bloggang.com mainmenu search



กวางโจวเกมส์2010 #3




ผู้อัญเชิญดอกไม้ที่ระลึกหรือเหรียญรางวัล






กีฬาวูซู



Jun Tao Yi นักกีฬาวูซูหญิง สิงคโปร์





Ai Miyaoka นักกีฬาวูซูหญิง ญี่ปุ่น





Fong Ying Chai นักกีฬาวูซูหญิง มาเลเซีย





L Lindswell of Indonesia นักกีฬาวูซูหญิง อินโดนีเซีย





Yi Yeng Chen นักกีฬาวูซูหญิง จีนไทเป





Olga Karmazina นักกีฬาวูซูหญิง อุซเบกิสถาน





Farshad Arabi นักกีฬาวูซูชาย อิหร่าน





Bountang Song นักกีฬาวูซูชาย ลาว





Raju Maharjan นักกีฬาวูซูชาย เนปาล





Masbah Uddin นักกีฬาวูซูชาย บังคลาเทศ





Guangyuan Huang นักกีฬาวูซูชาย จีน





Taeho Kim นักกีฬาวูซูชาย เกาหลีใต้





Quoc Khanh Pham นักกีฬาวูซูชาย เวียดนาม






ผลการแข่งขันกีฬาวูซู ขอเชิญคลิกที่นี่


ผลมีทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 13- 17 พฤศจิกายน 2010


คลิกที่ Available Information ช่องขวา แล้วคลิกคำว่า Medallists


หากประเภทใด Final มีแข่งสองคน ดูที่สัญลักษณ์สีของหัวคน สีใดโชว์ทางขวาก็เหรียญทอง






กีฬาแคนู-คายัค สลาลม



Jingjing Li นักกีฬาคายัคหญิงเดี่ยว จีน





Yingying Zou นักกีฬาคายัคหญิงเดี่ยว จีน





Asahi Yamada นักกีฬาคายัคหญิงเดี่ยว ญี่ปุ่น





Anya Suppermpool นักกีฬาคายัคหญิงเดี่ยว ไทย





Yekaterina Lukicheva นักกีฬาคายัคหญิงเดี่ยว คาซัคสถาน





Chu Han Chang นักกีฬาคายัคหญิงเดี่ยว จีนไทเป





Minghai Hu และ Junrong Shu นักกีฬาแคนูชายคู่ จีน





Fei Chen และ Bao Shan นักกีฬาแคนูชายคู่ จีน





Fei Chen และ Bao Shan นักกีฬาแคนูชายคู่ จีน





Bardiya Mehrjou และ Amirmohammad Fattahpour นักกีฬาแคนูชายคู่ อิหร่าน





Aleksey Zubarev และ Alexsey Naumkin นักกีฬาแคนูชายคู่ อุสเบกิสถาน





Jakkrit Ongard และ Damrongsak Chittong นักกีฬาแคนูชายคู่ ไทย





Jakkrit Ongard และ Damrongsak Chittong นักกีฬาแคนูชายคู่ ไทย





Hiroyuki Nagao และ Masatoshi Samma นักกีฬาแคนูชายคู่ ญี่ปุ่น





Meng Lung Kuo และ Hsiang Chun Lin นักกีฬาแคนูชายคู่ จีนไทเป






ผลการแข่งขันกีฬาแคนู-คายัค สลาลมขอเชิญคลิกที่นี่ ตรวจสอบผล ณ วันที่ 14 กับ16 พฤศจิกายน 2010






กีฬายิมนาสติกสากล




Haibin Teng นักยิมนาสติกชาย จีน แข่งฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ในประเภทรวมอุปกรณ์





Bo Lu นักยิมนาสติกชาย จีน แข่งฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ในประเภทรวมอุปกรณ์





