*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

ข้าราชการตำรวจ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายไม่ได้จริง ๆ หรือ



ตามที่มีข่าว พ.ต.ท.นายหนึ่ง วิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงเสนอแนะให้การตรากฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์กะบะ ที่ห้ามผู้โดยสารนั่งที่กะบะท้ายในเชิงข้อเสนอแนะว่า การตรากฎหมายจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นเสียก่อน

ปรากฎว่ามีการตั้งกรรมการสอบวินัย โดยกล่าวหาว่ากระทำการไม่เหมาะสม ขัดต่อนโยบายรัฐบาล รวมถึงต่อต้านไม่เคารพกฎหมาย ฯลฯ อะไรมากมาย

ผมเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวของผู้บังคับบัญชานั้น ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย รวมถึงขัดต่อหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อีกทั้ง หากข้าราชการไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ หรือวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐได้เลย ก็จะเป็นการลดทอนความเป็นคนของข้าราชการนั้นเอง ทำให้ข้าราชการ กลายเป็นหุ่นยนต์ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่มีศักดิศรีความเป็นคนหลงเหลืออยู่เลย


ความจริงแล้ว ข้าราชการ ก็ถือเป็นประชาชนคนหนึ่ง ที่เสียภาษีให้กับรัฐ และมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป แต่จะมีข้อจำกัดบางประการ โดยเฉพาะการทำให้เสื่อมทรามทางวินัยอันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐอย่างร้ายแรง แต่ถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นทั่วไป ข้าราชการก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะนับแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2550 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพของข้าราชการในการแสดงความคิดเห็นและการรวมตัวเป็นองค์กรแรงงาน เช่นเดียวกับ สหภาพแรงงานด้วย แม้จะมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิไม่เท่ากับแรงงานในภาคเอกชนก็ตาม

นอกจากนี้ ข้าราชการ ยังมีสิทธิในการเข้ากลุ่มและทำกิจกรรมกับพรรคการเมืองได้ โดยรัฐบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2499 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพในการเข้าทำกิจกรรมทางการเมืองได้ด้วย ภายใต้ข้อจำกัดบางปรการ ที่เบาบางมาก เช่น

ระเบียบสำนักคณะรัฐมนตรีว่าด้วยยมารยาททางการเมืองของ ข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2499

ระเบียบดังกล่าว กำหนดไว้ว่า ข้าราชการพลเรือนจะนิยมหรือเป็นสมาชิก ในพรรคการเมืองใดๆ ที่ต้งัโดยชอบดว้ยกฎหมาย และจะไปในการประชุมของพรรคการเมืองน้นั เป็นการ ส่วนตวัก็ได้แต่ในทางที่เกี่ยวกบั ประชาชนและในหน้าที่ราชการจะตอ้งกระท าตัวเป็ นกลาง ปฏิบัติตาม นโยบายของรัฐบาลโดยไม่ค านึงถึงพรรคการเมือง และต้องไม่กระทา การอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้าม ดังต่อไปน้ี

(1) ไม่ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองใดๆ เว้นแต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2 หรือ ข้าราชการการเมือง
(2) ไม่ใช้สถานที่ราชการในกิจการทางการเมือง
(3) ไม่วิพากษ์จิารณ์การกระทำ ของรัฐบาลให้ปรากฏแก่ประชาชน
(4) ไม่แต่งเครื่องแบบราชการไปร่วมประชุมพรรคการเมือง หรือไปร่วมประชุมในที่ สาธารณสถานใดๆ อันเป็ นการประชุมที่มีลักษณะทางการเมือง
(5) ไม่ประดับเครื่องหมายพรรคการเมืองในเวลาสวมเครื่องแบบราชการหรือในเวลาราชการหรือ ในสถานที่ราชการ
(6) ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมืองเข้าไปในสถานที่ราชการ
(7) ไม่บังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือประชาชนเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใดและไม่กระทา การ ในทางให้คุณให้โทษ เพราะเหตุที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือประชาชนนิยมหรือเป็นสมาชิกใน พรรคการเมืองใดที่ตั้งขึ้นโดยชอบดว้ยกฎหมาย
(8) ไม่ทำการขอร้องให้บุคคลใดอุทิศเงินหรือทรัพยส์ินเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง 1 มาตรา 82 (9) “ต้องวางตัวเป็ นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่ เกี่ยวขอ้ งกับประชาชน กับจะตอ้ งปฏิบตัิตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของ ข้าราชการด้วย”
(9) ไม่โฆษณาหาเสียงเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง หรือแสดงการสนับสนุนพรรคการเมือง ใดๆ ให้เป็ นการเปิดเผยในที่ประชุมพรรคการเมือง และในที่ที่ปรากฏแก่ประชาชน หรือเขียน จดหมายหรือบทความไปลงหนงัสือพิมพ์หรือพิมพห์ นงัสือหรือใบปลิวซ่ึงจะจา หน่ายแจกจ่าย ไปยังประชาชน อันเป็ นข้อความที่มีลักษณะของการเมือง
(10) ไม่ปฏิบัติหน้าที่แทรกแซงในทางการเมือง หรือใช้การเมืองเป็นเครื่องมือเพื่อกระทา กิจการ ต่างๆ อาทิเช่น วิ่งเต้น ติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองเพื่อให้น าร่าง พระราชบญั ญตัิหรือญตัติเสนอสภาฯ หรือต้งักระทูถ้ามรัฐบาล
(11) ในระยะเวลาที่มีการสมคัรรับเลือกต้้งสมาชิกสภาผแู้ทนราษฎร ไม่แสดงออกโดยตรงหรือโดย ปริ ยาย ที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกต้ัง และในทางกลับกัน ไม่กีดกนั ตา หนิติเตียน ทับถม หรือให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกต้ง

เมื่อวิเคราะห์การกระทำของ พ.ต.ท. รายดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุผลทางวิชาการ กฎหมาย กติกาสากล และเหตุผลที่ต้องการให้มีส่วนร่วมทางการเมืองในการสร้างกติกาประชาธิปไตย การที่ข้าราชการ เป็นประชาชนที่เสียภาษี และการเสนอแนะทางกฎหมายโดยการเสนอแนะให้มีการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนก่อนตรากฎหมายใด ๆ จึงเห็นว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของ พ.ต.ท. รายนี้ ไม่ถือเป็นการกระทำที่ผิดวินัย แต่ประการใด และแม้จะมีวินัยห้ามวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ก็จะต้องถือว่า วินัยนั้น ขัดต่อหลักการรัฐธรรมนูญ และระเบียบสำนักคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น

ผมจึงเห็นว่า การสั่งการให้ตั้งกรรมการวินัยสำหรับ พ.ต.ท. รายนี้ ไม่น่าจะถูกต้องตามกฎหมายใด ๆ




 

Create Date : 05 เมษายน 2560    
Last Update : 5 เมษายน 2560 20:49:39 น.
Counter : 408 Pageviews.  

ความคืบหน้าในการแก้ไข กฎหมายเข้าถึงข้อมูลอาชญากรรม ของตำรวจ



ผมไม่ได้เขียน Blog แห่งนี้ มานาน เพราะมีข้อจำกัดในหลายด้าน โดยเฉพาะทางเทคนิคของ Bloggang ที่จำกัด ไม่ว่าจะภาพ หรือจำนวนข้อความ ความไม่สะดวกดังกล่าว จึงทำให้เกิดความจูงใจน้อยในการเขียนบทความหรือเรื่องราวร่าง ๆ  ก็ได้แต่หวังว่า พันทิพ จะจัดการแก้ไขปัญหาครับ

.........
วันนี้ ผมตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับ การแก้ไข ป.วิ.อาญา ให้ตำรวจสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร หรือ เอกสารใด ๆ ของผู้กระทำผิดได้  โดยผมได้เริ่มเสนอกฎหมายนี้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ผกก. กฎหมาย ตร. มาระยะหนึ่ง 
.........
ผมตระเวณขายความคิดว่า ตำรวจทั่วโลก เขาสามารถดักฟัง และดักรับข้อมูลของผู้กระทำผิดได้ แต่ตำรวจไทย  มีปัญหาอุปสรรคไปหมด ทำให้การช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม  ตัวอย่างเช่น คดีลักพาตัว หรือ คดีสลับซับซ้อนอื่น ๆ ที่เหยื่ออาชญากรรมอาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต  ตำรวจเราไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน และเหยื่ออาชญากรรม ก็จะตายหรือได้รับอันตราย 
.........
นอกจากนี้ ผมได้ยกตัวอย่างคดีสำคัญ ๆ เช่น คดีความมั่นคงในภาคใต้ ที่ศาลยกฟ้อง ประมาณ ๗๐ % ก็เพราะ ตำรวจเราไม่มีข้อมูลและหลักฐานที่สนับสนุนให้เห็นความเชื่อมโยงว่า ผู้ก่อการร้ายกระทำความผิดอย่างไร  
........
ผมเห็นว่า ถ้ามีการดักรับข้อมูลได้ โดยมีวิธีการตรวจสอบและป้องกันการละเมิดสิทธิของประชาชนที่เหมาะสม จะทำให้รัฐไทย สามารถรวบรวมพยานหลักฐาน และสร้างความน่าเชื่อของตำรวจและกระบวนการยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้น  ไม่ใช่ ร้อยทั้งร้อย เป็นพยานบอกเล่า แล้วก็ยกฟ้องไปหมดในปัจจุบัน 
.......
ผมได้ใช้ตัวแบบ กฎหมายอเมริกัน ตาม Omnibus Crime Control and Safe Streets Act of 1968 ที่กำหนดให้ตำรวจสามารถ Intercept หรือดักรับข้อมูลได้   ซึ่งกำหนดวิธีการตรวจสอบไว้ ให้ผู้บริหารหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะต้องตรวจสอบว่า การดักรับข้อมูล เป็นวิธีการที่จำเป็น และไม่อาจจะใช้วิธีการที่เหมาะสมได้แล้ว  และเป็นวิธีการรุนแรงน้อยที่สุดแล้ว เมื่อผุ้บริหารหน่วยเห็นชอบ จึงเสนอให้ศาลอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง 
..........
ร่างแก้ไข ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๐๕/๑ ที่ผมร่างไว้ ก็เช่นเดียวกัน มีการกำหนดหลักการสำคัญ ๆ คือ 
๑) คดีร้ายแรง หรือสลับซับซ้อน 
๒) การสืบสวนสอบสวนปกติ เช่น หมายเรียก หมายอาญา ไม่อาจจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  หรือเจ้าหน้าที่จะอันตรายต่อชีวิตร่างกาย ฯลฯ 
๓) ผู้บังคับบัญชา เห็นชอบ 
๔) ศาลเห็นชอบ และศาลอาจจะกำหนดวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 
๕) ข้อมูลเป็นความลับ  ใครเปิดเผยติดคุกหัวโต ถ้าเป็น จนท. ที่สอบสวน จะรับโทษ ๓ เท่า 
...........
ผมเสนอร่างกฎหมาย ไปยังรัฐบาล ๒ รอบแล้ว  คราวนี้ ผ่านกฤษฎีกาแล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็จะส่ง สนช. และออกเป็นกฎหมายต่อไป ถ้า สนช. ไม่เห็นแย้ง  โดยคาดว่าจะออกได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ นี้ 
...........
โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าจะทำให้กระบวนการยุติธรรม น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ใช่ยกฟ้อง เพราะสงสัยร่ำไป หรือ ฟ้องมั่ว ๆ ไป โดยไม่มีหลักฐานใด ๆ ยืนยัน  และการดักรับข้อมูล ยังชี้ชัดให้เห็นว่า จริง ๆ ผู้ถูกกล่าวหา อาจจะบริสุทธิ์มาตั้งแต่ต้นเลยก็ได้   อะไร ๆ ไม่ชัดเจน ก็จะหมดไป  หรืออะไรใต้ดิน ๆ ที่ทำกันอยู่จะชัดเจน และตรวจสอบได้ ควบคุมได้เสียทีครับ 





