bloggang.com mainmenu search






จุฬาฯ วันสถาปนา




บล็อกวันนี้ ขอนำเรื่อง ‘รวมใจถวายพระพรองค์ราชัน’ - 93 ปี 'วันสถาปนาจุฬาฯ'


จากคอลัมน์ ‘วาไรตี้’ น.ส.พ.เดลินิวส์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2553 มาช่วยเผยแพร่








วันที่ 26 มีนาคม ของปี พ.ศ.2459 ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศขึ้น



เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัย ที่เป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ สะสมและเผยแพร่ความรู้ สร้างคนดีและเก่งเพื่อช่วยกันดูแลสังคมและประเทศชาติ ตลอดจนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม



อาคารหลังแรกของจุฬาฯ





จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ อนุสาวรีย์อันมีชีวิตที่ทรงสร้างไว้ให้คนไทยและนานาประเทศ ได้น้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ สืบต่อไปชั่วกาลนาน



จากวันนั้นจนถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2553 นับเป็นเวลา 93 ปีแล้ว ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก้าวเดินมายาวไกล และได้สนองพระราชดำริของล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก



หอประชุมในสมัยก่อนภายในยังไม่มีแอร์ สวยเด่นไม่มีตึกอื่นบัง ข้างหน้าเป็นสนามหญ้าเล่นรักบี้ได้





จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียว ที่อยู่ในทำเนียบ 200 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 138 และติดอันดับหนึ่งในร้อยในอีกหลายสาขาวิชา เช่น สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ฯลฯ แสดงถึงการเป็นที่รู้จักและยอมรับเป็นอย่างดีในแวดวงวิชาการระดับโลก



คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี






จุฬาฯ ได้สร้างคนดีและเก่งจำนวนมาก ออกมารับใช้สังคมและประเทศชาติ สร้างองค์ความรู้ใหม่ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมากในหลากหลายด้าน



แต่ยังไม่เพียงพอ จุฬาฯ ยังต้องเดินต่อไปอีกไกลด้วยก้าวย่างที่มั่นคง และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น เพื่อให้ทันและก้าวล้ำหน้าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและหลีกเลี่ยงไม่ได้



คณะรัฐศาสตร์





จุฬาฯ เมื่อขึ้นสู่ปีที่ 94 จึงต้องบริหารจัดการที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมและประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ



คณะทันตแพทยศาสตร์ จากมุมมองด้านสยามสแควร์






จุฬาฯ ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ผู้ที่ทำงานอยู่ในจุฬาฯเท่านั้น แต่หมายรวมถึง นิสิตเก่า และผู้ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาฯทุกคน



สำหรับนิสิตเก่าจุฬาฯนั้น หลายคนเคยถามว่า จะทำอะไรได้บ้าง แน่นอนว่า นิสิตเก่าย่อมมีหน้าที่ต่อสังคมและประเทศชาติ ต้องรวมพลังกันร่วมรับผิดชอบทำให้สังคมของเราอยู่เย็นเป็นสุขและเจริญยิ่งๆขึ้น



แล้วก็อย่าลืมหันมาช่วยกันดูแล จุฬาฯ ด้วย ดูแลให้ จุฬาฯ เข้มแข็งเพื่อทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น และอย่างน้อยที่สุด ก็กลับมาเยือนเหย้า มาดูว่าจุฬาฯวันนี้เป็นอย่างไร



หอประชุม ในปีปัจจุบัน






วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2553 นี้ จึงเป็นวันที่ชาวจุฬาฯ ทุกคน จะพร้อมกันใส่สีชมพูมารวมใจถวายพระพรองค์ราชัน รำลึกถึงวันสถาปนาจุฬาฯ มหาวิทยาลัยที่ช่วยสร้างตัวตนของเราทุกวันนี้



งานวันสถาปนามหาวิทยาลัย จะเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าเวลา 06.30 น.ที่บริเวณรอบเสาธง หน้าหอประชุมใหญ่ ใครอยู่คณะใด อยู่หน่วยงานใด ก็รวมตัวกันที่โต๊ะของคณะ และหน่วยงานของตน เพื่อร่วมกันถวายพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระผู้พระราชทานกำเนิด และพระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



แล้วร่วมกันรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงบาตร ชาวจุฬาฯ จะได้ร่วมกันตักบาตรร่วมกันในวันสำคัญนี้ด้วย



รูปภาพปีพ.ศ.2548


รูปภาพข้างล่างทั้งหมด ส่วนใหญ่ถ่ายโดยคุณเล็ก-อดิสร (ครุศาสตร์ จุฬาฯ เข้าปี 2522) ขอขอบคุณ







ที่น่าปลื้มใจที่สุด คือ โดยปกติหลังจากทรงบาตรแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะพระราชทานพระราชวโรกาสให้ชาวจุฬาฯ ที่อยู่ในบริเวณนั้นได้เฝ้าทูลละอองพระบาทโดยทั่วกัน







เวลา 10.00 น. ผู้มาร่วมงานยังมีโอกาสเฝ้าฯ และชมการแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์