Haibin Teng นักยิมนาสติกชาย จีน แข่งม้าหู ในประเภทรวมอุปกรณ์





Soo Myun Kim นักยิมนาสติกชาย เกาหลีใต้ แข่งม้าหู ในประเภทรวมอุปกรณ์






Takuya Nakase นักยิมนาสติกชาย ญี่ปุ่น แข่งม้าหู ในประเภทรวมอุปกรณ์





Soo Myun Kim นักยิมนาสติกชาย เกาหลีใต้ แข่งประเภทห่วง ในประเภทรวมอุปกรณ์





Hisashi Mizutori นักยิมนาสติกชาย ญี่ปุ่น แข่งประเภทห่วง ในประเภทรวมอุปกรณ์





Haibin Teng นักยิมนาสติกชาย จีน แข่งประเภทห่วง ในประเภทรวมอุปกรณ์






Hisashi Mizutori นักยิมนาสติกชาย ญี่ปุ่น แข่งประเภทบาร์เดี่ยว ในประเภทรวมอุปกรณ์





Haibin Teng นักยิมนาสติกชาย จีน แข่งประเภทบาร์เดี่ยว ในประเภทรวมอุปกรณ์





เหรียญเงิน Bo Lu จีน, เหรียญทอง Haibin Teng จีน, ทองแดง Hisashi Mizutori ญี่ปุ่น





เหรียญทอง Haibin Teng จีน





เหรียญเงิน Bo Lu จีน








กีฬายิมนาสติกสากล ในกวางโจวเกมส์ ขณะนี้ได้ปิดม่านลงเรียบร้อยแล้ว โดยมีการแข่งขันกันตั้งแต่วันที่ 13/11/2010 – 17/11/2010 รวม 5 วัน ชิงเหรียญทองจำนวน 14 เหรียญทอง เท่ากับจำนวนเหรียญทองในโอลิมปิกเกมส์ 2008 ปักกิ่งเกมส์



กวางโจวเกมส์ครั้งนี้ จีนคว้าเหรียญทองกีฬายิมนาสติกไปได้เกือบทั้งหมด คือ 13 เหรียญทอง แบ่งให้เกาหลีใต้ เพียง 1 เหรียญทอง



ประเภทเหรียญทองที่จีนคว้าไปได้ คือ ทีมชาย, ทีมหญิง, รวมอุปกรณ์ชาย(6อุปกรณ์), รวมอุปกรณ์หญิง(4อุปกรณ์), ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ชาย, ม้าหูชาย, ม้ากระโดดหญิง, บาร์ต่างระดับหญิง, ห่วงชาย, คานทรงตัวหญิง, ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์หญิง, บาร์คู่ชาย, และบาร์เดี่ยวชาย ส่วนเกาหลีใต้คว้าเหรียญทองไปได้เหรียญเดียว ในประเภทม้ากระโดดชาย ซึ่งจีนได้เหรียญเงิน คาซัคสถานได้เหรียญทองแดง




ขอเชิญชม



ยิมนาสติกประเภทบาร์ต่างระดับ เหรียญทอง จีน HE Kexin 16.425 คะแนน



เหรียญเงิน จีน HUANG Qiushuang 15.825 คะแนน, และทองแดง ญี่ปุ่น TSURUMI Koko 14.300 คะแนน










HE Kexin น้องคนนี้ละที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ 2008 ปักกิ่งเกมส์ ประเภทบาร์ต่างระดับ


ตอนนั้น น้องเขายังตัวเล็ก ใครต้องการดูว่า แข่งครั้งไหนเล่นดีกว่ากัน เชิญดูเปรียบเทียบได้ที่นี่





ขอเชิญชม



การแข่งขันยิมนาสติกชาย ประเภทรวมอุปกรณ์


เหรียญทอง จีน (หมายเลข 104 TENG Haibin คะแนนรวม 91.100),


เหรียญเงิน จีน (หมายเลข 103 LU Bo คะแนนรวม 89.850),


และทองแดง ญี่ปุ่น (หมายเลข 127 MIZUTORI Hisashi คะแนนรวม 89.700),


ส่วนอ้นดับที่ 4 เกาหลีใต้ (หมายเลข 138 KIM Soo Myun คะแนนรวม 88.750)















ผลการแข่งขันกีฬายิมนาสติกสากล ขอเชิญคลิกที่นี่ ตรวจสอบผล ณ วันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2010





