bloggang.com mainmenu search










วิธีเล่นรูบิคให้ชนะ









ข้อมูลจากวิกิพีเดีย บอกว่า




ลูกรูบิค หรือ ลูกบาศก์ของรูบิค (Rubik's Cube) เป็นของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นโดย เออร์โน รูบิค ซึ่งเป็นประติมากร และศาสตราจารย์สาขาสถาปนิก ชาวฮังการี เมื่อปี ค.ศ. 1974 หรือปี พ.ศ. 2517 …ช่วงเวลาที่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีไทย, นายชาก ชีรัก เป็นนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส, และริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา



โดยทั่วไป ลูกบาศก์ของรูบิคประกอบขึ้นจากพลาสติกชิ้นย่อยๆรูปลูกบาศก์จตุรัสจำนวน 26 ชิ้น สามารถบิดหมุนรูปลูกบาศก์ไปรอบๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้านจะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ



จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้น มีสีเดียวกัน









ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมของยุคนั้น เป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวมทั้งของแท้และ เลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก




ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับการจดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ ในชื่อ "ลูกบาศก์มหัศจรรย์" (Magic Cube) ในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรนานาชาติ ได้มีการผลิดชุดแรกในปลายปี ค.ศ. 1977 จำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์ หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก




วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตก เริ่มให้ความสนใจในลูกบาศก์นี้ ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1979 บริษัท ไอดีล ทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อทำการจำหน่ายไปทั่วโลก และได้มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ ในระดับนานาชาติ ที่งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองนูร์นแบร์ก และ กรุงปารีส ในช่วงต้นปีค.ศ.1980










ชื่อ "ลูกบาศก์ของรูบิค" (Rubik's Cube) นั้น เป็นเครื่องหมายการค้า ของบริษัท "Seven Towns Limited" ดังนั้นบริษัทไอดีล ทอยส์ จึงลังเลที่จะผลิตของเล่นนี้ ในขณะนั้นจึงปรากฏการลอกเลียนแบบออกจำหน่าย ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทไอดีล ทอยส์ แพ้คดีการล่วงละเมิดสิทธิบัตรหมายเลข US3655201 ซึ่งฟ้องร้องโดย แลร์รี นิโคลส์ Larry Nichols



ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิกิ เทรุโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับ ลูกบาศก์ของรูบิค หมายเลข JP55‒8192 ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิค ขอนั้นกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิ จึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน









หลักการทำงาน



ลูกบาศก์ของรูบิค มีขนาดมาตรฐาน กว้าง ยาว และสูง 2 1/8 นิ้ว (5.4 เซนติเมตร) ลูกบาศก์ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น



ชิ้นกลางหน้าของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้ จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้



ดังนั้นทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน 1 ชิ้น ชิ้นกลางหน้า 6 ชิ้น และชิ้นอื่นๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี โดยจะมีส่วนที่ออกแบบให้ยึดขัดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้



การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นขอบให้หลุดออกมา ส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคโดยวิธีการแยกส่วนประกอบ นับเป็นวิธีที่ง่ายแต่ขาดความท้าทาย









นอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็นชิ้นขอบ ซึ่งมีสี 2 ด้าน และ 8 ชิ้นเป็นชิ้นมุม ซึ่งมีสี 3 ด้าน




ลูกบาศก์ของรูบิค มีจำนวนรูปแบบการเรียงสลับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด เท่ากับ 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ หรือ 43 ล้าน ล้าน ล้าน รูปแบบ ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ ภายในการบิด 29 ครั้งหรือน้อยกว่า




มีการจัดการแข่งขัน ปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้น คือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจาก นครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที









สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดย สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขัน และ เป็นสถิติการแก้ที่เร็วที่สุดในปัจจุบันคือ 7.08 วินาที โดย Erik Akkersdijk in ปีค.ศ. 2008 ในการแข่งขัน Czech Open 2008.




ส่วนสถิติในการเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 10.07 วินาที โดย Tomasz Zolnowski ในการแข่งขัน Polish Open 2009




นอกจากนี้ยังมีสถิติที่ไม่เป็นทางการที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้เป็นการจัดการแข่งขันและจับเวลาที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นจึงมีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ลูกบาศก์โลกเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป



อนึ่ง เมื่อปีค.ศ. 2007 คาวาซากิ เฮฟวี่ อินดรัสทรีส์ (Kawasaki Heavy Industries) เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ชื่อ "Cube-kun" ที่มีความสามารถในการเล่นรูบิคด้วยคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว










ขอเชิญศึกษาวิธีเล่นรูบิคให้ชนะ ความยาว 21.24 นาที

โดย Chris Dzoan who break the official one-handed record at 16.36 seconds

เนื้อหาประกอบด้วย Intro to Cubing / First Layer / Second Layer / Third Layer







หากฟังเสียงไม่ทัน ขอเชิญเปิดอ่านเอกสารที่นี่








ขอขอบคุณที่ติดตาม



yyswim


yyswim@hotmail.com


Create Date :08 กุมภาพันธ์ 2553 Last Update :8 กุมภาพันธ์ 2553 19:24:19 น. Counter : Pageviews. Comments :10