ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
มหากวี ซูตุงพอ (苏東坡) ประสกแห่งเนินบูรพา : ภาคประวัติ














มหากวี ..........โอ้โห เว่อร์ไปมั้ยเพ่? ไม่เห็นจะเคยได้ยินชื่อเรย

ปล่าวคร้าบพี่น้อง ม่ายช่ายคำพูดผม แต่เป็นคำของ "วิลาศ มณีวัต"

นักเขียนใหญ่ของไทยผู้ล่วงลับแล้ว ได้เรียกขานขนานสมัญญานาม

ไว้ในหนังสือ "ชุมนุมกวีโลก" เล่าชีวิตของกวีที่โด่งดังของโลกจำนวน

๔๑ คน วิลาศ มณีวัตได้ใช้คำว่า "มหากวี" ประกอบนามแค่ ๓ คน

ได้แก่ ซูตุงพอ (Su Dong-po)ของจีน ดานเต (Dante)ของอิตาลี

กับ พุชกิน (Pushkin)ของรัสเซีย นอกนั้นวิลาศจะใช้คำ ยอดกวี

กวีเอก กวี และไม่ใส่คำประกอบ



ครับผม ขอชี้แจงแสดงเหตุขจัดเพทแห่งสงสัยแต่เบื้องแรกแค่นี้ก่อน


เชิญต่อเลยขอรับ






....................................................................








รูปท่าน ซูตุงพอ






ภูมิลำเนาของสกุลท่าน ซูตุงพอ อยู่ที่เหม่ยซาน (眉山) ในมณฑลเสฉวน
เดิมชื่อว่า ซูซื่อ (苏轼) เกิดสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อปี คศ. 1037 (1037年1月8日)
ตรงกับตอนสร้างนครวัค ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเขาพนมรุ้ง ประมาณนั้น


บิดาชื่อ ซูสวิน (蘇洵) หรือมักเรียกกันว่า "ซูผู้อาวุโส"
ท่านผู้นี้เป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและตำแหน่งในทางราชการ


ครอบครัวนี้ได้สายเลือดดีจากทางบิดามารดา
ลูกอีก 2 คน คือ ซูเจ๋อ (蘇轍) ฉายา จื่ออิ๋ว (子由)
และน้องสาวเรียก ซูเสียวเหม่ย (苏小妹)
ทุกคนล้วนมีชื่อเสียงและผลงานด้านอักษรศาสตร์ทั้งนั้น


ท่านกวี ซูซื่อ ได้ครูคนแรกตอนอายุ 6 ขวบ เป็นนักพรตลัทธิเต๋า
พอเรียนไปได้ 2 ปี บิดาถูกย้ายไปรับราชการต่างเมือง
ท่านซูซื่อจึงต้องอยู่กับมารดาผู้มีแซ่เฉิง (程氏)
นางเป็นกุลสตรีที่มีการศึกษา รอบรู้ทางประวัติศาสตร์ยุคโบราณและเหตุการณ์ปัจจุบัน


เมื่อท่านกวีอายุได้ 10 ขวบ ก็สามารถจดจำและเล่าเรื่องราวต่างๆในรอบปีได้อย่างแม่นยำ



มารดาของท่านได้ปลูกฝังเรื่องราววีรกรรมของบุคคลต่างๆ

เพื่อให้ท่านกวีมีความรักชาติ รักประเทศ

ตลอดจนรู้จักอุทิศตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ




เมื่ออายุ 17 ปี ท่านซูซื่อ ได้แต่งงาน


เมื่ออายุ 19 ปี ท่านสามารถสอบได้บัณฑิตขั้น จิ้นซื่อ (进士)














โอวหยางซิว สหายของบิดาท่านซูตุงพอ





เมื่ออายุ 20 ปี ท่านเข้าเมืองหลวง เพื่อสอบเป็นบัณฑิตชั้นสูงสุด
กรรมการสอบหลายคนเป็นสหายของบิดา เช่น โอวหยางซิว (欧阳修) หานฉี (韩琦) เป็นต้น
โอวหยางซิวภายหลังได้แนะนำท่านกวีต่อองค์จักรพรรดิ์ซ่งยิงจง (英宗)


ปี คศ. 1060 ท่านกวีได้เข้ารับราชการ ต่อมาได้ย้ายไปที่เฟิงเสียง (凤翔) และทีอื่นๆ


ปี คศ. 1065 ถูกเรียกตัวกลับเมืองหลวง คือเปียนเหลียง (ปัจจุบันคือไคฟง)

ตอนต้นรัชกาลของจักรพรรดิ์ซ่งยิงจงท่านกลับไปรับราชการจนเติบโตในวงการการศึกษา

ปีถัดมา บิดาท่านกวีได้ถึงแก่กรรม ตามธรรมเนียมท่านต้องลาออกเพื่อไว้ทุกข์


ปี คศ. 1069 ท่านได้กลับมารับราชการในราชสำนักอีก
ครองตำแหน่งด้านยุติธรรม ช่วงนี้เป็นเวลาที่ท่านได้สร้างผลงานทางกวีนิพนธ์
ทั้งแบบ ซือ และฟู่ ทั้งยังได้ร่วมกับสหธรรมิกคือ หวางเสี่ยน (王跣)
ศึกษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนา คือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร (妙法莲華经)







หวางอานสือ คู่ปรับของซูตุงพอ





ขณะเดียวกัน ช่วงนี้เกิดเหตุการณ์สำคัญในนโยบายบ้านเมืองคือ
หวางอานสือ (王安石) ขุนนางใหญ๋ระดับอัครเสนาบดีได้เสนอการปฏิรูประบบราชการ
ท่านซูซื่อ และสหายชื่อ ซือหม่ากวง (司马光) ร่วมกับโอวหยางซิว
ได้รวมหัวกันคัดค้าน ต่อต้าน

องค์จักรพรรดิ์ได้แต่งตั้งท่านกวีให้เป็นผู้ถวายรายงานเกี่ยวกับระบบการสอบขุนนาง
ซูซื่อได้แสดงการต่อต้านรุนแรงต่อโครงการของหวางอานสือ
จึงทำให้ท่านต้องถูกย้ายลดตำแหน่งไปอยู่ที่เมืองหางโจวในปี คศ. 1071
ที่หางโจว ซูซื่อยังคงเขียนบทความและงานประพันธ์ต่อไป