 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2559 16:05:14 น.
Counter : 1097 Pageviews.  

ปฏิรูปตำรวจ





ข้อเสนอแนะบางประการสำหรับการพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  

พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ, พ.ต.อ.สัญญา เนียมประดิษฐ์, รศ.ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด  เสนอต่อมูลนิธิ FES ประเทศไทย ปี ค.ศ.๒๐๑๒

๑.ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ตำรวจเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความมั่นคงของรัฐโดยตำรวจจะมีบทบาทสำคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะในรัฐที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการ หรือยังไม่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ตำรวจก็จะถูกใช้เป็นกลไกในการบังคับใช้กฎหมายและกำจัดศัตรูทางการเมืองเสมอมาประเทศไทย จึงจัดองค์กรรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างเคร่งครัดในรูปกึ่งทหาร มีชั้นยศและการบังคับบัญชาตามระบบราชการดั้งเดิมตามระบบ Max Weber มีการบังคับบัญชาสั่งการจากบนลงล่าง 

ในทางตรงกันข้ามประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เคารพหลักนิติรัฐ (The Rule of Law)  จะจัดองค์กรที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและให้บริการชุมชน(Police service) มากกว่าการเป็น Law Enforcement เพราะถือว่าได้รับอำนาจจากประชาชน การบังคับใช้กฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยตรง จึงต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

ในอดีตตำรวจไทย จะถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว[1]ส่วนการจับกุมผู้ร้ายเป็นหน้าที่ประชาชน[2] และเริ่มจับกุมผู้ร้ายในสมัยรัชกาลที่ 2 [3] จนได้รับการพัฒนาเป็นตำรวจอาชีพตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา โดยนำรูปแบบตำรวจอังกฤษมาพัฒนากิจการตำรวจไทย จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2458 องค์กรตำรวจได้ถูกจัดเป็นองค์กรในด้านความมั่นคงของรัฐ(Security Institution) โดยจัดโครงสร้างองค์กรเป็น NationalPolice Agency ที่มีศูนย์รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงให้กับรัฐ แม้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยองค์กรตำรวจก็ได้กลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง[4] โดยเฉพาะภายหลังปี พ.ศ. 2500 องค์กรตำรวจได้ถูกใช้เป็นกลไกทำลายศัตรูทางการเมืองเสมอมาแม้จะได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรตำรวจอย่างต่อเนื่องก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการพัฒนาความเป็นวิชาชีพของตำรวจ(Policeprofessionalism) แต่การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรตำรวจไทยให้มีขอบเขตภารกิจและใหญ่โตเทอะทะยิ่งขึ้นและยากแค่การตรวจสอบจากภาคประชาชนเท่านั้น

องค์กรตำรวจไทยมักจะขยายโครงสร้างโดยอาศัยความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของปัญหาทางสังคมโดยมีการพัฒนาหน่วยงานเฉพาะทางให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ดูประหนึ่งว่ายิ่งพัฒนาองค์กรตำรวจก็ยิ่งจะห่างไกลจากการเข้าถึงของประชาชนและสังคมมาเท่านั้นด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว ภายหลังจากการปฏิรูประบบปฏิรูปประเทศไทยในปี พ.ศ.2540 รัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปี พ.ศ.2541 โดยข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและควบคุมองค์กรตำรวจตามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) โดยได้ตราระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ.2542กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ในระดับสถานีตำรวจจังหวัดและกองบัญชาการตำรวจนครบาลรวมถึงการกำหนดบทบัญญัติให้มีองค์กรตำรวจไทยจะต้องส่งเสริมให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 ประกอบกับการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในระดับชาติ ในการกำหนดนโยบายและการควบคุมการบริหารงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี จากหลายกระทรวงและปลัดกระทรวงจากหลายหน่วยงาน พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายวิชาชีพ[5] เพื่อสะท้อนการเป็นตัวแทนภาคประชาชนในทางอ้อมในการควบคุมบริหารงานตำรวจก็ตามแต่ในทางความเป็นจริงแล้ว องค์ประกอบ ก.ต.ช.ล้วนแต่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูงที่อยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมืองทั้งสิ้นแม้กระทั่ง ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิ ก็มาจากการคัดเลือกและเสนอชื่อจากประธาน ก.ต.ช.ดังนั้น การดำเนินมาตรการใด ๆจึงเป็นเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่า นับแต่การประกาศใช้กฎหมายตำรวจปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ก.ต.ช.มีบทบาทเพียงตรายางให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีเท่านั้น


๒. แนวคิดปฏิรูปตำรวจในยุคสมัยล่าสุด 

รัฐบาลสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 230/2549ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ เพื่อศึกษาวิจัยและการระดมความคิดอย่างกว้างขวางโดยได้จัดทำข้อเสนอแนะที่สำคัญหลายประการ รวมถึงการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ระดับกองบัญชาการและการจัดตั้งองค์กรควบคุมการบริหารงานและตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจที่เป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้มีการปฏิบัติให้เป็นผลสัมฤทธิ์แต่ประการใด[6] ต่อมานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 165/2553 ลงวันที่ 29มิถุนายน 2553 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบงานตำรวจขึ้นมาโดยให้นำผลการศึกษาของคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 230/2549 ลงวันที่ 13พฤศจิกายน 2549มาจัดทำเป็นแผนการดำเนินการในการปฏิรูประบบงานตำรวจ (road map) ในการพัฒนาองค์กรตำรวจ แต่อย่างไรก็ตามตำรวจยังประสบกับข้อครหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชนความล้มเหลวในการปกป้องชุมชนและการควบคุมอาชญากรรมและความรุนแรง ตลอดจนการทุจริตคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะเชิงสถาบันและวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งการขาดความเชื่อมโยงและความร่วมมือจากประชาชนและชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งข้อครหาเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้องค์กรตำรวจและตำรวจแต่ละคนได้ถูกเหมารวมและเสื่อมเสียเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีไปด้วยแม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำผิดดังกล่าวเลย

๓.แนวคิดเกี่ยวกับข้อเสนอในการพัฒนาวิชาชีพตำรวจของประเทศไทยในอนาคต

๓.๑ ตำรวจคือประชาชน และประชาชนคือตำรวจ

เมื่อกล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาองค์กรตำรวจให้เป็นที่รักและศรัทธาของประชาชนสิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเจ้าของประเทศนี้มีความคาดหวังต่อองค์กรตำรวจอย่างไร ที่จะต้องให้ความสำคัญกับประชาชนไม่ใช่เพราะประชาชนเป็นเพียงผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่บริการสาธารณะ (Public Service) จากตำรวจเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่าอำนาจของตำรวจในการจับกุม ตรวจค้น ขังฯลฯนั้นได้มาจากการที่ประชาชนมอบความไว้วางใจให้กับตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญดังกล่าว เมื่อทำความเข้าใจความคาดหวังของประชาชนแล้วสิ่งที่จะต้องไม่ละเลยจึงจะต้องเข้าใจ “ตำรวจ” ในฐานะบุคคลธรรมดาคนหนึ่งที่ต้องการความรักความเอาใจ ความห่วงใยมีความต้องการขั้นพื้นฐานและต้องการเกียรติและศักดิ์ศรีเช่นเดียวกับประชาชนทุกคนทุกสาขาอาชีพเช่นกันเมื่อสามารถปรับความคิดและสร้างความเข้าใจร่วมกันแล้วก็จะทำให้สามารถแสวงหาแนวทางร่วมกันในการทำให้องค์กรตำรวจเป็นที่พึ่งพาของประชาชนได้อย่างสมศักดิ์ศรี