กีฬาเซปักตะกร้อ




นักตะกร้อหญิงทีมเวียดนาม Thi Bich Thuy Nguyen เสิร์ฟใส่ทีมญี่ปุ่น





Hai Thao Nguyen ตบด้วยเท้าซ้ายใส่ทีมญี่ปุ่น





Hai Thao Nguyen กับลีลาหน้าเน็ต





นักตะกร้อหญิงทีมญี่ปุ่น Chiharu Yano ขึ้นตบด้วยหลังเท้าบ้าง





นักตะกร้อหญิงทีมญี่ปุ่น Sawa Aoki เสิร์ฟ





นักตะกร้อหญิงทีมเวียดนาม Thi Hanh Ie ในแอคชั่นหน้าแน็ต





การแข่งขันเซปักตะกร้อทีมชาย ระหว่างจีนกับมาเลเซีย ที่ศูนย์กีฬา Haizhu





นักตะกร้อทีมมาเลย์ Mad Ghani Norshahr กระโดดขึ้นบล็อกเท้าตบของ Jin Jie ทีมจีน





Mad Ghani Norshahr กระโดดขึ้นบล็อกลูกตบของ Jin Jie อีกครั้ง





Muhammad Sya Husin กระโดดขึ้นบล็อกเท้าตบของ Wang Jian

















นักเรียนประถมจากโรงเรียนในกวางโจว ร่วมเชียร์นักกีฬาตะกร้อชาย ทีมจีนเจอมาเลเซีย





Muhammad Sya Husin กระโดดขึ้นตบใส่ Ding Yuting ทีมจีนบ้าง





นักตะกร้อทีมอินโดนีเซีย Husni Uba กระโดดขึ้นตบใส่ Yoo Dong Young ทีมเกาหลีใต้





อินโดนีเซีย Wisnu Dwi Subantor กระโดดขึ้นบล็อกลูกตบของ Yoo Dong เกาหลีใต้







ผลการแข่งขันกีฬาเซปัคตะกร้อ ขอเชิญคลิกที่นี่ ตรวจสอบผล ณ วันเสาร์ที่ 20 กับ 27 พฤศจิกายน 2010






กีฬาเทควันโด




นักเทควันโดหญิง รุ่นไม่เกิน 46 ก.ก. เกาหลีใต้ เจอ จีนไทเป





นักเทควันโดหญิง รุ่นไม่เกิน 46 ก.ก. บังคลาเทศ เจอ เนปาล





นักเทควันโดหญิง รุ่นไม่เกิน 46 ก.ก. บาห์เรน เจอ จอร์แดน





นักเทควันโดชาย รุ่นไม่เกิน 74 ก.ก. อิหร่าน เจอ จีน





นักเทควันโดชาย รุ่นไม่เกิน 74 ก.ก. คูเวต เจอ อุซเบกิสถาน





Heo Jung-Nyoung นักเทควันโดชาย เกาหลีใต้ รุ่นมากกว่า 87 ก.ก. คว้าเหรียญทอง





Lee Sung-Hye นักเทควันโดหญิง เกาหลีใต้ รุ่นไม่เกิน 57 ก.ก. คว้าเหรียญทอง





Nabil Hassan นักเทควันโดชาย จอร์แดน รุ่นไม่เกิน 80 ก.ก. คว้าเหรียญทอง





Sarita Phongsri นักเทควันโดหญิง ไทย รุ่นไม่เกิน 53 ก.ก. คว้าเหรียญทอง







ผลการแข่งขันกีฬาเทควันโด ขอเชิญคลิกที่นี่ ตรวจสอบผล ณ วันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2010






วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2553 เวลาในเมืองไทยประมาณ 16.45 น. ชาวไทยหลายล้านคนก็ได้ร้องเฮกันถ้วนหน้า เมื่อได้ทราบข่าวดีว่า ทีมไทยเราสามารถคว้าเหรียญทองเหรียญแรกได้แล้ว จากนักกีฬาหญิงวัย 19 ปี ในกีฬาประเภทเทควันโด รุ่นไม่เกิน 53 ก.ก.




คนไทยต่างรอเหรียญทองเหรียญแรก ในกวางโจวเกมส์ครั้งนี้อย่างใจกระวนกระวาย เพราะทีมชาติอื่นๆในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็คว้าเหรียญทองกันได้ไปแล้วหลายชาติ แต่ทีมไทยของเรา ยังคงได้เพียงแค่เหรียญเงินกับเหรียญทองแดงเท่านั้น รวมทั้งกีฬามวยสากล และกีฬายกน้ำหนัก กีฬาที่เรามุ่งหวังเหรียญทองเอาไว้สูง ก็ต่างรวมใจกันแพ้อย่างต่อเนื่อง




โอย เครียด เครียด... จขบ.ลุ้นถ่ายทอดสดทุกชนิดกีฬา แบบหายใจอึดอัดไม่ทั่วท้องมา รวม 6 วัน ก็ตั้งแต่วันที่ 13 – 18 พฤศจิกายน พอได้รับข่าวดีเท่านั้น จขบ.แทบจะกระโดด ยิ้มออกมาด้วยความสุขใจ รับประทานอาหารในเย็นวันนั้นได้อร่อยขึ้นทันตาเห็น