ปี คศ. 1074 ท่านได้แต่งงานอีกครั้ง มีภริยาเป็นสาวงามนาม หวางเจาหยวิน (王朝雲)


ใน 2-3 ปี ต่อมา ท่านก็ถูกย้ายอีก
อยู่ที่ มี่โจว (密州) 2-3 เดือน
อยู่ที่ สวีโจว (徐州) ในมณฑลซานตุง
อยู่ที่หูโจว (湖州) ในมณฑลเจ้อเจียง


ไม่ว่าจะย้ายท่านไปแห่งหนใด ท่านก็ไม่นำพาท้อถอย งานประพันธ์ก็ผลิตออกมาตลอดเวลา
ที่มี่โจว เริ่มแต่งฟู่ เกากี้กับเก๊กฮวย (杞菊赋)
ที่สวีโจว (1077-1078) ท่านได้แสดงความสามารถทางวิศวกรรมชลประทาน
สร้างเขื่อน ฝายกั้นน้ำ หลายแห่ง

การถูกย้ายไปหูโจวได้ปลุกเร้าให้ท่านแต่งเรื่องราวเสียดสีราชสำนักมากขึ้น
ท่านทำหนังสือช่วยจำส่งไปราชสำนัก มีเนื้อหาขอบคุณที่ย้ายท่าน
ทำให้ผู้ตรวจการเห็นว่าข้อความในหนังสือนั้นก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีของทางฝ่ายปกครอง
เอกสารนั้นคือ เม่อเหมียวถิงจี้ (墨妙亭记) ใจความว่า :

"สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา(การปฏิรูป)จักต้องเสื่อมสลายไป
มนษยชาตินั้นมีชีวิตอยู่ สักวันก็ต้องตายไป
มิฉะนั้นความมั่งคั่งของชาติก็จักต้องประสบหายนะล่มจมแหลกสลาย
แม้นว่าทุกคนจะรับรู้เรื่องนี้ ทว่าก็ต่างมุ่งรักษาอำนาจและสถานภาพ
ดูแลแต่สุขภาพตัวเอง พยายามทุกวิธีที่จะยืดชีวิตตนเอง
พยายามเลื่อนความตายให้ขยับออกไป
บัดนี้จึงเห็นได้ว่าผู้มีอำนาจล้วนโลเลลังเล เฝ้ารักษาตัวรอดมิให้ได้อันตราย
กระทั่งสักวันต้องถึงวาระสุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงมิได้!"



ปี คศ. 1079 ท่านกวีถูกจองจำพร้อมๆกับบุตรชายคนหนึ่ง
แม้ว่าน้องชาย จื่ออิ๋ว จะช่วยพยายามกราบบังคมทูลขอพระกรุณาอภัยโทษในอาญาครั้งนี้
ท่านถูกจำคุกนาน 3 เดือน แล้วในปี คศ. 1080 ก็ถูกเนรเทศไปที่หวงโจว (黃州) ในมณฑลหูเป่ย์






ซือหม่ากวง สหายร่วมอุดมการณ์





ระหว่างที่ถูกเนรเทศ ท่านได้แต่งฟู่อีกหลายบท


ในปีถัดมาท่านได้พยายามสร้าง "หอหิมะ" (雪堂)
ขึ้นที่ "เนินบูรพา" ของภูเขาที่ตั้งของ "หลินเกาถิง" (临皋亭)


ปี คศ. 1082 ท่านจึงตั้งฉายาตนเองว่า ตุงพอ (東坡) ซึ่งแปลว่า "เนินบูรพา"
ปีนี้เองที่ท่านได้บันทึกว่าได้ไปเยี่ยมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
คือ "ฉือปี่" (赤壁) หรือ "เซ็กเพ็ก" ที่แปลว่า "ผาแดง"
ท่านได้รจนาฟู่ 2 บท ตั้งชื่อตามสถานที่นั้น (前赤壁賦, 后赤壁赋)
(อ่านบทกวีได้ ตามลิงค์ข้างล่างนี้)
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=dingtech


ในปี คศ. 1084 ท่านถูกย้ายไปที่ หรูโจว (汝州) ในมณฑลเหอหนาน


ปีต่อมาถูกย้ายไปที่ฉางโจว (常州) และ เติงโจว (登州) ในมณฑลซานตุง


ในปี คศ. 1086 หวางอานสือถึงแก่อนิจกรรม
รัชกาลใหม่ของจักรพรรดิ์เจ๋อจง (哲宗) เพิ่งเริ่มต้น
ท่านซูตุงพอถูกเรียกตัวกลับเมืองหลวง
ท่านรับตำแห่งที่ทำงานในพระตำหนักเหยียนเหอ (延和殿) เป็นเวลา 2 ปี
ในราชสำนักท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตแห่งราชวิทยาลัยหานหลิน (翰林学士)
กินตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการและเป็นที่ปรึกษา (องคมนตรี)
ต่อมาท่านเบื่อความวุ่นวายจึงทูลขอย้ายไปต่างเมือง






รูปวาดโดย จางลู่ (张路 : จิตรกรสมัยราชวงศ์หมิง)
วาดตอนท่านซูตุงพอกลับสู่สำนักราชบัณฑิตหานหลิน







ปี คศ. 1089 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองหางโจว (杭州)
เป็นการกลับมาที่เดิมหลังจากที่จากไปนาน 14 ปี
ชาวเมืองต้อนรับท่านอย่างเอิกเกริก ช่วงนี้ท่านมีความสบายใจ
ได้เที่ยวชื่นชมความงามของทะเลสาบซีหู (西湖)
ได้สร้างทำนบและขนานนามตามฉายาของท่าน (苏堤)





ซูตี (苏堤) เขื่อนกั้นน้ำที่ทะเลสาบซีหูซึ่งท่านซูตุงพอให้สร้าง





ปี คศ. 1093 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป้นผู้ตรวจราชการถิงโจว (定州) ในมณฑลจี๋ลี่
ณ ที่นี้ ท่านได้แต่งบทประพันธ์ไว้หลายบท


ปี คศ. 1094 ท่านถูกลดตำแหน่งและถูกเนรเทศไปยังหุ้ยโจว (惠州) ในมณฑลกวางตุ้ง
ปีนี้เองที่ภรรยาคู่ชีวิตเจาหยวินได้เสียชีวิต ท่านโศกเศร้าสะเทือนใจมากที่สุด
และตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่เคยสร่างทุกข์นี้เลย
ท่านอยู่ที่หุ้ยโจว 3 ปี


