All Blog
กาฬโรคแห่งจัสติเนียน
กาฬโรคแห่งจัสติเนียน : ไม่มีใครเหลือให้แพร่เชื้อ
เชื้อโรคที่ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมากเกินคณานับ ไม่ใช่มีแค่โควิท 19 ในยุคนี้ที่เรารู้จัก แต่มันเคยเกิดมาแล้ว หลายครั้ง
เชื้อแบคทีเรียอันตรายไม่แพ้เชื้อไวรัส
กาฬโรคแห่งจัสติเนียน (Plague of Justinian) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซิเนียเพสติส (Yersinia Pestis) แพร่ระบาดปี ค.ศ. 541-542 ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้ปกครองอาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือโรมันตะวันออก
โรคร้ายนี้ระบาดในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยมีหนูเป็นพาหะนำโรค และหมัดที่แฝงมากับเมล็ดธัญพืชซึ่งเป็นเครื่องบรรณาการจากอียิปต์ ที่ขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ามายังคอนสแตนติโนเปิล จากนั้นติดต่อลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก
โรคระบาดในครั้งนั้นคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกราว 30-50 ล้านคน โดยเฉพาะประชากรในกรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียชีวิตด้วยโรคนี้ถึง 40% ซึ่งเป็นไปได้ว่ากาฬโรคจัสติเนียนนี้อาจคร่าชีวิตมนุษย์ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรโลกในสมัยนั้น และอาจเป็นส่วนหนึ่งของการล่มสลายอาณาจักรโรมันด้วย
เมื่อระบาดขนาดหนัก มันหยุดการระบาดได้อย่างไร นี่คือประเด็นที่น่าสงสัย ไม่มีใครให้คำตอบที่แน่นอนชัดเจนได้ มีแต่การคาดเดาว่าส่วนหนึ่งที่หยุดการแพร่ระบาด เป็นเพราะทุกคนที่รอดพ้นเกิดภูมิคุ้มกันตัวเอง
มันเป็นไปได้อย่างไร ที่ภูมิคุ้มกันนี้ได้เกิดในบางคน และคนผู้นั้นรอดพ้น
ถ้าบอกว่า เป็นธรรมชาติโลกที่คัดสรรเลือกคนที่แข็งแรงให้คงอยู่ต่อไปล่ะ อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่เป็นคำตอบเดียวที่น่าเป็นไปได้
Black Death กาฬมรณะ
กาฬมรณะ : จุดกำเนิดของการกักตัว
ไม่รู้ว่า กาฬโรคแห่งจัสติเนียนหายไปจากโลก หรือมันแค่หยุดตั้งหลัก รอจังหวะที่จะระบาดอีกครั้ง ในเมื่อไม่มีใครกำจัดเชื้อนี้ให้หมดไปจากโลกได้อย่างจริงจัง
มันกลับมาอีกครั้ง แล้วหนักหนากว่าเดิมหรือไม่
กาฬมรณะ (Black Death) หรือกาฬโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซิเนียเพสติส (ตัวเดียวกับกาฬโรคจัสติเนียน) เกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงทศวรรษที่ 1340s
จุดเริ่มต้นมาจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและประเทศจีน แพร่ระบาดไปตลอดเส้นทางสายไหม กระจายไปทั่วทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา
กาฬโรคครั้งนี้คร่าชีวิตชาวยุโรปไปมากถึง 30 - 60% ภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี เท่านั้น ด้วยการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 80% ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านคน
จำนวนที่มากนี้ คงเป็นการแพร่ระบาดที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยประสบ
สมัยก่อน ผู้คนไม่เข้าใจหลักการของโรคติดต่อ แต่รู้ว่า เกิดจากความใกล้ชิดของบุคคล
เจ้าหน้าที่การท่าเรือในเมืองรากูซา (Ragusa) ประเทศอิตาลี จึงได้กักตัวและแยกเหล่ากะลาสีและลูกเรือที่จะเข้ามาในเมืองจนกว่าจะมั่นใจว่า ไม่มีอาการป่วยเป็นเวลา 40 วัน
คำว่า quarantine ที่แปลว่าการกักตัว มาจากคำว่า quarantino ที่แปลว่าการกักตัวเป็นเวลา 40 วันในภาษาอิตาเลียน
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการกักตัวในครั้งนั้นช่วยให้การแพร่ระบาดลดลงได้มาก
นับเป็นต้นแบบของการนำไปปฏิบัติทั่วโลกตะวันตก จนสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ในราวปี ค.ศ. 1351
 



Create Date : 28 เมษายน 2564
Last Update : 28 เมษายน 2564 13:29:05 น.
Counter : 1186 Pageviews.

1 comments
  
โดย: สมาชิกหมายเลข 4665919 วันที่: 28 เมษายน 2564 เวลา:13:29:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments