bloggang.com mainmenu search
คอลัมน์ Sexociety โดย Dr.DEN

7. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ (SEX CHROMOSOME ABNORMALITIES)

ความผิดปกติของโครมโซมเพศเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาหนึ่งในระหว่างการผลิตไข่และอสุจิ ในคนทั่วไป เซลล์ไข่และอสุจิมี 23 โครโมโซม ความผิดปกติของโครโมโซมเกิดขึ้นเมื่อไข่ใบหนึ่งหรืออสุจิตัวหนึ่งมีโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป ไม่ว่าเซลล์ตัวใดมีจำนวนผิดปกติ ตัวอ่อนที่ได้ก็จะมีโครโมโซมมากกว่าหรือน้อยกว่า 46 ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางกายภาพและพัฒนาการของตัวอ่อน

บางครั้งอาการเหล่านี้โดยทั่วไปจะไม่ปรากฏให้เห็น แต่บางกรณีก็สามารถมีผลกระทบรุนแรงได้เช่น ความบกพร่องทางพัฒนาการ ปัญหาทางอารมณ์ การเจริญพันธุ์ ปัญหาของอวัยวะและความผิดปกติทางกายภาพ

ความผิดปกติของโครโมโซมเพศอาจตรวจพบได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการแท้งหรือทารกตายในครรภ์ ผู้หญิงที่เกิดมาพร้อมกับอาการเทอร์เนอร์ (TURNER SYNDROME) จะมีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น แต่ความผิดปกติอื่นๆ ต้องวินิจฉัยโดยการทดสอบพันธุกรรม การรักษาความผิดปกติเหล่านี้อาจรวจถึงการบำบัดด้วยการเปลี่ยนถ่ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเพศชาย การปลูกฮอร์โมน การผ่าตัดเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางกายภาพและการแทรกแซง เพื่อช่วยเหลือด้านปัญหาทางพฤติกรรมและการเรียนรู้

8. ภาวะข้ามเพศ (INTERSEX)

ในอดีต พ่อแม่ที่มีลูกข้ามเพศจะปรึกษากับหมอเพื่อเลือกเพศสภาพ (GENDER) อย่างใดอย่างหนึ่งให้ลูก พวกเขาจะทำศัลยกรรมโดยด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อทำให้เพศสภาพของลูกดู “ปกติ” และเก็บงำความจริงไว้ (ไม่บอกแม้แต่กับตัวลูกเอง)

อย่างไรก็ตาม การกระทำแบบนี้ส่งผลให้เกิดอันตรายทางจิตและทางร่างกาย

ปัจจุบัน สมาคมข้ามเพศแห่งอเมริกาเหนือสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กข้ามเพศในเพศสภาพที่เขาชอบมากที่สุดเสมือนเขาเป็นผู้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละคน จะมีการทำศัลยกรรมเฉพาะที่จำเป็นต่อสุขภาพของเด็กเท่านั้น และจะไม่ผ่าตัดอวัยวะเพศจนกว่าเด็กคนนั้นจะเป็นผู้ใหญ่พอที่จะตัดสินใจได้เอง

แม้ว่าคนทั่วไปใช้คำว่า “กะเทย” (HERMAPHRODITE) มานานแล้ว เพื่อเรียกคนที่มีลักษณะทางกายวิภาคทั้งเพศหญิงและเพศชายรวมกัน แต่มันเป็นความเข้าใจผิดๆ ปัจจุบันเราใช้คำว่าภาวะข้ามเพศสำหรับคนที่มีสภาวะนี้

คนข้ามเพศไม่ได้มีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งหญิงและชาย แต่โดยทั่วไปจะมีลักษณะเฉพาะบางอย่างของแต่ละเพศ (หญิงก็ไม่ใช่ ชายก็ไม่เชิง) จึงมีความหลากหลายกว้างขวางในหมู่คนข้ามเพศ