จนปี คศ. 1097 งานประพันธ์ของท่านก็ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ตนอีกคราหนึ่ง
ท่านถูกย้ายไปฉยุงโจว (瓊州) ในเกาะไหหลำ

ท่านเดินทางมาถึง ตานโจว (儋州) ในวันที่ 13 เดือน 7 ปีเดียวกัน
มีบุตรชายชื่อ กว้อ (過) ตามไปด้วย
ระหว่างทางท่านได้พบกับน้องชาย จื่ออิ๋ว ซึ่งกำลังถูกเนรเทศเช่นกัน
ท่านใช้เวลา 3 ปี ที่นี่ ขมักเขม้นขุดบ่อน้ำบาดาล
ส่วนงานเขียนหนังสือก็ดำเนินไปตามปกติ


ปี คศ. 1100 ท่านซูตุงพอได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ให้ย้ายไปเหลียนโจว (廉州) ในมณฑลกวางตุ้ง
แล้วย้ายไปหยุ่งโจว (永州) ในมณฑลหูหนาน
สุดท้ายได้รับการแต่งตั้งจากองค์จักรพรรดิ์ฮุยจง (徽宗)
ให้ไปครองตำแหน่งสูงในเมืองเฉิงตู เมืองหลวงของเสฉวนบ้านเกิดของท่าน

ท่านซูตุงพอได้เริ่มออกเดินทางไปเยี่ยมมณฑลกวางตุ้ง แล้วจึงบ่ายหน้าไปเสฉวน
โดยผ่านทางด่านเหมยหลิ่ง (梅嶺) ระหว่างเดินทางก็แต่งหนังสือไปด้วย

จนเดือน 5 ของปีถัดมา ท่านเดินทางไปถึงเจินโจว (真州) ในมณฑลเจียงซู
ท่านล้มป่วยอาการหนัก จำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวที่ฉางโจว (常州)

เดือน 6 ท่านจึงลาออกจากราชการ

เดือน 7 วันที่ 28 ท่านก็ถึงแก่กรรม ตรงกับปี คศ. 1101 สิริอายุได้ 65 ปี
(บางแหล่งว่าเป็น 1101年8月24日 64歲 宋朝 常州)



ศพของท่านซูตุงพอได้รับการบรรจุไว้ที่สุสานในหมู่บ้านเตี้ยวไถ (钓台乡)
อำเภอ เจี๋ยเสี้ยน (郟縣) ในมณฑลเหอหนาน

ป้ายจารึกสุสานท่านเขียนโดยน้องชายผู้เป็นปิยมิตรนาม จื่ออิ๋ว


ปี คศ. 1210 มีการตั้งป้ายรำลึกถึงท่านที่ห้องโถงบรรยายของวิทยาลัยประจำมณฑลไหหลำ


ปี คศ. 1235 ท่านได้รับพระราชทานสถาปนายศเป็น เหวินจง (文忠)
และมีป้ายรำลึกตั้งไว้ที่หน้าศาลขงจื้อ
แต่ในปี คศ. 1845 ป้ายนี้ก็ถูกย้ายออกไปเพราะมีผู้ศึกษาประวัติท่านแล้ว
พบว่าท่านไม่ได้สร้างคุณูปการแก่ลัทธิขงจื้อเลย จึงไม่สมควรตั้งป้ายไว้ที่นั้น





....................................................................






ผลงานด้านจิตรกรรม ภาพเขียนแบบ "ปัญญาชน" หรือแบบ "นักปราชญ์"

มีชื่อเรียกว่า "เหวินเหรินพ่าย" ( 文人派 : Literati Painting School)

หามาให้ชมได้ 3 ชิ้น (ภาพไม่ค่อยชัด หายากมาก)








รูปวาดฝีมือท่าน ซูตุงพอ "ไผ่" (竹图)
มีลายมือเขียนบรรยายว่า
"กลางฤดูศารทตงชิว ปี 1075 (อายุ 38 ปี)
วาดรูปนี้ขณะพักผ่อนอยู่ใต้เดือนเพ็ญ
(ลายเซ็น) ซูซื่อ"









รูปวาด "ต้นไผ่" โดยท่าน ซูตุงพอ
มีลายเซ็น และลงบันทึกปี 1094 (อายุ 57 ปี)
ปีที่ถูกเนรเทศไปหุ้ยโจว
John M. Crawford Jr. Collection, USA.









รูปวาดฝีมือ ซูตุงพอ ต้นไม้แห้งกับก้อนหิน (枯木怪石)








ลายมืออักษรศิลป์ของ ซูตุงพอ "黄州寒食詩巻"





..........................................................







รูปภาพซูตุงพอสวมเกี๊ยะ วาดโดย จางต้าเชียน






ท่านมหากวีซูตุงพอ และท่านหวงถิงเจียน (黄庭坚)
ได้การตั้งสมัญญานามว่าเป็น "สองกวียักษ์ใหญ่แห่งวงการกวีรัชสมัยซ้อง"
เฉกเช่นกับท่านหลี่ไป๋และตู้ฝู่เป็น "สองกวียักษ์ใหญ่แห่งรัชสมัยถัง" ฉะนั้น


ท่านมหากวีได้ทิ้งผลงานนิพนธ์ไว้จำนวนมาก
มีการรวบรวมตีพิมพ์ทั้งหมดของท่าน เรียกว่า "ตุงพอฉวนจี๋" (东坡全集)
เผยแพร่ตั้งแต่สมัยซ้องตราบจนปัจจุบันนี้
ลักษณะการประพันธ์มีทุกแบบ ตั้งแต่ จดหมาย ความเรียง บันทึก
ที่รำลึก คำไว้อาลัย ลำนำร้อยแก้ว และบทร้อยกรองต่างๆ


ความไพเราะ ความคมคาย ความเปี่ยมสาระอรรถะ กินใจ สะเทือนอารมณ์ ฯลฯ
ได้ทำให้ผลงานท่านเป็นอมตะ ประทับใจคนทุกรุ่นที่ได้อ่าน
และยืนยันในสมัญญา "ม ห า ก วี " ของท่านตราบนานเท่านาน





..............................................................