คณะผู้วิจัยมีความมุ่งหวังที่จะศึกษาถึงสาเหตุที่ไม่สามารถพัฒนาองค์กรตำรวจไปสู่ความเป็นวิชาชีพโดยนำบทเรียนและบริบทของต่างประเทศมาพิจารณาประกอบ กับบริบทขององค์กรตำรวจไทยที่ประสบปัญหาในปัจจุบันพร้อมกับเสนอแนวทางเพื่อผลักดันให้ตำรวจไทยมีเกียรติยศ ศักดิ์ศรีสมกับวิชาชีพตำรวจที่เป็นที่น่าเกรงขามในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากปวงชนในการรักษากติกาของบ้านเมืองและผลักดันแนวคิดให้เห็นว่าแท้จริงงานของตำรวจที่สำคัญ คือ การให้บริการทางสังคม(Police service) ไม่ใช่ลักษณะกองกำลังตำรวจ (Police force) [7] โดยแสดงให้เห็นว่าหากตำรวจประสงค์จะได้รับการพัฒนาให้มีเกียรติศักดิ์และมีความภูมิใจในวิชาชีพตำรวจแล้วตำรวจจะต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างตำรวจกับสังคมให้เกิดขึ้นให้ได้ ทั้งนี้ ตำรวจจะต้องให้มีค่านิยมที่จะปกป้องและคุ้มครองวิถีชีวิตทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน การพัฒนาการบริหารงานให้มีความเป็นธรรมาภิบาลและประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในขั้นตอนกำหนดนโยบายสำคัญ(Good governance & Collaborative governance) โดยเฉพาะการตรวจสอบได้และความโปร่งไส องค์กรตำรวจมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะความยุติธรรม และความมั่นคงของสังคมได้ และตำรวจมีความประพฤติที่เหมาะสม และมีลักษณะความเป็น พลเรือนที่เป็นสมาชิกของสังคมที่พึงประสงค์[8]

๓.๒ ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

จากการศึกษาบทเรียนการพัฒนาวิชาชีพตำรวจในต่างประเทศหากสามารถผลักดันให้ตำรวจเป็นวิชาชีพตำรวจได้ จึงเป็นกุญแจสำคัญที่สุด โดยตำรวจจะต้องเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน(Human-rightperspective) เป็นผู้รักษาความสงบสุขและบังคับใช้กฎหมาย(Peace keeper perspective) และต้องมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย (Democratizationperspective) [9]

การพัฒนาวิชาชีพตำรวจนั้น[10]มักจะเกี่ยวข้องกับคำถามว่า สถานภาพอาชญากรรมของสังคมนั้นเป็นอย่างไร ตำรวจมียุทธศาสตร์ในการปกป้องชุมชนอย่างไรมีการกระจายอำนาจหรือไม่ ภาพลักษณ์ของตำรวเป็นอย่างไร ฯลฯ มีความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ (Accountability and oversight) สมรรถนะหรือขีดความสามารถ (Capacity)ของตำรวจในการแก้ไขปัญหาทางสังคมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยเรื่องอัตรากำลังพล ทักษะ ความรู้ความชำนาญการได้รับการฝึกฝนของตำรวจ เป็นต้น

สำหรับผู้วิจัยเห็นว่า หากต้องการจะพัฒนาตำรวจไทยให้มีความเป็นวิชาชีพที่น่าภาคภูมิใจแล้วจะต้องพิจารณาถึงบริบทต่าง ๆ อย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่โครงสร้างขององค์กรตำรวจที่ควรเป็นกระจายอำนาจหรือรวมศูนย์อำนาจหรือควรจะเป็นระบบผสมผสาน ระบบการบริหารงานภายในองค์กรตำรวจ ตั้งแต่การคัดเลือกบุคลากรการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง จนกระทั่งการพ้นจากการเป็นตำรวจ ระบบการกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม ตลอดจนมีระบบการส่งเสริมเกียรติศักดิ์และจริยธรรม(Code of Ethics) ของตำรวจ โดยมีระบบการตรวจสอบที่เป็นอิสระทั้งจากภายนอกองค์กรตำรวจเพื่อเสริมสร้างกระบวนการตรวจสอบภายในองค์กรตำรวจซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนและสังคมที่มีต่อตำรวจโดยรวมทั้งนี้องค์กรตำรวจจะต้องมีความเชื่อและค่านิยมที่ยึดโยงต่อระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐอย่างเคร่งครัด หากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีค่านิยมในการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเกียรติศักดิ์ของตำรวจเองในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมจะไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสมาชิกในสังคม และแน่นอนที่สุดจะไม่ทุจริตคอรัปชั่นและไม่ยินยอมให้เพื่อนร่วมวิชาชีพของตนเองทุจริตคอรัปชั่นด้วย

คณะผู้วิจัยเห็นว่าในเบื้องต้น หากสามารถทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนตลอดจนฝ่ายการเมืองให้เห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องพัฒนาองค์กรตำรวจให้เป็นตำรวจอาชีพอย่างแท้จริงให้องค์กรตำรวจมีภูมิคุ้มกันในการบริหารงานภายในอย่างแท้จริงแต่ยังคงอยู่ภายใต้กำกับดูแลทางการเมืองในการกำหนดนโยบายการบริหารให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและนิติรัฐซึ่งตำรวจจะไม่ตกเป็นเครื่องมือในการทำลายและกำจัดศัตรูทางการเมืองแบบที่เคยปรากฏในอดีตมาทุกยุคทุกสมัยแรงเสียดทานหรือแรงต้านจากสมาชิกในองค์กรและสังคม ตลอดจนฝ่ายการเมืองก็จะน้อยลงนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาวิชาชีพตำรวจได้ในที่สุด เมื่อสังคมได้มีความเข้าใจและค่านิยมของตำรวจร่วมกันแล้ว คณะผู้วิจัยเห็นว่าควรจะต้องมีการระดมความคิดเห็นการพัฒนาองค์กรตำรวจได้ในอนาคต

กล่าวโดยสรุป หากพิจารณาองค์กรตำรวจไทยจากสายตาของประชาชนและข้าราชการตำรวจด้วยกันเองแล้ว จะพบว่า องค์กรตำรวจมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะการไม่เป็นกลางทางการเมืองหรือการเมืองแทรกแซงการขาดองค์กรกำกับดูและเสนอแนะนโยบายอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพโครงสร้างองค์กรตำรวจที่ใหญ่โตเทอะทะและขาดการกระจายอำนาจการบริหารการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งโยกย้าย การใช้อำนาจในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนวัฒนธรรมองค์กรแบบสั่งการและอำนาจนิยมตลอดจนปัญหาค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ไม่เพียงพอที่จะให้ตำรวจดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติ

ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงเห็นว่า หากมีการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ในเบื้องต้น ดังนี้แล้วจะทำให้สามารถพัฒนาองค์กรตำรวจให้มีความเป็นวิชาชีพได้ ตัวอย่างเช่น

ประการแรก การพัฒนาองค์กรกำหนดนโยบายและการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเหมาะสม

ประการที่สองการกำหนดระบบการบริหารงานภายในเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายให้เป็นธรรมและมีความโปร่งใส

ประการที่สามการกำหนดค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมด้วย

ประการที่สี่การสร้างระบบการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานตำรวจเพื่อเป็นหลักประกันในการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนและสังคมต่อองค์กรตำรวจ

อย่างไรก็ตาม นอกจากแนวทางการพัฒนาวิชาชีพตำรวจจะมีเพียงแค่สี่ประการข้างต้นแล้วยังมีอีกหลายส่วนที่จะต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คณะผู้วิจัยตั้งเป้าหมายว่า การพัฒนาองค์กรตำรวจนี้ไม่ใช่เพียงแค่ข้าราชการตำรวจเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ หรือไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรง หากองค์กรตำรวจได้รับความน่าเชื่อถือในด้านความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของตำรวจได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมในขณะเดียวกัน ตำรวจเองก็จะมีหลักประกันในด้านความเจริญก้าวหน้าด้วยผลงานตามระบบคุณธรรมมีเงื่อนไขการทำงานที่ดีและได้รับค่าตอบแทนอย่างสมเกียรติ ในขณะที่มีระบบตรวจสอบที่เข้มข้นเพื่อเป็นหลักประกันในการกำหนดค่าตอบแทนที่สูงเหมาะสมดังกล่าว สำหรับรายละเอียดนั้น จะได้กล่าวในส่วนต่อไป

ประการแรก

การพัฒนาองค์กรกำหนดนโยบายและการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเหมาะสม

1.สภาพปัญหาทั่วไป

เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างองค์กรตำรวจปัจจุบันที่มีขนาดใหญ่โตสลับซับซ้อน ในลักษณะองค์กรรวมศูนย์อำนาจเดี่ยวแล้ว ก็จะพบว่ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารงานตำรวจนั้นมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนจนถึงขนาดตำรวจทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ เช่นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นที่เข้าใจและรับทราบกันทั่วไปในวงการวิชาชีพตำรวจว่า กฎเกณฑ์ดังกล่าวมีไว้เพียงเพื่อปิดกั้นข้าราชการตำรวจที่ไม่มีเส้นสายในการเจริญก้าวหน้าเท่านั้นข้าราชการตำรวจที่มุ่งหวังความเจริญก้าวหน้าจึงวิ่งเข้าสู่ขั้วอำนาจทางการเมืองและผู้มีอำนาจในองค์กรเท่านั้นและบุคคลดังกล่าวก็จะประสบผลสำเร็จได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในขณะที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่หลักวิชาชีพตำรวจเพื่อประชาชน ก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าในอาชีพและเหนื่อยล้าลงไปทุกที จนกระทั่งยอมพ่ายแพ้ต่อระบบการวิ่งเต้นในที่สุด

2.แนวคิดในการแก้ไขปัญหา :การปรับปรุงองค์กรควบคุมนโยบายตำรวจและการบริหารงานบุคคล

เป็นที่ทราบกันว่า ปัจจุบันมี ก.ต.ช.และ ก.ตร. แต่ทั้งสององค์กร กลับไม่มีภูมิคุ้มกันจากภาคประชาชนและตกอยู่ในสภาวะการถูกครอบงำจนเกิดสภาพปัญหาการบริหารตำรวจอย่างกว้างขวาง

2.1 สถานะและความเป็นจริงขององค์กรการควบคุมการบริหารงานตำรวจ

ปัจจุบันองค์ประกอบของก.ต.ช. และ ก.ตร. ที่มีองค์ประกอบที่มาจากฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมืองทั้งสิ้นประกอบกับกรรมการ ก.ต.ช. ก็มีภาระประจำล้นมืออยู่แล้ว จึงไม่ศึกษาและเสนอแนะนโยบายระเบียบ กฎเกณฑ์ใด ๆ ในการบริหารราชการตำรวจให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมได้เลย ส่วน ก.ตร. นั้นก็มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงขององค์กรเป็นกรรมการจำนวนมากลักษณะโครงสร้างดังกล่าว จึงสะท้อนถึงสถานะของการเป็นพรรคพวกเดียวกันในการจัดสรรและกระจายประโยชน์เกื้อกูลกันเท่านั้น เนื่องจากโดยโครงสร้างก.ต.ช.นั้น ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในฝ่ายประจำย่อมไม่อาจจะมีมติขัดหรือแย้งกับความต้องการของฝ่ายการเมืองได้ ในขณะที่ ก.ตร.เองผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขององค์กรตำรวจ ก็ไม่อาจจะมีมติที่ขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจในการคัดเลือกผู้เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและให้คุณให้โทษได้ องค์กรดังกล่าวจึงมีลักษณะที่ไม่อาจจะกำหนดนโยบายทางการบริหารให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างแท้จริง

2.2การจัดองค์กรบริหารงานใหม่ที่เป็นกลางและมีหลักประกันการส่งเสริมวิชาชีพตำรวจ

คณะผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรจัดโครงสร้างองค์กรควบคุมการบริหารใหม่เรียกว่า คณะกรรมการควบคุมและติดตามการบริหารงานตำรวจ หรือ กก.ตร.

