bloggang.com mainmenu search
 

 


https://goo.gl/2VldNG




ชื่อพฤกษศาสตร์ : Durio zibethinus Murray
วงศ์ : BOMBACACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม ถือเป็นหน้าทุเรียน





https://chalermpol9.blogspot.com/2012/05/blog-post.html
ทุเรียนหมอนทอง




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง สูง 25-50 เมตรขึ้นกับชนิด แตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้ง
กระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป เปลือกชั้นนอกของลำต้นสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด ไม่มียาง

ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายทั่วกิ่ง เกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้ามระนาบเดียวกัน ก้านใบกลมยาว 2–4 ซม. แผ่นใบรูปไข่
แกมขอบขนานปลายใบใบเรียวแหลม ยาว 10-18 ซม. ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว
ท้องใบมีสีน้ำตาลเส้นใบด้านล่างนูนเด่น ขอบใบเรียบ

โดยทั่วไปทุเรียนจะให้ผลเมื่อมีอายุ 4-5 ปี โดยจะออกตามกิ่งและสุกหลังจากผสมเกสรไปแล้ว 3 เดือน
ผลเป็นผลสดชนิดผลเดี่ยว อาจยาวมากกว่า 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวกว่า 15 ซม. มีน้ำหนัก 1-3 กก.
เป็นรูปรีถึงกลม เปลือกทุเรียนมีหนามแหลม เมื่อแก่ผลมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลอ่อน แตกตามแต่ละส่วน
ของผล เรียกเป็นพู เนื้อในมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงแดง ขึ้นกับชนิด เนื้อในจะนิ่ม กึ่งอ่อนกึ่งแข็ง มีรสหวาน
เมล็ดมีเยื่อหุ้ม กลมรี เปลือกหุ้มสีน้ำตาลผิวเรียบ เนื้อในเมล็ดสีขาว รสชาติฝาด





https://www.bansuanporpeang.com/node/11182
ดอกทุเรียนดอกตูม



ศัพท์มูลวิทยา

คำว่า ทุเรียน (durian) มาคำจากภาษามาเลย์ คือคำว่า duri (หนาม) มารวมกับคำต่อท้าย -an (เพื่อสร้างเป็น
คำนามในภาษามาเลย์) D. zibethinus เป็นเพียงชนิดเดียวที่มีการปลูกเลี้ยงในเชิงการค้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่
และนอกถิ่นกำเนิด ในทุเรียนชนิด zibethinus ได้ชื่อมาจากชะมดอินเดีย (Viverra zibetha) มีความเชื่อแต่ไม่มี
หลักฐานยืนยัน ว่าชื่อนี้ตั้งโดยลินเนียสซึ่งมาจากชะมดชอบทุเรียนมากจนมีการนำไปเป็นเหยื่อล่อในการดักจับ
ชะมดหรืออาจเป็นเพราะทุเรียนมีกลิ่นคล้ายชะมด





https://th.wikipedia.org/wiki
ดอกของทุเรียนปกติจะหุบในช่วงกลางวัน



ดอกทุเรียนมีขนาดใหญ่ อ่อนนุ่ม และมีน้ำต้อยมาก โดยทั่วไปเกสรจะผสมโดยค้างคาวบางชนิดที่กินน้ำต้อยและเรณู
จากการศึกษาในประเทศมาเลเซียในช่วงปี พ.ศ. 2513 การผสมเกสรของทุเรียนเกือบทั้งหมดเกิดจากค้างคาว
ผลไม้ถ้ำ (Eonycteris spelaea)

แต่การศึกษาในปี พ.ศ. 2539 ในทุเรียน 2 ชนิดคือ D. grandiflorus และ D. oblongus เกสรผสมโดยนกกินปลี
ส่วน D. kutejensis ผสมโดยผึ้งหลวง, นก และ ค้างคาว ในการปลูกเลี้ยงเพื่อการค้านิยมขยายพันธุ์
ด้วยการเสียบยอด





https://goo.gl/kamVrH



ดอกเป็นดอกช่อ มี 3-30 ช่อบนกิ่งเดียวกัน เกิดตามลำต้น และกิ่งก้านยาว 1–2 ซม. ลักษณะดอกสมบูรณ์เพศ
มีกลีบเลี้ยงและมีกลีบดอก 5 กลีบ (บางครั้งอาจมี 4 หรือ 6 กลีบ) มีสีขาวหอม ลักษณะดอกคล้ายระฆัง
มีช่วงเวลาออกดอก 1-2 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาออกดอกขึ้นกับชนิด สายพันธุ์ และสถานที่ปลูกเลี้ยง