โอ....ฟังแล้ว การเมืองในราชสำนักซ้องเนี่ย ชุลมุลวุ่นวายไม่แพ้ประเทศไหนๆเรย

ความเคารพในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ความมั่นใจ ความกล้าหาญ ท่านยอมหัก มิยอมงอ

ผมจึงอยากแถมต่อท้ายสมัญญาอีกว่า "มหากวี จอมถูกย้าย" 5555+




...............................................................






มีรูปภูมิสถานบ้านเกิดของท่านมหากวีมาฝาก






รูปสลักบนศิลาของสกุล "ซู" 3 รุ่น
(三苏 : 苏洵,苏轼, 苏辙)






รูปสลักบนศิลา ซูตุงพอสวมหมวกก๊วยเล้ย






กอไผ่ที่หน้าศาล "3 ซู"






ต้นลิ้นจี่ที่มีตำนานว่าปลูกโดยท่าน ซูตุงพอ






ห้องดื่มน้ำชาใต้ร่มเงากอไผ่
ที่สถานพำนักเดิมของทั้ง "3 ซู"






ศาลา "โอบอุ้มแสงจันทรา"






ศาลา "เรือเก็บดอกไม้"






ลายมือท่าน ซูตุงพอ คัดลอกแล้วแกะสลักบนแท่งศิลา




ชื่อสถานที่ ศาลา ต่างๆ ล้วนนำมาจากบทกวีของท่านซูตุงพอทั้งสิ้น



..................................................................





เหนื่อยล้ากันแระ มาฟังเพลงดีกว่า
คราวนี้จะให้ฟังมโหรีเครื่องสายผสมในเพลง
"漁舟唱晚" (ร้องเพลงจากเรือประมงยามสนธยา)
บรรเลงโดยวง 東方女子民樂組合 (ประชาสตรีแห่งบูรพทิศ)
บรรยากาศของเพลงนี้คือ ความสุข สงบ และร่าเริงในวิถีชีวิตที่เรียบง่าย



ขอบคุณ You Tube สำหรับเพลงแสนเพลิน




...............................




สวัสดีครับ










Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 14 มิถุนายน 2553 21:33:58 น. 49 comments
Counter : 17148 Pageviews.

 


โดย: Suessapple วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:0:16:03 น.  

 
ท่านมหากวี ซูตุงพอ
มีประวัติที่น่าสนใจมากๆค่ะ
...
ลายมือของท่าน ซูตุงพอก็ สวยมากๆเลย
และชอบรูปท่าน ซูตุงพอ สวมเกี๊ยะด้วย
...
ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่นะคะ



โดย: Suessapple วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:0:29:46 น.  

 
ภาพวาดล้วนเกิดขึ้น...ขณะเหงาและทุกข์ครับ


โดย: panwat วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:2:18:14 น.  

 
ชีวิตช่างโชกโชนดั่งบทกวี

ภาพ "ต้นไผ่" ภาพนี้ผมชอบมากๆเลย


อรุณสวัสดิ์ครับ ^^


โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:5:20:03 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่


อ่านจบแล้ว
ได้แต่สะท้อนในใจ
นี่คือชะตากรรมของนักการเมืองและข้าราชการผู้ซื่อสัตย์ใช่ไหม ?

คนดีถูกรังแก
คนเลวได้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง
จักโทษใครได้ถ้าไม่โทษผู้นำ


ผมกลับคิดว่างานเขียนของท่านไม่ไ่ด้ทำร้ายท่าน
แต่เป็น "ความจริง" ที่ท่านเขียนต่างหากที่ทำร้ายตัวท่าน


ยิ่งคนเราใหญ่โตเท่าใด
ก็มักจะหลงลืมไปว่าตนเองนั้นเป็นเพียงสิ่งสมมติ

การที่ท่านซูตงพอได้ศึกษาพระธรรมขั้นลึกซึ้ง
ผมคิดว่างานเขียนของท่านล้ำยุคไปอีกครั้ง

บทกวีหลายบทหลายตอนถึงแม้จะเขียนถึงชาติบ้านเมือง
แต่ก็เป็นการเขียนที่แบบมองเลย "เหตุการณ์"
แต่เขียนลึกซึ้งไปถึง "สัจธรรม" แล้ว

ชนชั้นนำไม่มีวันเข้าใจ
ผู้ปกครองไม่มีวันซาบซึ้ง

คนเหล่านั้นจะซาบซึ้งความจริงข้อนี้ได้อย่างไร
ในขณะที่สองมือยังกอดรัดตำแหน่ง
และศรีษายังสวมหัวโขนแห่งอำนาจอยู่












โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:8:26:10 น.  

 
สวัสดีครับ...
เมื่อวาน (11 มิ.ย.) มีโอกาสได้ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ .สมุทรปราการ...เอาภาพมาฝากและเชิญชวนไปเที่ยวครับ
...................................................


โดย: panwat วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:10:47:15 น.  

 
แวะมาทักทายในวันหยุด มีความสุขกับการเล่นบล๊อก นะท่าน


โดย: nuyect วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:14:36:53 น.  

 
ท่านพี่ยังคงค้นคว้าได้ลึกล้ำเช่นเคย

ส่วนกระผมก็ยังคงสับสนจำชื่อไม่ได้เหมือนเคย 555

กวีของเราที่ยิ่งใหญ่พอเทียบเคียงยังพอมีหลงเหลือหรือเปล่าขอรับ? หุๆๆ

สังเกตเขาจะอนุรักษ์ที่ทางไว้เป็นอย่างดี บ้านเราหายจ้อย..



โดย: หมีบางกอก IP: 124.120.78.78 วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:21:05:58 น.  

 
ขอชื่นชมคุณดิ่งครับ ขยันค้นคว้ามาก แล้วก็นั่งเรียบเรียงอย่างละเอียด พร้อมรูปประกอบ

ผมอ่านผ่านๆนะ ครับ เพราะไม่มีหัวศิลป์เลย ชื่อจีนก็จำยาก

แต่มีความรู้สึกบางอย่างเกี่ยวกับการทำงานในรั้วในวังของพระราชาครับ อุ อุ พูดไม่ออกบอกไม่ได้


โดย: yyswim วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:22:57:33 น.  

 
สวัสดีครับท่านพี่เข้ามาอ่านแล้ว....รู้สึกสะท้อนอะไรหลายๆอย่างที่ไกลเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่รอบๆตัวเรานี้เลยอะครับอ้า~~เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้นานาอารยประเทศ
จริงๆ ไม่เว้นแม้แต่บ้านของเรา~~ ขอบคุณที่นำมาให้อ่านครับผม
ป.ล.6ขาของสาวๆตอนนี้สวยครับแต่ท่าทาง3สามทำงาน
หนักไปหน่อยผอมลงทุกคนเลย อิอิ(แอบสังเกตุ)
เรื่องโตเกียวผมเองไม่รู้เลยครับว่าจะได้ไปตอนไหนแต่ยังไงต้องไปซักครั้งในชีวิตนี้ อิอิ


โดย: takaiji วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:22:59:37 น.  

 


โดย: เรือนเรไร วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:8:55:26 น.  

 
อ่านเพลินเลยครับ ผมชอบเรื่องเกี่ยวกับจีนมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามบุคคล สถานที่ ประวัติศาสตร์ ประเทศจีนกว้างใหญ่เลยมีคนเก่งๆเยอะมาก ผมชอบครับพี่


โดย: Don't try this at home. วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:12:05:48 น.  

 
สวัสดียามบ่ายๆค่ะคุณ Dingtech ...

ขอบคุณสำหรับดอกกุหลาบภูหลวง
ที่นำไปฝากนะคะ...
แต่กุหลาบภูหลวงดูไม่เหมือนกุหลาบเลยนะคะ
หรือว่าจะเป็นเพียงชื่อว่ากุหลาบ
แต่ไม่ใช่ดอกกุหลาบ..
เอ...หรือว่ากุหลาบไทยจะเป็นลักษณะนี้

ปอลอ...เราใส่เกี๊ยะมาเยี่ยมบ้านนี้
เดี๋ยวมาใหม่ กลับไปถอดเกี๊ยะก่อน
เดินไม่ค่อยถนัด อิ อิ



โดย: Suessapple วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:15:54:37 น.  

 
Photobucket

กุหลาบสวิสหน้าตามันเป็นแบบนี้อ่ะค่ะ
ตอนนี้ดอกกุหลาบที่นี่บานสวยไปทั้งประเทศเลยค่ะ
..
มีความสุขมากๆนะคะคุณ Dingtech

Photobucket



โดย: Suessapple วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:16:03:48 น.  

 
PhotobucketPhotobucket



โดย: Suessapple วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:17:04:20 น.  

 
คุณเปิ้ล...

ขอบคุณที่เจิม
ท่านซูใส่เกี๊ยะกับหมวกก้วยเล้ย แสดงว่าแม้เป็นขุนนางผู้ใหญ่
ก็มิได้เบ่งตัวพองเหมือนอึ่งอ่าง กลับทำตัวกลมกลืนไปกับชาวบ้านครับ
เหมือนคุณหญิงดารินสวมเกี๊ยะเลย แต่คุณหญิงยังเดินไม่เนียนเนอะ...ฝึกอีกนี้ดนุง
...ส่วนกุหลาบภูหลวงนั้นเป็นกุหลาบป่าครับ ตรงกับจำพวก Rhododendron species
หรือพวก Azalia นั่นเอง บ่แม่น Rosa เด๊อขรับ


คุณพันวัตต์...

ผมเห็นด้วยเลยครับว่าภาพต้นไม้แห้งกับก้อนหินนั้นสะท้อนความเหงาและทุกข์
ของท่านผู้วาด
...พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณผมไปมาแล้วครับ เจ๋งมาก...เลยไปเมืองโบราณด้วย
เจ้าของเดียวกันครับ


คุณพระจันทร์ของผม...

ต้นไผ่นั้น ท่านซูโปรดปรานการวาดไผ่มาก
ท่านเคยแต่งกลอนเม้นท์การวาดไผ่
ของจิตรกรเอกผู้หนึ่งชื่อว่า เหวินถง (เหวินหยวีเข่อ) ซึ่งเชี่ยวชาญการวาดไผ่มาก
ท่านบอกว่า...

"เมื่อเหวินหยวีเข่อวาดไผ่ จะเห็นแต่ไผ่ ไม่เห็นใครอื่น
ข้าฯว่าเขาไม่เห็นใครเลยทั้งนั้น
ลืมกระทั่งตัวตนของตนเอง
นึกว่าตนเองเป็นต้นไผ่
แตกกิ่งใบไม่รู้จบสิ้น
จวงจื่อก็สิ้นชีพไปนาน มิได้อยู่กับเราแล้ว
ใครเล่าจักอาจคาดคะเนได้ในพลังอันพิสุทธิ์นี้?"

...............ฝากพวกเราไปคิดต่อครับ


คุณก๋า...

ถ้าเรามองมุมเดียวก็จะเห็นและเชื่อในสิ่งที่เห็น
บังเอิญในเรื่องราวของท่านซูตุงพอในที่นี้ผมให้ข้อมูลแต่ของซู
ในประวัติศาสตร์จริงๆหวางอานสือคู่ปรับท่านซู ก็ได้ชื่อว่าเป็น "นักปฏิรูป" ผู้ยิ่งใหญ่
หาใช่ตัวโกงหรือผู้ร้าย หลายคนเรียกท่านว่า "รัฐบุรุษสมัยซ่ง"
ถ้าศึกษาแนวคิดและนโยบายของสองท่านนี้ ยากจะตัดสินว่าใครถูกผิด หรือใครเก่งกว่าใคร
ทั้งสองฝ่ายมีทั้งข้อดีข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเอาเวลาหรือสถานการณ์ไหนจับ
เหมือนสองพรรคการเมืองยุคนี้ว่าชอบคอนเซอร์เวถีฟ หรือชอบเลเบอร์
บังเอิญจักรพรรดิ์ยุคนั้นมีอำนาจเบ็ดเสร็จทรงเข้าข้างฝ่ายปฏิรูป ท่านซูจึงถูกเนรเทศ
หัวอกข้าราชการเมื่อพรรคใดได้อำนาจแล้วจำต้องสนองนโยบายพรรคนั้น
การถูกย้ายหรือเนรเทศเพราะไม่สนอง คัดค้าน จึงถือเป็นเรื่องปกติแม้ในสมัยนี้
แต่หากสนองแล้วแต่ยังหาเหตุย้ายเพราะอยากเอาคนของตัวเองลง...นี่จึงเรียกว่า "รังแก"
อย่างไรก็ตาม ในเกมชิงอำนาจ ยากจะหาความยุติธรรมได้
ทำนอง "ทีฮูทีอิท".........ในยุทธจักรนี้ต้องรู้จัก "รอ" และรู้จัก "จังหวะ"
พวกเราอยู่วงนอก ยากนักที่จะเข้าใจและเห็นความบัดซบที่พวกเขาซ่อนไว้กัน 555+


คุณnuyect...