เป็นที่รู้กันว่าบางคนเป็นคนข้ามเพศทางต่อมเพศโดยแท้จริง พวกเขาอาจเป็นเพศชาย (XY) หรือเพศหญิง (XX) ในทางพันธุศาสตร์ แต่มีรังไข่เดียวและอัณฑะลูกเดียวหรือต่อมเพศ (GONAD) เดี่ยวที่มีทั้งเนื้อเยื่ออัณฑะและรังไข่อยู่ในต่อม โดยภายนอก คนเหล่านี้อาจมีอวัยวะเพศชายอย่างชัดเจน อวัยวะเพศหญิงอย่างชัดเจนหรืออวัยวะเพศกำกวมก็ได้ สาเหตุของภาวะข้ามเพศแบบนี้ยังไม่มีใครรู้

ภาวะข้ามเพศแบบXY อธิบายถึงบุคคลที่มีโครโมโซมเพศชายแต่อวัยวะเพศผิดกับผู้ชายทั่วไป มันกำกวมหรือเป็นอวัยวะเพศหญิงไปเลย (ที่เรียกกันว่าทอมบอยนี่แหละ) ลูกอัณฑะอาจมี ไม่มีหรือผิดปกติ สาเหตุโดยทั่วไปของคนข้ามเพศแบบXY ก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการฮอร์โมนเพศชายซึ่งเรียกกันว่า อาการฮอร์โมนกระตุ้นเพศชายไม่ตอบสนอง (ANDROGEN INSENSITIVITY SYNDROME :AIS)

ส่วนบุคคลที่มีภาวะข้ามเพศแบบXX โดยปกติจะมีอวัยวะเพศภายในของเพศหญิง แต่อวัยวะเพศภายนอกปรากฏเป็นเพศชาย เธออาจมีปุ่มกระสันใหญ่เหมือนองคชาตและมีแคมนอกที่หลอมติดกัน คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในสภาพนี้จะมีต่อมหมวกไตผิดปกติ ซึ่งไม่ผลิตคอร์ติซอล (CORTISOL) หรือ อัลดอสเตโรน (ALDOSTERONE) เป็นผลให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น

       คนที่มีสภาพนี้อาจได้รับฮอร์โมนเพศชายในระดับสูงขณะอยู่ในมดลูกหรืออาจขาดแคลนอะโรแมเทส (AROMATASE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเป็นฮฮร์โมนเพศหญิง เด็กXX ที่มีสภาวะอย่างหลังนี้อาจเริ่มมีบุคลิกของเพศชายมากขึ้นตอนวัยรุ่น แต่ภายในยังเป็นเพศหญิงอยู่ดี

9. องคชาตจิ๋ว (MICROPENIS)

ตามการศึกษาของสถาบันวิจัยคินซีย์ พบว่า องคชาตที่แข็งตัวจะมีความยาวโดยเฉลี่ยระหว่าง 5-6.5 นิ้ว โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 4-5 นิ้ว (ประมาณ0.6%ของผู้ชายมีสภาพที่เรียกว่าองคจิ๋วคือองคชาตที่แข็งตัวมีความยาวน้อยกว่า 2.5 นิ้ว)


สาเหตุบางประการขององคชาตจิ๋วก็แบบเดียวกับสาเหตุของคนข้ามเพศXY เช่นอาการฮอร์โมนกระตุ้นเพศชายไม่ตอบสนอง (AIS)

อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่มีองคชาตจิ๋วโดยทั่วไปไม่มีความกำกวมทางอวัยวะเพศ นอกจากนี้องคชาตจิ๋วยังมีสาเหตุจากปัญหาทางอวัยวะเพศอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ความบกพร่องของฮอร์โมนเจริญเติบโต ถ้าสภาวะนี้ถูกตรวจพบในวัยเด็ก การบำบัดทางฮอร์โมนสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตได้ระดับหนึ่ง

       อย่างไรก็ตาม มันไม่มีแนวโน้มว่าองคชาตดังกล่าวจะโตถึงขนาดเฉลี่ยได้ ตัวยาและตัวส่งเสริมเพื่อขยายองคชาตนั้นตามปกติจะไม่ช่วยอย่างถาวร แต่ผู้ชายบางคนประสบความสำเร็จกับการขยายด้วยศัลยกรรม