กก.ตร. นี้ จะต้องมีผู้แทนจากภาคประชาชนผ่านฝ่ายการเมืองและประชาชนโดยตรงซึ่งจะต้องไม่ใช่ข้าราชการตำรวจ เพื่อป้องกันมิให้ขัดกันซึ่งผลประโยชน์ (conflict of interest) ในลักษณะการขัดกันซึ่งผลประโยชน์เพราะโครงสร้าง (Structural Bias) และการขัดกันเพราะสถานะของแต่ปัจเจกชน เช่น กรณีผู้บังคับบัญชาระดับสูงเป็นกก.ตร. ด้วย ย่อมจะมีข้อครหาในด้านต่าง ๆ เช่นการแต่งตั้งโยกย้ายที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันหรือการละเว้นไม่ตรวจสอบการบริหารงานตำรวจซึ่งตนเองมีส่วนได้เสียอยู่ เป็นต้น คณะผู้วิจัยเห็นว่า ควรนำรูปแบบองค์กรควบคุมการบริหารงานตำรวจของญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่า The National Public Safety Commission [11] ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างองค์กรตำรวจที่คล้ายคลึงกันมาประยุกต์ใช้กับตำรวจไทยอย่างมากโดย กก.ตร. นี้ จะมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ซึ่งไม่มีอำนาจในการออกเสียงใดๆ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดสรรและแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีโดยได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการมีวาระ 5 ปี ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาจำนวนไม่เกิน 4 คน โดยจะต้องไม่เป็นหรือ ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการตำรวจหรือข้าราชการอัยการในระยะเวลา 5 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง นอกจากนี้กรรมการจะมาจากการเสนอชื่อของพรรคการเมืองเดียวกันเกินสองคนไม่ได้ ซึ่งจะสร้างความเป็นกลางทางการเมือง นอกจากนี้ยังสามารถขจัดปัญหาความขัดกันของสถานะข้างต้นไปได้ เนื่องจาก กก.ตร. นี้จะไม่มีองค์ประกอบจากผู้บังคับบัญชาขององค์กรตำรวจเลยจึงเป็นหลักประกันว่าจะสามารถลดระบบอุปถัมภ์ได้เป็นอย่างดี และสร้างความสง่างามให้กับผู้บริหารงานขององค์กรตำรวจในการตรวจสอบและประเมินการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ขัดกันโดยเชิงโครงสร้างด้วย

นอกจากจะมีกก.ตร. ในระดับชาติแล้ว ยังควรสร้างองค์กร กก.ตร. ระดับจังหวัดขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารงานตำรวจในระดับจังหวัดเช่นเดียวกับองค์กรตำรวจญี่ปุ่นที่มีคณะกรรมการ PrefecturalPublic Safety Commission ประจำแต่ละจังหวัด ทั้งนี้เพื่อให้ องค์กรตำรวจระดับจังหวัดมีความคล่องตัวและสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที กก.ตร.จังหวัดจะมีที่มาจากบุคลากรที่ได้รับการยอมรับนับถือและผ่านการคัดสรรและเห็นชอบจากวุฒิสภา ซึ่งจะประกอบด้วยกรรมการ 3 – 5 คนขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและขนาดของจังหวัด โดย กก.ตร. นี้จะต้องเป็นผู้เสนอแนะและเห็นชอบในการแต่งตั้งหัวหน้าตำรวจในระดับจังหวัดและผ่านความเห็นชอบของ กก.ตร. ระดับภาค ซึ่งผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าตำรวจจังหวัดจะต้องมีผลงานโดดเด่น ผ่านการประเมินความรู้และความสามารถ และความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ประกอบกัน สำหรับบทบาทของ กก.ตร.ในระดับจังหวัดนั้น จะมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและติดตามผลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ตำรวจภายในจังหวัดของตนโดยให้ถือเป็นเจ้าพนักงานและปฏิบัติงานเต็มเวลา

ภาพที่ 1 : แสดงองค์ประกอบของคณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยแห่งชาติและ คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยในระดับจังหวัด ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น

2.3แนวทางในการปรับปรุงกลไกให้สอดคล้องกับการสถาปนา กก.ตร.

1) ยุบเลิกก.ต.ช. และ ก.ตร. ให้มีเพียง กก.ตร. เพียงองค์กรเดียว ซึ่งทำงานเต็มเวลาและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายซึ่งจะต้องรับผิดตามกฎหมายอย่างรุนแรงหากใช้อำนาจโดยไม่ชอบ

2)กก.ตร. จะต้องประกอบด้วยกรรมการเพียง 5 คนมีทั้ง กก.ตร.ระดับชาติ และ กก.ตร. ในระดับจังหวัด โดยมีที่มาจากฝ่ายการเมืองโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีตัวแทนฝ่ายการเมืองที่คัดเลือกกันเองอีกไม่เกิน 2คน ซึ่งจะเป็นนักการเมืองและเป็นข้าราชการหรือประกอบอาชีพที่ขัดแย้งผลประโยชน์ในการปฏิบัติงานของตำรวจไม่ได้นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย ฝ่ายประชาชนที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกโดยตรงและผ่านคณะกรรมการตรวจสอบประวัติ และสรรหาจากสภาผู้แทนราษฎรอีก 2 คน โดยกระบวนการตรวจสอบประวัติการสัมภาษณ์และการจะต้องมีการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์

3)ประธาน กก.ตร. ไม่มีอำนาจหน้าที่ใด ๆนอกจากการเสนอความคิดเห็นและการนำเสนอนโยบายให้ กก.ตร.เห็นชอบเว้นแต่กรณีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธาน กก.ตร. ชี้ขาด

4)การผลักดันนโยบายให้ดำเนินการโดยการแต่งตั้ง อนุกรรมการขึ้นมาโดยจะต้องมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ เป็นที่ประจักษ์และจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาเช่นเดียวกัน

5)สำนักงานฝ่ายเลขานุการ ให้ยกสถานะ สำนักงาน ก.ต.ช. ในปัจจุบัน กับสำนักงาน ก.ตร. รวมกันให้เป็นอิสระจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาขึ้นในบังคับบัญชาของ กก.ตร. อย่างเด็ดขาดโดยผู้บริหารและข้าราชการในสังกัดสำนักงานเลขานุการ กก.ตร.จะมีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือน (Civilian Officers) ที่สังกัดกก.ตร. มีระเบียบบริหารราชการ เงินเดือนและกำลังพลเป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้สำนักงานนี้ ขนาดกะทัดรัดและมีสถานะสูงกว่าหรือเทียบเท่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อให้สามารถควบคุมและประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6)ให้ยุบองค์กรในส่วนกองบัญชาการต่าง ๆ ลงไประดับปฏิบัติงาน ให้มี กก.ตร.จังหวัดควบคุมการบริหารงานข้าราชการตำรวจในจังหวัดนั้นๆ อย่างมีเอกภาพ ซึ่งจะทำให้การบริหารราชการตามนโยบาย กก.ตร.ระดับชาติเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ให้เปลี่ยนแปลงสถานะ ผู้บัญชาการภาคเป็นผู้ตรวจราชการพร้อมกับการปรับเกลี่ยกำลังพลในระดับสูงในตำแหน่งที่ซ้ำซ้อนลงสู่การปฏิบัติงานในระดับจังหวัดให้มากที่สุด

กล่าวโดยสรุป เมื่อเปรียบเทียบกับการโครงสร้างควบคุมการบริหารงานตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน(ปรับปรุงโครงสร้างล่าสุด ปี พ.ศ.2552 )จะเห็นได้ว่ามีองค์กรควบคุมการบริหารงาน 2 องค์กร ได้แก่ก.ต.ช. และ ก.ตร. และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานทั้งเป็นกองบัญชาการและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ ก.ตร. และ ก.ตร. รวมถึงการตรวจสอบภายในและรับเรื่องร้องเรียนก็อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งถือว่าขัดกับหลักการจัดองค์กรที่ต้องสร้างความสมดุลและตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กัน ดังนี้




หน่วยงานสังกัดสำนักผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เช่น สำนักงาน ก.ตร., สง.ก.ต.ช., หน่วยงานตรวจสอบภายในและรับเรื่องราวร้องทุกข์ ฯลฯ


คณะผู้วิจัยได้เสนอว่า ควรรวม ก.ต.ช. และก.ตร. เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาองค์กร กก.ตร. ขึ้นใหม่ ที่มีความเหมาะสม เล็กกะทัดรัด และมีความรับผิดชอบสูง ปฏิบัติงานเต็มเวลา พร้อมปรับปรุงหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยเชื่อว่าโครงสร้างขององค์กรจะเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้นจึงต้องแยกหน่วยงานธุรการของ ก.ต.ช. และ ก.ตร.รวมถึงหน่วยงานตรวจสอบภายในและหน่วยรับเรื่องราวร้องทุกข์มิให้ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่จะต้องขึ้นตรงต่อ กก.ตร. ในระดับชาติโดยองค์กรเหล่านี้ จะไม่เป็นข้าราชการตำรวจ แต่จะเป็น Civilian officer ที่มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อ กก.ตร.ที่เป็นอิสระจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยจะมีโครงสร้าง ดังนี้