ขอบคุณคร้าบ


คุณน้องหมีบางกอก...

อันไหนที่ผมอ่านแล้วถูกใจก็อยากเอามาบอกต่อครับ เหมือนสี จบพ.
ชื่อจำยากเพราะอาจไม่คุ้นกับภาษาจีนกลาง ถ้าใช้ภาษาแต้จิ๋วอาจคุ้นกว่า
เช่นซูตุงพอ เรียกโซวตังปอ คล้ายนิยายมังกรหยกเรียกอึ้งย้ง ก๊วยเจ๋ง
ผมว่าก็จำเอาสั้นๆ เช่น โอวหยางซิว ก็จำเป็น อีตาปลาซิว หยั่งงี้จะจำง่ายครับ
...ส่วนกวีของเราที่ยิ่งใหญ่เทียบเคียงท่านซูตุงพอ...ตอบยากครับ
เพราะเอกสาร การบันทึกของเราน้อยมาก หลังพม่าเผากรุงศรีอยุธยายิ่งหายาก
ต่างกับจีน ช่างเขียน ช่างคัดลอก ช่างวิจารณ์ ช่างบันทึก ใส่ทั้งติ้วไม่ไผ่ กระดาษ
แกะไม้ สลักหิน แถมมีการลงนาม ฉายา วันเดือนปี จึงมีของเก่าหลงเหลือ
เป็นมรดกให้ลูกหลานได้อ่านได้ศึกษากันมากมายนัก
นี่ขนาดผ่านการทำลายสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมมาแล้วนะ


พี่สิน yyswim…

ขอบคุณครับพี่ อย่างที่บอกน้องหมีขวัญไปแระ
การทำงานในรั้วในวังสมัยราชาธิปไตยเนี่ยยากมาก
จริงๆแล้วแม้อำนาจนักการเมืองสมัยนี้ก็คล้ายๆกัน
พวกเราอยู่สายวิชาการยังไม่เท่าไหร่ ถ้าสายบริหารละก็เจอเต็มๆ
เค้าพูดกันว่า "อำนาจนี่...อยู่ใกล้ก็ร้อน อยู่ไกลก็หนาว"....
ต้อง keep distance ให้พอเหมาะเด๊อออ สิบอกให่ 555+


น้องชาย takaiji…

การเมือง หรือการชิงอำนาจ ....ยากจะหาความปรานี หรือความยุติธรรม
ของอย่างนี้รักจะเล่นต้องรู้จักปลง
ผมว่าเหมือนแมลงเม่านะ กองไฟก็รู้ว่าร้อน แต่อดมาตอมมาไต่ไม่ได้
...ส่วนสาวๆเพอร์ฟยูม ขอให้มีฟามสุขกับเพลงและด๊านซ์ของเธอๆนะครับ คริ คริ


คุณเรือนเรไร...

ชื่อแคล้สสิกมากครับ ไท้ไทย...สมเป็นบล๊อกดนตรีไทยเรยยยย
ขอเพลงได้ปล่าวคับ....ไหนๆโหมโรงอยู่ ต่อด้วยโหมฯคลื่นกระทบฝั่งละกัน
ขอบคุณล่วงหน้าคร้าบ


คุณยู Don’t try…

ชอบเรื่องจีนก็อ่านบล๊อกผมได้ทุกเอ็นทรี่เรยสิครับ
ผมก็ชอบเรื่องชวนยิ้มของคุณมากกกเรย...หายเครียดเป็นปลิดทิ้ง


โดย: Dingtech วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:22:09:10 น.  

 


มาว่าคุณหญิงใส่เกี๊ยะแล้วเดินไม่เนียน
เกี๊ยะคู๋นี้หญิงใส่เดินเสียรอบทะเลสาบเลยนะคะ
ดูเสียก่อนแถมยังปีนขึ้นไปบนเขาลูกนั้นได้ด้วย

Photobucket



โดย: Suessapple วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:0:09:07 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณดิ่ง สบายดีไหมคะ
หายไปนาน ไม่ได้มาทักทายคุณดิ่งเลย ช่วงนี้การงานและการเรียนทับทม เข้ามาเยี่ยมเยียนเพื่อนๆได้แต่วันหยุดค่ะ

ตามมาอ่านประวัติท่านซูซื่อ ตามที่ลงชื่อโหวตไว้ในบล๊อกที่แล้ว ขอบคุณมากค่ะสำหรับเรื่องราวดีๆ ภาพประกอบและดนตรีเพราะๆคุณภาพคับแก้วเช่นเคย

พวกเราต้องขอบคุณสายเลือดดี การศึกษาและหลักการที่ท่านพ่อท่านแม่ปลูกฝังให้ท่านซูซื่อและพี่น้อง ลูกไม้หล่มไม่ไกลต้นจริงๆ เราจีงได้มีมหากวีซูตุงพอของจีน ผู้มีผลงานเทียบเท่ากับท่านดานเตของอิตาลี และท่านพุชกินของรัสเซีย เคยอ่านผลงานของท่านดานเต แว๊บๆค่ะ แต่ไม่เคยอ่านผลงานของท่านพุชกินเลย

อ่านประวัติแล้วน่าทึ่งนะคะ เมื่อท่านเผชิญความยากลำบากก็ไม่ย่อท้อในการผลิตผลงาน นอกจากงานทางด้านกวี หนังสือ ภาพเขียนพู่กันจีน เภสัชวิทยา การปกครอง และยังมีความรู้ด้านวิศวกรรมชลประทานอีกด้วย โอ้โห

รูปที่นำมาฝากชอบหลายภาพโดยเฉพาะรูปวาด ต้นไม้แห้งกับก้อนหิน (枯木怪石)ค่ะ
และชอบเอกสารเม่อเหมียวถิงจี้ (墨妙亭记)ด้วยค่ะ
นอร์ชก้าได้เคยมีโอกาสอ่านบทแปลของกลอน (江城子)ที่ท่านแต่งให้ศรีภรรยาของท่านด้วยค่ะ เศร้าโฮกๆเลยค่ะ ท่านซูซื่อก็นับว่าอายุน้อย อายุ 64 ปีก็ลาโลกไปซะแล้ว

..
..
..

คุณดิ่งเคยชิม Dongpo's Pork (东坡肉) หรือเปล่าคะ มีตำนานว่าเป็นสูตรของท่านซูซื่อ ไม่รู้ว่าเท็จจริงประการใดนะ พูดถึง Dongpo's Pork ได้ทราบจากเพื่อนบล็อกว่าช่วงนี้เป็น Dragon Boat Festival (端午节 duānwǔjié) จึงนำภาพบะจ่าง (粽子 zòngzi)มาฝากจ้า กว่าจะอ่านจบเหนื่อยทั้งจขบ และคนอ่านเลยค่ะ เติมพลังกันหน่อย (อ้าวไหงมา ชวนคุณดิ่งกินซะแล้ว ) เห็นแล้วหิวจังเลย ควันลอยฉุยๆเลย ..ปล.ถึงจะเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่า เติมอาหารให้สมอง และสุขใจที่ได้อ่านเช่นเคยค่ะ ขอบคุณค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ^_^v




โดย: Noshka วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:1:36:51 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่

กลับมาอ่านเม้นท์ของพี่ก็ยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีก
ชอบถ้อยคำของเหวินทงครับ

ผมก็พยายามจะวาดไผ่ให้ได้ความรู้สึกแบบนี้
แต่ยากมากครับ 55555







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:7:59:08 น.  

 
คุณเปิ้ล...

ใครม่ายรุบอกว่า ".......กลับไปถอดเกี๊ยะก่อน เดินไม่ค่อยถนัด อิ อิ"
ผมถึงได้บอกว่าเดินไม่เนียน......ม่ายเปงลายน่อ แก้ไขก็ได้ เป็นว่า...
"คุณหญิงดารินใส่เกี๊ยะเดินเนียน
แต่เกี๊ยะมานม่ายดี กัดส้นเท้าคุณหญิงซะพอง
เรยเดินไม่ถนัด".....ดีมั้ย?

(เกี๊ยะปะเทดหนายหว่า กัดส้นเท้าได้...เหอ เหอ เหอ )



คุณน้อร์ช...

ในสังคมเก่าผมสังเกตดูพวกปัญญาชนมักจะเป็นสายเลือดชนชั้นสูง/ฐานะดีมาก่อน
โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนจึงมากกว่าที่มาจากชาวไร่ชาวนาจริงๆ
อีกแง่มุมหนึ่ง...ชาวไร่ชาวนาสมัยก่อน มีส่วนหนึ่งที่มาจากปัญญาชนที่ทนต่อระบบราชการไม่ได้
จึงเบื่อหน่ายระบบอุปถัมภ์ของจักรพรรดิ์ หาทางหลบหนีมาปลีกวิเวก/หลบหลีกภัย มาเป็นชาวไร่ชาวนา

มีเรื่องราวแบบนี้มากในประวัติศาสตร์จีน เช่น ชวีหยวน เถาเวียนหมิง เป็นต้น

...ตุงพอโร่ว ผมชิมมาแล้วครับ ตอนไปเที่ยวหางโจว
แต่ผมว่าเจ้าหมูสามชั้นมันย่องที่เอามาเคี่ยวไฟอ่อนๆ เติมซีอิ๊ว เหล้าขาว กับน้ำตาล
ออกรสชาติเค็มๆหวานๆมันๆ ดูแร้วน่าจะเหมาะกับประเทศเขตอบอุ่น-หนาว
ขืนเอามากินบ้านเราน่าจะสยองสุขภาพ...เด๋วพุงยื่นน่าเกลียด



คุณน้องก๋า...

ผมว่าที่ท่านซูแต่งกลอนวิจารณ์รูปของเหวินถงเนี่ย
เป็นปรัชญาของจิตรกร-ศิลปินเลยละครับ

ถ้าไม่เคยปลูกไผ่ ทะนุถนอนเฝ้าเลี้ยงดู สังเกตการเจริญเติบโตทุกระยะ แตกหน่อ..จน..แก่ตาย
ดูไผ่ในฤดูต่าง ในเวลาต่างๆ ...ดูนานกระทั่งจับจิตวิญญาณของไผ่ได้
ผมว่าท่านซูและเหวินถงทุ่มเทศึกษาไผ่จนรู้แจ้งได้ระดับนี้ก่อน
แล้วจึงมาฝึกฝนทดลองเท็คนิกและสไตล์ให้เป็นของตนเอง

คุณก๋ายังหนุ่มแน่น มีเวลาอีกเยอะ วันหน้าวันหลังจะเอารูปไผ่ของเหวินถงมาให้ดูกัน..สุดยอดเจงๆ
(ผมเคยบอกไปแล้วว่า..ไผ่ที่งามที่สุดในโลกเป็นฝีมือเจิ้งป่านเฉียว...คือสไตล์ "เสี่ยอี้"-ปาดเร็ว
แต่ของเหวินถงนั้นงามสุดยอดในสไตล์ "กุงปี่"-วาดแบบละเอียด
มีผลงานตกมาถึงรุ่นเราไม่กี่ชิ้นครับ )



โดย: Dingtech วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:11:31:41 น.  

 
จะรอชมผลงานของท่านเหวินถงนะครับพี่

ขอบคุณครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:12:36:52 น.  

 
จะรอชมผลงานของท่านเหวินถงนะครับพี่

ขอบคุณครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:13:56:20 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณดิ่ง เพิ่งได้มีโอกาสมาเยี่ยมบล็อกคุณดิ่งเป็นครั้งแรก มาตามคำชวนของคุณนอร์ชก้าค่ะ รายงานตัวก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยขึ้นไปอ่านประวัติของท่าน ซูตุงพอ (苏東坡) ทีหลัง เพราะขอไปกินข้าวเติมพลังก่อน

ตะกี้แวะไปห้องเพลงออนไลน์มาไปเจอบล็อกของคุณ smack เอาเพลง 傻瓜与野丫头(ส่ากวาอื่อเหย่ยาโถวMV) เจ้างั่งกับนังป่าเถื่อนอัปลักษณ์ มาแปลเนื้อให้ฟังกัน

ดูแล้วทั้งขำ ทั้งน่ารัก ไปดูกันให้ได้นะคะ น่ารักมากๆๆๆๆๆ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=smack&month=06-2010&date=12&group=20&gblog=62


โดย: yzai วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:20:28:07 น.  

