bloggang.com mainmenu search
 


https://goo.gl/DRDmSS


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Kopsia rosea D.J. Middleton
วงศ์ :  Apocynaceae


ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 10 ม. ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน
ยาว 4.5-28 ซม. ปลายใบเแหลมยาว ปลายใบสั้น โคนใบแหลมหรือรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา
 เส้นแขนงใบ 8-20 คู่ นูนเด่นชัดด้านล่าง ก้านใบยาว 0.3-1.2 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจุกซ้อน (dichasial)
ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5-12.5 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนละเอียด ก้านดอกยาวได้ประมาณ 0.6 ซม.
ใบประดับติดทนกลีบเลี้ยงรูปไข่ ปลายกลม ยาว 1.5-3.5 มม. ขอบเป็นชายครุย





https://goo.gl/Xyuukh



กลีบดอกสีชมพู ปากหลอดกลีบมีสีชมพูเข้มหรือสีขาว มีริ้วสีชมพูอ่อน ๆ หลอดกลีบยาว 2.5-4.5 ซม.
ด้านในมีขนประปรายโดยเฉพาะรอบ ๆ เกสรเพศผู้ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบรูปไข่กลับ ปลายกลีบ
กลมยาว 1.5-3 ซม. เกสรเพศผู้ติดเลยกึ่งกลางหลอดดอก ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบ ก้านเกสรเพศผู้
ยาวประมาณ 0.1 ซม. อับเรณูรูปไข่ ยาว 2.2-2.6 มม. จานรองดอกมี 2 พู ยาวได้ประมาณ 0.2 ซม. รังไข่มี
2 คาร์เพลแยกกัน ยาว ประมาณ 0.2 ซม. เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียเรียว ยาวประมาณ 2.4 ซม. รวมปลาย
ยอดเกสรเพศเมีย ผลรูปเคียวขอบขนาน ยาว 1.5-1.8 ซม. ตรงกลางมีเดือยคล้ายตะขอ ยาว 2.5-4.5 มม.


 


https://goo.gl/SrPEiY



พุดชมพู มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะคาบสมุทรมาลายู และภาคใต้ของไทยแถบจังหวัดทางฝั่งทะเล
อันดามัน ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้นหรือที่เป็นเขาหินปูน ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร






หมายเหตุ พุดชมพู ตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ (ค.ศ. 2004) เนื่องจากเคยสับสนกับ พุดใบใหญ่
Kopsia macrophylla Hook.f. และ พุดชมพู (เดิม) Kopsia fruticosa (Ker) A.DC.
ส่วนที่ต่างกันเด่นชัดที่สุดคือพุดชมพูมีรังไข่เกลี้ยง และ Kopsia macrophylla Hook.f.
มีเกสรเพศผู้ติดต่ำกว่ากึ่งกลางหลอดกลีบ และพบเฉพาะในคาบสมุทรมลายู

ส่วนพุดชมพู (เดิม) จึงเข้าไปอยู่ในกลุ่มของเข็ม โดยให้ชื่อว่า "เข็มอุณากรรณ"
 





เครดิต
https://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=8034.0
https://www.ruammitra.0fees.net/tree-gerdenia-jasmine.php

 

Create Date :05 ธันวาคม 2553 Last Update :21 มกราคม 2564 18:11:58 น. Counter : Pageviews. Comments :0