กองบัญชาการเฉพาะทาง และ หน่วยงานสังกัดสำนักผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (เดิม) ยกเว้น สง. ก.ตร., สง.ก.ต.ช., หน่วยงานตรวจสอบภายในและรับเรื่องราว ร้องทุกข์ ฯลฯ


3. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

เมื่อมีการพัฒนาองค์กรกำหนดนโยบายและการกำหนดโยบายการบริหารงานตำรวจทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัดอย่างใกล้ชิดโดยมีความยึดโยงระหว่างภาคประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาโดยวุฒิสภาเห็นชอบแล้ว ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและการตรวจสอบประวัติอย่างเข้มข้นแล้ว องค์กรนี้จะสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานของตำรวจให้มุ่งเข้าสู่ความเป็นวิชาชีพที่น่าเคารพศรัทธาโดยจะต้องมีสำนักงาน กก.ตร. เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งจะฝ่ายสนับสนุนทางวิชาการและเป็นฝ่ายตรวจสอบการทำงานของตำรวจที่มีการร้องเรียนเข้ามาเสมือนหนึ่งเป็นองค์กรอิสระแยกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระบวนการสืบสวนสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นหลักประกันความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนที่ร้องเรียนเข้ามาว่าตำรวจจะไม่ช่วยเหลือกันปกปิดความไม่ดีงามแล้วทำให้ทั้งตำรวจที่ดีเสื่อมเสียไปด้วย พร้อมกับการลดน้อยถอยหลังของความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อตำรวจอย่างถาวรในที่สุด

นอกจากนี้ เมื่อมีองค์กร กก.ตร.ขึ้นมาแล้ว ย่อมจะต้องมีการสร้างหลักประกันให้ตำรวจดำรงตนได้อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรี มีระบบค่าตอบแทนที่ดี พร้อมกับระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งและระบบสนับสนุนการทำงานที่มีพร้อมเพรียง ซึ่งจะได้นำเสนอในบางประเด็นในส่วนต่อไป

ประการที่สอง

การกำหนดระบบการบริหารงานภายในเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายให้เป็นธรรมและมีความโปร่งใส

แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ยังมีข้อครหาเกี่ยวกับการใช้ระบบอุปถัมภ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานการแต่งตั้งโยกย้ายที่ปราศจากความยุติธรรม โดย.ตร. เป็นเพียงตรายางเท่านั้น แม้ว่าภายหลังปี พ.. 2541 ได้มีการปรับปรุงองค์กรตำรวจโดยโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ .. 2547 และได้มีการตรา กฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจพ.ศ.2549 ขึ้นมาแล้วก็ตามแต่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจก็ยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงสภาพปัญหาการโยกย้ายที่ไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม รวมถึงปัญหาการซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้งในวาระประจำปี พ.ศ.2551-2553 จำนวนมาก และรวมถึงการเพิกถอนการแต่งตั้งที่ไม่ชอบธรรมโดยศาลปกครอง

คณะผู้วิจัยมีความเชื่อว่าหากมีระบบคุณธรรม เช่น มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและโปร่งใสตรวจสอบได้จากภาคประชาชน ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านั้นมีความเจริญก้าวหน้าตามผลการปฏิบัติงานอันจะทำให้ข้าราชการตำรวจมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน ด้วยเหตุผลดังกล่าว หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความประสงค์จะพัฒนาต้นทุนมนุษย์ขององค์กรตำรวจให้มีความลักษณะตำรวจอาชีพอย่างแท้จริงแล้วก็จะต้องเริ่มจากการจัดทำตัวชี้วัดที่ชัดเจน ทำให้การแต่งตั้งเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้ายเป็นไปด้วยความโปร่งใสตามกติกาที่เป็นธรรม เสมอภาครวมทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการปฏิบัติงานโดยนำผลความพึงพอใจของประชาชนหรือลูกค้าที่รับบริการเข้ามาพิจารณาเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยคณะผู้วิจัยขอเสนอหลักการสำคัญ ๆ ดังนี้

1. การสรรหาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอาจกำหนดให้มีทางเลือกในการคัดเลือกจากผู้สมัครใจเข้ารับการคัดเลือกจากภายนอกองค์กรตำรวจโดยคำนึงถึงปัจจัยเรื่องประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และความสำเร็จในการปฏิบัติงานในอดีตมาประกอบกันโดยมีคณะกรรมการคัดเลือกที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาและมีกระบวนการสรรหาที่ชัดเจนมีระบบการสัมภาษณ์ซักถามประวัติและแนวคิดในการบริหารราชการตำรวจและการให้บริการแก่สังคมถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุเพื่อกำหนดให้เป็นพันธะสัญญาในการปฏิบัติงานต่อประชาชน ทั้งนี้ระบบเปิดจะไม่ปิดโอกาสที่จะคัดเลือกจากข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ราชการแต่จะต้องผ่านกระบวนการสัมภาษณ์เช่นเดียวกัน

2.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ระบบตำแหน่งตำรวจในปัจจุบันให้มีสายการบังคับบัญชาสั้นลงโดยตัดโอนตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคให้เป็นตำแหน่งผู้ตรวจราชการภาค มีระดับตำแหน่งเทียบเท่าผู้บัญชาการเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอในส่วนของโครงสร้างซึ่งจะมีการยุบกองบัญชาการตำรวจภูธรภาคลง เพราะปัจจุบันมีสายการบังคับบัญชายาวเกินไปทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารราชการ อีกทั้งในปัจจุบันสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานถ่ายทอดนโยบายและคำสั่งจากส่วนกลางลงสู่ระดับจังหวัดได้อย่างรวดเร็วแล้วองค์กรในระดับภาคจึงไม่มีความจำเป็นเมื่อทำการปรับปรุงองค์กรในระดับภาคแล้วก็จะสามารถเกลี่ยกำลังพลที่ขาดแคลนลงสู่ระดับปฏิบัติได้ทั้งนี้ จำนวนผู้ตรวจราชการดังกล่าวจะต้องมีไม่เกิน ๑๐ คน ในอนาคตโดยเมื่อข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคเกษียณอายุราชการไปตำแหน่งดังกล่าวก็จะถูกปรับลดลงไปเป็นอัตราชั้นประทวนเพื่อนำกำลังไปปฏิบัติงานให้บริการแก่ประชาชนต่อไป สำหรับผู้ตรวจราชการภาคนั้นจะมีหน้าที่รับผิดชอบประสานนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและประสานการปฏิบัติของตำรวจในแต่ละเขตจังหวัดหากมีความจำเป็น

นอกจากนี้ ยังจะต้องปรับเปลี่ยนระบบตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรให้ไปทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดในอัตราที่เกษียณและตำแหน่งดังกล่าวจะหมดไปในอนาคต ทั้งนี้ จะต้องมีการปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในระดับตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลงไปถึงระดับปฏิบัติการให้มีสิทธิประโยชน์สูงขึ้นและสามารถเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ตรวจราชการภาค รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามขีดความสามารถ

ส่วนหน่วยเฉพาะทางจะต้องปรับปรุงให้มีขนาดเล็กและกะทัดรัดมีสมรรถภาพสูง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจภูธรจังหวัดเป็นสำคัญและเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับจังหวัดนั้น

3. การแต่งตั้งโยกย้ายจะกระทำได้ในเขตจังหวัดนั้นหรือ ภายในกองบัญชาการของเฉพาะทางนั้น หรือระหว่างหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเท่านั้น จะโยกย้ายข้ามจังหวัดและข้ามกองบัญชาการไม่ได้อีกต่อไปเว้นแต่ ในการแต่งตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจเฉพาะ

4.ปรับปรุงการแต่งตั้งให้สอดคล้องกับข้อเสนอในส่วนของโครงสร้างองค์กรตำรวจใหม่ดังนี้

4.1 การแต่งตั้งหัวหน้าตำรวจจังหวัดให้ต้องเป็นข้อเสนอของ กก.ตร. จังหวัดและเสนอให้ กก.ตร. ระดับชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับรองหัวหน้าตำรวจจังหวัดลงไปจนถึงระดับรองสารวัตรนั้น ให้นำ กฎ.ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจพ.ศ.2549 มาประยุกต์ใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจะผ่านการทดสอบความรู้ทางวิชาการโดยให้นำคะแนนการทดสอบความรู้ทางวิชาการโดยองค์กรภายนอกมาคิดเป็นสัดส่วนแบบผกผันผสมกับคะแนนอาวุโส ความรู้ความสามารถ และผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีระบบให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การให้คะแนนภาควิชาการ อาจให้น้ำหนักในแต่ละระดับตำแหน่งแตกต่างกันทั้งนี้เพราะ ผู้บริหารในระดับสูงย่อมจะต้องมีเทคนิคทางบริหารและภาวะผู้นำที่สูงขึ้น คะแนนความเหมาะสมก็จะต้องมีอัตราส่วนที่สูงขึ้นดังนั้น คะแนนสอบความรู้ทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับเป็นสารวัตรก็จะมีอัตราที่สูงกว่าการเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการ และคะแนนทางวิชาการจะมีน้ำหนักน้อยลงไปสำหรับการเลื่อนในระดับตำแหน่งสูงขึ้น โดยคะแนนสำหรับผลการปฏิบัติงานจะมีน้ำหนักมาก ขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติอาจจะกำหนดสัดส่วนของผู้มีอาวุโสไว้ด้วยก็ได้ แต่ผู้มีอาวุโสเหล่านั้นก็จะต้องผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีเช่นเดียวกัน หากข้าราชการตำรวจที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกได้คะแนนทางวิชาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะไม่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเลย เป็นต้น

4.2 ระบบการแต่งตั้งในระดับรองหัวหน้าตำรวจลงไปให้เป็นอำนาจของหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดในการพิจารณาเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของกก.ตร.จังหวัด โดย กก.ตร. จังหวัดอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาผลการปฏิบัติ ทัศนคติ ค่านิยมและความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าว และเสนอชื่อข้าราชการตำรวจที่ไม่อยู่ในบัญชีของหัวหน้าตำรวจขึ้นพิจารณาเปรียบเทียบได้ หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ ให้ส่งให้ กก.ตร.ระดับชาติพิจารณาชี้ขาด

4.3 การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกหลายประการซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติอาจจะต้องพิจารณาในรายละเอียด เช่น การกำหนดแท่งหรือสายงานเฉพาะแยกจากกันตามความชำนาญเฉพาะด้าน(Specialization) เป็นต้นว่า การแยกสายงานสืบสวนสอบสวนและสายงานป้องกันปราบปรามออกจากกัน โดยสายงานป้องกันปราบปรามอาจจะรวมเอาสายงานจราจรและอำนวยการเข้าด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยหากเห็นว่าการรวมเอาสายงานจราจรป้องกันปราบปรามและอำนวยการเข้าด้วยกันแล้วก็อาจจะเกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและการสับเปลี่ยนกำลังพลได้สะดวกและเป็นประโยชน์กับประชาชนยิ่งกว่า

อย่างไรก็ตามข้อเสนอข้างต้น จะต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547หลายประการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นปนิธานที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมือง ดังนั้นในกรณีที่ยังไม่อาจจะแก้ไขพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 แนวทางการแก้ไขปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ อาจจะพิจารณาดำเนินการดังนี้

1.การสร้างค่านิยมและจริยธรรมของฝ่ายการเมืองที่กำกับการบริหารราชการตำรวจให้เคารพในวิชาชีพตำรวจโดยอาจจะกำกับนโยบายในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ แต่จะต้องไม่เข้าแทรกแซงการบริหารงานบุคคลภายในขององค์กรตำรวจในทุกรูปแบบโดยในอนาคตหากผลักดันให้เกิด กก.ตร. ขึ้นมาแล้วก็จะทำให้ฝ่ายการเมืองเข้ามากำหนดนโยบายได้ แต่ไม่อาจเข้ามาแทรกแซงการปฏิบัติงานใดๆ ได้

2.เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องยึดหลักเกณฑ์ตาม กฎ.ก.ตร.ฯ ปี พ.ศ.2549 โดยเคร่งครัดโดยนำหลักเกณฑ์อาวุโสมาพิจารณาประกอบอย่างมีนัยสำคัญโดยจะต้องมีการจัดลำดับเรียงตามรายชื่อผู้เหมาะสมในการเลื่อนตำแหน่งตามลำดับอาวุโสและนำผลการปฏิบัติงานมาแสดงเป็นรายบุคคล ตลอดจนอาจจะกำหนดหลักเกณฑ์อื่น ๆ ประกอบ เช่นการวัดคะแนนความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ การประเมินจากผู้ใต้บังคับบัญชา การทดสอบภาควิชาการซึ่งในปัจจุบันว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างยิ่งตำรวจจึงต้องมีความรู้ทั้งภาคปฏิบัติและภาควิชาการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากผู้มีอาวุโสในลำดับต้นมีความรู้ความสามารถ และผ่านเกณฑ์ทดสอบทางวิชาการ และไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ ก็ควรจะต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่งก่อนในอัตราส่วนที่ไม่เกินที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน คือ ไม่น้อยกว่าร้อย 33 อย่างแท้จริง โดยคิดคำนวณจากอัตราหน่วยที่ในกองบัญชาการนั้น ๆเป็นสำคัญ โดยจะต้องใช้ในอัตราร้อยละ 33นี้ ตั้งแต่ระดับ รองสารวัตร จนถึงระดับรองผู้บัญชาการเพื่อให้เกิดความแน่นอนว่า การเลื่อนตำแหน่งใด ๆจะต้องพิจารณาจากบุคลากรในกองบัญชาการนั้น ๆ เป็นสำคัญ ซึ่งกรณีนี้จะเป็นการสอดคล้องกับมาตรา 54แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่กำหนดให้การเลื่อนตำแหน่งจะต้องคัดเลือกจากตำรวจที่อยู่ในกองบัญชาการนั้นๆ เท่านั้น การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นข้ามกองบัญชาการจึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 อย่างชัดแจ้ง

3. ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 ตามข้อเสนอในส่วนที่ 1 นั้น จะต้องการแก้ไขกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจที่สร้างปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลในแต่ละภาคให้ชัดเจน โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (.ตร.) ประจำทุกภาค และกองบัญชาการเฉพาะทางขึ้นมาให้ชัดเจน

เนื่องจาก“การจัดทำบัญชีสรรหา” พบว่ามีปัญหาในกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจแทบทุกระดับและจากการวิเคราะห์ปัญหาของกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจพบว่า การจัดทำบัญชีสรรหา นับว่าเป็นต้นธารที่สำคัญด้วยเหตุที่ว่ารายชื่อของผู้ที่มีคุณสมบัติทุกคนจะได้รับการสรรหาเข้าไปอยู่ในกลุ่มผู้ที่เหมาะสมหรือไม่? อย่างไร? เพราะการใช้หลักเกณฑ์พิจารณาสรรหาไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์อาวุโสเป็นหลักสำคัญอย่างเดียวเพราะการใช้บัญชีสรรหาพิจารณาตามความเหมาะสมแล้วคัดเลือกตัด 50% ดังนั้นอาวุโส 33% เป็นการนำมาพิจารณาภายหลังจากการพิจารณาความเหมาะสม เป็นต้น

สำหรับที่มาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจภาคมีประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ บุคคลใดสมควรเป็น ก.ตร.ภาค หรือกองบัญชาการ อาจจะต้องพิจารณาในประเด็นความเป็นกลางหรือความสมดุลทางการเมืองและตัวแทนจากภาคประชาชนที่ได้รับความเคารพนับถือ แต่จะต้องเป็นองค์กรที่มีขนาดเล็กและได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และจะต้องมีความรับผิดตามกฎหมายในฐานะเป็นเจ้าพนักงานด้วย

สรุป

คณะผู้วิจัยได้เสนอไว้ใน 2 ลักษณะ กว้าง ๆโดยไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก ในรูปแบบแรก เป็นการเสนอให้สอดคล้องกับแนวทางที่คณะผู้วิจัยเชื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กรตำรวจ และเกิด กก.ตร.ขึ้นตามแนวทางที่กล่าวไว้ในส่วนที่ 1 แล้วก็จะทำให้สายการบังคับบัญชาของตำรวจสั้นลงและมีการกระจายอำนาจลงไปในระดับจังหวัดมากขึ้น ดังนั้น กก.ตร. จังหวัดก็จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายตลอดจากติดตามการบริหารงานตำรวจให้สอดคล้องกับหลักการ “ตำรวจของประชาชน”อย่างจริงจัง

ส่วนในตัวแบบที่สองเป็นการประยุกต์นำหลักเกณฑ์ที่มีอยู่มาผสมผสานกับแนวคิดเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างจริงจังตลอดจนจะต้องวัดความพึงพอใจของประชาชนและวัดความรู้ความสามารถภาคทฤษฎีของผู้ที่เหมาะสมจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งดังกล่าวด้วยโดยนำ กฎ ก.ตร. ฯ ปี พ.ศ.2549 มาประยุกต์ใช้ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขในรายละเอียดอีกมากพอสมควร และจะต้องมีการศึกษาในรายละเอียดกันต่อไป

สำหรับการพัฒนาองค์กรตำรวจในประการอื่น เช่น การกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และการสร้างระบบการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานตำรวจเพื่อเป็นหลักประกันในการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนและสังคมต่อองค์กรตำรวจ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากมีการกำหนดค่าตอบแทนที่สูงเพียงพอและมีการตรวจสอบและควบคุมกำกับที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพแล้วก็จะเกิดประโยชน์อย่างสูงต่อสังคม ซึ่งคณะผู้วิจัยได้เสนอคร่าว ๆ ไปแล้วในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะผู้วิจัยจะได้นำเสนอในรายละเอียดต่อสาธารณชนในโอกาสหน้า

อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตำรวจจะต้องช่วยกันขบคิดว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ตำรวจเองได้ดำรงอยู่อย่างมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยรวม ซี่งท้ายที่สุด ประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรงหากประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบตำรวจได้ ให้คุณให้โทษตำรวจได้ และตอบแทนคุณงามความดีของตำรวจได้ ภายใต้มาตรการที่เหมาะสมและสมดุล



[1] ประเสริฐ เมฆมณี, ประเสริฐ เมฆมณี, ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม, 2523 หน้า 61

[2] ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, การบริหารงานตำรวจ, 2530หน้า 131-33

[3] เรื่องเดียวกัน, หน้า 134

[4] เพิ่งอ้าง, หน้า147-50

[5] คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้มีผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4คน ซึ่งมาจากเสนอของนายกรัฐมนตรีจากผู้เชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย การงบประมาณการพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ โปรดดู มาตรา 17ประกอบมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

[6] โปรดดูรายละเอียดใน รายงานฉบับสมบูรณ์ :การพัฒนาระบบงานตำรวจและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบงานตำรวจโดยคณะกรรมกาพัฒนาระบบงานตำรวจ กุมภาพันธ์ 2551, กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2551

[7] DorthyGuyot, POLICING as though People Matter, Philadelphia: Temple University Press,1991, 6-7

[8] A Handbook for oversightof police in South Africa, “The Police that We Want”, [Online]. availableat: //www.policeaccountability.co.za/home/ , (Lastvisited February 15, 2012)

[9] International Peace Academy,Challenges in Police Reform: Promoting Effectiveness and Accountability, [Online]. Available at: //www.peacekeepingbestpractices.unlb.org/pbps/Library/Challenges%20in%20Police%20Reform.pdf,(Last visited February 15, 2012)

[10] THE OECD DACHANDBOOK ON SECURITY SYSTEM REFORM (SSR) : SUPPORTING SYSTEM SECURITY ANFJUSTICE, [Online]. Available at, //www.oecd.org/dataoecd/43/25/38406485.pdf,(Last visited February 15,2012)

[11] ที่มา Police of Japan 2009, available at,




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2559    
Last Update : 21 สิงหาคม 2559 9:48:32 น.
Counter : 4345 Pageviews.  

ร่างบันทึกแนะนำในการปฏิบัติเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ

เนื่องจากช่วงนี้ มีปรากฎการณ์กำลังฮิต คือ การเสนอแช่แข็งประเทศไทย  จึงเห็นว่ามีส่วนที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะต้องไปเกี่ยวข้องอย่างมากมาย  กระผมจึงได้ร่างบันทึกแนะนำในการปฏิบัติเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะไว้บางส่วน .... แต่ยังไม่ได้ออกมาเป็นบันทึกสั่งการ ตร. 