 
อ่านจบแล้วค่ะ เขื่อนกั้นน้ำซูตี (苏堤) ทะเลสาบซีหู สวยมากค่ะ


โดย: yzai วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:23:07:53 น.  

 
"เมื่อเหวินหยวีเข่อวาดไผ่ จะเห็นแต่ไผ่ ไม่เห็นใครอื่น
ข้าฯว่าเขาไม่เห็นใครเลยทั้งนั้น
ลืมกระทั่งตัวตนของตนเอง
นึกว่าตนเองเป็นต้นไผ่
แตกกิ่งใบไม่รู้จบสิ้น
จวงจื่อก็สิ้นชีพไปนาน มิได้อยู่กับเราแล้ว
ใครเล่าจักอาจคาดคะเนได้ในพลังอันพิสุทธิ์นี้?"

วาดรูปเหมือนเทวิญญาณ ^^

เอ่อ.... พระจันทร์ของผมเลยเหรอพี่ 5555+


อรุณสวัสดิ์ครับ ^^


โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:6:00:17 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:8:10:56 น.  

 
ซูตงพัวโปรดปรานไผ่มากขนาด...宁可食无肉,不可居无竹


โดย: เหนียว-อวี่ IP: 202.90.6.36 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:15:39:59 น.  

 
ฟัง"漁舟唱晚" จบ ยังไม่หายอยาก เข้าไป "欣赏"中国十大古曲 //www.youtube.com/watch?v=Fs7Bse4Q4BQ&feature=related
ใต้เพลง高山流水(古筝曲) มีคนโพสท์ข้อความ..... "青山绿水仙人游,仕途红尘君子苦" รู้สึกว่าสะท้อนชะตาชีวิตของข้าราชสำนักจีนตงฉินได้ดี


โดย: เหนียว-อวี่ IP: 202.90.6.36 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:16:09:22 น.  

 

แวะมาทักทาย ยามตะวันจะลับฟ้า เจ้าของเรือน
สร้างกริตเตอร์

คุณสบายดีนะคะ


โดย: เรือนเรไร วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:18:56:39 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:7:36:53 น.  

 

แวะมาทักทายและ มาชวนไปฟังเพลง ไทยเดิมกันค่ะ ...เจ้าของเรือน
สร้างกริตเตอร์

แวะมาเยือนก่อนตะวันจะชิงพลบค่ะ


โดย: เรือนเรไร วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:17:13:50 น.  

 
ลลิล เอาเปรียบผู้บริโภค


โดย: cd2lucky วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:18:24:25 น.  

 
เป็นกวีที่เต็มไปด้วยความสามารถจังค่ะ ถือว่าท่านได้ใช้ชีวิตอย่างทรงคุณค่าอย่างแท้จริง


โดย: sawkitty วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:19:09:47 น.  

 
ถึงเวลาก็บานเอง

.
.
.

ผมว่าเวลามองการเมืองไทย
ก็ต้องมองแบบนี้เหมือนกันครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:19:57:00 น.  

 
ชัชว่าคุณลุงทำหนังสือเถอะครับ พิมพ์อึดมาก


โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:21:35:05 น.  

 
สวัสดีดึกๆครับท่านประสกดิ่ง
............................................
อักษรภาษาจีนตัวหนึ่งที่มอบให้คุณสิริวินิจในวันที่ครบ 8888 วัน
มันมีความหมายว่าไร คุณบอก..แต่ผมนั้นจำไม่ได้...กรุณาช่าวยบอก
ผมด้วยครับ


โดย: panwat วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:23:50:25 น.  

 
แบบนี้ไงครับท่าน
.........................


โดย: panwat วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:23:59:24 น.  

 


โดย: panwat วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:0:11:04 น.  

 
สวัสดียามใกล้รุ่งของเมืองไทยนะคะคุณดิ่ง

พักนี้เราเข้าบ้านไม่ได้ค่ะ
เมื่อเช้าอัพบล๊อคได้พักเดียวก็โดนจับโยนออกนอกบ้านไปอีก



กุหลาบที่บ้านเราโดนฝนเปียกโชก
กางร่มให้ไม่ทันแล้วค่ะ
ตอนนี้เป็นหวัดไปแล้วววววอ่ะ

Photobucket

Photobucket

ฮัดดดดดดชี๊ววววววววววววววววว
จามแย้ววว
เดี๋ยวกลับไปกินยากระต่ายบินแก้หวัดก่อนนะคะ



โดย: Suessapple วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:3:04:22 น.  

 
Photobucket

อิ อิ เอาไวรัสมาเผยแพร่
เสร็จแล้วก็แว้บบบบบบบบบบ

Photobucket


โดย: Suessapple วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:3:05:58 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:7:53:01 น.  

 
Photobucket

กว่าคุณดิ่งจะเอาร่มไปให้ดอกไม้ก็เปียกแล้วค่ะ อิ อิ
แต่ก็ขอบคุณมากๆนะคะ
.
.
มีความสุขมากๆด้วยค่า




โดย: Suessapple วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:20:42:53 น.  

 
แวะมาทักทายครับ

สุรามงคล...ผมชอบคำนี้ของพี่จัง
5555+


อรุณสวัสดิ์ครับ ^^


โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:5:18:06 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:6:11:35 น.  

 




โดย: Suessapple วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:23:54:31 น.  

 



โดย: Suessapple วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:23:55:04 น.  

 
ลองดู Link นี้ซิ //www.youtube.com/watch?v=Hj8nRLlrr8s เป็นบทเพลงที่นำบทกวีของซูตุงพอ หรือ ซูซื่อ มาขับร้องบรรเลง


โดย: Jon IP: 58.8.23.161 วันที่: 22 ตุลาคม 2553 เวลา:1:25:19 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: First120 IP: 103.4.229.17 วันที่: 30 ตุลาคม 2562 เวลา:14:17:07 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: มามาดู IP: 223.24.63.66 วันที่: 13 มิถุนายน 2565 เวลา:21:51:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.