น้องหยิน ‘สริตา ผ่องศรี’ คว้าเหรียญทองได้จากกีฬาเทควันโด รุ่นไม่เกิน 53 กิโลกรัม โดยเธอชนะต่อ เหงียน ทิฮอย นักกีฬาเวียดนาม ด้วยคะแนน 4-3 ทั้งนี้ในช่วงต้นยกแรก เธอพลาดท่าโดนสาวเวียดนามเตะโดนศรีษะนำคะแนนไปก่อน 3 แต้ม แต่ช่วงท้ายของยกแรก เธอก็สามารถทำคะแนนตีตื้นขึ้นมา 1 แต้ม




ในยกที่ 2 น้องหยิน - สริตา พยายามหาจังหวะเข้าทำ แต่ยังไม่มีโอกาสอย่างชัดเจน ยังคงตามอยู่ 3-1 พอถึงช่วงพักยก จึงโดนโค้ชเช โค๊ชเทควันโดของไทยชาวเกาหลีใต้ ติวเข้มอย่างหนัก




ยกที่ 3 สาวเวียดนามพยายามจะเข้าเตะทำคะแนน แล้วมีจังหวะมือมาปัดเข้าที่ตาของ น้องหยิน - สริตา จนต้องเรียกแพทย์สนามเข้ามาดู แต่ น้องหยิน ใจยังสู้ ลุกขึ้นมาแข่งต่อ จนสามารถกลับตัวเตะสูงเข้าที่ใบหน้าของ เหงียน ธีฮอย ได้อย่างสวยงาม ได้ไปอีก 3 แต้ม คะแนนแซงขึ้นนำในช่วงท้ายของยกสุดท้ายเป็น 4-3 จนหมดเวลา ซึ่งมีผลให้ชาวไทยทุกคน ทั้งโค๊ช ทั้งนักข่าว ต่างดีใจร้องเฮกันลั่น




น้องหยิน - สริตา จึงนับเป็นผู้สร้างเกียรติประวัติแก่ตัวเธอเอง แก่ครอบครัว แก่สมาคม แก่ประเทศชาติ และแก่สถาบันการศึกษา ‘ม.เกษตรศาสตร์’ โดยเป็นผู้คว้าเหรียญทองแรกให้กับทัพนักกีฬาไทย ซึ่งช่วยสร้างความสุขใจให้กับคนไทยทั้งชาติ









ในกวางโจวเกมส์ครั้งนี้ น้องหยิน - สริตา เอาชนะ โคเซตต์ บาสบูส (เลบานอน) 3-0 แล้วมาเอาชนะ ลาติกา บันดารี (อินเดีย) 6-0 ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ไปพบกับ ควอน อึนยุง (เกาหลีใต้) ซึ่งทั้งคู่ สู้กันได้อย่างสูสี เสมอกัน 3-3 ก่อนที่ นักเตะสาวจากเกาหลีใต้ มีอาการบาดเจ็บเข่า จนแข่งต่อไปไม่ไหว ทำให้ น้องหยิน - สริตา ผ่านเข้าชิงชนะเลิศ พบกับ เหงียน ทิฮอย (เวียดนาม) และสามารถคว้าเหรียญทองได้ในที่สุด




น้องหยิน หรือ สริตา เป็นศิษย์เก่าของบัญชายิมส์ เป็นหนึ่งในนักกีฬาเทควันโด้ที่เริ่มเล่นรุ่นเดียวกับ น้องสอง - บุตรี เผือดผ่อง ในช่วงแรกๆที่ น้องหยิน ลงแข่งระดับเยาวชน เธอยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่สมาคมเทควันโดเห็นแวว จึงส่งเสริมสนับสนุนดึงตัวเข้าสู่แคมป์ทีมชาติยุคเลือดใหม่




ในวัย 15 ปี น้องหยิน เคยได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่าถึงขั้นเอ็นไขว้หน้าขาดมาแล้ว เธอต้องพักรักษาตัวไปประมาณปีเศษ แต่เพราะกำลังใจการสนับสนุนจากภายในครอบครัวของเธอ ทำให้ น้องหยิน กลับเข้ามาสู่วงการกีฬาเทควันโด้อีกครั้ง









เธอเกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2534 ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ เริ่มเล่นกีฬาเทควันโดตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยในปี 2549 สามารถคว้าแชมป์เยาวชนประเทศไทย จากนั้นในปี 2550 ก็สามารถคว้าแชมป์ประเทศไทยได้อีก



ผลงานระดับนานาชาติ เธอคว้าเหรียญทองแดงจากการแข่งขันเทควันโด โคเรีย โอเพน ครั้งที่ 4 ปี 2008 ประเทศเกาหลีใต้, เหรียญทองแดง กีฬามหาวิทยาลัยโลก (ฤดูร้อน) ครั้งที่ 2009 ณ ประเทศเซอร์เบีย, เหรียญเงิน เทควันโด ชิงแชมป์โลก 2009 ณ กรุงโคเปเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก, เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ปี 2009 ณ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว และคว้าเหรียญเงิน จากการแข่งขัน เทควันโดแชมเปียนส์ชิป 2010 ที่ประเทศเกาหลีใต้




หลังการแข่งขัน เธอให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า "ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง จะพกหลวงปู่ทวด และหลวงพ่อน้อย ติดตัวเสมอ จะถอดก็เมื่อต้องแข่งขันบนสังเวียน เพราะเป็นพระที่นับถือบูชามานาน" เธอเปิดเผยอีกว่า "ก่อนเดินทางมาประเทศจีน ได้ไปบนไว้ที่ศาลหลักเมืองว่า หากได้เหรียญทอง จะกลับไปแก้บน" แต่เธอปฏิเสธที่จะเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าบนเอาไว้ว่าอย่างไร




เธอเผยต่อไปอีกว่า "วันนี้ก่อนจะลงแข่งรอบรองชนะเลิศ ได้ขอให้ พีรพร สุวรรณฉวี ผู้จัดการทีมเทควันโดทีมชาติไทย ช่วยผูกเกราะไฟฟ้าให้ ซึ่งเมื่อเอาชนะคู่แข่งจากเกาหลีใต้ได้ เมื่อถึงรอบชิงชนะเลิศ จึงขอให้ผู้จัดการทีม เป็นผู้ผูกเกราะไฟฟ้าให้อีก เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย"




น้องหยิน - สริตา เผยว่า "ที่ผ่านมายึดถือพี่วิว (เยาวภา บุรพลชัย อดีตนักเทควันโดเหรียญทองแดงโอลิมปิก 2004) เป็นไอดอลส่วนตัว เนื่องจากชื่นชอบในตัวพี่เขา และยังได้มีโอกาสซ้อมร่วมกันเมื่อหลายปีมาแล้ว รู้สึกประทับใจมาก"




ซึ่งแม้จะได้เหรียญทองมาครองได้แล้ว แต่ น้องหยิน ยอมรับว่าสภาพร่างกายของตนเองไม่ฟิตมากนัก "ตัวหยินเอง เคยผ่าตัวหัวเข่าถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกผ่าเข่าขวาเมื่ออายุ 16 ปี จากการบาดเจ็บจากการแข่งขัน จากนั้นครั้งล่า ก็เพิ่งผ่าตัดเข่าซ้ายเมื่อต้นปี 2553 หลังคว้าเหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ประเทศลาว และเพิ่งจะมาหายเมื่อช่วงกลางปีนี้เอง ดังนั้นสภาพร่างกายตอนนี้ ยอมรับตามตรงว่า ยังไม่ฟิตสมบูรณ์เต็มที่ แต่ก็ดีใจที่ได้เหรียญทองมาได้"




สำหรับ น้องหยิน - สริตา จะยังคงปักหลักเชียร์เพื่อนร่วมทีม ลุยศึกกวางโจวเกมส์ต่อไป ก่อนจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 17.00 น. โดยสายการบินไทย เที่ยวบินทีจี 669





กีฬาว่ายน้ำ



โอ....... บล็อกวันนี้ ยาวสะเด็ด สะเด่า





































































อาจกล่าวได้ว่า ในทวีปเอเซีย มี พาร์คอยู่ 2 พาร์ค ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวเอเซีย


โดยเฉพาะชาวเกาหลีใต้ ขนาดประเทศจีนก็ยังสู้ไม่ได้










พาร์คแรก คือ พาร์ค จี ซอง (Park Ji-Sung) นักฟุตบอลทีมเกาหลีใต้ อายุ 29 ปี ปัจจุบัน เขาเล่นให้กับสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และเป็นกัปตันทีมฟุตบอลของเกาหลีใต้