อย่างไรก็ตาม  แนวทางนี้ ได้สรุปมาจากหนังสือคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จึงน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง  เลยถือโอกาสนำมาเผยแพร่ ดังนี้ 






                         บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ   กองกฎหมาย   สำนักงานกฎหมายและคดี 

ที่ ๐๐๑๑.๑๔/ วันที่ สิงหาคม๒๕๕๕

เรื่อง แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและการจัดการการชุมนุม

ผบช.น.,ก., ส., ภ.๑-๙, และ ศชต.


เนื่องจากตร. มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยส่วนรวม ในขณะที่ประชาชนมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเปิดเผยและปราศจากอาวุธเพื่อแสดงความคิดเห็น เสนอข้อเรียกร้อง หรือต่อต้านการบริหารราชการของรัฐบาลซึ่งเสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดได้โดยกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะได้ใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามนัย มาตรา๖๓ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติเพื่อใช้ในการจัดการชุมนุมสาธารณะแต่ประการใดทำให้ ตร. ประสบความยากลำบากในการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการชุมนุมสาธารณะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องใช้กำลังในการยุติการชุมนุม

เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายและหลักกฎการใช้กำลัง(Rule of Engagement) ศปก.ตร. จึงได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายกับการชุมนุมโดยฝ่าฝืนกฎหมายสำหรับในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจกจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ กม. ใน //www.tsd.police.go.th ในเอกสารลำดับที่ ๓๑ แล้วแต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการชุมนุมสาธารณะจึงกำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้

๑.เจ้าหน้าที่ตำรวจพึงระลึกว่าประชาชนย่อมมีเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในการชุมนุมโดยสงบเปิดเผยและปราศจากอาวุธ ในขณะเดียวกันการใช้เสรีภาพดังกล่าวก็จะต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอื่นจนเกินสมควรเช่น สิทธิและเสรีภาพในการเดินทางและสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองที่ดำรงชีวิตเป็นปกติสุขดังนั้น การใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ขัดต่อหลักการดังกล่าวจึงถือเป็นการชุมนุมที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ เช่นการชุมนุมเพื่อปิดล้อมประตูเพื่อมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าออกที่ทำการการใช้ไม้รั้วลวดหนาม ยางรถยนต์ราดน้ำมันขวางถนนไว้เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพจนไม่กล้าที่จะเข้าไปหรือออกจากที่ทำการราชการอันเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นย่อมไม่ถือว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตามนัยคำพิพากษาศาลปกครอง ที่ ๑๖๐๕/๒๕๕๑ ลง ๙ ต.ค.๕๑

๒.ในกรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการชุมนุมที่สงบอันจะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญาและการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๖ (๓) และ (๔) ย่อมมีอำนาจที่จะยุติการชุมนุมได้โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่จะเป็นและเหมาะสมตามหลักสากลที่ใช้ในการยุติการชุมนุมของประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อให้ภารกิจในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

๓.ในภาวะปกติที่ยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น โดยปกติย่อมเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและก่อนที่จะมีการใช้กำลังตามกฎการใช้กำลังในการยุติการชุมนุม ผู้รับผิดชอบเหตุการณ์จะต้องเตรียมการดังนี้

๓.๑การสืบสวนและสอบสวนเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์และการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายต่างๆ (รายละเอียดปรากฏตาม คู่มือหน้า ๑๙ – ๒๖) ในภายหลัง ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ในการระหว่างการชุมนุมอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการจับกุมผู้กระทำผิดดำเนินคดีในทันทีซ้ำยังก่อให้เกิดการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ จึงต้องดำเนินการพิจารณาจัดตั้งห้องปฏิบัติในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสั่งการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลอดจนการอำนวยการแฝงตัวเพื่อหาข่าวตลอดจนจัดให้มีการจัดเก็บพยานหลักฐานในการดำเนินคดีเมื่อสถานการณ์เหมาะสมในภายหลังได้โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่บันทึกภาพและเสียงคำปราศรัย ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆในระหว่างการชุมนุม โดยการบันทึกข้อเท็จจริงให้ต่อเนื่องโดยไม่ตัดต่อเท่าที่จะทำได้รวมถึงการจัดให้มีการประชาสัมพันธ์หรือปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (Information Operation) เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบและเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชุมนุมและแนวทางปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

๓.๒การแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนและการรวบรวบพยานหลักฐาน ให้ดำเนินการเมื่อพิจารณาเห็นว่าการดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนท้องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนระดับบก. บช. หรือ เสนอให้ ตร. แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (รายละเอียดปรากฏตามคู่มือ หน้า ๕๒ – ๕๖)

๓.๓การจับกุมและการควบคุม เมื่อมีการจับกุมผู้กระทำผิดแล้วให้พิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาสถานที่ควบคุมตัวผู้กระทำผิดให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและขีดความสามารถในการป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายจากการจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งปกติจะควบคุมที่สถานีตำรวจแห่งท้องที่นั้นแต่ถ้าพิจารณาแล้วการควบคุมตัวจะทำให้เกิดความความไม่ปลอดภัยหรือผู้ต้องหามีจำนวนมาก ก็ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อใช้สถานที่อื่นในการควบคุมตัวผู้กระทำผิดเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.ระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๖ บทที่ ๒ ข้อ ๑๓๙ (รายละเอียดปรากฏตาม คู่มือ หน้า ๕๖ – ๕๗ )

๓.๔การสรุปสำนวนการสอบสวน การทำความเห็นทางคดี และ สืบพยานล่วงหน้าเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐอำนาจการสั่งคดีเป็นของ ผบ.ตร. จึงให้ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน สรุปมีความเห็นเสนอผบ.ตร. ต่อไป ในกรณีที่จำเป็นต้องคุ้มครองพยานหรือสืบพยานไว้ล่วงหน้าเนื่องจากพยานมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศหรือทางคดีมีลักษณะยุ่งยากหรือจะมีการทำลายพยานหลักฐาน หรือข่มขู่พยาน ก็ให้พนักงานสอบสวนประสานงานยังพนักงานอัยการเพื่อพยานไว้ล่วงหน้าและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนติดตามผลคดีอย่างต่อเนื่อง ( รายละเอียดปรากฏตาม คู่มือ หน้า ๕๗-๕๘)

๔.ในกรณีที่จะต้องมีการใช้กำลังเพื่อยุติการชุมนุม ให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ประเมินสถานการณ์และสั่งให้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนการของการใช้กฎการใช้กำลังโดยเคร่งครัดซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีไป โดยอาจจะสรุปขั้นตอนได้ ดังนี้

๔.๑การเจรจา และขอความร่วมมือให้ชุมนุมโดยสงบ และไม่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งจะเรียกว่า“แนวเจรจาขั้นสุดท้าย”

๔.๒ประชาสัมพันธ์ และแจ้งเตือนให้ทราบขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ทุกขั้นตอน โดยการใช้เครื่องขยายเสียงและป้ายคำเตือนประกอบการใช้เครื่องขยายเสียงนั้น โดยจัดทำป้ายประกาศต่อผู้ชุมนุมและบันทึกภาพและเสียงประกอบกันไว้ เช่น 

โปรดชุมนุมโดยสงบ,การปิดเส้นทางจราจร ถือว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ, 

การปิดกั้นหรือกระทำการขัดขวางการเข้าออกสถานที่ราชการถือเป็นการชุมนุมไม่สงบ, 

ห้ามผู้ชุมนุมรุกล้ำเข้าไปในสถานที่ราชการ, 

หากรุกล้ำเข้าสถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องใช้มาตรการเพื่อยุติการยุติการชุมนุม ฯลฯ ”


๔.๓เมื่อได้แจ้งเตือน ภายหลังขั้นตอน “แนวเจรจาขั้นสุดท้าย” แล้ว อาจจะการกระทบกระทั่งระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องยึดหลักว่า การใช้กำลังจะต้อง “กระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่นตามสมควรและได้หลักสัดส่วนของภยันตรายเท่านั้น” โดยแถวแนวของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องห่างจากแนวผู้ชุมนุมไม่น้อยกว่า ๒๕ เมตรเพื่อให้เป็นไปตามระยะปลอดภัยในการใช้สารเคมีภัณฑ์ เช่น แก๊สน้ำตา ส่วนการใช้อาวุธปืนในการป้องกันตนเองนั้นให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่นแต่เฉพาะภยันตรายที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตและใกล้จะถึงเท่านั้น และในการยิงด้วยอาวุธปืนจะต้องยิงในจุดที่ไม่ทำให้ผู้ชุมนุมอาจเสียชีวิตได้เท่านั้น

ก่อนการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องประกาศให้ยุติการชุมนุม มิฉะนั้นจะเป็นความผิดตาม ป.อาญามาตรา ๒๑๖ และ จะมีการใช้กำลังในการยุติการชุมนุมต่อไป สำหรับการใช้กำลังจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

(๑)การแสดงกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการจัดรูปขบวนประกอบโล่และกระบอง ต่อผู้ชุมนุม

(๒) การใช้คำสั่งเตือนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยการประกาศและป้ายข้อความประกอบกัน

(๓)การใช้มือเปล่าจับกุม หรือมือเปล่าจับล็อกบังคับ

(๔)การใช้เครื่องพันธนาการ ปืนยิงตาข่าย

(๕)การใช้คลื่นเสียง ซึ่งจะต้องเปิดดังไม่เกิน ๑๖๐ เดซิเบลเพื่อมิให้เกิดอันตรายเกินสมควร

(๖)การใช้น้ำฉีด โดยการฉีดลงพื้น หรือฉีดใส่ตัวผู้ชุมนุมแต่จะต้องระมัดระวังมิให้ฉีดในบริเวณที่บอบบางของร่างกาย เช่น ดวงตา เป็นต้น

(๗) การใช้อุปกรณ์เคมี เช่น แก๊สน้ำตา สเปรย์พริกไท ทั้งนี้การใช้แก๊สน้ำตา จะต้องเริ่มจากปริมาณน้อย เพื่อให้ผู้ชุมนุมแตกกระจายตัวออกจากกันแล้วจึงเริ่มใช้แก๊สน้ำตาในปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ การขว้างแก๊สน้ำตา จุดตกของแก๊สจะต้องห่างจากฝูงชนในกรณีที่เป็นที่คับแคบ อากาศไม่ถ่ายเท ไม่ควรใช้แก๊สน้ำตา และจะหลีกเลี่ยงไม่ขว้างใส่บุคคลโดยตรง

