bloggang.com mainmenu search
 


https://www.orchidphotos.org/orchids/sfconservatory




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanilla fragans
วงศ์ : Orchidaceae


วานิลลา เป็นพืชตระกูลกล้วยไม้ (Orchidaceae) และถือเป็นกล้วยไม้ประเภทเครื่องเทศที่มหัศจรรย์ที่สุด
ชนิดหนึ่ง เป็นกล้วยไม้ ดอกสวย ...ให้กลิ่น ... เพิ่มความโอชารสแก่อาหารมนุษย์อย่างหลากหลาย และเป็น
พืชเครื่องเทศชนิดเดียวในบรรดากล้วยไม้ทั้งหมด





https://www.212cafe


 

วานิลลา มีต้นกำเนิดจากเม็กซิโก ชื่อวานิลลามาจากคำในภาษาสเปนว่า "ไบย์นียา" (vainilla) แปลว่า ฝักเล็ก ๆ
 ผลหรือฝักของวานิลลา เรียกว่า "วานิลลาบีน" (vanilla bean)

ในทางพฤกษศาสตร์แล้ว ผลของกล้วยไม้นี้จัดเป็นเบอรี่เทียม (false berry) มีรังไข่ใต้วงกลีบ (inferior ovary)
ผลวานิลลาดูคล้ายฝักถั่วฝักยาว แต่ที่อยู่ภายในกลับเป็นเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนหลายล้านฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อนุ่ม ๆ
การใช้วานิลลาประกอบอาหาร ทำโดยกรีดฝักวานิลลาออกและขูดเอาเมล็ดในฝักไปใช้ประกอบอาหาร





https://goo.gl/sG9vOs



สำหรับผู้เคยกินไอศกรีมวานิลลาแท้ ๆ จะเห็นผงเล็ก ๆ สีดำฝังอยู่ในเนื้อไอศกรีม นั่นคือเมล็ดวานิลลานั่นเอง
 ถ้าไม่เห็นผงสีดำนี้ เชื่อได้เลยว่ากำลังกินไอศกรีมวานิลลาเทียมหรือวานิลลาสังเคราะห์
 (ไอศกรีมวิญญาณวานิลลา) นั่นเอง





https://sustainableecho.com/homemade-vanilla-ice-cream-recipe



วานิลลา มีมากกว่า 110 พันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามมีแค่พันธุ์ Vanilla Planifolia พันธุ์เดียวเท่านั้น ที่เป็นวานิลลา
พันธุ์ที่ใช้ในเชิงการค้าซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 และมีเพียง 2 สายพันธุ์ที่มีความโดดเด่นของกลิ่นหอมและรสชาติ
นั่นก็คือพันธุ์ Bourbon Vanilla และ Tahitian Vanilla คือ Bourbon Beans


 


https://goo.gl/q1XU19



ลักษณะของฝักวานิลลาพันธุ์นี้ จะมีฝักที่อวบ ยาว สีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม เมล็ดในฝักมีปริมาณมาก ส่วน
Tahitian Vanilla ปลูกที่เกาะตาฮิติซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก จะให้ฝักวานิลลาที่มีลักษณะ
โดดเด่นในเรื่องของกลิ่นหอมมากกว่ารสชาติ จึงเหมาะในการใช้ทำอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอาง
ต่าง ๆ อีกทั้งฝักก็จะสั้นกว่าพันธุ์ Bourbon Beans

มาดากัสการ์ส่งออกวานิลลาเป็นอันดับหนึ่งของโลก และไม่ใช่วานิลลาทุกชนิดเสมอไปที่มีฝักหอม วานิลลา
จึงเป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูงอันดับสองของโลกรองจากแซฟฟรอน (saffron = หญ้าฝรั่น)





https://goo.gl/r4FxuI



วานิลลาแท้มีราคาสูงมาก จึงทำให้มีการประดิษฐ์กลิ่นวานิลลาสังเคราะห์ที่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม
กลิ่นที่ได้จากวานิลลาสังเคราะห์มีความเข้มของกลิ่นไม่เท่ากับของจริง วานิลลามักถูกนำมาใช้แต่งกลิ่น
ในการทำอาหารประเภทของหวานและไอศกรีม นอกจากนี้ยังใช้ในการแต่งกลิ่นน้ำหอมและทำยาอีกด้วย





https://goo.gl/BEPqdX



กลิ่นหอมจากฝักวานิลลาเป็นกลิ่นของสารประกอบซึ่งเป็นสารหอมหลาย ๆ ชนิด เกิดขึ้นในระหว่างการบ่ม
ฝักวานิลลา สารที่พบมากคือ วานิลลิน (vanillin) จากการค้นคว้าด้านเคมี แม้จะพบว่าต้นทุนการสังเคราะห์
วานิลลินราคาถูกกว่าวานิลลินจากธรรมชาติมาก แต่วานิลลินที่ได้จากธรรมชาติมีสารหอมอื่น ๆ ปนอยู่ ทำให้มี
กลิ่นหอมกว่าวานิลลาที่ได้จากการสังเคราะห์





https://goo.gl/gM6xvh



วานิลลา เป็นไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยเกาะเกี่ยวอยู่บนต้นไม้อื่น ชอบขึ้นในบริเวณที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น
ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ปริมาณน้ำฝน 2,000-2,500 มิลลิเมตรต่อปี
อุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส




 


 
 
พื้นที่ใช้ปลูกควรมีความลาดชันบ้างเล็กน้อย ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำสะดวก มีเศษอินทรีย์ ทำให้รากแผ่
ขยายได้ดี ต้นไม้ที่เป็นหลักของวานิลลา ได้แก่ กาแฟ ขนุน คำแสด มะม่วงหิมพานต์ ในช่วงแรก ควรจัดให้
มีร่มเงาด้านข้าง โดยการปลูกต้นกล้วยหรือ ข้าวโพดและปลูกพืช บังลมรอบแปลง





https://www.thaiafrica.net/th/article/funfact/detail.php?ELEMENT_ID=417


 
วานิลลา จะเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุได้ 3 ปี ระยะเวลานี้อาจเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นวานิลลา
ต้นวานิลลาจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อมีอายุ 7-8 ปี

วานิลลา เป็นพืชที่ไม่สามารถผสมเกสรตัวเองได้ ส่วนของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะแยกออกจากกันโดยมีเยื่อ
บาง ๆ กั้นอยู่ เยื่อนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ละอองเกสรตัวผู้ไม่สามารถถ่ายลงไปผสมกับเกสรตัวเมียได้ แม้แมลง
หรือนกฮัมมิ่งก็ไม่สามารถช่วยได้มากนัก ดังนั้นจึงต้องมีการช่วยผสมเกสรด้วยมือมนุษย์ ซึ่งจะทำได้ดีเพียงในช่วงเช้า
 และสิ้นสุดเวลาก่อน 10.00 น. และการบานของดอกจะบานเพียง 1 วัน ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญในเชิง
ปฏิบัติการทางเกษตรกรรม โดยดอกจะบานตั้งแต่เช้าตรู่ถึงบ่าย พอถึงเช้าวันรุ่งขึ้นดอกจะเหี่ยว

ลักษณะของดอกวานิลลาเป็นช่อ หลังจากผสมเกสรแล้วจะได้ฝัก ฝักวานิลลาสีเขียวยังไม่มีกลิ่นหอม ถ้าทิ้งไว้
บนต้น ฝักจะค่อยเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และแตกออกกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีช็อกโกแลต
ฝักวานิลลาจะมีกลิ่นหอมและมีเรซิน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อฝักสีเข้มลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดหมดกลิ่นไป เนื่องจากสารหอม
ระเหยไปจนหมด ฉะนั้นการเก็บฝักวานิลลาเพื่อนำมาบ่ม เป็นการเร่งให้เกิดสารที่มีกลิ่นหอม ขั้นตอนในการบ่มฝัก
วานิลลาคือ หยุดการเปลี่ยนแปลงของพืชสดและกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในฝัก เพื่อสร้างสารที่มีกลิ่นหอม
ลักษณะของฝักหลังจากผ่านกระบวนการนี้จะมีสีน้ำตาล





https://goo.gl/cKyYAu



 




ประเทศไทยมีวานิลลาพื้นเมืองขึ้นกระจายอยู่ 5 สายพันธุ์ คือ

1. พลูช้าง (เชียงใหม่) ตองผา (ชาวเขาเผ่าเงี้ยว)
Vanilla siamensis Rolfe ex Kownie


มีขนาดใหญ่ ใบหนา อวบน้ำ ผิวใบเป็นมัน ดอกสีเขียวปากบานแผ่กว้าง ทรงดอกดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม
วานิลลาชนิดนี้พบเฉพาะในประเทศไทย ไม่ปรากฏว่าพบที่อื่นใดในโลก





https://doc.tistr.thaigov.net/doc/?tag=vanilla-siamensis



----------------------------------



2. เอาะลบ (กระบี่) กะเอาะล่อน (ยะลา) งดเขา (ภาคใต้)
Vanilla albida Blume





https://flora-thailand.blogspot.com/



------------------------------



3. สามร้อยต่อใหญ่ (ประจวบ) หรือ งด
Vanilla pilifera Holttum





https://goo.gl/Uu0Z31



---------------------------------



4. เถางูเขียว (สระบุรี) เครืองูเขียว (โคราช) คดนกกูด (สุราษฎร์ธานี)
Vanilla aphylla Blume


