bloggang.com mainmenu search
กรุงเทพมหานคร จะกลายเป็นเมือง ศิวิลัย สมคําร่ําลือ ซึ่งตอนนี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีแผนสร้าง แลนด์มาร์กใหม่  ของประเทศไทยริมน้ำเจ้าพระยา วันนี้ MThai จะพาไปอัพเดจ ความคืบหน้าว่าตอนนี้ไป ถึงไหนกันเเล้วเป็นติดตามกันเลย

 

ล่าสุดทราบมาว่ารัฐบาลได้ สั่งให้ กรุงเทพมหานคร เดินหน้าเคลียร์ ลำน้ำ ตั้งเป้า จะตอกเสาต้นเเรก ปีนี้ ให้ได้ สำหรับการเริ่มเฟสแรก มีระยะทางรวมประมาณ 14 กิโลเมตร เริ่มต้น ที่สะพานพระรามที่ 7 – สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ทั้งสองฝั่ง จากเต็มโครงการจะมีจุดเริ่มต้น สะพานพระรามที่ 3 – สะพานพระนั่งเกล้า รวมระยะทางทั้งสองฝั่ง 50 กม. ซึ่งตอนนี้ตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาดูเเล 4 ชุด คือ คณะอนุกรรมการฯ ด้านบริหารโครงการ, ด้านการออกแบบและภูมิสถาปัตย์,

ด้านกฎหมาย และด้านประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นจุดพักผ่อนชมวิวและมีเลนสำหรับขี่จักรยาน นำร่องสะพานพระราม 7-สะพานพระปิ่นเกล้า


สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ

กรุงเทพมหานคร ต้อง เดินหน้า รับฟังความคิดเห็นประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่ ซึ่งจะมีการเยียวยาให้ตลอด 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงแรก 14 กิโลเมตร โดยผลสำรวจจะผ่านวัด 8 แห่ง ท่าเรือ 36 แห่ง โรงแรมและร้านอาหาร 6 แห่ง สถานที่สำคัญขนาดใหญ่ 19 แห่ง มีประชาชนรุกล้ำริมฝั่งเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง 268 หลังคาเรือน

ทางด้านการออกแบบโครงการ

จะสร้างเป็น คอนกรีตกว้าง ข้างละ 20 เมตร อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับผิวถนนอยู่ต่ำกว่าระดับสันเขื่อนป้องกันน้ำ ประกอบด้วย ทางเดินเท้า ความกว้าง 7 เมตรอยู่ติดแม่น้ำ ถัดมาเป็นสวนหย่อมกว้าง 3 เมตร ทางจักรยานกว้างประมาณ 7 เมตร ทางเท้าและบันไดอยู่ต่ำกว่าระดับสันเขื่อนป้องกันน้ำท่วม กว้างประมาณ 2.50 เมตร และบริเวณคุ้มแม่น้ำ ออกแบบเป็นกิจกรรมออกกำลังกายและสันทนาการ

เงินลงทุนโครงการ

โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฝ่ายเศรษฐกิจ, นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เป็นที่ปรึกษาในด้านการใช้จ่ายงบประมาณ คาดว่าเฟสแรก 14 กิโลเมตร ลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท จากเดิมคาดว่า 7,000-8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพราะเพิ่มขนาดโครงการจากเดิมกว้างข้างละ 16 เมตรเป็นข้างละ 20 เมตร ตามแผนจะให้ลงนามสัญญาก่อสร้างสิ้นปี 2558 ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2560 ส่วนเฟส ที่เหลือจะทยอยดำเนินการต่อไป

การสำรวจทางกายภาพเบื้องต้น

ทางกรุงเทพมหานคร ได้ทำการสำรวจ พื้นที่โครงการระยะแรกจากสะพานพระรามที่ 7-สะพานพระปิ่นเกล้า ตลอดสองฝั่งแม่น้ำมีสถานที่สำคัญ เช่น วัด ท่าเทียบเรือ โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ราชการ บ้านเรือน แพ ประชาชนที่รุกล้ำลำน้ำ 268 หลังคาเรือน โรงเลื่อยเอกชน

และมีศูนย์ปฏิบัติการทางน้ำของวชิรพยาบาล อาคารเรือดับเพลิงของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ท่าวาสุกรีโรงจอดเรือพระที่นั่ง ท่าเรือวังเทเวศร์ ท่าเรือเอกชน ประตูระบายน้ำ 31 คลอง โรงแรมริเวอร์ไซด์ และอู่ซ่อมเรือเอกชน ซึ่งทาง กรุงเทพมหานคร จะทยอยเคลียร์พื้นที่ไม่ให้กีดขวางการก่อสร้างต่อไป

แนวทางแก้ไขปัญหา

1.ท่าเรือโดยสาร ศาลาที่พักผู้โดยสาร ท่าเรือวชิรพยาบาล จะให้ย้ายท่าเรือมาอยู่ด้านหน้าสะพาน ปรับปรุงศาลาที่พักผู้โดยสาร

2.อาคารดับเพลิงและอาคารจอดเรือ ให้ย้ายตำแหน่งมาอยู่ด้านหน้าสะพาน

3.โรงเลื่อยเอกชน จะเว้นช่องใต้ท้องช่วงเสาสะพานให้ลากซุงผ่านได้

4.อู่ซ่อมเรือเอกชน ยกระดับท้องสะพานให้เรือลอดได้

5.ท่าวาสุกรี พิจารณาใช้ทางเชื่อมวัดราชาธิวาสราชวรวิหารออกสู่ถนนสามเสนแล้วเข้าซอยวัดเทวราชกุญชร

6.ประตูระบายน้ำ ยกระดับท้องสะพานให้เรือลอดได้

7.ชุมชนที่รุกล้ำลำน้ำ กรณีเป็นบ้านพักอาศัยจะเจรจาหาข้อยุติร่วมกันเพื่อรื้อย้าย โดยจ่ายค่าชดเชย ซึ่งมีพื้นที่สำคัญคือชุมชนมิตรคาม 130 หลังคาเรือน ส่วนอาคารร้านอาหารให้เจรจารื้อย้ายโดยประสานกรมเจ้าท่า

ซึ่งความคาดหวังต่อ โครงการดังกล่าวนี้ ทางรัฐบาล คงอยากสร้างสัญลักษณ์ หรือ แลนด์มาร์กใหม่ ให้แก่ประเทศไทย และคนกรุงเทพ ฯ เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์ จากริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างคุ้มค่า และทั่วถึง

ที่สำคัญเป็นการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ของประเทศให้เกิดทัศนียภาพสวยงามเหมือนที่เราเห็นใน ต่างประเทศ หลายๆประเทศ นั่นเอง ..

Create Date :07 มีนาคม 2558 Last Update :7 มีนาคม 2558 9:48:54 น. Counter : 1036 Pageviews. Comments :0