ปีนี้ ต้องเปลี่ยนสถานที่ เนื่องจากหอประชุมจุฬาฯปิดซ่อมหลังคา



รูปภาพปีพ.ศ.2552 ในหอประชุมจุฬาฯ












































































































































































จุฬาฯ ยังถือเป็นประเพณีปฏิบัติ ที่จะมีพิธีเปิดอาคารใหม่ในวันสถาปนา



สำหรับใน ปีพ.ศ.2553 นี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระมหากรุณาทรงเป็นประธานในพิธีเปิด อาคารมหาจักรีสิรินธร ซึ่งเป็นอาคารใหม่ของคณะอักษรศาสตร์ และทรงเป็นประธานในพิธีเปิด อาคารศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ๑๐๐ ปี ซึ่งเป็นอาคารให้บริการด้านสุขภาพ ของคณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เดิม)



คณะสหเวชศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านหลังมาบุญครอง





คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เดิม)






นิสิตเก่าของคณะ จะไปร่วมรับเสด็จ และแสดงความยินดีกับคณะของตน เชิญได้ในช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น.



นิสิตเก่าคณะอื่น ๆ ก็อย่าลืมแวะไปเยี่ยมเยือนคณะของตน ไปดูว่าคณะของตนเป็นอย่างไรแล้ว เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนแล้ว มีอะไรจะให้ช่วยเหลือบ้าง?



ลานเกียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์





แน่ใจว่านิสิตเก่าจุฬาฯ อยากจะช่วยจุฬาฯ แต่บางทีก็ไม่ทราบว่าจะช่วยอย่างไรดี?



จริง ๆ แล้ว มีทางช่วยมหาวิทยาลัยได้มากมาย และมหาวิทยาลัยก็อยากจะให้ช่วยมากๆ ด้วย แต่อาจจะสื่อสารไม่ถึงกัน



หนทางช่วยมหาวิทยาลัยมีมากมาย เช่น



ให้เวลาและความคิด สนับสนุนให้คณะต่างๆ สามารถพัฒนาวิทยาการใหม่ๆ ได้โดยดีขึ้น



ช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาหรือการวิจัยระหว่างหน่วยงานภายนอกกับมหาวิทยาลัย



ให้โอกาสนิสิตปัจจุบันพัฒนาตนและความรู้ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์



ช่วยสนับสนุนทุนการศึกษาให้นิสิตที่ขาดแคลนหรือนิสิตที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ฯลฯ



บันไดแดงภายใน เทวาลัย หรือคณะอักษรศาสตร์





หลายคนอาจถามว่า จุฬาฯ ยังต้องการเงินทุนสนับสนุนหรือ?




คำตอบ คือ ยังต้องการ เพราะปัจจุบัน จุฬาฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งเกือบทั้งหมดใช้ไปในเรื่องค่าจ้างบุคลากร ส่วนงบพัฒนามีน้อยมาก แม้จะหาจากการจัดการทรัพย์สิน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่จำเป็น สำหรับการดำรงตนเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งต้องอาศัยบุคลากรชั้นเยี่ยม เทคโนโลยีสมัยใหม่ เครื่องมืออุปกรณ์ เงินทุนในการทำวิจัยต่าง ๆ และการสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ และยังมีนิสิตจุฬาฯ อีกหลายคนที่ต้องการทุนการศึกษา



เรื่องจริง มีนิสิตจุฬาฯ ที่มีปัญญา มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ยังมีอยู่มาก



ซึ่งจุฬาฯ กำหนดนโยบายไว้ชัดเจนว่า นิสิตระดับปริญญาตรีทุกคน ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาเรียน จะต้องได้เรียนโดยไม่มีอุปสรรคด้านทุนทรัพย์



นั่นคือ นิสิตปริญญาตรีทุกคน ถ้าสอบเข้า จุฬาฯ ได้ และหากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษา จุฬาฯ จะจัดทุนการศึกษาให้อย่างเพียงพอตามความจำเป็นของนิสิตแต่ละคน จำนวนเงินกว่าหนึ่งแสนบาทต่อทุนหรือต่อคนต่อปี



พระเกี้ยวพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช





หากประสงค์จะร่วมบริจาค ..การบริจาคสมทบ กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำได้อย่างสะดวก เพียงกรอกเอกสาร แล้วโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่สะดวก ตามเลขที่บัญชีของกองทุนฯ หลังจากนั้นก็ส่งสำเนาใบโอนเงินพร้อมแบบแจ้งความจำนง ไปที่ คุณสุกัญญา ค้ำชู ผู้อำนวยการสำนักงานนิสิตเก่าสัมพันธ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางโทรสาร 0-2218-3360 หรือส่งเป็นเช็คสั่งจ่าย พร้อมแบบแสดงความจำนงก็ได้ เพื่อจะได้ออกใบเสร็จรับเงินของมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้



ถ้าใครไม่สะดวก จะไปบริจาคในงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯในปีนี้ ก็ได้



จึงขอเชิญชวนเพื่อนๆทุกท่าน ไม่จำเป็นจะต้องเป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ ขอเพียงท่านมีจิตศรัทธาช่วยกันลงทุนสร้างคน เพื่ออนาคตของประเทศตามกำลังที่มี