พบตามป่าดิบแล้ง ชาวบ้านเรียกกันว่า เถางูเขียว ลำต้นทรงสี่เหลี่ยม สีเขียวคล้ายงูเขียวสมชื่อ มีรากเกิด
ตามข้อ ไม่มีใบ ดอกเกิดตามข้อ มี 2-3 ดอกต่อช่อ ดอกบานฤดูร้อน พบทั่วไปในประเทศไทย





https://beauty13orchids.skyrock.com/238.html



-------------------------------



5. Vanilla griffithii

เป็นพันธุ์ที่เพิ่งค้นพบในสภาพป่าดงดิบทางภาคใต้ตอนล่างของไทย
(พบได้ทั่วไปในมาเลเซีย)




https://orchidofpeninsularmalaya.blogspot



 





กระบวนการบ่มฝักวานิลลาแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ


1. การหยุดการเจริญเติบโตของฝัก (killing of wilting) การหยุดการเจริญเติบโตทำให้ฝัก
มีสีน้ำตาล โดยนำมาตากแดดเป็นเวลา 5 ชั่วโมง หรือการอบที่ 70 อาศาเซลเซียส 16 ชั่วโมง


2. การกระตุ้นให้เกิดสารหอม (sweating) เป็นขั้นตอนที่ทำให้เอนไซม์ทำงานผลิตสารหอม
โดยนำฝักวานิลลาไปให้ความร้อนอย่างรวดเร็ว เป็นการป้องกันการเกิดการหมักด้วย นำฝักวานิลลามาตากแดด
บนผ้าในช่วงที่มีแดดร้อนจัด 2-3 ชั่วโมง ในแต่ละวัน แล้วห่อฝักวานิลลาด้วยผ้านำไปใส่กล่อง หลังจากนั้น
24 ชั่วโมง นำฝักมาตรวจดู ถ้ามีฝักที่ไม่เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล คือยังมีสีเขียวอยู่ ต้องแยกไปผ่านกระบวนการที่ 1
อีกครั้ง ฝักที่มีสีน้ำตาลให้นำมาผึ่งแดด 2-3 ชั่วโมง และผึ่งในร่ม ทำเช่นนี้ทุกวันเป็นเวลา 5-6 วัน


3. การทำแห้ง (drying) โดยการผึ่งในร่มหรือในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเป็นระยะเวลา 2-3 เดือน
หรืออาจทำแห้งโดยการอบในเตาอบที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส น้ำหนักของฝักจะลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสาม


4. การฟักตัว (conditioning) เป็นการเก็บฝักไว้ในกล่องประมาณ 3 เดือน
หรือมากกว่าเพื่อให้เกิดกลิ่นหอมอย่างเต็มที่




 
https://goo.gl/I6HQMh



ผลิตภัณฑ์จากวานิลลาแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. วานิลลาสกัด (vanilla extract)
2. วานิลลาโอลีโอเรซิน (vanilla oleoresin)
3. วานิลลาแท้ และทิงเจอร์สำหรับทำน้ำหอม
(vanilla absolute and tincture for perfumery)
4. ผงวานิลลา (vanilla powder)



การปลูกวานิลลา

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ โดยใช้เถายาวประมาณ 1 ฟุต วานิลลาจะเจริญเติบโตออกดอกภายใน 3-4 ปี
แต่ถ้าใช้เถายาวประมาณ 1 เมตร จะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น

ให้ปักชำในถุงจะสะดวกกว่าการปักชำในกระบะ เพราะต้องย้ายถุงอีกครั้ง จะทำให้รากกระทบกระเทือน
หลังการปักชำ 1 เดือน จะออกรากและแตกยอดใหม่ การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด
นิยมใช้เฉพาะการคัดเลือกพันธุ์








อ้างอิง :
https://www.oknation.net/blog/PunchBerry/2009/05/14/entry-1


Richard Clayderman - Healing Medley


 

สนใจเรื่องกล้วยไม้อื่น ๆ ในบล็อกนี้ :
กล้วยไม้รองเท้านารี (Paphiopedilum) คลิกที่นี่
เอื้องกะเรกะร่อน (Cymbidium) คลิกที่นี่
กล้วยไม้ ... รู้หน้าไม่รู้ใจ คลิกที่นี่
กล้วยไม้ช้างกระ คลิกที่นี่
 กล้วยไม้ช้างกระ เราก็มี คลิกที่นี่
เอื้องผึ้ง (Dendrobium lindleyi) คลิกที่นี่
กล้วยไม้แคทลียา (Cattleya) คลิกที่นี่
ฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) คลิกที่นี่

Create Date :06 พฤษภาคม 2554 Last Update :10 มกราคม 2564 21:57:21 น. Counter : Pageviews. Comments :11