ดอกทุเรียนกินได้ ปกติชาวบ้านนำไปลวกกินกับน้ำพริก ชุบแป้งทอด เอาไปยำ หรือกินกับข้าวยำ มีรสชาติ
 และสรรพคุณคล้ายกับดอกแค


 


https://www.gotoknow.org/journals/entries/users/naree_122?page=5

 

ดอกทุเรียนจะให้กลิ่นหอมมากที่สุดช่วงระยะประมาณ 1 เดือน ส่วนของดอกที่เป็นแหล่งสะสมกลิ่น คือ
ส่วนที่เป็นเกสรตัวผู้ และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บดอกทุเรียน เพื่อ สกัดทำน้ำหอม คือเวลาประมาณ
19.15 -20.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดอกทุเรียนส่งกลิ่นหอมมากที่สุดโดยจะเก็บดอกทุเรียน
เฉพาะดอกที่อยู่ในระยะดอกบาน

กลิ่นของน้ำหอมจากดอกทุเรียนจะมีลักษณะหอมเย็น คล้ายกลิ่นหญ้าที่เพิ่งตัดใหม่
ผสมกับกลิ่นหอมของดอกไม้แห้ง คล้ายกลิ่นดอกสัตยาบรรณ มีสีเหลืองปนเขียวอ่อน ๆ




 




ทุเรียน เป็นผลไม้ที่มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ด้วยกลิ่นที่ตลบอบอวลจนถูกห้ามนำทุเรียนเข้าโรงแรม
ห้ามนำขึ้นเครื่องบินหรือแม้แต่ห้ามขึ้นรถประจำทางปรับอากาศ แต่สำหรับคนรักทุเรียนแล้ว กลับเป็นกลิ่นหอมหวน
ชวนรับประทาน ทุเรียนยังถือเป็น "ราชาผลไม้" ที่รู้จักกันไปทั่วโลก

สำหรับประเทศไทย ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม ถือเป็นหน้าทุเรียน มีทุเรียนหลากหลาย
พันธุ์ออกมา ให้เลือกรับประทาน ในเมืองไทยมีทุเรียนที่อร่อยขึ้นชื่ออยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน
ที่นิยมก็มีพันธุ์หมอนทอง และ ก้านยาว





https://www.learners.in.th/blogs/posts/366633
ทุเรียนก้านยาว



พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก มี 4 พันธุ์ คือ หมอนทอง ชะนี ก้านยาว และ กระดุม
พันธุ์ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทย จำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม
ตามลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และรูปร่างของหนาม คือ

กลุ่มกบ จำแนกพันธุ์ได้ 46 พันธุ์ เช่น กบตาดำ กบทองคำ กบวัดเพลง กบก้านยาว
กลุ่มลวง จำแนกพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ลวงทอง ชะนี สายหยุด ชะนีก้านยาว
กลุ่มก้านยาว จำแนกพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ก้านยาว ก้านยาววัดสัก ก้านยาวพวง
กลุ่มกำปั่น จำแนกพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น กำปั่นเหลือง กำปั่นแดง ปิ่นทอง หมอนทอง
กลุ่มทองย้อย จำแนกพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ทองใหม่
กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่จำแนกลักษณะพันธุ์ได้ไม่แน่ชัด มีอยู่ถึง 81 พันธุ์

"ทุเรียนพวงมณี" เป็นอีกหนึ่งทุเรียนอร่อยมาแรงของภาคตะวันออก โดยเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง
ของภาคตะวันออก แม้จะไม่ได้รับความนิยมเท่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ แต่ในช่วงหลังๆ เริ่มมีคนให้ความสนใจ
ทุเรียนพันธุ์พวงมณีกันมากขึ้น เพราะรสชาติที่อร่อยไม่แพ้ใคร





https://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1704&s=tblblog



สรรพคุณของทุเรียน มีดังนี้

1. ช่วยฆ่าเชื้อ จากกำมะถันในเนื้อเป็นเสมือนยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ
2. ช่วยเผาผลาญ จากความร้อนของ กำมะถัน และน้ำตาลในเนื้อ
3. ช่วยระบาย จากกากที่เป็นเส้นใยยุ่บยั่บในเนื้อ

ทุเรียน มีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อเคอซิทิน ซึ่งเป็นตัวเดียวกับในหอมใหญ่และองุ่น
ทั้งนี้พลังต้านอนุมูลอิสระของทุเรียนสุกจะมีมากกว่า มังคุด ลิ้นจี่ ฝรั่ง มะม่วง ตามลำดับ

นอกจากนี้ทุเรียนยังมีฤทธิ์ไล่พยาธิได้ ด้วยกำมะถันที่รุ่มร้อนทำให้ลำไส้ไม่เป็นบ้านแสนสุขของ
พยาธิอีกต่อไป อีกทั้งกากใยในเนื้อที่ช่วยขัดล้างลำไส้ด้วย

ส่วนที่หลายคนสงสัยกันว่า จะกินได้มากน้อยแค่ไหนใน 1 วันหรือ 1 สัปดาห์นั้น ทุเรียนแค่พูย่อม ๆ
ประมาณ 1 ขีด ให้พลังงานพอ ๆ กับกินข้าวสวยถ้วยย่อม ๆ หรือราว 150 กิโลแคลอรี ดังนั้นถ้าจะกิน
ก็ยึดหลักไว้ไม่เกินวันละ 1 พู และใน 1 สัปดาห์ไม่ควรกินเกิน 2 พู โดยเฉพาะในรายที่ไม่ออกกำลังกาย
แต่ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำก็อาจกินได้มากกว่านั้น









เคล็ดในการกินทุเรียนให้เปี่ยมสุข

1. เลือกทุกเรียนห่ามจะดีเพราะมีน้ำตาลน้อย แต่ถ้าเลือกไม่ได้ก็กินทุเรียนสุก เนื่องจากงานวิจัยพบว่า
2. ถ้าจะกินเพื่อสุขภาพก็ให้กินได้ครั้งละไม่เกิน 2 พูต่อสัปดาห์ และถ้ามื้อไหนกินทุเรียน ก็ไม่ต้องกินข้าวมาก
3. ถ้ากินทุเรียนน้ำกะทิ ขอให้อย่าใส่ข้าวเหนียวเยอะน้ำตาลแยะเพราะจะเพิ่มร้อนในหนัก
4. ขอให้กินทุเรียนกับผลไม้เนื้อเย็นน้ำเยอะ เช่น มังคุด ลองกอง แตงโมเพราะจะช่วยดับร้อนได้ดี และ
5. อย่ากินทุเรียนร่วมกับเหล้า แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เพราะจะทำให้ยิ่งร้อนจัดขาดน้ำ
และช็อคได้เนื่องจากกำมะถันในทุเรียนละลายได้ดีในแอลกอฮอล์
6. กินทุเรียนแล้วร้อนในแก้ไขอย่างไรดี
https://campus.sanook.com









ทุเรียน เป็นหนึ่งในพืชสงวน 11 ชนิดตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2535 ในมาตรา 30 กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกซึ่งพืชสงวน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี
และเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทดลอง หรือวิจัยในทางวิชาการเท่านั้น ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้เนื่องมาจากเกรงว่าหากพันธุ์พืชที่ดีเหล่านี้ถูกนำไปปลูกในต่างประเทศ
แล้วก็จะกลับมาเป็นคู่แข่งทางการค้าได้






อ้างอิง :
กินทุเรียนอย่างไรไม่ให้อ้วน
https://e-thailander.com/Durien.html
ทุเรียนพันธุ์ต่าง ๆ
https://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9613.0
https://lifestyle.th.msn.com/health/eatingwell
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://www.oknation.net/blog/peroid/2009/05/21/entry-1


Just for you - GIOVANNI MARRADI

Create Date :18 มิถุนายน 2555 Last Update :20 มกราคม 2564 22:18:04 น. Counter : 19363 Pageviews. Comments :99