สำหรับงาน "คืนสู่เหย้าชาวจุฬา 2553" ซึ่งจะเริ่มงานในเวลา 17.00 น.สถานที่จัดงาน คือ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ประธานจัดงานในปีนี้ คือ เลขาธิการ ก.พ. - คุณเบญจวรรณ สร่างนิทร (เข้าคณะครุศาสตร์ ปีพ.ศ.2512) แจ้งว่า มีกำหนดการดังนี้



เวลา 17.00 น. - ลงทะเบียน และซื้อบัตรเพียงราคา 200 บาทเท่านั้น โต๊ะเก้าอี้จะแบ่งไว้สำหรับนิสิตเก่าคณะต่าง ๆ เต็มสนาม ดูแผนผังได้ตอนลงทะเบียน หากกลัวหาเพื่อนไม่เจอ สนุกสนานกับซุ้มกิจกรรมต่างๆ อาทิ ซุ้มถ่ายภาพที่ระลึก, ซุ้มทำนายดวงชะตา, ซุ้มจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆ จากจุฬาฯ



เวลา 18.00 น. - บรรเลงเพลง โดยวงดนตรี CU Band - เปิดซุ้มอาหารอร่อยๆ จาก 4 ภูมิภาค พร้อมซุ้ม เครื่องดื่ม จำนวนกว่า 60 ซุ้ม จัดวางเรียงรายไว้รอบงาน เลือกดื่มและทานตามใจชอบ







เวลา 19.10 น. - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงโต๊ะที่ประทับ - คณะกรรมการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ พร้อมกันบนเวที - วง CU Band บรรเลงเพลมหาจุฬาลงกรณ์



เวลา 19.15 น. - อธิการบดี จุฬาฯ กราบบังคมทูลต้อนรับสู่งาน - ประธานคณะกรรมการจัดงานฯ กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของการจัดงาน



เวลา 19.30 น. - MC กล่าวนำเข้าสู่การแสดง



เวลา 19.35 น. - การแสดงรำเฉลิมพระเกียรติ



เวลา 19.45 น. - การแสดงเชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ - CU Band บรรเลงประกอบ



เวลา 19.55 น. - CU Band อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ 3 เพลง



เวลา 20.05 น. - การแแสดงนาฎศิลป ชุดขนม - ชุดดุจน้ำแข็ง - ชุดยึซอ หงส์ดอย - ชุดสดับสัมผัสเสียง - และ Finale



เวลา 20.45 น. - CU Band อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ 3 เพลง



เวลา 20.55 น. - กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโอวาท แก่ผู้เข้าร่วมงาน - และบรรเลงเพลง โดยวงดนตรี CU Band เรื่อยไป



เวลา 22.00 น. - ปิดงาน



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อคุณ ทัศนะ พิทักษ์อรรณพ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 02-215-3488, 02-215-6203 ต่อ 11-12, หรือ 084-760-6123







บล็อกวันนี้ จะวางบล็อกอยู่จนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2553 เพื่อต้องการจะเป็นแรงเสริมแรงหนึ่ง ช่วยกระจายข่าวไปให้หลายๆท่านทราบข่าวนี้ น้องพี่สีชมพูท่านใดเข้ามาอ่าน ช่วยส่งยิ้มให้ จขบ.ทราบบ้างนะครับ



ผมอยากจะมอบบล็อกนี้ให้ คุณขามเรียง ...... คุณBkkbear ..... คุณกูรูขอบสนาม ….
คุณทะลึ่งเบ่เบ๋ ..... คุณมรกตนาคสวาท..... คุณjonykeano ......และ คุณดนย์ ร่วมอ่านด้วย



ผมเอง ไม่เคยไปร่วมงานวันสถาปนามหาวิทยาลัยมาก่อนเลย แต่ปีนี้มีความคิดอยากจะไปถ่ายรูป สมเด็จพระเทพฯ สักครั้ง ผมจึงได้ส่งอีเมล์ไปสอบถามผู้ที่เคยไปถ่ายรูปในปีก่อนๆ ก็ได้รับข้อมูลกลับมาเกี่ยวกับเรื่องกล้อง เกี่ยวกับเรื่องการแต่งกาย ท่านใดมีความคิดคล้ายๆกันกับผม ขอรับทราบข้อมูลทางหลังไมค์นะครับ



ส่วนเรื่องงานในตอนเย็น "คืนสู่เหย้าชาวจุฬา 2553" รูปแบบเสื้อผ้าทั้งชายและหญิงค่อนข้างจะเป็นอิสระ จะเสื้อยืด จะนุ่งยีนส์ จะผูกเน็คไท จะใส่ชุดราตรี ก็ได้ตามใจชอบ แต่ควรจะเอนเอียงไปทางสีชมพู รับรองว่าไม่ตกเทรนด์แน่นอน








บล็อกนี้ เป็นบล็อกที่ยาวมากอีกบล็อกหนึ่ง ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม



yyswim


yyswim@hotmail.com


Create Date :23 มีนาคม 2553 Last Update :26 มีนาคม 2553 0:11:41 น. Counter : Pageviews. Comments :34