(๘)การใช้กระบอง หรืออุปกรณ์การตีซึ่งจะต้องไม่ตีในจุดสำคัญที่อาจทำให้ผู้ถูกตีเสียชีวิตได้

สำหรับรายละเอียดวิธีการปฏิบัตินั้นของกองบัญชาการ กองทัพภาคที่ ๑ กองทัพบก จะมีรายละเอียด ดังนี้

(๑)กฎการใช้กำลังของทหาร มี ๓ ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ๑) เจรจา ๒) แจ้งเตือน และ ๓)การใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก

(๒)มาตรการจากเบาไปหาหนัก เมื่อมีการชุมนุมไม่งบให้ดำเนินการ ๗ ขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก ได้แก่ ๑) การจัดรูปขบวนประกอบโล่ กระบอง ๒)การแจ้งเตือนผู้ชุมนุมให้ทราบถึงขึ้นตอนว่าจะมีการใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม ๓)การใช้โล่ผลักดันผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ๔) การใช้คลื่นเสียงและการใช้น้ำฉีด ๕)การใช้อุปกรณ์เคมี หรือแก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ๖) การใช้กระบอง และ ๗)การใช้กระสุนยางที่ยิงจากปืนลูกซอง

(๓)ขั้นตอนการใช้กำลัง จากข้อ (๒) ใน ๑) – ๔) เป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ที่จะต้องตัดสินใจ ส่วนการใช้มาตรการ ข้อ (๒) ใน ๕) – ๗)เป็นหน้าที่หน้าที่ของผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการใหญ่ ทั้งนี้เพื่อดำเนินการในแต่ละขั้นตอนเสร็จสิ้นลงจะต้องมีการแจ้งเตือนผู้ชุมนุมถึงขั้นตอนการปฏิบัติต่อไปทุกครั้ง

๕.กรณีที่สถานการณ์รุนแรง จนรัฐบาลประกาศสถานการณ์ความมั่นคงหรือสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วให้ถือปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายและสอดคล้องกับหลัก นิติรัฐและนิติธรรม สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตาม คู่มือ หน้า๒๖ – ๕๐

อนึ่งในการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการใด ๆ ผู้บังคับบัญชาจะต้องคำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหลักผลประโยชน์สาธารณะของรัฐโดยส่วนรวม การใช้มาตรการใด ๆ ตามกฎหมาย จึงจำต้องสอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมายหลักสัดส่วน และหลักความรุนแรงน้อยที่สุดที่มาตรการดังกล่าวยังสามารถทำให้รักษาผลประโยชน์สาธารณะของรัฐไว้ได้ มาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงเป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการดำเนินการให้สอคล้องกับสถานการณ์ตามข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีโดยผู้บัญชาการเหตุการณ์จะต้องประเมินสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและสั่งการให้ใช้มาตรการที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ปฏิบัติอื่น ๆ ให้ยึดถือตามนโยบายรัฐบาล คู่มือ และคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงแจ้งให้ทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

พล.ต.อ.

                                   ( .............................. )

ผบ.ตร.




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 2:14:34 น.
Counter : 1071 Pageviews.  

เล่าเรื่อง การปฎิรูปทหาร กับ ตำรวจ ....ให้เป็นประชาธิปไตยและมีธรรมาภิบาล





วันนี้ (๑๑ ต.ค.๕๕) ผมได้ไปเป็นวิทยากร ในงานสัมนา ธรรมาภิบาลในภาคความมั่นคง หรือ Security Sector ที่จัดโดย  FES , DCAF และ สถาบันพระปกเกล้า (KPI) ที่ รร.  Siam City Hotel กรุงเทพ  จึงขอเล่าบรรยากาศให้ฟังครับ  



การสัมมนา มี พล.อ.เอกชัยฯ  ผอ.สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้ดำเนินรายการ มีนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา  และ การเปิดอภิปรายโดยผู้อำนวการสถาบัน FES ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ท่านยาวพอสมควร แต่ความสรุปว่า ประเทศประชาธิปไตย  ต้องยึดมั่นในหลักกฎหมาย ต้องมี Accountability หรือความรับผิดชอบ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้   การใช้อำนาจของทุกฝ่าย รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น จะต้องกระทำโดยชอบและสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย   การดำเนินโีครงการเกี่ยวกับการรณรงค์ให้มี Security Reform หรือปฎิรูปภาคความมั่นคง คือ ทหาร และตำรวจ  จึงมีความสำัคัญมาก ต่อการพัฒนาประเทศและการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 



มีการนำเสนอว่า ภาค Security นั้น จะต้องมีการควบคุมโดยฝ่ายการเมืองพลเรือน (Civilian Control) มิเช่นนั้น ไม่ถือเป็นประเทศประชาธิปไตยได้  พล.อ.เอกชัย ฯ กล่าวว่า  เพ้อเจ้อมาก ๆ  เพราะหลักธรรมาภิบาลในกองทัพนั้น ไม่เคยมีอยู่จริง  รัฐบาลพลเรือนไม่เคยมีอำนาจเหนือทหาร  ทหารเท่านั้น ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ   อย่าว่าแต่จะปลด ผบ.เหล่าทัพเลย แม้กระทั่งจะตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม ยังตั้งไม่ได้ จะไปคิดอะไรมาก   ธรรมาภิบาล จึงเป็นเรื่องห่างไกลกับประเทศไทยมาก



ผมได้เสนอเกี่ยวกับการปฏิรูประบบงานตำรวจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงองค์กรควบคุมการบริหารงานตำรวจ   ให้เหมือนญี่ปุ่น หรือประเทศที่เจริญแล้ว ที่ประชาชนจะต้องเข้าไปมีส่วนในการเลือกกรรมการ ก.ตร.   การลดสายการบังคับให้สั้นลง โดยจากส่วนกลาง ให้ลงไปถึงจังหวัดเลย โดยไม่ต้องมีกองบัญชาการ   และการแต่งตั้งโยกย้ายให้มีเฉพาะในจังหวัดนั้น ๆ .....    



ผมได้พูดถึงการปฏิรูปทหาร ต้องเริ่มที่การศึกษา เพราะทหารไม่ได้เคยมี Mind Set ว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ไม่มีเคยเคารพประชาชนเจ้าของเงินภาษีให้ทหารมีเงินเดือนรับประทาน  แต่ทหารคิดว่าตัวเองเป็นผู้ิวิเศษ ที่จะนำพาชาติรอด ในทางตรงกันข้าม การทำรัฐประหารของทหาร ทำให้ชาติเสียหาย นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา  เพราะประชาชนไม่เคยได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ประชาธิปไตยแต่ประการใด    



ผมได้กล่าวว่า นร.ทหาร กับ นร.ตำรวจ ต่างกันที่เรียนกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนนี่แหละครับ  ตำรวจต้องปฎิญาณทุกวัน จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ  ต้องเคารพประชาชน ประชาชนเป็นเจ้านายของเรา   แต่ทหารไม่เคยมีการปลูกฝังเรื่องพวกนี้เลย  แต่สอนให้รับฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น  ไม่ได้เคารพประชาชนเจ้าของประเทศนี้  ดังนั้น ถ้าเกิดมีการสั่งการให้ ตำรวจไปฆ่าประชาชน ตำรวจจะไม่ทำโดยเด็ดขาด .... เพราะรู้ว่าทำไม่ได้  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม หรือกฎหมาย 



ผู้แทนทหาร พยายามพูดว่า ทหารเหมือนคนคุมคนขับรถเมล์ หากเลวร้าย ขับรถไม่ได้เรื่อง ทหารจะยึดพวกมาลัยแล้ว ขับรถเมล์แทน  ... เมื่อเห็นว่าดี ก็ปล่อยให้คนขับต่อไป  แต่ผมถามว่า ที่บอกว่า ฝ่ายการเมืองไม่ดีนั้น   แล้วที่รัฐประหารไปหลายสิบครั้งนั้น   ทหารที่ยึดอำนาจล้วนร่ำรวย  ตรวจสอบก็ไม่ได้ ตรงกันข้ามกับฝ่ายการเมือง ด่าได้ ประณามได้  ตรวจสอบได้   อะไรจะดีกว่ากัน ????   



ผมพูดถึงองค์กรที่สำคัญที่จะยับยั้งรัฐประหาร คือ ศาลฎีกา ถ้าศาลฎีกา กล้าตัดสินตามหลักกฎหมายที่ดี คือ รัฐประหาร ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ ก็ไม่ได้อำนาจอธิปไตย ต้องระวางโทษประหารชีวิตเสมอ  ผมพูดเช่นนี้ ก็เปรียบเทียบว่า กระทำสำเร็จเป็นรัฐาธิปัตย์  ดังนั้น ถ้าลักทรัพย์สำเร็จ ก็ควรจะได้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นด้วย ใช่ไหม ???   



คำพิพากษาศาลฎีกาเช่นนี้ จึงไม่ควรเกิดขึ้นเลย   ถ้าศาลยุติธรรมกล้าพิพากษาว่า รัฐประหารจะสำเร็จหรือไม่ ก็ยังเป็นความผิดอยู่เช่นนั้น   รัฐประหารก็จะไม่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า  เพราะองค์กรศาลเอง ก็มีปัญหา  ไม่กล้าหาญ และ ขาดการตรวจสอบเช่นกัน  




สุดท้าย ผมมีประชุมที่รัฐสภา  ผมจึงได้ออกมาก่อน ได้ยินว่า  บรรดาทหารที่นั่งอยู่ก่อนหน้าตอนผมอยู่ด้วย ที่เคยนั่งเงียบกริบ ตอนผมนั่งอยู่และตอบโต้ทุกเม็ดด้วยกฎหมายและเหตุผล   พอผมไป ก็รุมด่าผมใหญ่เลย  ทหารบางส่วนเหล่านั้น  ยศนายพลเอก แต่โคตรแมนจริง ๆ 555




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2555    
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 2:19:09 น.
Counter : 1663 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.