องคชาตจิ๋วสามารถเป็นสาเหตุของปัญหาทั้งทางสังคมและจิตวิทยา ผู้ชายอาจมีอุปสรรคในการร่วมเพศอีกด้วย ในทศวรรษที่ 1960 และ1970 แพทย์บางคนสนับสนุนให้มีการกำหนดเพศสภาพ (แปลงเพศ)ของเด็กชายที่มีองคชาตจิ๋วเสียใหม่ให้เป็นเด็กผู้หญิง ด้วยความเชื่อที่ว่าอัตลักษณ์ของเพศสภาพนั้นเป็นที่รู้กันแล้ว นักวิจัยบางคนยังคงสนับสนุนให้เลี้ยงดูเด็กชายเหล่านี้ในฐานะเด็กหญิง แต่ผู้ชายที่แปลงเพศตั้งแต่เด็กได้ออกมากล่าวต่อต้านการกระทำดังกล่าว

10. อวัยวะเพศมากเกิน

ในขณะที่บางคนมีอวัยวะเพศที่หายไปหรือไม่เหมือนคนทั่วไป แต่อีกหลายคนมีอวัยวะเพศที่ถือว่ามากกว่าปกติ ผู้ชายที่เกิดมามีสภาวะที่เรียกกันว่า ทวิองคชาต (DIPHALLIA) หรือ องคชาตสองอันนั้นหายากมาก มีไม่ถึง 100 รายที่ถูกรายงานในวารสารการแพทย์ เชื่อกันว่ามันเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาหนึ่งในระหว่างพัฒนาการอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อปลายลำไส้ใหญ่ (ทวาร) และองคชาตกำลังก่อร่าง บ่อยครั้ง องคชาตอันหนึ่งก็เล็กว่ากว่าอีกอัน


ผู้ชายที่มีสององคชาตอาจถ่ายปัสสาวะออกมาทางองคชาตหนึ่งหรือทั้งสองก็ได้และอาจสามารถหรือไม่สามารถร่วมเพศด้วยองคชาตทั้งสองได้ โดยปกติพวกเขามีข้อบกพร่องในไต กระดูกสันหลัง ลำไส้ใหญ่ และรูทวาร ชายทวิองคชาตอาจเป็นหมันอีกด้วย มีอย่างน้อย 1 กรณีที่ชายคนหนึ่งซึ่งมีสององคชาตขอให้หมอตัดอันหนึ่งทิ้งไป

ผู้หญิงที่เกิดมามีมดลูกเกินมา1อัน หรือเรียกว่าทวิครรภ์ (DIDELPHYS) นั้น มีอยู่ทั่วไปมากกว่าผู้ชายที่มีสององคชาต มันเกิดในผู้หญิงประมาณ 1ใน100คน ซึ่งอาจมีสองปากมดลูกและสองช่องคลอดด้วย เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อท่อ MULLERIAN ซึ่งเป็นสองท่อที่ค่อยๆ หลอมรวมกันเป็นหนึ่งมดลูกในตัวอ่อนเพศหญิง ยังคงแยกกันในระหว่างการตั้งครรภ์ บ่อยครั้งที่ผู้หญิงไม่รู้ว่าตัวเองมีสองมดลูกและพวกเธอคิดว่ามีประจำเดือนและตั้งครรภ์ตามปกติ ผู้หญิงบางคนมีอาการอย่างเลือดประจำเดือนมาหนัก ปวดเชิงกรานอย่างผิดปกติ เป็นหมันหรือแท้ง สภาวะสองมดลูกนี้จะได้รับการยืนยันโดยการทำอัลตราซาวด์หรือMRI

หายากที่ผู้หญิงซึ่งมีสองมดลูกจะผ่าตัดเพื่อเก็บมดลูกใหญ่ไว้เพียงอันเดียว ผู้หญิงในสภาวะนี้ที่ตั้งครรภ์ถูกพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูง


//www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9560000114863
Create Date :13 กันยายน 2556 Last Update :13 กันยายน 2556 21:54:55 น. Counter : 2391 Pageviews. Comments :0