All Blog
พระบวรราชวัง
พระบวรราชวัง
รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ฯ ให้เรียกพระราชวังบวรสถานมงคลว่า “พระบวรราชวัง” ส่วนวังหลวงให้เรียก “พระบรมมหาราชวัง” เพื่อให้ผู้คนทั่วไปได้จำแนกและรับรู้ว่าเป็นคนละที่ ด้วยขณะนั้นมีพระมหากษัตริย์สองพระองค์พร้อมกัน จึงมีพระราชวังสองที่
สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จจากพระราชวังเดิมกลับมาประทับที่พระบวรราชวังของวังหน้า แต่เนื่องด้วยชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากเพราะร้างผู้อยู่นานถึง 20 ปี จึงจำต้องสร้างและปฏิสังขรณ์พระที่นั่งและสถานที่ภายในพระราชวังเป็นอันมาก
ปัจจุบันสถานที่ที่ยังคงเหลืออยู่ได้กลายเป็นสถานที่สำคัญ เช่นเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์
สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าประทับในพระบวรราชวังในสภาพที่ทรุดโทรมมาก จึงมีการปรับปรุง ซ่อมแซม พระบวรราชวังครั้งใหญ่เพื่อให้สมพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีต้นแบบมาจากพระบรมมหาราชวัง
พระองค์ทรงสร้างพระที่นั่งคชกรรมประเวศบริเวณด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ซึ่งใช้เป็นพระที่นั่งในการเกยช้าง ต้นแบบคือพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท สร้างพระที่นั่งมังคลาภิเษกและพระที่นั่งเอกอลงกฎมีที่เกยสำหรับทรงพระราชยานต้นแบบคือพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ สร้างพระที่นั่งสนามจันทร์และพลับพลาสูงต้นแบบคือพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และทรงย้ายตำหนักแดงจากพระราชวังเดิมมาปลูกไว้ที่พระบวรราชวัง  สำหรับที่ประทับของพระองค์ ได้ทรงสร้าง “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์” ซึ่งเป็นตึกแบบฝรั่ง 2 ชั้น และเสด็จเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งแห่งนี้
พระองค์จัดตั้งทหารวังหน้าได้สร้างสถานที่สำหรับการทหารขึ้นภายในพระบวรราชวัง เช่น โรงปืนใหญ่ โรงทหาร คลังสรรพาวุธ เป็นต้น รวมทั้งได้สร้างโรงช้างต้นและม้าต้นตามแบบพระบรมมหาราชวัง
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระองค์ทรงมีคุณานุปการต่องานช่างทุกแขนง ทรงตั้งโรงงานการช่างและอุปถัมภ์ช่างฝีมือเอกไว้ในวังหน้าทั้งช่างหล่อ ช่างกลึง ช่างเคลือบ ช่างหุ่น และซ่อมป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมเสือซ่อนเล็บที่จังหวัดสมุทรปราการ ซ่อมพระอารามที่ชำรุด วัดส้มเกลี้ยง วัดดาวดึงส์ วัดชนะสงคราม และวัดหงส์รัตนาราม
พระองค์ทรงสร้างพระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส และเสด็จเข้าประทับในพระที่นั่งองค์นี้ และเกิดบาดหมางกับรัชกาลที่ 5 ในวิกฤตการณ์วังหน้า  สุดท้ายพระองค์ทรงยอมรับว่า วังหน้าในสมัยของพระองค์ไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เช่นเดียวกับพระบิดา โดยมีทหารในกำกับได้ไม่เกิน 200 คน
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2428  รัชกาลที่ 5  ทรงโปรดให้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช และให้จัดเขตวังหน้าใหม่ ริมน้ำด้านตะวันตกเป็นโรงทหารรักษาพระองค์ ด้านทิศตะวันออกเป็นท้องสนามหลวง
หลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 โปรดให้ขยายส่วนของสนามหลวงขึ้นไปทางเหนือรวมทั้งรื้อป้อม และอาคารที่ชำรุดทรุดโทรม รอบ ๆ วัดบวรสถานสุทธาวาสลง คงเหลือแต่ตัวพระอุโบสถไว้ และโปรดให้ใช้พระอุโบสถเป็นพระเมรุพิมานสำหรับประดิษฐานพระบรมศพ เวลาสมโภช และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแทนพระเมรุใหญ่ท้องสนามหลวง และปลูกพระเมรุน้อยที่พระราชทานเพลิงต่อออกไปทางด้านเหนือ
เมื่อเจ้านายวังหน้าสิ้นพระชนม์เหลืออยู่น้อยพระองค์ จึงโปรดให้เสด็จไปอยู่ในพระราชวังหลวง
หลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญนั้น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร” เมื่อ พ.ศ. 2429 ทำให้ไม่มีตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีกต่อไป ดังนั้น พระราชวังบวรสถานมงคลจึงไม่ได้เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  และได้ดัดแปลงสนามวังหน้าเป็นส่วนหนึ่งของสนามหลวง รื้อป้อมปราการและย้ายพิพิธภัณฑสถานไปไว้ที่ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ใน พ.ศ. 2430
รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครใน พ.ศ. 2469
ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ และท้องสนามหลวงตอนเหนือฟากตะวันตก
 

 



Create Date : 30 กันยายน 2562
Last Update : 30 กันยายน 2562 17:03:47 น.
Counter : 632 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments