ และกฎหมาย ที่ให้อำนาจฟ้องร้องทางกฎหมาย เรียกร้องค่าเสียหาย ทั้งทางแพ่ง ทางปกครอง และทางอาญา ในกรณีที่มีการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ฯ ย่อมเป็นหลักประกันที่สำคัญมาก ๆ
๗. ระบบการรายงานต่อสาธารณะ เป็นการประจาน และ การตรวจสอบการทำงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
๘. ระบบการถอดถอนต้องมีด้วยครับ

ปัญหาหลัก คงอยู่ที่ว่า ตำรวจไทยจะยอมเจ็บ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของทุกคนหรือไม่ ไม่ใช่เฉพาะชีวิตประชาชนหรอก แต่เป็นชีวิตที่ดีขึ้นของตำรวจเองด้วยครับ


โดย: POL_US IP: 130.126.87.101 วันที่: 2 ธันวาคม 2549 เวลา:17:55:18 น.  

 
การปลูกฝังในเรื่อง Ethics, Self-Esteem, Human Rights & Law

อย่างแรกเลยที่ต้องตระหนัก โดยเอาปรัชญาด้านทฤษฎีอรรถประโยชน์มาเป็นเกณฑ์และพร่ำสอน

สังคมเกลียดตำรวจมากกว่าทหารเสียอีก หากทหารทำอะไรไปสังคมจะยังชั่งใจ แต่หากตำรวจทำอะไรไป สังคมว่าเลวเสมอ


โดย: macus IP: 202.41.187.247 วันที่: 3 ธันวาคม 2549 เวลา:16:56:54 น.  

 
ท่าน Macus

สังคมคิดเช่นนั้น เพราะสังคมไม่รู้ว่า ที่จริงแล้ว สังคมไทย สูญเปล่าไปกับงบประมาณของทหารเท่าใด สังคมไม่รู้ว่า ถ้าหลับตา เขวี้ยงก้อนดินเข้ากระทรวงกลาโหม จะโดนหัวนายพล อย่างน้อย ๑ คน แสดงให้เห็นว่า นายพลมีจำนวนมากขนาดไหน

ถ้าลองดูเล่น ๆ ในแต่ละปี จะมีข่าวการแต่งตั้งนายพลทหาร จะรู้ว่า มีหลายหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ นายพลพวกนี้ มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง มีเอกสิทธิ์ต่าง ๆ มีพลทหาร ไปรับใช้ตามบ้าน อีกสองสามคน ฯลฯ ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่ารถยนต์ คนละเท่าไหร่ ทราบหรือไม่ครับ เขาทำงานอะไร สังคมทราบหรือไม่

ถามว่า เงินราชการลับทหาร มีจำนวนเท่าไหร่ ทราบหรือไม่ แล้วเขาแบ่งสรรปันส่วนกันแต่ละเดือน อย่างมีความสุขมีจำนวนเท่าไหร่

ถามว่า เงินงบประมาณที่ใช้เลี้ยงทหารเกณฑ์ เท่าไหร่ เขาเลี้ยงกันจริงเท่าไหร่ ในช่วงเทศกาล เขาปล่อยทหารเกณฑ์กลับบ้าน เขายังเบิกเงินงบประมาณเหล่านั้นอยู่ ใครเอาเข้ากระเป๋าครับ ท่านทราบหรือไม่

ถามว่า ฯลฯ มีเยอะแยะไปหมดครับ ................ ท่านอย่าคิดว่า มันเดือดร้อนเป็นการเฉพาะตัว เลยคิดว่าธุระไม่ใช่ แต่จริง ๆ มันเงินของพี่น้องประชาชนทุกคนแหละครับ

อย่าปล่อยให้ความโกรธ และผลประโยชน์ส่วนตัว มาเป็นภาพลวงตา ปิดบัง ความจริง ทำให้หน้ามืดตามัว ครับ ผมยังยอมรับเลยว่าตำรวจมันเน่ามาก และถึงคราวปรับปรุงแล้ว และจะดีใจมาก ที่เขาจะทำกันจริง ๆ แต่สุดท้าย ถ้าเขาทำเป็นละคร อีก ผมจะเสียใจมาก ......................


โดย: POL_US (POL_US ) วันที่: 4 ธันวาคม 2549 เวลา:9:03:18 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.