และพาร์คที่สอง คือ พาร์ค แตฮวอน (Park Tae-Hwan) นักว่ายน้ำเกาหลีใต้ อายุ 21 ปี ผู้คว้าเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก 2008 ปักกิ่งเกมส์ ในประเภทว่ายน้ำฟรีสไตล์ 400 เมตรชาย และคว้าเหรียญเงินในประเภทว่ายน้ำฟรีสไตล์ 200 เมตรชาย









พาร์คคนที่สองนี้ เป็นบุคคลที่ประเทศเกาหลีใต้รอคอย เพราะเขาเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้


ที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกในกีฬาประเภทว่ายน้ำได้ เขานับเป็นคนเอเซียที่สู้ได้สูสีกับ ไมเคิล เฟลป์ส (Michael Phelps)


นักว่ายน้ำทีมชาติสหรัฐ ผู้คว้า 14 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง จากสองกีฬาโอลิมปิกต่อเนื่องกัน









ในเอเชียนเกมส์ 2010 กวางโจวเกมส์ ครั้งนี้ พาร์ค แตฮวอน ลงแข่งขัน 7 ประเภท คว้าเหรียญได้ทุกประเภท




1. พาร์คคว้า 3 เหรียญทอง... โดย เหรียญทองแรก 14/11/2010 จากว่ายฟรีสไตล์ 200 เมตรชาย


ทำเวลา 1 นาที 44.80 วินาที ทำลายสถิติเอเซีย, เงิน SUN Yang จีน, ทองแดง MATSUDA Takeshi ญี่ปุ่น





ขอเชิญชม ว่ายฟรีสไตล์ 200 เมตรชาย


ทำเวลา 1 นาที 44.80 วินาที ทำลายสถิติเอเซีย (ดูป้ายโชว์สีเขียว) คลิปความยาว 2.26 นาที









2. เหรียญทองที่สอง 16/11/2010 จากว่ายฟรีสไตล์ 400 เมตรชาย เวลา 3 นาที 41.53 วินาที,


เหรียญเงิน SUN Yang จีน, และทองแดง ZHANG Lin จากจีนเช่นกัน



3. เหรียญทองที่สาม 17/11/2010 จากว่ายฟรีสไตล์ 100 เมตรชาย เวลา 48.70 วินาที


เหรียญเงิน LU Zhi Wu จีน, และทองแดง FUJII Takuro ญี่ปุ่น








4. เหรียญที่สี่ 18/11/2010 เขาคว้าเหรียญเงิน


จากว่ายฟรีสไตล์ 1,500 เมตรชาย เวลา 15 นาที 01.72 วินาที โดยเหรียญทอง SUN Yang จีนคว้าไป


ด้วยเวลา 14 นาที 35.43 วินาที ทำลายสถิติเอเซีย, และทองแดง ZHANG Lin จากจีนเช่นกัน



5. เหรียญที่ห้า 18/11/2010 เขาคว้าเหรียญเงิน


จากทีมว่ายผลัดผสม 4 * 100 เมตรชาย, เหรียญทอง ญี่ปุ่น, เหรียญทองแดง คาซัคสถาน



6. เหรียญที่หก 15/11/2010 เขาคว้าเหรียญทองแดง จากทีมว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4 * 200 เมตร,


เหรียญทอง จีน, เหรียญเงิน ญี่ปุ่น



7. เหรียญที่เจ็ด 16/11/2010 เขาคว้าเหรียญทองแดง จากทีมว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4 * 100 เมตร,


เหรียญทอง จีน, เหรียญเงิน ญี่ปุ่น










พาร์ค แตฮวอน อายุ 21 ปี มีความสูง 1.83 ม. มีน้ำหนัก 76 ก.ก.



ปัจจุบันเขาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากในเกาหลีใต้ ได้ลงปกนิตยสารหลายฉบับ










ขอเชิญชม Park Tae-Hwan Photoes


ความยาว 3.32 นาที








ผลการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำ ขอเชิญคลิกที่นี่ ตรวจสอบผล ณ วันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2010






Cheer Girls




ขอจบบล็อก สุดจะยาว วันนี้ ด้วยคนสวยๆ



กวางโจวเกมส์ นอกจากผู้ชมจะได้ชมกีฬาดีๆ นักกีฬาสวยๆ และหล่อๆ แล้ว


นักเชียร์กีฬาสวยๆ ก็เป็นสีสันอีกอย่างหนึ่ง ในกวางโจวเกมส์









กลุ่มเชียร์เกิร์ลในชุดบิกินี เสื้อผ้าเข้ากันได้ดีกับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด







พอเปลี่ยนวันใหม่ก็เปลี่ยนชุดใหม่





จะมีเต้นเชียร์ ตอนเปลี่ยนนักกีฬาคู่ใหม่ลงแข่ง


เสียดายช่วงนั้นทีวีจะไม่ถ่ายทอด จะมีก็แต่ผู้ชมในสนามที่ได้ชม





เป็นอาสาสมัครที่ได้รีบการคัดเลือกตัว จึงจะมีสิทธิเป็นนักเชียร์แบบนี้ได้





หุ่นดี หน้าตาดี ผิวพรรณดี และความสูงเท่าๆกัน









บางครั้งก็มีอุปกรณ์เสริมในการเต้น





ปอมปอมเกิร์ล ที่สนามบาสเกตบอล จะออกมาเต้นตอนเปลี่ยนทีมแข่งขันชุดใหม่





พอเปลี่ยนวันใหม่ เสื้อผ้าปอมปอมเกิร์ลก็เปลี่ยนชุดใหม่





สาวคนนี้แต่งตัวเรียบร้อย เพราะเต้นเชียร์อยู่ที่สนามแข่งขันเทเบิลเทนนิส







เรื่องเชียร์กีฬา เมืองไทยของเราก็ส่งนักเชียร์มือโปรไปกวางโจวเกมส์ด้วย ไปกันหลายคน เสียดายว่า ทีมเชียร์ของไทยหาตั๋วเข้าไปชมในบางสนามไม่ได้ อาจจะเพราะตั๋วหมด หรืออาจจะเพราะตั๋วราคาแพงจนไม่อาจซื้อได้ (น่าจะมีทีวีช่องใดนำมาสัมภาษณ์สักครั้งว่าเป็นเพราะเหตุใด)




จขบ.เห็นใจทีมเชียร์จากเมืองไทยมาก เขาทั้งหลายไปแบบไม่มีรายได้ แถมยังต้องควักเนื้อ ออกเงินค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ซึ่งก็อาจจะขอรับบริจาค แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เขาเหล่านี้แหละเป็นผู้ช่วยเปล่งเสียงเชียร์ดังๆ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ พร้อมเสียงกลองเสียงปี่ที่พวกเขาพกเข้าไปในสนามด้วย ซึ่งช่วยลดความกดดันให้กับนักกีฬาชาติไทยเราได้มากๆ แถมยังสร้างกำลังใจอันใหญ่หลวง ให้สู้ สู้ตายโว๊ย ตามเสียงเชียร์




จขบ.รู้สึกเสียดายที่ทีมเชียร์ของไทยหาตั๋วเข้าไปชมในบางสนามไม่ได้ เสียดายที่อุตส่าห์เดินทางไปถึงกวางโจวแล้ว ...เสียงตะโกน เสื้อผ้า และอุปกรณ์เชียร์ ก็มีพร้อมแล้ว แต่หาตั๋วเข้าไปในบางสนามไม่ได้ ทำได้เพียงแค่เชียร์ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ อยู่ด้านนอกสนาม ทำเอาผู้ชมชาวจีนและนักกีฬาชาติต่างๆ ต่างอมยิ้ม และขอเข้ามาร่วมถ่ายรูป









น่าจะมีองค์กรกีฬา หรือองค์กรใดๆ ช่วยจัดโครงการเชียร์ทีมชาติ ให้เป็นระบบมากกว่านี้ในอนาคตข้างหน้า เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยกระตุ้นกำลังใจนักกีฬาไทยเป็นอย่างดีแล้ว (ญาติพี่น้องของนักกีฬา หรือคณะกรรมการกีฬาอันทรงเกียรติ จะเชียร์กีฬาแบบเงียบๆ) กลุ่มนักเชียร์กีฬาเหล่านี้ ยังจะช่วยเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และสร้างภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศไทย ต่อชาวต่างชาติได้คุ้มค่ามากๆ


ขอขอบคุณที่ติดตาม



yyswim


yyswim@hotmail.com


Create Date :20 พฤศจิกายน 2553 Last Update :22 พฤศจิกายน 2553 1:06:28 น. Counter : Pageviews. Comments :31